WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

อ่อนตัว-ทดสอบแนวรับ
Highlight 
       ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดลง จับตาสถานะการณ์อิรัก และผลประชุมเฟดกลางสัปดาห์นี้
       ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ USA: Industrial Production พ.ค. คาด+0.5% m-m (Vs -0.6%) Empire State Survey มิ.ย. คาด 15 (Vs 19) NAHB housing market index มิ.ย. คาด 47 (Vs 45)
-วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติขายอีก -1.02 พันลบ. (ขายสะสม 4 วัน รวม -2.16 พันลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศกลับมาซื้อ +809 ลบ. (จากขายสะสม 7 วันรวม -4.29 พันลบ.)
       +Weekly Fund Flow (5-11 มิย) แรงซื้อไหลกลับเข้าตลาดหุ้นโลก แทนที่พันธบัตร โดยมีแรงซื้อเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยในตลาดหุ้นสหรัฐฯ อินเดีย ส่วนไทยมีแรงซื้อต่อเนื่อง แต่ด้วยปริมาณเบาบาง
+การเมือง ศสช.ประกาศยกเลิกเคอร์ฟิวทั่วประเทศ ช่วยหนุนธุรกิจท่องเที่ยว ประเด็นต่อไปจับตา ยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน 8 ปี วงเงิน 3 ล้านล้าน

       คาดดัชนีฯ วันนี้ อ่อนตัว แนวรับ 1450/1446 จุด แนวต้าน 1462/1470 จุด โมเมนตั้มลบจากปัจจัยต่างประเทศ เป็นปัจจัยถ่วงตลาด ขณะที่แรงหนุนจากนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในประเทศ และ Events Play คาดส่งผลบวกต่อหุ้นรายตัว แนะนำเก็งกำไร
      กลยุทธ์: เก็งกำไร หุ้นที่มีประเด็นเชิงบวก โดยเฉพาะหุ้นขนาดเล็กถึงกลางมากกว่าหุ้นบลูชิพขนาดใหญ่ ซึ่งมีแนวโน้มอ่อนตัว จากการรอความชัดเจนของผลประชุมเฟด และสัญญาณเทคนิคที่เข้าสู่ระยะปรับฐาน แนะนำ ADVANC SVOA DELTA CCET BBL KBANK (Window dressing) และรอขายทำกำไร KKP M MEGA (SET50/100 Reshuffle Index) เมื่อประกาศรายชื่อจริง

หุ้นในกระแส:
       หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 5.0%) ได้แก่ CGD PLE EVER SIM AQUA SCP TH SST SOLAR หุ้นที่ลงกว่า 3.5% ได้แก่ RS DTAC UV CPF GOLD
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ LH-W3 +2071 KTB +228 SCB+162 SCC+130 ด้านขาย ADVANC-359 DTAC-292 INTUCH -253 PTTEP-136
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ TRUE 221 ITD 112 ADVANC 104 JAS 96

Market Outlook
        คาดดัชนีฯ วันนี้ อ่อนตัว แนวรับ 1450/1446 จุด แนวต้าน 1462/1470 จุด โมเมนตัมลบจากปัจจัยต่างประเทศเป็นปัจจัยถ่วงตลาด ขณะที่แรงหนุนจาก นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในประเทศ และ Events Play คาดส่งผลบวกต่อหุ้นรายตัว แนะนำเก็งกำไรแบบกำหนดจุดตัดขาดทุน
       คาดดัชนีฯสัปดาห์นี้ อ่อนตัวในกรอบจำกัด โดยมีแนวรับลุ้นรีบาวด์ที่ 1446-1450 จุดหรือ 1430-1437 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1470/1488 จุด โมเมนตัมบวกจะเหลือแค่เพียงผลบวจาก Window Dressing และความคืบหน้าของนโยบายเศรษฐกิจสำคัญๆ ของคสช. และผลประชุมกนง.ซึ่งจะเป็นข่าวดีต่อตลาด หากมีสัญญาณหนุนความเชื่อมั่นของประชาชนในประเทศเพิ่มเติม ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศเริ่มมีแรงหนุนลดลง ไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆมากระตุ้นตลาด โดยคาดผลประชุมเฟดกลางสัปดาห์จะคงดอกเบี้ย และลด QE อีก 1 หมื่นล้านดอลล์ ขณะที่ความเสี่ยงของน้ำมันพุ่งขึ้นแรง ถ่วงตลาดฯ
      ปัจจัยต่างประเทศ ที่ต้องติดตาม คือ ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ (เป็นสัญญาณลบต่อเศรษฐกิจโลกหากยังคงปรับขึ้นต่อเนื่องหลังสร้างจุดสูงสุดรอบ 6-9 เดือน) ญี่ปุ่นอาจชะลอการออก QE รอบใหม่ (BOJ Meeting เมื่อวันศุกร์ ไม่ส่งสัญญาณชี้นำ) ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ FOMC วันที่ 18 มิ.ย. (Bloomberg consensus คาดว่าจะลด QE อีก US$1.0 หมื่นล้าน เป็น US$3.5 หมื่นล้าน และอาจมีการปรับประมาณการเป้าเติบโตเศรษฐกิจปีนี้ลง(2-2.5% จากเดิม 2.8-3%) รวมถึงนโยบายปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นจากการปรับคณะกรรมการใหม่ ออก 2 ท่าน ได้แก่ Pianalto, Stein และเข้าใหม่ 3 ท่าน ได้แก่ Fisher, Mester, Brainard)
       ปัจจัยในประเทศ จับตา ผลประชุม กนง.วันที่ 18 มิ.ย. (คาดคงอัตราดอกเบี้ย RP 1 วันไว้ที่เดิม 2.00%) และความคืบหน้าของ ศสช.ต่อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ได้แก่ นโยบายพลังงาน (การปฎิรูปโครงสร้างพลังงาน การกำหนดราคาพลังงาน และแผนพัฒนาพลังงานระยะยาว) โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งมูลค่า 3 ล้านลบ.พร้อมแผนการเงิน (นำเสนอต่อประธานฯ 19 มิ.ย.) ฯลฯ

ส่วน Events Play ที่จะมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทย ได้แก่
       1. การประกาศรายชื่อหุ้นที่คาดว่าจะนำเข้าคำนวณ SET50 Index รอบถัดไป ได้แก่ KKP และ M พร้อมหลีกเลี่ยงหุ้น CK และ THAI คาดว่าจะถูกออกจากการคำนวณในรอบนี้ (ดูรายงาน) SET50/100 Index reshuffle: หุ้นที่คาดว่าจะเข้าคำนวน SET50 ในรอบนี้ ได้แก่ M KKP และ SET100 ได้แก่ M MAKRO TVO BJCHI CKP EARTH SGP NOK NYT PSL MC MEGA OFM และ SIM โดยจากสถิติ หุ้นได้เข้าคำนวณดัชนี SET50 6 ครั้งหลังสุด (รอบ 2H54-1H57) ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย +3.2% และ +2.7% ในช่วง 1 เดือน และ 2 สัปดาห์ก่อนวันประกาศรายชื่อ แต่กลับมาให้ผลตอบแทนติดลบ -1.4% ในช่วง 2 สัปดาห์หลังประกาศรายชื่อ โดยปกติจะประกาศรายชื่อช่วงกลางเดือน มิ.ย.
      2. Window Dressing พบว่า กลุ่มอุตฯ แบงก์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ ICT Health Care เป็นกลุ่มฯ ที่มีโอกาสปรับขึ้นสูงกว่าตลาดในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของเดือน (ดูรายงาน) แนะนำ ADVANC SVOA DELTA CCET BBL KBANK จากสถิติ 8 ปีหลังสุด (49-56) ในไตรมาส 2 ดัชนี SET ให้ผลตอบแทนเป็นบวก +1.9% และ +0.9% ในช่วง 1 และ 2 สัปดาห์สุดท้ายก่อนสิ้นไตรมาส โดยกลุ่มที่ปรับขึ้นได้ดีได้แก่ กลุ่มธนาคาร (BBL KBANK BAY KTB SCB) กลุ่มสื่อสาร (ADVANC JMART INTUCH TWZ SVOA) วัสุก่อสร้าง (RCI GEL TCMC SCCC SCC) และอิเล็กทรอนิกส์ (TEAM DRACO DELTA EIC CCET)
     3. หุ้นเกาะกระแสฟุตบอลโลก ระหว่าง 12 มิ.ย. - 13 ก.ค. (เราพบว่า ผลกระทบต่อราคาหุ้นกลุ่ม ICT (ADVANC TRUE) กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค (CPALL MINT CENTEL) จะมีเพิ่มขึ้นในช่วงระหว่างการถ่ายทอดฟุตบอลโลก
      กลยุทธ์ แนะนำ เก็งกำไร หุ้นที่มีประเด็นเชิงบวก โดยเฉพาะหุ้นขนาดเล็กถึงกลาง มากกว่าหุ้นบลูชิพขนาดใหญ่ ซึ่งมีแนวโน้มอ่อนตัว จากการรอความชัดเจนของผลประชุมเฟด และสัญญาณเทคนิคที่เข้าสู่ระยะปรับฐาน
เทคนิค-อาจมีปรับฐานระยะสั้น
ดัชนีฯสัปดาห์นี้ อยู่ระหว่งการปรับฐาน โดยการดีดกลับขึ้นไปทดสอบแนวต้านสูงสุดเดิมที่ 1470.25 จุด (ทำไว้เมื่อ 11/6/57) หรือจุดสูงสุดใหม่ที่ 1488 จุด ต้องรอลุ้นสัญญาณรีบาวด์ ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นที่ 1446-1450 จุด หรือ 1430-1437 จุด อิง Leading Indicator ส่วนใหญ่ เป็น Overbought และ Peak Out

สัปดาห์ที่ผ่านมา :
      +/- ตลาดหุ้นโลก: การปราศจากปัจจัยบวกใหม่ๆ ขณะที่ ธนาคารโลก-IMF ปรับลดเป้าหมายเติบโตเศรษฐกิจโลกปีนี้ลงจากเดิม ส่งผลลบต่อ ตลาดหุ้นโลก ปรับตัวลดลงเล็กน้อย นำลงโดย FTSE -1.17%w-w DJIA-0.88%w-w ขณะที่ ฮ่องกง ปรับขึ้นสูงสุด +1.6%w-w หลังจากทางการจีนออกมาตรการผ่อนคลายการเงินรอบใหม่
       ส่วนตลาดหุ้นไทย สัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับลดลง -0.14%w-w ดีกว่าตลาดหุ้นอินโดนีเซียที่ -0.21%w-w แต่แย่กว่า ฟิลิปปินส์ ที่เพิ่มขึ้น +0.33%w-w โดยกลุ่มอุตฯที่ปรับขึ้นสูงสุด ยังคงเป็น กลุ่มอิงการบริโภคในประเทศ นำโดย วัสดุก่อสร้าง +1.99%w-w อสังหาฯ +1.62%w-w แบงก์ +1.35%w-w ส่วนกลุ่มที่แย่สุด ได้แก่ ICT -5.67%w-w จากการประกาศเพิ่มทุน TRUE ที่มี China Mobile เป็นพันธมิตร ส่งผลต่อการปรับลดประมาณการราคาหุ้นและกำไร AIS DTAC ลดลง
       +ตลาดโภคภัณฑ์: ผลจากเหตุรุนแรงในอิรัก ส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบปิดพุ่งขึ้นกว่า 4%w-w และทำสถิติสูงสุดรอบ 6 เดือนสำหรับ Brent และรอบ 9 เดือนสำหรับ Nymex เพราะตลาดวิตกปัญหาอิรัก อาจลุกลามส่งผลต่ออุปทานน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลง และหนุนราคาทองคำฟื้นตัว จากการเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ส่วนค่าระวางเรือ -8.39%w-w จากปัจจัยฤดูกาล ที่ค่าระวางเรือจะเริ่มชะลอตัวในช่วงปลาย มิ.ย. – ส.ค.
      -ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน : สกุล EURO มีแรง Short สูงสุดนับตั้งแต่ พ.ค. ปีก่อน ขณะที่สกุล USD มี Net Long สูงสุดเท่ากับเดือนมีค.ที่ผ่านมา
     EUR : สัปดาห์ก่อนหน้า ยังคงมีแรงขายสกุล EUR เพิ่มขึ้นเป็น -$5.9bn. หลังผลประชุมอีซีบีประกาศลดดอกเบี้ยตามคาด (Vs สัปดาห์ก่อน -$2.8 bn. -$1.3bn. -$2.1bn. ตามลำดับ) เป็นสะสมสุทธิ -$11.5bn. (เป็นปริมาณ Short สูงสุดนับตั้งแต่ เดือน พ.ค. ปีก่อน)
      JPY: หลังจากรายงาน 1Q57 GDP ที่ดีกว่าคาด และ BOJ ส่งสัญญาณไม่ลดขนาด QE เร็วๆ นี้พบว่ามี Short สัปดาห์ก่อนลดลงเหลือเพียง -$0.5bn. (Vs สัปดาห์ก่อน -$2.1bn. เป็นสะสมสุทธิ -$9.9bn. ซึ่งเป็นระดับ Short สะสมสูงสุดในรอบ 3 เดือน)
      USD: มี Net Long สกุล USD สัปดาห์ก่อนเพิ่มขึ้นอีก +$4.5bn. (Vs สัปดาห์ก่อน +3.4bn. +2.5bn.) เป็นสะสม Long +$11.6bn. ซึ่งเป็นระดับ Long สูงสุดเทียบเท่ากับช่วงต้นเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา
ส่วนค่าเงินบาท/USD ยังคงแข็งค่าต่ออีกเล็กน้อย 0.25%w-w (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า แข็งค่า 1.07% w-w ) เนื่องจากการปรับลดเป้าหมายเติบโตเศรษฐกิจโลกปีนี้ของ IMF-World Bank และรายงานเศรษฐกิจญี่ปุ่น 1Q57 GDP ที่ดีกว่าคาดการณ์ ช่วยหนุนสกุลเอเชียแข็งค่าเทียบดอลล์สหรัฐฯ

 

ประเด็นจับตา
      1. ประเด็นการเมือง: จับตานโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการรัฐขนาดใหญ่
ประเด็นการเมือง (Update):
       "ประยุทธ์"เผยจะตั้งรัฐบาลได้ใน ส.ค. - ต้นก.ย., ย้ำจะใช้อำนาจอย่างจำกัด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ระบุว่า จะมีการตั้งรัฐบาลได้ภายในเดือนส.ค.หรือต้นเดือนก.ย.นี้เพื่อมาบริหารประเทศจากนั้นจะมีสภาปฏิรูปประเทศคสช.ประกาศยกเลิกเคอร์ฟิวทั่วประเทศ เมื่อเวลา 21:12 น. วันที่ 13 มิ.ย. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกประกาศฉบับที่ 64/2557 ยกเลิกคำสั่งห้ามออกจากเคหะสถานตามเวลาที่กำหนดแล้วทั่วราชอาณาจักร โดยอ้างว่าสถานการณ์เรียบร้อยขึ้น ไม่มีสิ่งบอกเหตุความวุ่นวายรุนแรง และเพื่อบรรเทาผลกระทบด้วย

      2. Fund Flow: กระแสเงินทุนไหลกลับเข้ากองทุนหุ้นโลก ทั้ง EM และ DM
      Recommendation : แนะนำ หลักทรัพย์ที่คาดว่าจะเกิด Window Dressing ได้แก่ KBANK SCB BBL ADVANC TRUE MINT
      Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา (5-11 มิย. 57) เงินทุนกลับมาไหลเข้า Equities Funds แทนที่ Bonds Funds
      สัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินทุนโลกมีการเปลี่ยนแปลง โดยไหลเข้าตลาดพันธบัตร ต่อเนื่อง แต่ด้วยปริมาณลดลงต่ำสุด นับตั้งแต่กลางมีค. +$1.6bn.(Vs สัปดาห์ก่อน +$4.24 bn. +$6.3bn. สะสม YTD +$97.1bn.)และกลับมาซื้อ Equities Fund สูงถึง +$11.3bn. (Vs สัปดาห์ก่อน -$2bn. +$1.-$7bn และ $11bn. สะสม YTD +$56.3bn.).โดยมีแรงซื้อในตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว +$9bn. (ไหลเข้า US Equity Funds สูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนมีค +$10bn. และ Europe Equity Funds มีแรงซื้อเพิ่มสูงสุดนับตั้งแต่กลาง กพ. ที่ +$2.9bn (Vs +$1.1bn.)) และตลาดหุ้นเกิดใหม่ มีแรงซื้อสูงถึง +$2.3bn. (เป็นการซื้อกองทุน GEM +$1.76bn. Vs สัปดาห์ก่อน-$135mn และกองทุนเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น มีแรงซื้อคืน +$0.6bn. Vs -$189mn ซึ่งเป็นการซื้อสัปดาห์ที่ 2 ใน 23 สัปดาห์หลังสุด สะสมรวม -$14.1bn.
6 ชาติเอเชียฯ มีแรงซื้อเพิ่มขึ้นเป้นสัปดาห์ที่ 5 เกือบครึ่งไหลเข้าอินเดีย ส่วนไทยมีแรงซื้อต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2
       สำหรับ 6 ชาติในเอชียไม่รวมญี่ปุ่น พบว่า มีแรงซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 5 และเพิ่มขึ้นเป็น+$2.1bn. (Vs +$1.3bn.. +$843mn. +$2.9bn. และ+$1.46bn.) โดยไหลเข้าเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมดใน อินเดีย +$1bn.(Vs +$608mn +$19mn. +$1bn. ตามลำดับ) ไต้หวันมีแรงซื้อต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่17 อีก+$663mn. (Vs +$249mn.) กาหลีใต้ +$443mn. (Vs +$324mn.) ส่วนในกลุ่ม TIPs พบว่า มีแรงซื้อสุทธิสูงสุดในฟิลิปปินส์ +$53mn.(Vs สัปดาห์ก่อน +$10mn.) ไทย มีแรงซื้อต่อเนื่อง +$25mn. (Vs +$68mn. -$538mn. และ -$379mn. ตามลำดับ) ขณะที่ อินโดนีเซีย มีแรงขายสุทธิเป็นครั้งแรก หลังจาซื้อต่อเนื่อง 5 สัปดาห์จำนวน -$64mn.
      Thai Funds ถูกขายต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 10 แต่ด้วยปริมาณลดลงหน่วยลงทุนของกองทุนไทย ยังคงถูกขายแต่ด้วยปริมาณน้อยลงเหลือ -$13.5mn (จาก -$25.9mn ในสัปดาห์ก่อน) ประกอบกับการกลับมาซื้อสูงในกองทุน GEM ทำให้สุทธิแล้วตลาดไทยมีเม็ดเงินกองทุนไหลเข้ารวม +$52.2mn

      3. หุ้นที่ยังซื้อขายที่ PBV ต่ำกว่า mean+0.5SD และมีอัพไซด์สูงกว่า 8% แนะทยอยสะสม TICON PTTEP BBL SCC TUF

       4. รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : จับตาผลประชุมเฟด และผลประชุมกนง.วันพุธ
จันทร์: USA: Industrial Production พ.ค. คาด+0.5%m-m(Vs -0.6%) Empire State Survey มิ.ย. คาด 15 (Vs 19) NAHB housing market index มิ.ย. คาด 47 (Vs 45)
อังคาร: USA CPI พ.ค. คาด 0.2%m-m (Vs 0.3%) ยอดขายบ้านใหม่ พ.ค. คาด 1036 k(Vs 1072k) Building permits พ.ค. คาด 1070k (Vs 1059k) เยอรมนี ZEW Index (Expectation) มิ.ย. คาด 35 (Vs 33.1)
      พุธ: USA FOMC Meeting คาดคงดอกเบี้ยและลดขนาด QE ลงอีก $10bn. เหลือ $35bn. Japan: ส่งออก พ.ค. คาด -1.1%y-y(Vs 5.1%) Thai: ผลประชุมกนง คาดคงดอกเบี้ยที่ 2%
พฤหัสบดี: USA: Phil Fed Survey มิ.ย. คาด 14 (Vs 15.4) Leading Indicators พ.ค. คาด 0.6%m-m (Vs 0.4%) EU: EU group meeting
ศุกร์ : EU Ecofin meeting , Consumer Confidence มิย คาด -6.8 (Vs -7.1) Spain: Moody ทบทวนเรตติ้งไต้หวัน: ส่งออก พ.ค. คาด 7.6%y-y (Vs 8.9%)

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
      จีน เผยผลผลิตอุตฯ,ยอดค้าปลีก,การลงทุนสินทรัพย์ถาวรพุ่งในเดือน พ.ค. สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) รายงานว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนพุ่งขึ้น 8.8% ในเดือน พ.ค.เมื่อเทียบรายปี ส่วนยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 12.5% การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พุ่งขึ้น 17.2% ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้
       จีน เผยการลงทุนภาคอสังหาฯเพิ่ม 14.7% ช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยในวันนี้ว่า การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของจีนเพิ่มขึ้น 14.7% ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เมื่อเทียบจากปีก่อน ขณะที่รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ลดลง 8.5% การลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ โดยพุ่งขึ้น 16.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนรายได้ลดลงเมื่อเทียบกับการร่วงลง 7.8% ในช่วงเดือน ม.ค. - เม.ย. จากช่วง 4 เดือนแรกของปีก่อน

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาปิดบวก หลังลดลง 2 วัน
      วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาปิดบวก หลังลดลง 2 วัน โดยดัชนี DJIA ปิดเพิ่มขึ้น 41.55 จุดหรือ 0.25% สู่ระดับ 16,775.74 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดเพิ่มขึ้น 6.05 จุดหรือ 0.31% สู่ระดับ 1,936.16 จุด และ Nasdaq ปิดบวก 13.02 จุด หรือ 0.30% สู่ระดับ 4,310.65 จุด ตลอดสัปดาห์ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลบ 0.9%, ดัชนี S&P 500 ลบ 0.7% และดัชนี Nasdaq ลบ 0.25% ตลาดร่วงลงในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรก หลังจากดัชนี S&P 500 ดีดตัวขึ้น 3 สัปดาห์ติดต่อกัน และทะยานขึ้น 4.8% ในปีนี้ เนื่องจากนักลงทุนมีความวิตกต่อสถานการณ์ในอิรัก นักวิเคราะห์กังวลว่าการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะขณะที่ดัชนีกำลังใกล้แตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์
       ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวว่า เขาต้องการเวลาหลายวันในการตัดสินใจว่าสหรัฐจะให้ความช่วยเหลืออิรักในการจัดการกับกลุ่มกบฏอย่างไร แต่เขายืนยันว่า สหรัฐจะไม่ส่งทหารกลับเข้าไปทำสงครามในอิรัก และการให้ความช่วยเหลือใดๆ จะต้องขึ้นอยู่กับว่าผู้นำของอิรักจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องมากขึ้น ส่วนการปรับขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯวันศุกร์ มาจาก แรงหนุนของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี

- ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลดลง จับตาปัญหาอิรัก
     วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปปิดอ่อนตัวลง FTSE ปิดลดลง 65.26 จุด หรือ -0.95% สู่ 6,777.85 จุด ดัชนี CAC40 ปิดอ่อนตัว 11.12 จุด หรือ -0.24% สู่ 4,543.28 จุด และ DAX ปิดลดลง 25.83 จุด หรือ -0.26% สู่ 9,912.87 จุด โดยตลาดหุ้นยุโรปลดลงต่อเนื่อง จากวิตกปัญหาอิรัก ส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบและเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก

+ราคาน้ำมันดิบ ขึ้นต่อ จับตาปัญหาอิรัก
     วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบกค. ปรับขึ้นอีก 0.48 ดอลลาร์ สู่ 113.50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ กค. ขยับขึ้นอีก 0.38 ดอลลาร์ มาปิด ตลาดที่ 106.91 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากวิตกปัญหาอิรัก ที่อาจลุกลาม

+ราคาทองคำ ขยับขึ้นเล็กน้อย
     วันทำการที่ผ่านมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม ปิดตลาด เพิ่มขึ้น 0.10 ดอลล์ สู่ 1,274.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยการแรลลี่ของราคาทองคำเริ่มลดลง หลังจากตลาดคาดว่าปัญหาอิรักจะได้รับการช่วยเหลือในที่สุด

- ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ร่วงลงเป็นวันที่ 3
      วันทำการที่ผ่านมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดลดลงอีก 33 จุด หรือ -3.5% เป็น 906 จุด หลังจาก ปี 56 เพิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก(แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)
ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 [email protected] 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 [email protected] 02-624-6270

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!