- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 20 April 2015 16:46
- Hits: 1366
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
คาด SET จะเริ่มแกว่งลบให้เป็นโอกาสในการเลือกซื้อครั้งใหม่!
กลยุทธ์ : คาดว่า SET มีสิทธิอยู่ในช่วงปรับพักฐาน หลังก่อนหน้านี้ดัชนีแกว่งบวกขึ้นมาพอควรแล้ว ซึ่งมีโอกาสที่จะปรับตัวลงในกรอบกว้างได้ แต่ FSS ยังคาดว่าเป็นการพักฐานก่อนการรีบาวด์ขึ้นใหม่อีกครั้ง ดังนั้นหลังจากแนะนำให้แบ่งส่วนขายทำกำไรช่วงบวกไปแล้ว ถัดจากนี้จึงสามารถรอจังหวะเลือกหุ้นซื้อช่วงลบในลักษณะทยอยเข้ารับ แล้วเน้นถือเพื่อรอรอบขึ้นครั้งใหม่ต่อไปได้
หุ้นเด่นทางเทคนิค : PSL, TICON, KCE(short)
แนวโน้ม : เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา SET เริ่มมีแรงขายกดดันให้ย้อนลบในช่วงบ่าย หลังจากดัชนีรีบาวด์ขึ้นมาต่อเนื่องพอควรแล้วในช่วง 3 สัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่ในช่วงค่ำตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปยังปรับตัวลงรุนแรงพอควร เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่ากรีซอาจจะต้องผิดนัดชำระหนี้ในต้นเดือนหน้า รวมทั้งข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐยังหนุนความเป็นไปได้ที่ว่าเฟดอาจจะเริ่มขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ด้วย ส่งผลให้เช้านี้ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่เปิดเป็นลบ ทำให้ FSS ยังคาดหมายว่า SET จะอยู่ในช่วงปรับตัวย้อนลบลงก่อนได้ อย่างไรก็ตามด้วยแรงซื้อของนักลงทุนต่างประเทศที่เริ่มมีเข้ามาในบ้านเราต่อเนื่องมากขึ้น และแรงซื้อเก็งกำไรเกี่ยวกับผลประกอบการไตรมาส 1/58 ของบริษัทจดทะเบียนต่างๆ ที่กำลังจะเริ่มทยอยประกาศออกมา น่าจะพอช่วยพยุงดัชนีไม่ให้ปรับตัวลงรุนแรงมากได้ และสุดท้ายแล้วเรายังคาดว่า SET ยังมีแนวโน้มที่จะกลับไปแกว่งบวกต่อเนื่องอีกครั้งในช่วงถัดไป ดังนั้นเราจึงยังแนะนำให้เลือกหุ้นทยอยเข้ารับช่วง SET ปรับลงได้เช่นเดิม
แนวรับ 1565-1560 , 1555-1550 จุด
แนวต้าน 1568-1570 , 1573-1575 จุด
Fund Flow ศุกร์ที่ผ่านมามีเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคแต่ในปริมาณเบาบางลงมากเหลือสุทธิเพียง US$36ล้าน ส่วนใหญ่มาจากการไหลออกจากประเทศไต้หวัน US$137 ล้าน ตามด้วยอินโดนีเซีย US$44.9 ล้าน ขณะที่ไหลเข้าเกาหลีใต้ในปริมาณมากที่สุด US$177 ล้าน และไทย US$48.1 ล้าน นักลงทุนส่วนใหญ่ยังลังเลต่อเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มสัปดาห์นี้กระแสเงินทุนมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ภายหลังจาก PBOC ประกาศลด RRR ลง 1% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(+) ธนาคารกลางจีนประกาศลด RRR (อัตราการกันสำรองของแบงก์พาณิชย์) ลงอีก 1% เหลือ 18.5% เพื่อกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อหนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจหลังแนวโน้ม GDP ปีนี้ชะลอตัว แม้ว่าการลด RRR จะเป็นไปตามตลาดคาดการณ์แต่อัตราที่ลดถือว่ามากกว่าที่คาด อย่างไรก็ตาม ที่ระดับ 18.5% ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอื่นในโลก จึงมองว่าธนาคารกลางของจีนยังมีโอกาสลด RRR อีกหลายครั้งในปีนี้
(-) ความผิดหวังของ TMB ไม่น่าเกิดกับแบงก์อื่น แต่กระทบความมั่นใจของนักลงทุนอย่างเลี่ยงไม่ได้ กำไรสุทธิของ TMB ที่น่าผิดหวัง -45% Q-Q, +2% Y-Y ใน 1Q15 แต่เชื่อว่าไม่น่าเกิดกับแบงก์อื่น เพราะ TMB เป็นแบงก์เดียวที่ไม่ได้เปิดให้นักวิเคราะห์ทำคาดการณ์ผลประกอบการ ขณะที่แบงก์อื่น นักวิเคราะห์ได้พบผู้บริหารและปรับกำไรปีนี้ลงแล้ว 2-4% ถือว่าลดทอนความคาดหวังแล้วส่วนหนึ่ง สำหรับกำไรของ TMB ที่ต่ำผิดคาดเกิดจากการตั้งสำรองฯที่เพิ่มเท่าตัว +109% Q-Q, +106% Y-Y และคาดว่ามีการ write off หนี้เสียจำนวนหนึ่ง เราปรับกำไรสุทธิปี 2015 ลง 5% เป็น flat Y-Y จากเดิมคาดโต 6% ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 3.16 บาทจาก 3.40 บาท ลดคำแนะนำเป็นถือ จากซื้อ หรือ switch เป็น KBANK
(+) TISCO กำไรดีกว่าคาด -3.4% Q-Q, +27.6% Y-Y มากกว่าที่เราและตลาดคาดประมาณ 12-16% จากรายได้ดอกเบี้ยที่มากกว่าคาด ส่วนสินเชื่อหดตัว 3.2% YTD แต่ NPL เริ่มทรง การตั้งสำรองฯ ยังคงตั้งในระดับสูง 1.38% ของสินเชื่อ แต่ข้อดีที่เซอร์ไพร้ส์เราคือ Spread ปรับขึ้นเป็น 3.5% จาก 3.25% ในไตรมาสก่อน เราคงประมาณการกำไรปีนี้โต 6% Y-Y ผลักดันโดย Credit cost ที่ลดลงเพราะคุณภาพหนี้เริ่มดีขึ้นและผลขาดทุนรถยึดที่น้อยลง คงราคาเป้าหมาย 56 บาท แนะนำซื้อเพราะ Valuation ถูก และ Dividend yield สูงกว่า 4% ต่อปี (จ่ายปันผล 2 บาท XD 28 เม.ย.)
(+) BJC ผู้ถือหุ้นมีมติไม่อนุมัติดีลซื้อ Metro เวียดนาม เรามองเป็นบวกและกลับมาแนะนำ “ซื้อ” อีกครั้งเพราะ BJC จะไม่ต้องมี dilution จากการเพิ่มทุน ไม่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย และไม่ต้องแบกผลขาดทุนของ Metro เวียดนาม และการที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ TCC Holding จะเป็นผู้ซื้อแทน ทำให้ BJC มีช่องทางกระจายสินค้าสู่ตลาดเวียดนามมากขึ้น แต่กำไรของ BJC ที่ยังไม่สดใสโดยเฉพาะใน 1Q15 ที่เราคาด -10% Q-Q, -1.7% Y-Y ก่อนจะฟื้นใน 2H15 การซื้อจึงน่าจะเป็นลักษณะทยอยสะสม
(+) กลุ่มที่อยู่อาศัยยังน่าสนใจ SET ที่รีบาวนด์ขึ้นมา 5% จากจุดต่ำในรอบนี้นำโดยกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี และกลุ่มรับเหมา ขณะที่กลุ่มที่อยู่อาศัยซึ่งปรับลงแรงก่อนหน้านั้นรีบาวนด์ขึ้นมาน้อยกว่ากลุ่มอื่น และเป็นกลุ่มที่มี PE ต่ำ 9.7 เท่า แนะนำเก็งกำไรกลุ่มนี้ก่อนการประชุมกนง. 29 เม.ย. แนะนำ SPALI (ราคาเป้าหมาย 30 บาท) และ PS (ราคาเป้าหมาย 42 บาท)
??ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ปิดลบค่อนข้างแรงโดยนักลงทุนกังวลต่อสถานการณ์หนี้ของกรีซที่อาจผิดนัดชำระหนี้ในเดือนหน้า ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯหนุนความเป็นไปได้ที่ FED จะขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้
??ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนวันศุกร์ปิดลบแรงเช่นกันจากทิศทางเศรษฐกิจในอนาคตของจีนที่ชะลอตัวรวมถึงความเสี่ยงเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ของกรีซ
??ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดในแดนลบตามตลาดหุ้นภูมิภาคอื่นแม้จะได้รับแรงหนุนจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน
??ค่าเงินบาทยังแกว่งตัวค่อนไปในทางแข็งค่าในกรอบ 32.27-32.40 บาท/ดอลลาร์
??ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน พ.ค. ปิดที่ 55.74 เหรียญ/บาร์เรล ลดลง 0.97 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นติดต่อกัน 6 วันทำการ รวมถึง Baker Highes ที่กล่าวว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐฯลดลงต่ำสุดตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งอาจลดลงกว่านี้ได้ไม่มากแล้ว
??ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ปิดที่ 1,203.10 ดอลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 5.10 เหรียญ/ออนซ์ หลังนักลงทุนวิตกกังวลต่อกรีซที่เสี่ยงผิดนัดชำระหนี้รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวแรงกว่าคาด
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
17-23 เม.ย. - ไทย: กลุ่มธนาคารทยอยประกาศผลประกอบการ 1Q15
20 เม.ย. - ไทย: ยอดขายรถ (มี.ค.)
21 เม.ย. - ยูโรโซน: ZEW Survey Expectations (เม.ย.)
22 เม.ย. - สหรํฐ: ยอดขายบ้านเก่า (มี.ค.)
23 เม.ย. - จีน: HSBC China Manufacturing PMI (เม.ย.)
- เกาหลีใต้: 1Q15 GDP
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านใหม่ (มี.ค.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (เม.ย.)
24 เม.ย. - สหรัฐ: คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (มี.ค.)
- กรีซ: การเจรจาระหว่างกรีซและ EU ต้องได้ข้อสรุป
27 เม.ย. - ไทย: ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มี.ค.), ดุลการค้า (มี.ค.)
28-29 เม.ย. - สหรัฐ: FOMC ประชุม
28 เม.ย. - สหรัฐ: S&P/CaseShiller Index (ก.พ.), ความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เม.ย.)
29 เม.ย. - ไทย: กนง.ประชุม
- สหรัฐ: 1Q15 GDP (คาดครั้งแรก), Pending home sales (มี.ค.)
- ยูโรโซน: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เม.ย.)
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research