- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 16 April 2015 15:42
- Hits: 1220
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+) ตลาดหุ้นต่างประเทศ : DJIA +75.91, NASDAQ +33.73, S&P +10.79, FTSE +21.52, CAC +36.29 และ DAX +3.74 ภายใต้ปัจจัยหนุนจาก (1) ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน และ (2) ผลประกอบการที่สดใสของบริษัทเอกชน และดีกว่าคาด เช่น บริษัทอินเทล คอร์ป เดลต้า แอร์ไลน์ และแบงก์ ออฟ อเมริกา เป็นต้น
....ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจ (+) ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย – เมย. อยู่ที่ระดับ 56 เพิ่มจาก 52 เมื่อมีค. และดีกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ ระดับ 55 และ (-) เช่น การผลิตภาคอุตสาหกรรม - มีค. ลดลง 0.6% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อกพ. และทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรม – 1Q/58 ลดลง 1.0%yoy ซึ่งเป็นการลดลงรายไตรมาสครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วง 2Q/52 นอกจากนี้ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) - เมย. ลดลงแตะ -1.19 จากระดับ 6.90 เมื่อมีค.
.....ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยหนุนจากถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยืนยันว่า ECB จะเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไป จนกว่าเงินเฟ้อของยูโรโซนจะฟื้นตัวอย่างยั่งยืน (เป้าหมายเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.0%) โดยมีความเป็นไปได้ที่ ECB จะซื้อพันธบัตรต่อไปเกินกว่าเดือนกย.’59 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กำหนดไว้เดิม ขณะที่ ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.05% ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด
…..ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน พ.ค. +US$3.1 อยู่ที่ US$56.39 ต่อบาร์เรล โดยได้รับปัจจัยหนุนหลัง EIA เปิดเผย (1) ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลง 20,000 บาร์เรล อยู่ที่ 9.384 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้คลายความกังวลภาวะอุปทานพลังงานที่อยู่ในระดับสูง และ (2) สต็อกน้ำมันดิบ ล่าสุดเพิ่มขึ้นเพียง 1.3 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 483.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมถึง IEA ได้ปรับทบทวนคาดการณ์ความต้องการน้ำมันปี’58 เพิ่มขึ้น 90,000 บาร์เรล/วัน เป็น 93.6 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งสูงกว่า 1.1 ล้านบาร์เรล/วัน เมื่อปี’57
......ราคาทองคำส่งมอบเดือน มิ.ย. +US$8.7 อยู่ที่ US$1,201.3 ต่อออนซ์ ได้รับแรงหนุนจากเงินสหรัฐฯ ที่อ่อนค่า หลังสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลภาคการผลิตข้างต้น
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -251 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ต้นปีสุทธิ -7,280 ล้านบาท (ปี’57 มียอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท)
ทิศทางตลาด
ทิศทางตลาด : ผันผวน? แต่คาดมีโอกาสปรับขึ้นภายใต้ปัจจัยบวกจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากกลุ่มพลังงานที่ได้รับปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมัน และถ้อยแถลงของประธาน ECB ภายใต้ความเป็นไปได้ที่ ECB จะซื้อพันธบัตรต่อไปเกินกว่าเดือนกย.’59 (วงเงิน 60,000 ล้านยูโร/เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ที่ผ่านมา) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กำหนดไว้เดิม
.....ขณะที่ประเด็นในประเทศ คาดได้รับปัจจัยกดดันจาก (1) Fund Flow ที่คาดมีความผันผวน หลังล่าสุดต่างชาติขายสุทธิ แต่มูลค่าไม่มากนักเพียง 251 ล้านบาท และ (2) ประเด็นการเกิดระเบิดที่เกาะสมุย ในช่วงวันหยุดที่ผ่านมา คาดอาจส่งผลกระทบบ้างต่อการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามคาดอาจเริ่มมีแรงเก็งกำไรผลประกอบการโดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร คาดทยอยประกาศผลการดำเนินงานในสัปดาห์นี้ – สัปดาห์หน้า และหลังจากนั้นตามด้วยกลุ่ม Real Sector ที่มีไปจนถึงกลางเดือนพค.
...ยังแนะเก็งกำไร (1) TASCO ที่คาดได้รับประโยชน์จากงบประมาณโครงการซ่อมสร้างถนน ของกระทรวงคมนาคม ประมาณ 34,000 ล้านบาท และ (2) การประมูล 4G เริ่มมีความชัดเจน คาดส่งผลดีต่อผู้ประกอบการโดยเฉพาะ ADVANC รวมถึงกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการวางโครงข่ายเสา เช่น CSS เป็นต้น ส่วนทางด้านประเด็นต่างประเทศ แนะติดตามต่อเนื่อง และคาดอาจสร้างความผันผวนให้กับตลาดได้ โดยเฉพาะประเด็นที่ยูโรโซนเสนอให้กรีซยื่นข้อเสนอมาตรการปฏิรูปฉบับแก้ไขแล้วต่อยูโรกรุ๊ป ซึ่งจะมีการประชุมในวันที่ 24/4/58 นี้ เพื่อให้กรีซได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในส่วนที่เหลือต่อไป
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ทรงตัวอยู่ที่ 1.90% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) และดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.83 อยู่ที่ 12.84
หุ้นแนะนำ : KTB
ประเด็นที่ต้องติดตาม (16 - 17 เมย.’58)
16/4/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน (2) ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้าง - มีค. (3) ดัชนีกิจกรรมการผลิตเขตมิด-แอตแลนติก - เมย.
17/4/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) - มีค. (2) ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ - มีค. (3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้น - เมย.
หุ้นแนะนำ
KTB : ราคาเป้าหมาย (ปี’58) 27.00 บาท
แม้ผลประกอบการ 1Q/58 คาดจะออกมาไม่โดดเด่น หลังถูกกดดันจากปัญหาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างเชื่องช้าขณะที่การลดดอกเบี้ยของ BOT ที่ส่งผลกระทบกดดัน NIM ให้ปรับตัวลดลง และคาดอาจจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยัง 2Q/58 แต่คาดเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวได้ดีอีกครั้งใน 2H/58 โดยเฉพาะจากโครงการลงทุนภาครัฐ ซึ่งคาด KTB ได้รับประโยชน์มากที่สุดในกลุ่มธนาคาร
ขณะที่ KTB ยังเน้นตลาด SME ขนาดเล็ก และ Retail ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 20% และ 32% ตามลำดับ ซึ่งถือว่ายังไม่มากหากเทียบกับธนาคารขนาดใหญ่ที่เป็นคู่แข่ง คาดจะส่งผลดีต่อ KTB ในระยะยาว ทั้งการเพิ่มขึ้นของ Yield และการกระจายความเสี่ยงของ Port สินเชื่อที่ปัจจุบันกระจุกตัวอยู่ในสินเชื่อภาครัฐ และ Corporate loans
นอกจากนี้คาด KTB โดดเด่นสุดในกลุ่มธนาคารสำหรับปี58 ระดับเงินปันผลที่น่าสนใจ คาด Div.Yield ประมาณ 4.0% แนะนำ “ซื้อ” โดยประเมินราคาเป้าหมายที่ 27.00 บาท
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ 02-684-8788