- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 10 April 2015 14:06
- Hits: 1121
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
เชื่อว่า ดัชนียังย่ำอยู่กับที่ ตราบที่ยังขาดปัจจัยชี้นำที่ชัดเจน กลยุทธ์ให้เลือกหุ้นที่คาดจะให้ผลตอบแทนชนะตลาดในช่วงหลังสงกรานต์เช่น VNG([email protected]), ADVANC(FV@B285) วันนี้เลือก Top picks VNG([email protected]) และ RCL([email protected]) ซึ่งดัชนี Howe Robinson ยังบวกต่อ 5%wow เป็นสัปดาห์ที่ 14
ปัญหากรีซ อาจจะกลับเข้ามาสร้างความกังวลต่อตลาดได้
ดังที่ได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ว่าตลาดแรงงานสหรัฐเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลง สะท้อนจากดัชนีชี้วัดด้านแรงงานที่มีการประกาศไปก่อนหน้านี้ คือ การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน มี.ค. ต่ำสุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2556 และการจ้างงานภาคเอกชน (ADP) เดือน มี.ค. ต่ำสุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 2557 ขณะที่วานนี้มีการรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ (initial jobless claims) สิ้นสุด 3 มี.ค. แม้จะประกาศออกมาน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ คือ 281,000 ราย แต่ก็ยังเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 267,000 ราย (เฉลี่ย 4 สัปดาห์ อยู่ที่ 282,250 ราย) จึงทำให้คาดว่าอัตราการว่างงานสหรัฐน่าจะยังทรงตัวที่ระดับ 5.5% ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญประกาศหนึ่งในการที่ Fed จะใช้ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย (Fed ต้องการเห็นอัตราการว่างงานที่ต่ำ 5.2-5.3%) นอกจากอัตราเงินเฟ้อที่จะต้องเข้าใกล้เป้าหมายที่ 2% ซึ่งขณะที่อัตราเงินเฟ้อสหรัฐถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำมากเพียง 0.0% ในเดือน ก.พ. และคาดว่าจะอยู่ที่ 0.1% ในเดือน มี.ค. ทำให้เชื่อว่า Fed ยังต้องใช้นโยบายผ่อนคลายต่อไปจนถึงปลายปี 2558
ขณะที่ทางด้านปัญหาหนี้กรีซที่ยังยืดเยื้อและยังไม่มีข้อสรุปถือแผนปฏิรูปเศรษฐกิจในระยะสั้น แม้ว่าวานนี้กรีซจะสามารถชำระหนี้คืน ให้กับ IMF มูลค่า 458 ล้านยูโร (492 ล้านเหรียญฯ) ได้ทันตามกำหนดก็ตาม แต่ก็คิดเป็นเพียงแค่ 0.2% ของหนี้ทั้งหมดที่กรีซมีกว่า 2.4 แสนล้านยูโร โดยกรีซมีหนี้ที่จะต้องชำระในปี 2558 เกือบ 3 หมื่นล้านยูโร ซึ่งหลักๆ จะเป็นการจ่ายคืน IMF, จ่ายคืน T-Bills ให้กับผู้ถือ คือ ECB และเจ้าหนี้รายอื่นๆ ซึ่งหนทางเดียวที่กรีซจะอยู่รอด คือ ขออนุมัติเงินกู้รอบใหม่จากทาง ECB ซึ่ง แต่ยังติดปัญหาที่กรีซจะต้องส่งแผนปฏิรูปให้กับคณะรัฐมนตรีคลังยุโรปพิจารณา ซึ่ง ECB ยื่นคำขาดให้เวลากรีซอีก 6 วันทำการ ในการส่งแผนฯ ให้ทันการประชุมในวันที่ 24 เม.ย. นี้ โดยแผนนั้นยังค่อนข้างเป็นไปได้ยากและห่างไกลความเป็นจริง ทั้งในเรื่องของการปรับปรุงแผนบำนาญข้าราชการ รวมทั้งการจ่ายเงินเดือน ซึ่งกรีซเองจะต้องเร่งหาทางออกให้ได้ทันเวลา จึงยังเป็นประเด็นหลักที่อาจกลับมากดดันตลาดหุ้นโลกอีกครั้ง
SET ยังย่ำกับที่ ด้วยปัจจัยกดดันเดิม ๆ...การเมืองและเศรษฐกิจ
ในสภาวะตลาดปัจจุบัน เชื่อว่าปัจจัยที่ยังมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทย น่าจะมาจากปัจจัยการเมือง และเศรษฐกิจในประเทศ เป็นสำคัญประเด็นทางการเมือง ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนของการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามกรอบเวลาต้องให้แล้วเสร็จภายใน 17 เม.ย. 2558 และเมื่อขั้นตอนนี้เสร็จสิ้นแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 คือ การส่งร่างรัฐธรรมนูญ ให้กับ 3 องค์กร คือ สปช คณะรัฐมนตรี และ คสช เพื่อพิจารณา แก้ไข/ปรับปรุง ในการนำเสนอต่อ คณะกรรมการร่างฯ ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้แล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 คือ ส่งร่างฯ ให้ สปช. ลงมติ เห็นชอบ ซึ่งตามกรอบเวลา น่าจะเสร็จสิ้น 6 ส.ค. และหาก สปช. เห็นชอบ ก็จะเป็นขั้นตอนในการนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าถวาย ฯ ซึ่งคาดว่าน่าจะอยู่ในกรอบเวลา 4 ก.ย. 2558 แต่หากสะดุด โดย สปช. ไม่เห็นชอบก็เป็นความเสี่ยงที่ทำให้การร่างรัฐธรรมนูญต้องกลับไปที่จุดเริ่มต้นใหม่ การเลือกตั้งก็จะไม่เกิดขึ้นแล้วเกิดอะไรขึ้นต่อ ...แรงต่อต้าน/คลื่นใต้น้ำ เป็นต้น. มาวันนี้ถือว่าการร่างรัฐธรรมนูญใกล้เสร็จสิ้นในขั้นตอนแรก คงต้องไปรอลุ้นเอาในสัปดาห์หน้าหลังสงกรานต์ว่าจะสามารถผลักดันให้ผ่านเข้าขั้นตอนที่ 2 ตามกรอบเวลาที่กล่าวข้างต้นหรือ แต่อย่างไรก็ตาม มาถึงจุดนี้ถือว่ามีหลายประเด็นที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคม ไม่ว่าจะเป็นประเด็นที่มา สว., นายกรัฐมนตรี และระบบเลือกตั้ง เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่สามารถกลับเข้ามากดดันตลาดได้ตลอดเวลา
และเช่นเดียวกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับประเด็นทางการเมือง ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะมิใช่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค และนักลงทุนเท่านั้น แต่ล่าสุดพบว่าผลกระทบจากภายนอกยังคงซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย โดยล่าสุด พบว่ายอดการส่งออกงวด 2 เดือน แรกของปีนี้ ตกต่ำกว่าคาดมาก โดยลดลง 4.8% จาก ม.ค.-ก.พ. 2557 ขณะที่วานนี้ทาง มรว.ปรีดิยาธรฯ รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ ยอมรับว่ายอดส่งออกงวด 1Q58 น่าจะติดลบ 4% yoy ซึ่งทำให้ยอดส่งออกในประเทศน่าจะต่ำกว่าเป้าหมาย และทางด้าน ธปท. ยังประเมินว่าหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ ยอดส่งออกในปี 2558 อาจจะติดลบติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ภายใต้ภาวะตลาดส่งออกหลักยังฟื้นตัวล่าช้า ได้แก่ ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน แม้ปัญหา การส่งออกที่หดตัว จะเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น มาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งมีตลาดส่งออกกลุ่มเดียวกับสินค้าไทย แต่อย่างไรก็ตามไทยอาจจะแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านที่ยังเผชิญกับปัญหาการเมือง และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างล่าช้า สะท้อนจากการบริโภค การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนยังฟื้นตัวล่าสุด และหากอิงจากตัวเลขเศรษฐกิจที่นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักได้ประเมินไว้ล่าสุดปี 2558 ไทยจะเติบโตเฉลี่ยที่ 3.5% ในปี 2558 (ดีขึ้นจาก 0.7% ในปี 2557) และคาดว่ามีแนวโน้มจะถูกปรับลดลงเหลือต่ำกว่า 3% ได้ ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านทุกแห่งไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย คาดว่าจะเติบโต 5.2% (ชะลอตัวจาก 5.9% ในปี 2557) ฟิลิปปินส์ 6.3% (ทรงตัวจาก 6.2% ในปี 2557) อินโดนีเซีย 5.5% (ทรงตัวจาก 5.2% ในปี 2557) และ จีน 6.8% (ชะลอตัวจาก 6.8% ในปี 2557) เป็นต้น ทำให้ความน่าสนใจต่อการดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนจากต่างประเทศอาจจะลดน้อยลง
ตลาดหุ้นน่าจะให้น้ำหนักต่อความสามารถในการทำกำไรตลาดที่ดีขึ้นในปี 2558
แม้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองจะยังมีอยู่ แต่ภาคเอกชน โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนยังคงเดินหน้าอย่างเต็มที่เพื่อสร้างกำไรให้กับตลาดฯ และ ถือเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของตลาดหุ้นไทย ภายใต้สภาวะที่ไร้ปัจจัยหนุนนำ โดยภายในประมาณการของ ASP คาดว่าในปี 2558 กำไรของบริษัทจดทะเบียนจะอยู่ที่ 9.58 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 103.65 บาทต่อหุ้น ฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญจากปี 2557 ที่ทำกำไรได้เพียง 7.03 แสนล้านบาท หรือ คิดเป็น 76.72 บาทต่อหุ้น หรือปี 2558 จะมี EPS Growth ที่สูงมาก 35.1% ซึ่งนับว่าสูงมาก เทียบกับปี 2557 ที่ลดลงจากปี 2556 16.24% ทั้งนี้เกิดจากการฟื้นตัวของหุ้นในกลุ่มที่อิงเศรษฐกิจโลก ทั้งปิโตรเลี่ยมโรงกลั่น และ ปิโตรเคมี ภายหลังจากที่ประสบภาวะขาดทุน (stock losses) ย่ำแย่ในปี 2557 คาดว่าทุกอย่างจะดีขึ้นในปีนี้ และน่าจะเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นนับตั้งแต่งวด 1Q58
จากการสำรวจนักวิเคราะห์ ASP ทำให้สามารถประเมินผลในเบื้องต้นว่า กำไรสุทธิของตลาดในงวด 1Q58 น่าจะเกิน 2 แสนล้านบาทได้ ซึ่งจะเป็นการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับฐานกำไร 4Q57 ซึ่งอยู่ที่ระดับต่ำเพียง 6.92 หมื่นล้านบาท แต่น่าจะใกล้เคียงกับ 1Q57 ซึ่งมีฐานกำไรสุทธิอยู่ที่ระดับ 2.23 แสนล้านบาท ถือเป็นไตรมาสที่มีฐานกำไรสูงที่สุดของปี 2557 ที่ผ่านมา โดยกลุ่มที่คาดว่ากำไรเติบโต YoY มีกระจายอยู่หลายกลุ่มอุตสาหกรรม เริ่มจาก
วัสดุก่อสร้าง ซึ่ง SCC ได้รับประโยชน์จากวัฎจักรขาขึ้นของปิโตรเคมีสาย Olefins อย่างชัดเจนอีกทั้งยังมีการบันทึกกำไรจากการขายเงินลงทุน (บจ.สยามมิชชิลิน กรุ๊ปฯ) หลังภาษีอีกราว 1.6 พันล้านบาท ส่วน TASCO ก็ได้ประโยชน์จากราคาขายยางมะตอยที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ต้นทุนปรับลดลงตามราคาน้ำมัน
โรงแรม และโรงพยาบาล 2 กลุ่มนี้น่าจะมีแนวโน้มการทำกำไรดีขึ้นชัดเจน จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาลในงวด 1Q58 ที่เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปี 2557 ราว 22% เป็นต้น
กลุ่มค้าปลีก รายได้และกำไรเติบโต ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนสาขาที่เปิดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฐานงวด 1Q57 แต่อย่างไรก็ตามยังไม่เห็นสัญญาณบวกที่ชัดเจนจากการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม
กลุ่มขนส่งทางอากาศ ทั้ง THAI และ AAV ผลประกอบการดีขึ้นชัดเจนจากผลประโยชน์ของราคาน้ำมันที่ปรับลดลง และการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยว
กลุ่ม ICT การย้ายฐานลูกค้าจากระบบ 2G มา 3G ทำให้ต้นทุนการให้บริการลดลง ขณะที่มีการบันทึกรายการพิเศษของ JAS ที่มีการขายสินทรัพย์เข้ากองทุนโครงสร้างพื้นฐานตรงกันข้ามกลุ่มที่คาดว่ากำไรชะลอตัว YoY : ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าโภคที่ปรับลดลง เริ่มจาก
กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ซึ่งในงวด 1Q58 คาดว่าจะยังเห็นการบันทึกด้อยค่าสินค้าคงเหลือ เทียบกับ 1Q57 ที่ไม่มีส่วน Operation ก็อยู่ในระดับที่ทรงตัวทำให้ภาพรวมน่าจะมีกำไรสุทธิที่ลดต่ำลง อีกกลุ่มหนึ่งได้แก่
กลุ่มเกษตร ซึ่งราคา ปรากฎว่าทั้งราคา เนื้อหมู และราคาเนื้อไก่ปรับตัวลดลง อีกทั้งในงวดไตรมาสที่ 1 ก็เป็นช่วง Low Season ของการส่งออก ทำให้คาดว่าฐานกำไรจะลดต่ำลง
สำหรับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ คาดหมายว่าจะมีกำไร 5.13 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 1.8% YoY ทั้งนี้การเติบโตของกำไรส่วนใหญ่เกิดจากแรงขับเคลื่อนของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลง ขณะที่การสร้างรายได้เพิ่มไม่ได้อยู่ในระดับที่มีนัยสำคัญ โดยภาพรวมของกำไรบริษัทจดทะเบียนในงวด 1Q58 ดังกล่าวมาข้างต้น หากสามารถแสดงฐานกำไรที่สูงกว่า 2 แสนล้านบาทได้ ก็น่าจะถือเป็น Sentiment เชิงบวกต่อทิศทางของ SET Index โดยเป็นการสร้างความเชื่อมั่นได้ว่า EPS Growth ระดับสูงน่าจะเข้ามาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนตลาดหุ้นไทยในช่วงต่อไป
เม็ดเงินต่างชาติไม่ชัดเจน มีทั้งซื้อสลับขายในภูมิภาค
วานนี้นักลงทุนต่างชาติสลับกลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคที่ 126.15 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสลับขายใน 4 วันทำการหลังสุด) กล่าวคือ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นอินโดนีเซีย (ขายวันแรกหลังจากซื้อติดต่อกัน 6 วันทำการ) และขายสุทธิในไต้หวัน ตรงข้ามกับซื้อสุทธิในเกาหลีใต้ต่อเนื่องวันที่ 3 และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยด้วยมูลค่าน้อยเพียง 8.8 ล้านเหรียญฯ (287.19 ล้านบาท) เท่านั้น ขณะที่ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดทำการ
เป็นที่สังเกตว่าในระยะหลังนักลงทุนต่างชาติในภูมิภาคมีทิศทางการลงทุนที่ไม่ชัดเจน มีการซื้อสลับขายออกมาในช่วงสั้น ขณะที่กระแสเงินไหลเข้าไปสู่ตลาดหุ้นเอเชียตะวันออกมากขึ้น สะท้อนได้จากตลาดหุ้นจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ที่เดินหน้าขึ้นทำ new high ขึ้นเรื่อยๆ ทางด้านตลาดหุ้นไทยคาดว่าวันนี้ต่างชาติจะยังคงซื้อขายด้วยมูลค่าเบาบางเช่นเดิม เนื่องจากจะเข้าสู่วันหยุดยาวต่อเนื่อง
ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
มาราพร กี้วิริยะกุล