- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 09 April 2015 17:14
- Hits: 1067
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนียังผันผวนตามภาพรวมเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ กลยุทธ์ให้เลือกหุ้นที่คาดจะให้ผลตอบแทนชนะตลาดในช่วงหลังสงกรานต์ เช่น VN ([email protected])/ADVANC(FV@B285) วันนี้เลือก Top picks VNG([email protected]) และ RCL([email protected]) ซึ่งดัชนี Howe Robinson ยังบวกต่อ 5%wow เป็นสัปดาห์ที่ 14
ส่งออกไทยยังทรุดต่อ ปี 2558 ทรงตัวจากปี 2557
ล่าสุดจากการเปิดเผยของรองนายกฯ ระบุว่าปี 2558 ยอดการส่งออกสินค้าของไทยในงวด 1Q58 น่าจะติดลบ 4% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2557 (จากเดือน ม.ค. และ ก.พ. ติดลบ 3.7% และติดลบ 6.1% ตามลำดับ อีกทั้งเดือน มี.ค. ยังคงมีแนวโน้ม ติดลบต่อเนื่อง) ซึ่งน่าจะเป็นการติดลบมากที่สุดในรอบ 9 ไตรมาส แต่อาจจะไม่ได้เลวร้ายเช่นในปี 2539 อันเป็นผลกระทบจากวิกฤติการเงินต้มยำกุ้ง ซึ่งส่งผลให้การส่งออกตลอดทั้งปี 2539 ติดลบถึง 11.9% ขณะที่เดิม ASP ประเมินว่า การส่งออกสินค้าในปี 2558 จะขยายตัวได้มากถึง 3.5% เมื่อเทียบกับปี 2557 ที่ขยายตัวได้เพียง 0.9% โดยรองนายกฯ ให้เหตุผลของการส่งออกที่ตกต่ำมาจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทั้งยุโรปที่อัตราการว่างงานสูง 10-20% และสหรัฐ ฟื้นตัวได้เล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกถือเป็นปัจจัยหลักเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่กดดันการชะลอตัวของภาคส่งออก แต่ปัญหาที่ทำให้เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว หรือฟื้นตัวล่าช้า น่าจะเกิดจากปัจจัยในประเทศ โดยเฉพาะความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและด้านการเมืองในประเทศ ซึ่งสะท้อนจาก กลไกทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ อื่น ๆ อีก 3 ประการ ที่ไม่ขยับเขยื้อนเช่นกัน ได้แก่ การบริโภคภาคครัวเรือน การลงทุนภาคเอกชน และการลงทุนภาครัฐ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้อาจจะไม่เติบโตอย่างที่คาดการณ์กันเอาไว้ ทั้งนี้ล่าสุดจาก การรวบรวมข้อมูล GDP Growth ของสำนักวิจัยต่าง ๆ ประเมินว่าค่าเฉลี่ย GDP Growth ในปี 2558 อยู่ที่ 3.8% โดยหน่วยวิจัยที่ประเมินไว้สูงสุดคือ Standard Chartered, Barlays, Tisco Securities, JPMorgan, HSBC,
สภาพัฒน์ และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อยู่ในช่วง 5.1- 3.9% ตรงข้ามผู้ที่ประมาณไว้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยได้แก่ Bank of America, ADB, Citigroup, IMF, SCB, Goldman Sachs อยู่ในช่วง 3.7-3.4% และศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินไว้ต่ำสุดที่ 2.8% เช่นเดียวกับทาง ASP ที่เห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกันว่า ตัวแปรที่น่าเป็นห่วงต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2558 คือภาคการส่งออก ที่เห็นสัญญาณการชะลอตัวอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2555 โดยขยายตัวได้ต่ำกว่า 1% มานานถึง 3 ปี ส่งผลให้ตัวแปรอื่นๆ ไม่สามารถขับเคลื่อนตามไปได้ โดยเฉพาะ การบริโภคครัวเรือน (50% ของ GDP) ก็มีทิศทางชะลอตัว โดยในปี 2556-2557 ขยายตัวได้เฉลี่ยเพียง 0.3% โดยสรุป ฝ่ายวิจัยจึงมีแนวโน้มปรับลดประมาณการ GDP Growth ปี 2558 เหลือ 2.5% (จากเดิม 3.5%) โดยปรับลดภาคการส่งออกสินค้ามากที่สุด คาดว่าจะต่ำกว่า 1% (จากเดิม 3.5%) โปรดติดตามรายละเอียดใน Economic Update ในสัปดาห์หน้า สถานการณ์นี้ถือเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดหุ้นไทย ให้อยู่ในภาวะผันผวนต่อไป
ต่างชาติซื้อหุ้นไทยต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 สวนทางกับสถาบันไทย
วานนี้นักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาขายสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคอีกครั้งราว 78 ล้านเหรียญฯ (หลังจากซื้อติดต่อกัน 4 วันทำการ) โดยเป็นการซื้อสลับขายรายประเทศ กล่าวคือ ขายสุทธิในไต้หวันถึง 222 ล้านเหรียญฯ (ยอดขายสูงสุดนับตั้งแต่ปลาย มี.ค.) และขายสุทธิเล็กน้อยในฟิลิปปินส์ (หลังจากซื้อติดต่อกัน 8 วันทำการ) ยกเว้นยังซื้อสุทธิในเกาหลีใต้, อินโดนีเซีย (ต่อเนื่องวันที่ 6) และไทย ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 61.83 ล้านเหรียญฯ หรือ 2,015 ล้านบาท (ยอดซื้อสุทธิสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ. เป็นต้นมา) ทำให้นับตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. นักลงทุนต่างชาติกลับมามียอดซื้อสุทธิสะสมอีกครั้งราว 1,140 ล้านบาท (แต่ถ้านับตั้งแต่ต้นปี ยังขายสุทธิสะสม 7,316 ล้านบาท) สวนทางกับนักลงทุนสถาบันฯ วานนี้ขายสุทธิออกมาเป็นวันแรกที่ 1,259.61 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 6 วันทำการรวมกว่า 1.09 หมื่นล้านบาท) กดดันให้ SET วานนี้อ่อนตัวลงไป นับจากวันนี้เหลืออีกเพียง 2 วันทำการจะเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาว จึงต้องระมัดระวังแรงขายอีกระลอก
กลยุทธ์การลงทุนหลังสงกรานต์ : VNG /ADVANC
หลังจากฝ่ายวิจัยได้นำเสนอกลยุทธ์การลงทุนก่อนวันสงกรานต์ พร้อมแนะนำหุ้นเด่น RCL และ GUNKUL รายละเอียดดังปรากฏใน Market Talk 26 มี.ค. 2558 ซึ่งปรากฏว่าจนถึงวานนี้มีเฉพาะหุ้น GUNKUL ที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาด โดยให้ผลตอบแทนราว 6% เทียบกับผลตอบแทนตลาดราว 3.2% ส่วน RCL ให้ผลตอบแทนเพียง 2.7% แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าหุ้นทั้งสองสามารถถือต่อไปได้โดยเฉพาะ RCL พบว่า Howe Robinson Index ในสัปดาห์นี้ยังคงปรับตัวขึ้นอีก 5% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา นับว่าเป็นเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 14 และทำให้ดัชนีค่าระวางเฉลี่ยในงวด 2Q57 เฉพาะ 2 สัปดาห์แรกของเดือน เม.ย. 2558 เพิ่มขึ้น 14.5% จากค่าเฉลี่ยในงวด 1Q58 และเพิ่มขึ้น 26.5% จากค่าเฉลี่ยในงวด 1Q57 ขณะที่ยังได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบโลกที่ยังทรงตัวในระดับต่ำในปัจจุบัน (ต้นทุนน้ำมันคิดเป็น 20% ของต้นทุนรวม ขณะที่มีทำ hedge น้ำมันไว้เพียง 25% เท่านั้นทำให้ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบต่ำในปัจจุบันเต็มที่) ซึ่งน่าจะทำให้ผลประกอบการของ RCL ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องนับจากงวด 1Q58 และต่อเนื่องในงวด 2Q58 และในงวด 2H58 ซึ่งน่าจะทำให้ประมาณการกำไรในปี 2558 อาจจะต่ำกว่าที่เกิดขึ้นจริง จึงยังแนะนำให้สะสมหุ้น RCL ต่อไป
นอกจากนี้นักวิเคราะห์เชิงปริมาณยังศึกษาลงไปในรายละเอียดอีกว่า ในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไรก็ตามทั้งนี้จากรวบรวมข้อมูลการซื้อขายของตลาดหุ้นไทยย้อนหลัง 5 ปี ในช่วงหลังจากที่ผ่านพ้นช่วงเทศกาลวันหยุดสงกรานต์ไปแล้วราว 2-3 สัปดาห์ (นับตั้งแต่เปิดทำการวันแรกหลังสงกรานต์ 1 สัปดาห์) พบว่าดัชนีให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 3% ด้วยโอกาสที่ผลตอบแทนเป็น 100% แต่พบว่ามีหุ้นจำนวนหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนตอบชนะตลาด พร้อมกับความน่าจะเป็นสูง 80-100% แต่เมื่อพิจารณาองค์ประกอบทั้ง upside, PER ต่ำ และ Div.Yield แล้ว จึงเลือก Top picks คือ VNG([email protected]) (ผลตอบแทน 5.5% ความน่าจะเป็น 100%) รองลงมา ADVANC(FV@B285) (ผลตอบแทน 5.8%, ความน่าจะเป็น 100%) SYNTEC([email protected]) (ผลตอบแทน 6.5% ความน่าจะเป็น 80%) และ CPF(FV@B32) (บผลตอบแทน 6% ความน่าจะเป็น 80%) เป็นต้น
VNG([email protected]) : อยู่ในภาวะที่ราคาขายสินค้าอยู่ระดับสูงจากความต้องการที่มากขึ้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตหลัก อย่างเช่น เศษไม้ยางฯ และกาว ปรับตัวลดลง ทำให้กำไรเติบโตโดดเด่น บวกกับการปรับสายการผลิตใหม่เน้นเพิ่มยอดขายสินค้าที่มี margin สูงโดยคาดกำไรสุทธิปี 2558 จะเพิ่มขึ้นกว่า 42%YoY
ADVANC(FV@B285) : คาดการณ์กำไรงวด 1Q58 เติบโต 1.4%yoy และ 5.4%qoq ผลจากช่วงฤดูกาลต่อเนื่อง หนุนรายได้ค่าบริการยังสามารถทรงตัวได้ในระดับสูง ประกอบกับค่าใช้จ่ายการขายบริหารที่มีแนวโน้มลดลดลง และไม่ต้องรับรู้รายจ่ายพิเศษด้านภาษีครั้งเดียวเหมือนงวด 4Q57 แต่อย่างไรก็ตามคาดว่า งวด 2Q58-3Q58 ผลการดำเนินงานอาจอ่อนตัวตามฤดูกาล ก่อนจะปรับตัวดีขึ้นก่อนขึ้นทำจุดสูงสุดของปีใน 4Q58 หนุนคาดการณ์ทั้งปี 2558 เติบโต +16%yoy บวกกับประโยชน์ที่ได้สูงสุดจากการประมูล 4G ซึ่งคาดว่า ADVANC น่าจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการปิดจุดอ่อนที่ไม่มีบริการ 4G ในปัจจุบัน
ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
มาราพร กี้วิริยะกุล