- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 31 March 2015 15:56
- Hits: 1290
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
การกระตุ้นเศรษฐกิจในจีนน่าจะสร้าง Sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้นเอเซีย และ SET ที่มีค่า PER 14.5 เท่า ถือเป็นโอกาสสะสมหุ้นพื้นฐาน PER ต่ำ + ปันผลสูง SPALI (FV@B 31.96), STPI([email protected]) ยังคงเลือก STPI([email protected]) เป็น Top Pick มีโอกาสได้งานใหม่สูง (มี PER 7.7 เท่า Div Yield 5%)
จีนยังคงกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านบ้านมือสอง
จีนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม ผ่านผู้ซื้อบ้านมือสอง ท่ามกลางความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจยังคงเกิดขึ้นในหลายประเทศ ล่าสุด จีน ซึ่งประเทศผู้นำเอเซีย ผลการประชุมธนาคารกลางจีน วานนี้ได้มีมติลดยอดเงินดาวน์สำหรับผู้ซื้อบ้านหลังที่สองลงเหลือ 40% จากเดิม 60-70% เพื่อกระตุ้นอุปสงค์ตลาดอสังหาฯ ที่ซบเซามานาน (ตลาดบ้านในจีนทั้งหมดคิดเป็น 20% ของ GDP มีสัญญาณชะลอตัว สะท้อนจากยอดขายบ้านใหม่ในเดือน ม.ค. และ ก.พ. ลดลงเฉลี่ย 17%yoy) พร้อมกับให้ยกเลิกภาษี sale tax 5.5% หากถือครองบ้านเกิน 2 ปี ทั้งนี้ถือว่าจีนได้ใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องนับจากปลายปี 2557 หลังจากที่ทำการปรับลดดอกเบี้ยฯ เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปีลง 0.4% เหลือ 5.6% เมื่อเดือน พ.ย. 2557 และ ลดดอกเบี้ยฯ ลงอีก 0.25% เหลือ 5.35% ในเดือน ก.พ. พร้อม ๆ กับการลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ ลง 0.5% เหลือ 19.5%
นอกจากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเติบโตในอัตราชะลอตัวลง (ในปี 2557 อยู่ที่ระดับ7.4% เทียบกับระดับ 7.7% ในทั้งปี 2555 และ 2556) อัตราเงินเฟ้อที่ยังเพิ่มขึ้นล่าช้า ล่าสุดเดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 1.4% แม้จะเพิ่มจาก 0.8% ในเดือนก่อนหน้า แต่เป็นการชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ต.ค. 2556
สหรัฐยังมีสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยล่าช้าออกไป เชื่อว่าประเด็นเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยฯ ในสหรัฐ น่าจะผ่อนคลายลงในช่วงสั้น ๆ หลังจากประธาน Fed นางเยลเลนฯ ได้ออกมาย้ำว่าจะไม่เร่งรีบขึ้นดอกเบี้ยฯ โดยต้องการพิจารณาข้อมูลเศรษฐกิจอย่างรอบคอบก่อน ตัดสินใจ ทั้งนี้ข้อมูลทางเศรษฐกิจเบื้องต้นที่สำคัญ พบว่ายังคงมีความขัดแย้งกันบ้างกล่าวคือ ถึงแม้ว่าตลาดแรงงานยังฟื้นตัวแข็งแกร่ง สะท้อนจากอัตราการว่างงานที่ลดลงอยู่ที่ระดับ 5.5% ในเดือน ก.พ. แต่กลับพบว่า อุปสงค์ในประเทศ ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว เริ่มจากภาคครัวเรือน สะท้อนผ่านยอดค้าปลีก (สัดส่วนใหญ่ที่สุดราว 70% ของ GDP) เดือน ก.พ. ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 1 ปี และ ยอดสั่งสร้างบ้านใหม่ เดือน ก.พ. ต่ำสุดในรอบ 13 เดือน ตามมาด้วยภาคการผลิต เดือน ก.พ. ยังชะลอตัวทั้งยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน (ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 เดือน) และการใช้จ่ายภาคธุรกิจ ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6
โดยรวมจึงคาดว่า Fed น่าจะเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยฯ ออกไปในช่วงปลายปี 2558 หรือต้นปี 2559 ใกล้เคียงกับที่ตลาดส่วนใหญ่คาด หรือ เมื่อเงินเฟ้อเข้าใกล้เป้าหมายที่ 2% มากขึ้น และเศรษฐกิจเข้าสู่การจ้างงานเต็มที่ โดยอัตราการว่างงานอยู่ที่เฉลี่ย 5% (เดือน ก.พ. 5.5%) สอดคล้องกับ Fed funds futures เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สะท้อนว่าการขึ้นดอกเบี้ยฯ ครั้งแรกจะอยู่ในช่วงเดือน ต.ค. 2558
ตลาดหุ้นที่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ผลตอบแทนชนะตลาดหุ้นโลก
ผลจากการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้หนุนให้ตลาดหุ้นของประเทศเหล่านี้ ให้ผลตอบแทนชนะตลาดหุ้นอื่นๆ ของโลก โดยเฉพาะตลาดหุ้นยุโรป และจีน
ตลาดหุ้นยุโรป พบว่าเยอรมัน ให้ผลตอบแทนสูงสุดนับจากต้นปีจนถึงปัจจุบัน (ytd) ราว 23% และ อิตาลี 22% ตามมาคือ ฝรั่งเศส 19% และ สเปน 12% ยกเว้นอังกฤษให้ผลตอบแทนเพียง 5% เป็นต้น
ตลาดหุ้นจีน พบว่า ให้ผลตอบแทนสูงสุดนับจากต้นปีจนถึงปัจจุบัน (ytd) ราว 20% แต่เป็นที่สังเกตว่าตลาดหุ้นจีนเพิ่งเริ่มขยับหรือให้ผลตอบแทนมากๆ เป็นช่วงเดือนมี.ค. (เดือนเดียวให้ผลอตอบแทน 12%ytd)
ส่วนตลาดหุ้นเอเซียแม้จะมีการทยอยปรับลดดอกเบี้ยแต่ดูเหมือนจะไม่ค่อยเอื้อหนุนต่อตลาดหุ้นเท่าไหรนัก เริ่มจาก
ตลาดหุ้นอินเดีย พบว่าให้ผลตอบแทนเล็กน้อยราว 2%ytd แต่เป็นที่สังเกตว่า ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงในเดือน มีนาคม และหักล้างผลตอบแทนที่เป็นบวกเกือบ 10% ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.
ตลาดหุ้น TIP พบว่าฟิลิปปินส์ให้ผลตอบแทนสูงสุดราว 11% รองลงมาคือ อินโดนีเซีย 4% ส่วนไทย ไม่เปลี่ยนแปลงจากสิ้นปี 2557 แต่เป็นที่สังเกตว่าตลาดหุ้น TIP ให้ผลตอบแทนลดลงในเดือน มี.ค. เช่นเดียวกับตลาดหุ้นอินเดีย และไปหักล้างผลตอบแทนที่เป็นบวกในเดือน ม.ค. – ก.พ. ส่วนตลาดหุ้น มาเลเซีย พบว่า ให้ผลตอบแทน 3% ซึ่งสภาพตลาดมีลักษณะเดียวกับประเทศอื่นๆ ในแทบเอเซีย
ทั้งนี้เชื่อว่าสาเหตุหลักที่ทำตลาดหุ้นไทย under-perform ตลาดหุ้นโลก น่าจะเกิดจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวล่าช้ากว่าคาด และ ยังมีแนวโน้มที่จะมีการปรับลด GDP Growth ลงไปต่ำกว่า 3% ซึ่งทำให้ไทยจะมีการเติบโตต่ำสุดในภูมิภาคอีกปีหนึ่ง หลังจากที่ปี 2557 แทบจะไม่เติบโตเลย เมื่อเทียบกับปี 2556 ซึ่งก็น่าจะเป็นผลจากปัจจัยการเมือง กับ การดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังเป็นไปอย่างล่าช้า และ ยังไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนได้ แต่อย่างไรก็ตามการที่ตลาดหุ้นไทยลดลงมาต่ำกว่า 1500 จุด และ มีการซื้อ-ขายด้วย Expected PER 14.50 เท่า ถือว่าเป็นระดับที่น่าสนใจ และหากมองโลกในแง่ร้าย คือ ดัชนีจะลดลงต่อก็น่าจะมีแนวรับที่ Expected PER 14 เท่า หรือราว 1445-1450 จุด หรือมีความเสี่ยงจากปัจจุบันราว 3% จึงเป็นเวลาที่น่าจะทยอยสะสมหุ้นเพิ่ม สำหรับนักลงทุนที่ทยอยขายไปก่อนหน้านี้ ส่วนนักลงทุนที่ยังไม่ได้มีการขายหุ้น หรือยังถือหุ้นอยู่ก็แนะนำให้รักษาพอร์ตการลงทุนต่อไป โดย ASP ยังให้น้ำหนักการถือหุ้นราว 50% ของเงินลงทุน ที่เหลือถือเงินสด 50% เช่นเดิม และกลยุทธ์หลักยังเน้นหุ้น PER ต่ำ เงินปันผลสูง เช่น STPI และ SPALI เช่นเดิม
ฤดูกาลทำ Preview Earnings งวด 1Q58 ของ ธ.พ.
ดังที่กล่าวไปวานนี้แล้วว่าในช่วงนี้เป็นฤดูกาลทำให้ Preview Earnings ของกลุ่ม ธนาคารพาณิชย์ และ นักวิเคราะห์กลุ่มธนาคารของ ASP ได้ทำการประเมินผลกำไรงวด 1Q58 ของ KBANK ไปแล้ววานนี้ วันนี้มีเพิ่มมาอีก 1 แห่งคือ SCB คือ
SCB (FV@B 200) ฝ่ายวิจัยประเมินภาพรวมผลกำไรปี 2558 โดดเด่นนัก คือ เติบโตเพียง 5.4% yoy แต่จะเพิ่มขึ้น 13.1% yoy ในปี 2559 ตาม GDP Growth ปี 2558 ที่คาดว่าจะเติบโตในระดับต่ำเพียง 3% โดย SCB ประเมินการเติบโตของสินเชื่อสุทธิทั้งอุตสาหกรรมที่ 5-7% yoy และลดเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อสุทธิของ SCB ไว้ที่ 6% ระดับเดียวกับอุตสาหกรรม (จากเดิมวางเป้าโตกว่าอุตสาหกรรม) ขณะที่งวด 1Q58 คาดจะมีกำไรสุทธิลดลง 4.7% yoy (แต่เติบโต 2.3%qoq) เนื่องจากมีการบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษเหตุเพลิงไหม้ แต่หากไม่รวมรายการดังกล่าว กำไรปกติยังเติบโต 10.1% qoq และ 7.0% yoy อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2558 และ 2559 ทั้งนี้ ยังมีความเสี่ยงที่แนวโน้มการเติบโตของสินเชื่อสุทธิอาจต่ำกว่าเป้าหมาย ส่งผลกระทบต่อคาดการณ์รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ NIM และกำไรสุทธิของ SCB โดยทุก 1% ของคาดการณ์สินเชื่อสุทธิปี 2558 ที่ลดลงจากปัจจุบันจะทำให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิปี 2558 ลดลง 0.55% กำไรสุทธิปี 2558 ลดลง 0.49% และ Fair value ลดลง 0.09% จากคาดการณ์ปัจจุบันที่ 200 บาท
เทียบกับ KBANK (FV@B300) ที่ฝ่ายวิจัยชื่นชอบมากกว่า โดยคาดว่าสินเชื่อสุทธิจะเติบโตได้ 8-9% yoy ส่วนแนวโน้มรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ยังเติบโตไม่ต่ำกว่า 15% yoy ซึ่งจากผลการศึกษาของฝ่ายวิจัย ทุกๆ 1% ของสินเชื่อสุทธิที่ลดลงต่ำกว่าคาดการณ์ 8% yoy จะกระทบต่อกำไรสุทธิของ KBANK ต่ำสุดในกลุ่มฯ (ค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ลดลง0.57%) หรือเพียง 0.24% ของคาดการณ์ปัจจุบัน
ต่างชาติพลิกกลับมาเป็นซื้อ แต่ยังเบาบาง
วานนี้ นักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาเป็นซื้อสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคที่ 80 ล้านเหรียญ (เป็นการซื้อสุทธิในฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และไทย ยกเว้นอินโดนีเซียและไต้หวันที่ต่างชาติขายสุทธิ ดังแสดงในภาพด้านล่าง) โดยตลาดหุ้นไทยวานนี้แม้นักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาซื้อสุทธิแต่มูลค่าเบาบางเพียง 71.59 ล้านบาท หลังจากขายติดต่อกันมา 4 วันทำการก่อนหน้าเฉลี่ยวันละเกือบ 1 พันล้านบาท เชื่อว่าสถานการณ์ยังคงเห็นการซื้อ สลับ ขาย เนื่องจากตลาดหุ้นไทยยังขาดปัจจัยชี้นำที่ชัดเจน ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจยังคงเฟื้นตัวล่าช้า
ส่วนตราสารหนี้วานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 6.5 พันล้านบาท รวม 2 วันซื้อสุทธิไปกว่า 1 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้เงินบาทวานนี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 32.54 บาท/เหรียญ
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล