WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      ตลาดฯ ยังให้น้ำหนักต่อการประชุม FED 18-19 มี.ค. นี้ ขณะที่ SET ยังแกว่งตัว (1,560-1,530 จุด) กลยุทธ์ยังแนะนำหุ้น PER ต่ำ & ปันผลสูง ASK([email protected]), SPALI([email protected]) Top pick คือ HANA(FV@B48) เป็นหุ้น Laggard โดยมี PER12X & Yield 4.3%


ตลาดให้น้ำหนักกับการประชุม FED 18.-19 มี.ค. นี้
      สัปดาห์นี้ ตลาดคงมุ่งความสนใจไปที่การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในระหว่างวันที่ 18-19 มี.ค. (แม้ Fed จะส่งสัญญาณชัดว่าจะยังคงยืนดอกเบี้ยฯ ในการประชุมครั้งนี้ และในเดือน เม.ย.) และยังดูท่าทีว่าจะมีการยกเลิกคำว่า “Patient” หรือไม่ ขณะที่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจล่าสุดที่เริ่มความมีความขัดแย้งกัน กล่าวคือ ตลาดแรงงานที่รายงานรายสัปดาห์อาจจะมีความผันผวน หรือขึ้น-ลง ในช่วงสั้นๆ แต่โดยรวมถือว่ายังมีการฟื้นตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราว่างงานเดือน ก.พ. ที่ระดับ 5.5% ลดลงจาก 5.7% ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่พบว่ายอดค้าปลีก เดือน ก.พ. ซึ่งหดตัว 0.6%mom (+2%yoy vs +4% yoy ในเดือน ม.ค.) เป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 (เดือน ม.ค. -0.8%mom และ ธ.ค. 2557 -0.9%mom) ขณะที่สหรัฐกำลังเผชิญกับอาการที่หนาวเย็น แม้จะไม่เลวร้ายเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557 ก็ตาม แต่คาดว่าน่าจะกระทบต่อ sentiment ทางเศรษฐกิจ ซึ่งกดดันให้นักเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 3 ราย ได้เริ่มปรับลด GDP งวด 1Q58 ลง โดยคาดว่าจะเติบโตระหว่าง 1.5-2% เทียบกับประมาณการเดิม 2.5%yoy ในงวด 4Q57

     ขณะที่ความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ขณะนี้เริ่มแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย โดยกลุ่มแรก สนับสนุนต่อการขึ้นดอกเบี้ยฯ ในช่วงกลางปี 2558 หรือราวเดือน มิ.ย. – ก.ย. (นำโดย นาย John Williams (Fed ซานฟรานซิสโก), นาย Richard Fisher (Fed ดัลลัส), นาย Jame Bullard (Fed เซนต์หลุยส์)) ขณะที่กลุ่มที่สอง สนับสนุนให้ยืดดอกเบี้ยฯ ออกไปเป็นปลายปี 2558 หรือต้นปี 2559 ได้แก่ นาย Charles Evans (Fed ชิคาโก) ประเด็นจึงอาจจะเป็นทั้งปัจจัยบวกและลบในเวลาเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ปัจจัยขับเคลื่อนที่ยังไม่เป็นไปในทางเดียวกัน บวกกับประเทศผู้นำเศรษฐกิจหลัก ๆ ของโลก ทั้งญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีน ยังไม่ได้ฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง พอ ทำให้ Fed น่าจะเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยไปเป็นปลายปี หรือต้นปี 2559 มากกว่าจะเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น

เงินบาทอ่อนค่า จากแรงขายตราสารหนี้
     วันศุกร์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 5 แต่ยังคงเบาบางเพียง 85 ล้านเหรียญฯ (วันก่อนหน้าขายสุทธิ 9 ล้านเหรียญฯ) โดยเป็นการซื้อสลับขายเบาบางรายประเทศ กล่าวคือ มียอดขายสุทธิสูงสุดในไต้หวัน โดยสลับมาขายสุทธิอีกครั้งราว 154 ล้านเหรียญฯ (ขายสลับมาซื้อสุทธิใน 3 วันหลังสุด) ตามมาด้วยอินโดนีเซียที่ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ราว 35 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจากวันก่อนหน้า) และฟิลิปปินส์สลับมาขายสุทธิราว 8 ล้านเหรียญฯ (ขายสลับซื้อสุทธิใน 4 วันหลังสุด) สวนทางกับเกาหลีใต้ที่สลับมาซื้อสุทธิอีกครั้งราว 93 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสลับขายสุทธิ 3 วันก่อนหน้า) เช่นเดียวกับไทยที่สลับมาซื้อสุทธิราว 19 ล้านเหรียญฯ (634 ล้านบาท, หลังจากขายสุทธิ 2 วันก่อนหน้า)
     ทั้งนี้ แม้ต่างชาติจะเริ่มชะลอการขายในตลาดหุ้นไทย แต่นักลงทุนกลุ่มยังคงขายสุทธิอย่างหนักในตลาดตราสารหนี้ โดยขายสุทธิออกมาเป็นวันที่ 6 ราว 7.6 พันล้านบาท รวม 6 วัน ขายสุทธิถึง 3.1 หมื่นล้านบาท กดดันให้ค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องแตะระดับ 32.92 บาทต่อเหรียญฯ หรือ อ่อนค่ากว่า 1% ในช่วง 1 สัปดาห์

แนะให้ Switch จาก KCE มายัง HANA ซึ่ง Laggard สุด
    นักวิเคราะห์กลุ่มส่งออกชิ้นส่วนฯ มีมุมมองเชิงบวกต่อ HANA มากขึ้น หลังจากได้เข้าร่วม Analyst Meeting เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เนื่องจากธุรกิจหลักของ HANA จะเน้นผลิตภัณฑ์ IC (แผงวงจรไฟฟ้ารวม) เพื่อผลิตเซ็นเซอร์ที่ใช้ใน Smartphone ซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย (ตามการเติบโตของผู้ใช้โทรศัพท์ Smartphone low-end) รองลงมาเป็นการผลิต IC เพื่อผลิตเซ็นเซอร์ ที่ใช้ในกลุ่มยานยนต์ ซึ่งมีแนวโน้มฟื้นตัวในหลายตลาดฯ และเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ PCBA (แผ่นวงจรพิมพ์) จะเติบโตอย่างมาก ตามผลิตภัณฑ์ Smart phone และ
ยานยนต์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ในกลุ่มการแพทย์ด้วย

     เพื่อรองรับการเติบโตของลูกค้าดังกล่าว HANA เตรียมขยายกำลังการผลิตทั้งจากโรงงานผลิตเดิมและโรงงานใหม่ 3 แห่ง เพื่อรองรับคำสั่งซื้อเพิ่มเติม และจะสามารถเริ่มดำเนินการผลิตหรือผลิตได้เต็มที่ทั้งปีในปี 2558 บวกกับเงินบาทที่อ่อนค่ากลับมายืนบริเวณ 32.80–33 บาท ใกล้เคียงกับคาดการณ์ของฝ่ายวิจัยที่ 33 บาท/เหรียญฯ โดยสรุปในปี 2558 คาดว่าแม้กำไรสุทธิจะอยู่ที่ 2.65 พันล้านบาท ลดลงจาก 3.4 พันล้านบาทในปี 2557 ซึ่งมีรายการพิเศษคือ เงินประกันภัยรับ แต่หากพิจารณาเฉพาะกำไรจากการดำเนินงานคาดว่าจะเติบโตกว่า 36% มาอยู่ที่ 2.65 พันล้านบาท และ เติบโตต่อเนื่องราว 14% ในปี 2559
      และหากพิจารณาข้อมูลพื้นฐานพบว่า HANA(FV@B48) ถูกสุดในกลุ่ม ไม่ว่าจะพิจารณาค่า PER ต่ำเพียง 11.84 เท่า มี PBV 1.6 เท่า มีเงินปันผล หรือ dividend yield 4.49% และราคาหุ้นมี upside 23% ขณะที่ราคาหุ้นจากต้นปีจนถึงปัจจุบันไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายปี 2557
     ส่วนทางด้านของ KCE(FV@60) แม้ล่าสุดนักวิเคราะห์ของ ASP เพิ่มปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2558-59 ขึ้น 13.0% และ 9.1% จากเดิมตามลำดับ หลังจากเปิดเดินเครื่องโรงงานแห่งใหม่ในเฟสแรกไปแล้ว เพิ่มกำลังการผลิตได้ถึง 30% และตั้งเป้าจะเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นไปเป็น 60% ภายในสิ้นปี 2558 ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ของ KCE คือ แผงวงจร PCB ใช้สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยานยนต์ สำหรับควบคุมระบบชิ้นส่วนต่างๆ ในรถยนต์ รวมถึงใช้ใน Consumer Industrial Product ต่างๆ ทั้งนี้ โรงงานใหม่ของ KCE จะทำการแยกทั้ง 2 กลุ่มสินค้าออกจากกัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้มากขึ้น แต่พบว่าราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมากถึง 75.8% จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน (ytd) จนทำให้มี upside เพียง 3% ขณะที่มีค่า PER 14.5 เท่า มี PBV 4.6 เท่า และ มีเงินปันผล หรือ dividend yield เพียง 2.16% เท่านั้น จึงแนะนำให้ switch ไปลงทุนใน HANA แทน
      และเช่นเดียวกับ DELTA(FV@B78) แม้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นเล็กน้อยราว 4% ytd แต่พบว่ามี upside เพียง 6.8% ขณะที่มีค่า PER 12.6 เท่า มี PBV 2.97 เท่า แต่มีจุดเด่นที่เงินปันผล หรือ dividend yield สูงถึง 4.52% จึงแนะนำเพียงถือรอรับเงินปันผลเท่านั้น

กลยุทธ์การลงทุนยังเลือกหุ้น PER ต่ำ+เงินปันผลสูง
     นับตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน SET ให้ผลตอบแทนเพียง 3% ซึ่งถือว่า underperform มากเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในกลุ่ม TIP คือ ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้น 4.2% และตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น 7.8% หลังจากปี 2557 ที่ตลาดหุ้น TIP ให้ผลตอบแทนเป็นลำดับต้นๆ ของโลก กล่าวคือ อินโดนีเซีย 22% ฟิลิปปินส์ 19% และตลาดหุ้นไทย เพิ่มขึ้นกว่า 15%
ทั้งนี้ เมื่อแยกเป็นรายกลุ่มฯ ในปี 2557 พบว่ากลุ่มที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาด มักจะกระจุกตัวในกลุ่ม Domestic เป็นหลัก ได้แก่ โรงพยาบาล 48%, กลุ่มขนส่ง 38% ธุรกิจการเงิน 30%, ธนาคารพาณิชย์ 30%, รับเหมาฯ 35%, กลุ่มชิ้นส่วนฯ เพิ่มขึ้น 30%, อสังหาฯ 23%, ไอซีที 21% วัสดุก่อสร้าง 16% ตรงข้ามกับ กลุ่ม Global โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน และปิโตรฯ ได้รับผลกระทบจากการขาดทุนสต็อกน้ำมัน ส่งผลให้ผลตอบแทนติดลบ 2% และ ติดลบ 24% ตามลำดับ


ส่วนในปีนี้ พบว่า มีเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่ outperform ตลาดต่อเนื่องจากปีที่แล้ว อาทิ ธุรกิจการเงิน – ลิสซิ่ง ตั้งแต่ต้นปีปรับขึ้นไปแล้วกว่า 29%ytd (มาจาก GL +96%, SAWAD +60%, THANI +59%, MTLS +59%, IFS +42%, ML +36%, ASK +21%, TK +19%, JMT +19%) โดยคาดว่าได้ปัจจัยหนุนจากวงจรดอกเบี้ยขาลงรอบใหม่ ( กนง. ประกาศลด ดอกเบี้ย 25 bps เมื่อช่วงกลางเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา และมีความเป็นไปได้ที่จะลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ในการประชุมในช่วงที่เหลือของปีนี้) ตามมาด้วย กลุ่มวัสดุก่อสร้าง เพิ่มขึ้น 18%ytd (มาจาก TPIPL +82%, TASCO +53%, SUPER +39%, SCC +17%) หลายบริษัทได้รับปัจจัยหนุน ต้นทุนพลังงานที่ลดลงราคาน้ำมันโลก , กลุ่มรับเหมาฯ เพิ่มขึ้น 16%ytd (มาจากหุ้นกลาง-เล็กเป็นหลักคือ TRC +146%, TPOLY +96%, ITD +41%, SEAFCO +41%, UNIQ +33%, NWR +30%, SYNTEC +27%), โรงพยาบาล เพิ่มขึ้น 12% (มาจาก BDMS +19%, KDH +11%, NTV +11%, RAM +10%) และ กลุ่มชิ้นส่วนฯ เพิ่มขึ้น 14% (มาจาก KCE +62%, CCET +48%, SVI +19%)
ตรงข้ามกับกลุ่มที่ขึ้นน้อยกว่าตลาดในปีนี้ คือ กลุ่มไอซีที โดยลดลง 1% จากความกังวลต่อการเลื่อนประมูล 4G, กลุ่มค้าปลีก ลดลง 4% เนื่องจากกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่ยังไม่ฟื้นตัว ส่วน กลุ่ม ธ.พ., พลังงาน และ อสังหาฯ ปีนี้ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงตลาด ที่ 3%ytd
กลยุทธ์การลงทุน ในสถานการณ์ที่ดัชนีหุ้นผันผวนจากปัจจัยกดดันจากภายนอก และปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ มีเพียงปัจจัยเดียวที่ถือว่ายังคงหนุนตลาดคือเรื่องสภาพคล่องและโอกาสการลดดอกเบี้ยในประเทศยังมีอยู่ จึงแนะนำให้เลือกหุ้นที่ได้ประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาลง พร้อมกับมี PER ต่ำ และเงินปันผลสูง ได้แก่ กลุ่มลิสซิ่ง ยังชอบ ASK (FV@B 31.10) ที่ได้ประโยชน์มากสุด โดยมี ซึ่งมี EPS growth สูงถึง 25.46% Expected PER 9.4 เท่า เงินปันผลสูง 7.45% และ upside 33.28% และเงินปันผล และกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย คือ SPALI (FV@B 31.96) ซึ่งมี EPS growth สูงถึง 22.5% Expected PER 6.7 เท่า เงินปันผลสูง 6.08% และ upside 50% จึงเลือกเป็น Top picks

ภรณี ทองเย็น, CISAเลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรมเลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!