- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 05 March 2015 16:03
- Hits: 1054
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นไทยขึ้นน้อยกว่าตลาดหุ้นโลก แม้การใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเกิดขึ้นทั่วโลกน่าจะหนุนสภาพคล่องในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า และไม่สะท้อน EPS Growth ปี 2558 ที่สูงกว่า 34% กลยุทธ์การลงทุนยังเลือกหุ้นพื้นฐานที่คาดว่ามีโอกาสจะให้ผลตอบแทนสูงใน เดือนมี.ค. คือ AIT (FV@B 53), ROBINS (FV@B 64), SPALI (FV@B 31.96) เป็น Top picks
ต่างชาติพลิกกลับมาซื้อหุ้นไทยในรอบ 12 วัน
วานนี้ตลาดหุ้นในประเทศไทยปิดทำการ แต่ในประเทศอื่นๆ ยังคงเปิดทำการตามปกติ โดยนักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 9 ราว 436 ล้านเหรียญฯ แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยราว 8% จากวันก่อนหน้า และเป็นการซื้อสุทธิในทุกประเทศ ประเทศที่ซื้อสุทธิสูงสุดได้แก่ เกาหลีใต้ โดยซื้อสุทธิ เป็นวันที่ 8 ราว 224 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 24% นับว่าใกล้เคียงกับไต้หวันที่ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 16 ราว 210 ล้านเหรียญฯ และ เพิ่มขึ้น 48% จากวันก่อนหน้า แต่เป็นที่สังเกตว่าซื้อสุทธิในกลุ่ม TIP ลดลง คือ อินโดนีเซียแม้ยังคงซื้อสุทธิเป็นวันที่ 9 แต่กลับลดลงถึง 94% เหลือเพียง 1 ล้านเหรียญฯ และ ฟิลิปปินส์สลับมาซื้อสุทธิเบาบางราว 1 แสนเหรียญฯ (ขายสุทธิติดต่อกัน 2 วันก่อนหน้า) ส่วนตลาดในประเทศไทยปิดทำการเนื่องจากวันมาฆบูชา
ส่วนในวันอังคารที่ผ่านมา พบว่านักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาซื้อสุทธิราว 1.9 พันล้านบาท หลังจากที่ขายสุทธิติดต่อกัน 12 วันก่อนหน้า รวม 1.5 หมื่นล้านบาท เชื่อว่านโยบายผ่อนคลายทางการเงินทั้งในยุโรป และ ล่าสุดคือ จีน จะยังคงเพิ่มสภาพคล่องในตลาดหุ้นทั่วโลก และ หนุนให้กระแสเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้ามาในภูมิภาครวมถึงไทย ซึ่งน่าจะเป็นการทยอยเข้าซื้อเนื่องจากยังมีปัจจัยกดดันจากการเมืองภายในประเทศอยู่
อินเดียลดดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ตามหลังจีน
หลังจากจีนประกาศลดดอกเบี้ยนโยบาย ฯ อีก 0.25% เหลือ 5.35% ไปเมื่อวันที่ 1 มี.ค. เป็นครั้งที่ 2 (ภายหลังจากลด 0.4% เหลือ 5.6% เมื่อ เดือน พ.ย. และ ลด RRR ลง 0.5% เหลือ 19.5% ไปเมื่อวันที่ 5 ก.พ.) ทั้งนี้ล่าสุดอินเดียประกาศลดดอกเบี้ยฯ ลง 0.25% เหลือ 7.5% โดยเป็นการลดครั้งที่ 2 ของปีนี้ (รวมตั้งแต่ต้นปีลดดอกเบี้ยฯ ทั้งสิ้น 0.5% ) ทั้งนี้เนื่องจากดอกเบี้ยที่แท้จริง (ภายหลังหักเงินเฟ้อ) เป็นบวก 2.39% (7.5%-5.11%) และ เงินเฟ้อต่ำกว่าเป้าหมาย (ล่าสุดเดือน ม.ค. อยู่ที่ 5.11% vs เป้าหมาย 6%) และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อโลกยังมีแนวโน้มอ่อนตัวลง ในช่วง 6 เดือนข้างหน้า อันเป็นผลจากราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดลงกว่า 50% จากระดับสูงสุดกลางปี 2557 (อิงตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ยืนเหนือ 100 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2557 ขณะที่ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบโลกยังทรงตัวที่ระดับ 60 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล) ซึ่งน่าจะเอื้ออำนวยให้การใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายยังมีความจำเป็นในวงกว้าง รวมถึงประเทศไทย ซึ่งล่าสุด พบว่า อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. -0.52%yoy ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จาก -0.41% ในเดือนก่อนหน้า และต่ำสุดในรอบกว่า 5 ปี) ซึ่งคาดว่าน่าจะทำให้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจจะต้องทบทวนการใช้นโยบายการเงินอีกครั้ง ซึ่งต้องติดตามผลการประชุม วันที่ 11 มี.ค. นี้ ซึ่งมีความเป็นได้ที่จะลดราว 0.25-0.5% จากปัจจุบันที่ 2%
ขณะที่ทางฝั่งประเทศพัฒนาแล้วพบว่า เงินเฟ้อยังคงติดลบในฝั่ง ยุโรป กล่าวคือ เดือน ก.พ. -0.3% นับว่า ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 (จาก -0.6% ใน ม.ค. และ -0.2% ใน ธ.ค.) ขณะที่เดือน มี.ค. คาดว่า การอัดฉีดเงินเข้าระบบผ่าน QE ของยุโรปน่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น (มูลค่า 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน เป็นเวลา 19 เดือน วงเงินรวม 1.4 ล้านล้านยูโร หรือ 1.3 ล้านล้านเหรียญฯ ซึ่งวงเงินทั้งหมดคิดเป็นราว 4% ของ GDP)
ขณะนี้ ทางฝั่งสหรัฐ คาดว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว หลังจากที่ การใช้จ่ายภาคครัวเรือน (70% ของ GDP) เดือน ม.ค. - 0.2%mom (ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จาก -0.3% ในเดือนก่อนหน้า) รวมถึงรายได้ส่วนบุคคล ชะลอตัวลง เหลือ 0.3%mom (ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าคาด 0.4%) และ ล่าสุด การรายงานตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน ADP เดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 212,000 ราย (ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน และต่ำกว่าคาดที่ 220,000 ราย) ซึ่งเป็นการชะลอตัวทั้งในภาคการผลิตสินค้า และภาคบริการ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จึงเป็นการตอกย้ำว่า Fed น่าจะยืดการขึ้นดอกเบี้ยฯ ออกไปเป็นช่วง 2H58 หรือต้นปี 2559 ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของ นาย Charles Evans (Fed สาขาชิคาโก) ที่สนับสนุนการยืดดอกเบี้ยออกไปถึง 1H59 ตราบที่ เงินเฟ้อยังชะลอตัว โดยล่าสุด เดือน ม.ค. -0.1% (ติดลบครั้งแรกในรอบ 5 ปี และต่ำกว่าเป้าหมาย 2% อยู่มาก) และอัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. ที่ 5.7% ยังสามารถลดลงที่ระดับ 5%
SET น่าจะกลับขึ้นมาบ้าง หลังขึ้นน้อยกว่าตลาดหุ้นโลกรวมถึง TIP
ความจำเป็นของมาตรการผ่อนคลายทางการเงินยังคงมีอยู่ และ เป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นโลก โดยพบว่าตลาดหุ้นโลกหลายแห่งได้ปรับขึ้นตอบรับการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายไปแล้วค่อนข้างมาก โดยเฉพาะตลาดหุ้นยุโรป พบว่าตั้งแต่ต้นปี 2558 เป็นต้นมา ถือว่า outperform ตลาดหุ้นโลกอย่างมาก เริ่มจาก DAX, ตลาดหุ้นเยอรมัน เพิ่มขึ้น 16.2%, CAC, ฝรั่งเศส เพิ่มขึ้น 15.1%, IBEX ,ตลาดหุ้นสเปน เพิ่มขึ้น 7.5%, FTSE100, อังกฤษ เพิ่มขึ้น 5.4% และตลาดหุ้นอิตาลี เพิ่มขึ้นถึง 16.4% ยกเว้น ตลาดหุ้นสหรัฐที่ underperform เป็นอย่างมาก (S&P 500 เพิ่มขึ้นเพียง 1.9% และ DJIA เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.5%) เนื่องจากความกังวลที่สหรัฐจะกลับมาขึ้นดอกเบี้ย Fed Fund Rate แม้อาจจะล่าช้าออกไปดังกล่าวข้างต้นก็ตาม ทั้งนี้หลังจากสหรัฐยุติการอัดฉีดเม็ดเงินผ่านมาตรการ QE ไปตั้งแต่เดือน ต.ค. ปีที่แล้ว
ขณะที่ฝั่งภูมิภาคเอเซียนั้น ธนาคารกลางในหลายๆ ประเทศ ก็ใช้มาตรการผ่อนคลายผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ย (ล่าสุดเป็น จีน และ อินเดีย ที่ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง) ขณะที่ในกลุ่มประเทศ TIP นั้น ก็ยังมีแนวโน้มที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไป ส่งผลให้ผลตอบแทนตลาดหุ้นในภูมิภาคนี้ สามารถ outperform ได้เช่นกัน นับตั้งแต่ต้นปี 2558 นำโดยตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปรับขึ้น 8.5% ขณะที่ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ปรับขึ้น 4.3% ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นไทย ที่ปรับขึ้น 4.3% แต่สิ่งที่ต่างกันคือ ทั้งตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ และตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ต่างทำ new high ไปแล้ว แม้ว่า EPS Growth ของตลาดหุ้นไทยจะด้อยกว่าทั้ง 2 ตลาด แต่หากเปรียบเทียบค่า Expected PER ปี 2558 แล้ว ก็ถือว่าตลาดหุ้นไทยยังต่ำกว่า กล่าวคือ ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ Expected PER สูงถึง 19.7 เท่า ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย อยู่ที่ 16 เท่า ขณะที่ตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 15.3 เท่า ทำให้ตลาดหุ้นไทยน่าสนใจ เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน แต่ในภาวะตลาดหุ้นที่ผันผวนจึงแนะนำกลยุทธ์การลงทุน ให้เลือกหุ้นพื้นฐาน PER ต่ำ และ เงินปันผลสูงดังที่จะกล่าวไปย่อหน้าถัดไป
ยังเน้นหุ้น เด่น ที่มีโอกาสชนะตลาดเดือน มี.ค. : AIT, SPALI, ROBINS
การที่ตลาดหุ้นไทยขึ้นน้อยกว่าตลาดเพื่อนบ้าน ขณะที่มี Expected PER ใกล้เคียงอินโดนีเซีย แต่ต่ำกว่าในบางประเทศ และ หากพิจารณาหุ้นรายตัวพบว่ามีอีกจำนวนมากที่ พื้นฐานที่ดี และ PER ต่ำ (น้อยกว่า 12 เท่า) ขณะที่เงินปันผลสูง (เกิน 4% เทียบกับเงินเฟ้อติดลบ) และ หากพิจารณาราคาตลาด เทียบกับ Fair value พบว่ามี upside สูง (เกิน 20%) จึงขอแนะนำหุ้นที่ถือว่า ขึ้นน้อย (กว่าตลาด)ได้แก่ 1) INTUCH(FV@B113) : PER 11.71 เท่า และ Yield 6.76%, SPALI([email protected]) PER 7.33 เท่า และ Yield 5.53%, PTTGC([email protected]) PER 7.58 เท่า และ Yield 5.92% STPI(FV@B26) PER 8.5 เท่า และ Yield 5.18%, AIT (FV@B53) PER 9.8 เท่า และ Yield 4.9%, KTB(FV@B29) PER 7.9 เท่า และ Yield 4.59% และ MBKET([email protected]) PER 10.57 เท่า และ Yield 9.46% จะขึ้นเครื่องหมาย XD 10 มีนาคม 2558 เป็นต้น รายละเอียดดังที่นำเสนอไปเมื่อวันที่ 3 มี.ค. ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยได้รวบรวมข้อมูลในอดีตย้อนหลัง 6 ปี เพื่อคัดกรองหาหุ้นที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในเดือน มี.ค. สูงกว่า 7% ด้วยความน่าจะเป็นที่ผลตอบแทนเป็นบวกสูงกว่า 80% พบว่า หุ้นที่ปรับขึ้นในเดือน มี.ค. ส่วนใหญ่ มักจะกระจุกอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน อาทิ กลุ่มไอซีที (AIT, DTAC, ADVANC, SIM, JAS, SAMART) ค้าปลีก-ส่ง (ROBINS, HMPRO, MAKRO) อสังหาฯ (SPALI, LH, QH)
กลยุทธ์การลงทุนในช่วง 1-2 สัปดาห์นี้ แนะนำหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง เป็นหุ้นพื้นฐานที่มี Expected PER, upside คือ AIT (FV@B 53) และ SPALI (V@B 31.96) และ ROBINS (FV@B 64)
ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล