WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
   (+/-) ตลาดหุ้นต่างประเทศ : DJIA +155.93, NASDAQ +44.57, S&P +12.89, FTSE -6.02, CAC -34.16 และ DAX +8.70 ภายใต้ปัจจัยหนุนจาก (1) ธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก ระยะ 1 ปี ลง 0.25% สู่ระดับ 5.35% และ 2.50% ตามลำดับ ซึ่งเร็วกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ โดยอัตราดอกเบี้ยช่วยลดต้นทุนในการกู้ยืมของผู้ประกอบการ และสกัดความเสี่ยงด้านเงินฝืด ภายใต้เศรษฐกิจจีนที่กำลังชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง (2) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เริ่มดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ตามมติในที่ประชุมเมื่อ 22/1/58 ที่ผ่านมา วงเงิน 60,000 ล้านยูโรต่อเดือน ถึงกย.’59 เพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ใกล้ระดับ 2% ซึ่ง ECB จะซื้อพันธบัตรของรัฐบาลหลายประเทศ รวมถึงกรีซ และ (3) ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต - กพ. อยู่ที่ 55.1 เพิ่มแข็งแกร่งจาก 53.9 เมื่อมค. จากคำสั่งซื้อใหม่และการผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราสูงที่สุดนับแต่ตค.’57
  .....ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยกดดันจากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซน หลังาดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของประเทศยูโรโซน – กพ. อยู่ที่ 51.0 ซึ่งชะลอตัวลงจากรายงานเบื้องต้นที่ 51.1
  …..ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน เมย. -US$0.17 อยู่ที่ US$49.59 ต่อบาร์เรล ภายใต้ปัจจัยลบจาก (1) ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ – กพ. จากสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 9.285 ล้านบาร์เรลต่อวัน (สูงสุดนับแต่ปี’26) และ 30.6 ล้านบาร์เรล
ต่อวัน ตามลำดับ และ (2) เงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น
   ......ราคาทองคำส่งมอบเดือน เม.ย. -US$4.9 อยู่ที่ US$1,208.2 ต่อออนซ์ หลังรัฐบาลอินเดียคงภาษีการนำเข้าทองคำไว้ที่ระดับ 10% ซึ่งสวนทางกับที่คาดว่าอินเดียจะปรับลดภาษีนำเข้าทองคำ
   (0) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -1.21 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ต้นปีสุทธิ -11,199 ล้านบาท (ปี’57 มียอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท)

ทิศทางตลาด
  ทิศทางตลาด : ยังมีความผันผวน? แต่คาดมีโอกาสปรับขึ้น ภายใต้ความคาดหวังธนาคารกลางหลายๆ ประเทศ ยังคงใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน ซึ่งล่าสุดธนาคารกลางจีน ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลง 0.25% อย่างไรก็ตามยังแนะติดตามสถานการณ์ในกรีซ โดยเฉพาะประเด็นต่อรองเพิ่มเติมก่อนหนี้จะครบกำหนดอีกครั้งประมาณมิย.’58 ซึ่งอาจสร้างความผันผวนให้กับตลาดฯ ต่อมาตรการรัดเข็มขัดซึ่งเป็นเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่อกรีซ
  .....ทางด้านประเด็นในประเทศ แนะจับตา Fund Flow หลัง ECB เริ่มใช้วงเงิน QE (60,000 ล้านยูโร/เดือน) ตั้งแต่เดือนนี้ - กย.’59 ที่คาดเป็นปัจจัยหนุน Fund Flow ได้บ้าง ขณะที่ราคาน้ำมันยังมีความผันผวน คาดทำให้มีแรงเก็งกำไรหุ้นในกลุ่มพลังงานตามราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น / ลดลง และประเด็นการเก็งกำไรผลประกอบการหมดลง
  .....อย่างไรก็ตามคาดยังมีประเด็นความกังวลทิศทางเศรษฐกิจไทย หลังการเติบโตในเดือนมค. เป็นไปอย่างช้าๆ ทั้งการบริโภค การลงทุน และการส่งออก ทำให้มีความเป็นไปได้ที่หลายๆ หน่วยงานปรับลดประมาณการ GDP ปี’58 ลง จากเดิมที่ประมาณ 4.0 – 4 .5%
  ....และยังแนะติดตาม (1) การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ หลังเงินเฟ้อล่าสุดติดลบ รวมถึงกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) อนุมัติจัดสรรและโอนเงินเพิ่มทุนให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 3 จำนวน 5,000 กว่ากองทุน กองทุนละ 1 ล้านบาท เริ่มมีค. และ (2) การประชุม กนง. (11/3/58) หลังเรียกร้องให้มีลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25 – 0.50% ซึ่งคาดหากมีการลดดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และหุ้นในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น PS และ QH
  ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.08 อยู่ที่ 2.08% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) และดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.30 อยู่ที่ 13.04
  หุ้นแนะนำ : IRPC

ประเด็นที่ต้องติดตาม (3 - 6 มีค.’58)
   3/3/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์ค - กพ.
   4/3/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน - กพ. (2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้าย - กพ.(3) ดัชนี PMI ภาคบริการ - กพ. (4) สต็อกน้ำมัน
   5/3/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน (2) ประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนแรงงานต่อหน่วย – 4Q/57(3) ยอดสั่งซื้อของโรงงาน - มค.
   6/3/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร - กพ. (2) ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ - มค.

นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ 02-684-8788 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!