- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 09 June 2014 18:29
- Hits: 3166
บล.โกลเบล็ก : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
Market View : แนวรับสำคัญ 1,447
Technical : แนวรับ 1,447 / 1,437 แนวต้าน 1,463 / 1,485
หุ้นแนะนำพิเศษ : CPN แนวรับ 48 / 47 แนวต้าน 50.50/52.00
หุ้นเด่นรายวัน : AJD SMM TFD
วันศุกร์ ตลาดหุ้นไทยปิดบวก 4.86 จุด แกว่งรอปัจจัยใหม่ คาดสัปดาห์หน้าตลาดฯมี upside จำกัด ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,458.02 จุด เพิ่มขึ้น 4.86 จุด (+0.33%) มูลค่าการซื้อขาย 45,391.52 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 306.90 ล้านบาท
แนวโน้มตลาดหุ้นไทย ทางฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็กฯ คาดมีแนวโน้มผันผวนในกรอบ 1,410-1.466 การประกาศยกเลิกการห้ามออกนอกเคหะสถาน อ.เกาะช้าง จ.ตราด อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ อ.เกาะพงัน จ.สุราษฏร์ธานี เพิ่มเติม เป็นปัจจัยบวกทางการเมืองส่งผลให้นักลงทุนมีความมั่นใจในการถือครองหุ้นระยะกลางต่อเนื่อง ในขณะที่ SET50 กลุ่มแท่งเทียนสีดำที่แกว่งตัวเหนือSMA5วันที่ทำหน้าที่เส้นแนวรับขาขึ้นยังคงสัญญาณเชิงบวก การปรับตัวต้องไม่ปิดต่ำกว่า 977 ลงมา GFM14 เก็งกำไรในกรอบ 19,190-19,590 GFQ14 เก็งกำไรในกรอบ 19,260-19,660
กลยุทธ์ ระดับดัชนีสร้างจุดสูงใหม่ของปีขึ้นมาเป็นสัญญาณบวกด้านเทคนิค คาดแรงซื้อระยะสั้นเพื่อเล่นรอบรวมทั้งแนวโน้มการเมืองที่ดีขึ้นส่งผลต่อการคาดการณ์เศรษฐกิจและแนวโน้มตลาดเชิงบวก การปรับตัวเหนือ 1,477 ยังคงขาขึ้น ในขณะที่แรงขายกลุ่มพลังงานซึ่งเกิดจากความไม่ชัดเจนเรื่องมาตรการราคา แต่ราคาปรับตัวลงมากตอบรับปัจจัยลบมาก คาดเป็นจังหวะในการเข้าซื้อเก็งกำไร และซื้อเพิ่มระยะกลาง PTT TOP PTTGC BANPU กลุ่มธนาคาร ระยะกลางถือ ระยะสั้นซื้อเมื่อปรับตัว TMB KBANK กลุ่มอสังหาฯ CPN HEMRAJ LPN RML หุ้นรายหลักทรัพย์ NIPPON BEC PDI CENTEL ระยะกลาง ถือ และซื้อเพิ่มเมื่อปรับตัวลงแรง
หุ้นแนะนำพิเศษ
CPN (ราคาปิด 48.75 ซื้อ เป้าหมาย 65) รายได้มีศักยภาพเติบโตต่อเนื่องจากแผนการเปิดศูนย์การค้าใหม่ปีละ 2-3 แห่ง ปีนี้บริษัทยังเหลือสาขาศาลายาที่จะเปิดดำเนินการราวเดือนส.ค. จากที่เปิดสาขาเกาะสมุยเมื่อเดือนมี.ค. ปี 58 จะเปิด 3 แห่ง ได้แก่ สาขาระยอง สาขาเวสต์เกต-บางใหญ่ และสาขาถนนเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา ปี 59 จะเปิดสาขาโคราช และอีก 3 แห่งที่ยังไม่เปิดตัว ส่วนสาขามาเลเซียซึ่งถือหุ้น 60% จะเลื่อนไปเปิดในปี 60 ทำให้พื้นที่ให้เช่าเพิ่มขึ้น 31% จาก 1.29 ล้านตารางเมตรเมื่อปลายปี 56 เป็น 1.69 ล้านตารางเมตรในปี 59 แผนการลดสัญญาเช่าพื้นที่ระยะยาวเพิ่มสัญญาเช่าระยะสั้นทำให้อัตราค่าเช่ารวมปรับเพิ่มขึ้นขึ้น ฝ่ายวิจัยคาดกำไรปกติปี 57 ราว 7.4 พันล้านบาทเติบโต 18%YoY โดยมีupside ได้อีกจากการขายเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่ แอร์พอร์ตเข้ากองทุน CPNRF มูลค่า 10,496 ล้านบาทเมื่อปลายเดือนเม.ย.บนสมมติฐานอัตรากำไร 40% ฝ่ายวิจัยประมาณกำไรราว 4.2 พันล้านบาทซึ่งจะบันทึกใน2Q57(การขายสาขาปิ่นเกล้าเมื่อปี 2552 มีอัตรากำไร43.54%) แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะบันทึกครั้งเดียวหรือทยอยตัดจ่ายตลอดอายุเช่า 30 ปีในอัตราปีละ 140 ล้านบาทเนื่องจากที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์และจะกลับมาเป็นสินทรัพย์ของ CPN เมื่อครบกำหนด
หุ้นเด่นรายวัน
AJD (ปิด 3.32 ซื้อเก็งกำไร) 13 มิ.ย.57 ลุ้นกสทช.อนุมัติแจกคูปองแทนเงินสดเพื่ออุดหนุนให้ประชาชนซื้ออุปกรณ์ Set Top Box โดยเราเชื่อว่าทันทีที่ กสทช.ประกาศแจกคูปองแทนเงิน สด จะผลักดันให้ยอดขายของ AJD เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด เพราะสินค้าของ AJD มีวาง จำหน่ายตาม 7-11 และห้างค้าปลีกสมัยใหม่ อาทิ Tesco Lotus ,Big-C Power buy , The Mall ทำให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายนอกจากนี้บริษัทยังมีพนักงาน PC คอยให้คำแนะนำและบริการจึงทำให้สินค้าของ AJDจะได้รับการตอบรับจากลูกค้ามากกว่าเมื่อเทียบกับผู้บริการรายอื่น
SMM (ราคาปิด 1.68 บาท ซื้อเก็งกำไร) ได้รับอานิสงส์จากฟุตบอลโลกบราซิลที่กำลังจะเริ่มขึ้น ส่งผลให้ยอดโฆษณา Q2 ทะลุ 180 ล้านบาทประกอบกับธุรกิจในเครือที่เติบโตต่อเนื่องจากการลงทุน 100 ล้านบาทซื้อรถถ่ายทอดสดเสริมไลน์ทีวีดาวเทียม หนุนผลประกอบการมีแนวโน้มสดใส (ที่มา : ทันหุ้น)
TFD (ปิด 6.90 ซื้อเก็งกำไร) จับมือกับ SPCG เพื่อผลิตโซลาร์รูฟท็อป หลัง คสช. ลดขั้นตอนการออกใบอนุญาต ประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) ของโครงการโซลาร์รูฟท็อปที่มีขนาดไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ ขณะเดียวกันบริษัทอยู่ระหว่างเจรจา ซื้อกิจการ (เทกโอเวอร์) โรงงานให้เช่าใน ประเทศอังกฤษเพิ่มอีก 2 แห่ง มูลค่าราวๆ 1.5 พันล้านบาท ซึ่งโรงงานดังกล่าวที่ผู้เช่าเต็ม 100% (ที่มา: ทันหุ้น)
ปัจจัยบวก
+สหรัฐเปิดเผยว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรในเดือนพ.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 217,000 ตำแหน่ง ใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 215,000 ตำแหน่ง แม้ตัวเลข จะขยายตัวน้อยกว่าที่พุ่งขึ้น 282,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. แต่ทำสถิติพุ่งสูงกว่า 200,000 ตำแหน่งติดต่อกันเป็นเดือนที่สี่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งในตลาดแรงงานของสหรัฐ
+ธนาคารกลางสหรัฐเปิดเผยว่า สินเชื่อผู้บริโภคของสหรัฐในเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 10.2% ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี
+นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในยูโรโซนประจำเดือนเม.ย.มีแนวโน้มฟื้นตัว ซึ่งจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการเริ่มต้นที่ดีสำหรับการเข้าสู่ 2Q57 หลังจากผลผลิตอุตสาหกรรมร่วงลงอย่างหนักในเดือนมี.ค. เนื่องจากการขยายตัวแข็งแกร่งของเยอรมนีจะช่วยชดเชยตัวเลขผลผลิตที่ลดลงในฝรั่งเศสและสเปน
+ฝรั่งเศสเปิดเผยว่า อัตราว่างงานในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ทรงตัว เมื่อกับ 4Q56 โดยลดลง 0.2%YoY
+นายอากิระ อามาริ รมต.นโยบายเศรษฐกิจและการคลังของญี่ปุ่น มองว่าการนำร่องของธนาคารกลางยุโรปในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสู่ระดับติดลบจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลก
+เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัว 6.7%YoY ใน 1Q57 เพิ่มขึ้นจาก 5.9%ในการประมาณการเบื้องต้น โดยได้แรงหนุนจากตัวเลขการใช้จ่ายด้านทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัว 7.6% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการประมาณการเบื้องต้นที่ 4.9%
+ยอดการส่งออกของจีนในเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 7%YoY แตะ 1.95 แสนล้านดอลลาร์ แต่ยอดการนำเข้าลดลง 1.6% แตะ 1.59 แสนล้านดอลลาร์ ในช่วง 5 เดือนแรกเพิ่มขึ้น 0.2% ต่อปี แตะ 1.68 ล้านล้านดอลลาร์ จีนได้กำหนดเป้าการขยายตัวของการค้าไว้ที่ 7.5% ในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าเป้าปีที่แล้วที่กำหนดไว้ที่ 8% ขณะที่อัตราการขยายตัวที่แท้จริงของปี 2556 อยู่ที่ 7.6%
+รัฐบาลญี่ปุ่นคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกว่าจะขยายตัวประมาณ 3% ในปีนี้ จากแรงหนุนของการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรป โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวอย่างน้อย 2.5% คาดเศรษฐกิจยุโรปจะขยายตัว 1% ส่วนเอเชียคาดว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจคาดว่าจะอยู่ในระดับปานกลาง หลังจากที่การขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนชะลอตัว โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ การลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางสหรัฐ
+คสช.ออกมาตรการปลดล็อคการขับเคลื่อนศรษฐกิจเป็นลำดับอาทิ ประกาศยกเลิกเคอร์ฟิวเพิ่มเติมอีก 3 แห่งที่เกาะช้าง-หาดใหญ่-เกาะพงัน ช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ การแต่งตั้งบอร์ด BOI ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการลงทุนภายในประเทศ - ปัจจัยการเมืองที่ยังไม่ชัดเจนกดดันตลาดหุ้นไทยของนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ
ปัจจัยลบ
-ญี่ปุ่นรายงานเบื้องต้นว่า ดัชนีเศรษฐกิจในเดือนเม.ย.ลดลงจากเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกในรอบ 2 เดือน
-ธนาคารโลกระบุว่าจีนยังไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆเพื่อนำพาเศรษฐกิจของประเทศสู่ความยั่งยืนมากขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงทำให้รัฐบาลต้องออกนโยบายเชิงสนับสนุนมากขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมาย
-S&Pยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลีที่ BBB โดยแนวโน้มยังคงอยู่ในเชิงลบ โดยระบุในแถลงการณ์ว่า การประเมินเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอิตาลียังคง “อ่อนแอทั้งในแง่ตัวเลขและความเป็นจริง"
ปัจจัยที่ต้องจับตา
ในประเทศ ต่างประเทศ
11 มิ.ย. กระทรวงคมนาคม จะรวบรวมโครงการที่ต้องเร่งรัดและสำคัญ เสนอต่อ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช.
12 มิ.ย.กระทรวงการคลังเปิดประมูลเงินกู้จ่ายจำนำข้าวชาวนารอบ 2 มูลค่า 4 หมื่นล้านบาท โดยมีกำหนดเบิกเงินกู้ทั้งจำนวนวันที่ 19 มิ.ย.
สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
18 มิ.ย. ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 4/2557 ทั้งนี้ กนง.รอดูมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ คสช. เพื่อนำมาร่วมพิจารณากำหนดแนวโน้มจีดีพีในการประชุม
สัปดาห์ที่ 4 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง / กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้าประจำเดือน
27 มิ.ย. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)แถลงดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือน / แถลงข่าวรายงานนโยบายการเงิน
27 มิ.ย.ธปท.จะปรับสมมติฐานภาคการคลังใหม่และประกาศอย่างเป็นทางการ
30 มิ.ย. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยประจำเดือน
1 ก.ค. กรมโรงงานอุตสาหกรรมเตรียมออกขั้นตอนใหม่ในการออกใบอนุญาตการตั้งโรงงาน (รง.4) ให้ได้ภายใน 30 วัน จากเดิม 90 วัน ตามนโยบายของคสช.
9 มิ.ย. ญี่ปุ่น เปิดเผยดุลการชำระเงินเดือนเม.ย. / ยอดปล่อยกู้ภาคธนาคารเดือนพ.ค. / ประมาณการครั้งที่ 2 GDP 1Q57 / ผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค.
10 มิ.ย. จีน เปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค. / ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ค. ฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.
อิตาลี เปิดเผย GDP 1Q57 สหรัฐ เปิดเผยสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์
11 มิ.ย. อังกฤษ เปิดเผยอัตราว่างงานเดือนพ.ค. ฝรั่งเศส เปิดเผยอัตราว่างงานในกลุ่ม OECD เดือนเม.ย. สหรัฐ เปิดเผยสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ / ดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐเดือนพ.ค. (เช้าวันที่ 12 มิ.ย.)
12 มิ.ย. ญี่ปุ่น เปิดเผยยอดรับคำสั่งซื้อเครื่องจักรเดือนเม.ย. ธนาคารกลางญี่ปุ่นประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินประจำเดือนมิ.ย. ฝรั่งเศส เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ค. OECD เปิดเผย GDP กลุ่มประเทศ G-20 ใน 1Q57 อียู เปิดเผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย. สหรัฐ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ / ดัชนีราคานำเข้า-ส่งออกเดือนพ.ค.
รายชื่อหลักทรัพย์ที่ติดเกณฑ์บัญชี Cash Balance
* EVER/ IFEC / OCEAN / SUPER มีผลบังคับใช้ 6 พ.ค.-13 มิ.ย. 57
* PAF/ PDI มีผลบังคับใช้ 19 พ.ค. 57 - 27 มิ.ย. 57
* AJP / APCO / EE มีผลบังคับใช้ 26 พ.ค. - 4 ก.ค. 57
* BMCL / RPC มีผลบังคับใช้ 2 มิ.ย. - 10 ก.ค. 57
* RASA มีผลบังคับใช้ 9 มิ.ย. – 18 ก.ค. 57
***เนื่องจากการลงทุนในหลักทรัพย์ ดังกล่าวมีการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของตลาดดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
ตลาดหุ้นดาวโจนส์ : เพิ่มขึ้น 88.17 จุด
ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ปิดตลาดเมื่อวันศุกร์เพิ่มขึ้น 88.17 จุด เนื่องจากนักลงทุนขานรับข้อมูลการจ้างงานที่สดใสของสหรัฐ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐในเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 217,000 ตำแหน่ง ซึ่งใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัว 215,000 ตำแหน่ง และเป็นสถิติเพิ่มขึ้นมากกว่า 200,000 ตำแหน่งเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกัน ทำให้ปิดตลาดดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 88.17 จุด หรือ 0.52% ปิดที่ 16,924.28 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 8.98 จุด หรือ 0.46% ปิดที่ 1,949.44 จุด และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 25.17 จุด หรือ 0.59% ปิดที่ 4,321.40 จุด
ตลาดน้ำมัน NYMEX : เพิ่มขึ้น 18 เซนต์
ราคาน้ำมันดิบที่ตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 18 เซนต์ ตลาดได้แรงหนุนเช่นเดียวกับตลาดหุ้นวอลสตรีทคือนักลงทุนขานรับตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐในเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 217,000 ตำแหน่ง ซึ่งใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัว 215,000 ตำแหน่ง และเป็นสถิติเพิ่มขึ้นมากกว่า 200,000 ตำแหน่งเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกันอย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนักเนื่องจากนักลงทุนส่วนหนึ่งคลายกังวลต่อสถานการณ์ในยูเครนหลังประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียได้เข้าหารือกับประธานาธิบดีเปโตร โปโรเชนโก ของยูเครน ทำให้ปิดตลาดราคาน้ำมันดิบที่ตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนก.ค.เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 18 เซนต์ ปิดที่ 102.66 ดอลลาร์/บาร์เรลส่วนน้ำมันดิบ BRENT ส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 18 เซนต์ ปิดที่ 108.61 ดอลลาร์/บาร์เรล
Analyst :
ธวัชชัย 02-6725993 [email protected]
วิลาสินี 02-6725937 [email protected]
อาทิตย์ [email protected]