- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 25 February 2015 15:55
- Hits: 1400
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+) ตลาดหุ้นต่างประเทศ : DJIA +92.35, NASDAQ +7.15, S&P +5.82, FTSE +37.47, CAC +24.14 และ DAX +74.82 โดยได้รับปัจจัยบวกจาก (1) ถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรส ส่งสัญญาณว่าเฟดยังไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ระบุเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องตามที่เฟดคาดการณ์ไว้ และการพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับการประชุมในแต่ละครั้ง และ (2) ที่ประชุม รมต.คลัง ยูโรโซน มีมติเห็นชอบต่อการขยายมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับกรีซออกไปอีก 4 เดือนแล้ว หลังอนุมัติมาตรการปฏิรูปที่รัฐบาลกรีซได้ยื่นเสนอมาก่อนหน้านี้ เช่น การปราบปรามการเลี่ยงภาษี การจัดตั้งระบบการจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรมยิ่งขึ้น การแก้ปัญหาการลักลอบขนส่งเชื้อเพลิงและยาสูบ และการปฏิรูปด้านแรงงาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยหนุนเพิ่มจากตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐฯ - กพ.อยู่ที่ 57.0 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่ตค.’57 และดีกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 54.0 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวสามารถชดเชยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ - กพ. ซึ่งลดลงสู่ระดับ 96.4 หลังขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 7 ปี ที่ 103.8 เมื่อมค.
…..ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน เมย. -US$0.17 อยู่ที่ US$49.28 ต่อบาร์เรล
ยังคงถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด หลังมีรายงานว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง
......ราคาทองคำส่งมอบเดือน เม.ย. -US$3.5 อยู่ที่ US$1,197.3 ต่อออนซ์ จากการขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากมีรายงานว่า ที่ประชุมยูโรโซนมีมติเห็นชอบให้ขยายเวลาเงินกู้ให้กรีซออกไปอีก 4 เดือน
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -546 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ต้นปีสุทธิ -2,267 ล้านบาท (ปี’57 มียอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท)
ทิศทางตลาด
ทิศทางตลาด : Sideway Up? ภายใต้ประเด็นเดิมที่คาดยังช่วยหนุน (1) ความคลายกังวล
ต่อประเด็นการผิดนัดชำระหนี้ของกรีซและพ้นจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน หลังคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) อนุมัติมาตรการปฏิรูปที่รัฐบาลกรีซ อย่างไรก็ตามยังแนะติดตามประเด็นการเจรจาต่อรองการดำเนินงานมาตรการรัดเข็มขัดที่คาดอาจกดดันตลาดฯ หลังจากนี้ไป หลังการขยายระยะเวลาครบกำหนดในอีก 4 เดือนข้างหน้า และ (2) การส่งสัญญาณของประธานเฟดที่คาดยังไม่มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อยในการประชุมนโยบายของเฟดช่วง 2 ครั้งหน้า (เมย. และกค.) หลัง
เงินเฟ้อยังคงต่ำกว่าเป้าหมายระยะยาวที่ 2% ของเฟด
.....ทางด้านประเด็นในประเทศ ยังไม่มีปัจจัยชี้นำใหม่ๆ ทางด้าน Fund Flow ต่างชาติยังขายสุทธิต่อเนื่อง และทำให้ YTD เป็นขายสุทธิสะสม เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2,267 ล้านบาท แต่ในระยะกลางยังมีมุมมองที่ดีต่อ Fund Flow ที่คาดได้รับปัจจัยหนุนบ้างจากประเด็นการเริ่มใช้วงเงิน QE ของ ECB ตั้งแต่เดือนมี.ค. เป็นต้นไป ขณะที่ราคาน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่องคาดยังกดดันหุ้นในกลุ่มพลังงาน และยังแนะติดตาม (1) การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ หลังเงินเฟ้อล่าสุดติดลบ และ (2) ประเด็นการเก็งกำไรผลประกอบการ 4Q/57 และเงินปันผล ในช่วงสิ้นเดือนกพ.
.....รวมถึงการประชุม กนง. (11/3/58) หลังเรียกร้องให้มีลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดผลกระทบเงินบาทที่แข็งค่า และเริ่มส่งผลต่อผู้ประกอบการส่งออก หากมีการลดดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และหุ้นในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น PS และ QH
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.07 อยู่ที่ 1.99% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) และดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.87 อยู่ที่ 13.69
หุ้นแนะนำ : SEAFCO
ประเด็นที่ต้องติดตาม (25 - 27 ก.พ.’58)
25/2/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ยอดขายบ้านใหม่ - มค. (2) สต็อกน้ำมัน
26/2/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน (2) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) - มค. (3) ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน - มค.
27/2/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ประมาณการครั้งที่ 2 ของ GDP – 4Q/57 (2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก - กพ. (3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้าย - กพ. (4) ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย(pending home sales) - มค.
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ 02-684-8788