- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 24 February 2015 13:48
- Hits: 1429
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET น่าจะมีแนวรับที่ 1,590-1,595 จุด โดยยังแนะนำให้สะสมหุ้นปันผลเด่นมี Div Yield 5% + Upside 30% (STPI, INTUCH, SPALI, TVO และ SRICHA) โดยเลือก SPALI (FV@B 31.96) เป็น Top Pick เนื่องจากมี Expected PER 7.4 เท่า เงินปันผล 5.4%
กรีซยังคงกดดันตลาดหุ้นโลก ถ่วงดุลดอกเบี้ยโลกที่อยู่ในช่วงขาลง
หลังจากวานนี้ เจ้าหนี้ TROIKA ยินยอมยืดเวลาสำหรับการชำระหนี้ มูลค่า 2.4 แสนล้านยูโร ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 28 ก.พ.นี้ (หนี้สาธารณะของกรีซ คิดเป็น 176% ของ GDP) ออกไปอีก 4 เดือน (จากที่กรีซเสนอขอ 6 เดือน) พร้อมกับล่าสุด กรีซได้ยื่นแผนปฏิรูปเศรษฐกิจที่หวังว่าจะทำให้เศรษฐกิจกรีซหลุดพ้นจากวิกฤติคือ มาตรการป้องกันการหนีภาษี ปรับปรุงระบบข้าราชการพลเรือนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งคาดว่าทางฝั่งเจ้าหนี้คือ TROIKA อาจจะไม่ยอมรับแผนดังกล่าว เนื่องจากข้อเสนอดังกล่าวล้วนเป็นสิ่งที่จับต้องและวัดผลได้ยาก ซึ่งแตกต่างจากมาตรการรัดเข็ดขัดที่ทางฝั่งเจ้าหนี้ TROIKA เสนอ ทำให้โอกาสการชำระหนี้คืนเป็นไปได้ยาก ซึ่งอาจจะทำให้การเจรจาทั้ง 2 ฝ่ายต้องยืดเยื้อ ซึ่งยังถือเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นทั่วโลก
ขณะที่วานนี้ ธนาคารกลางอิสราเอล ประกาศลดดอกเบี้ยฯ ลงอีกครั้ง 0.15% เหลือ 0.1% (เป็นครั้งแรกของปี 2558 และลดลงทั้งสิ้น 0.75% ในปี 2557) หลังจากที่เงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 2558 ติดลบ 0.51% (เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2557) ซึ่งถือว่า สอดคล้องกับหลายประเทศที่รายงานไปก่อนหน้านี้ และในบางประเทศใช้นโยบายดอกเบี้ยฯ ติดลบ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ (ติดลบ 0.75%) และ เดนมาร์ก (ติดลบ 0.75%) เป็นต้น ดังนั้นจึงคาดว่า มาตรการผ่อนคลายทางการเงินทั่วโลกยังคงจำเป็น ในภาวะเงินเฟ้อชะลอตัว และติดลบในหลายแห่งของโลก และแนวโน้มการใช้ QE ในยุโรป ที่จะเริ่มในเดือน มี.ค. 2558 น่าจะกระตุ้นสภาพคล่องโลก ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกประการเดียวที่หนุนตลาดหุ้นโลกในขณะนี้
และเช่นเดียวกับประเทศไทย ล่าสุด เงินเฟ้อไทยเดือน ม.ค. 2558 ติดลบ 0.41% เป็นครั้งแรกในรอบ 64 เดือน เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยนโยบาย 2% (ดอกเบี้ยสุทธิเป็นบวก 2.4%) ทำให้คาดว่ามีโอกาสที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. จะทบทวนการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายมากขึ้น หลังจากที่ยืนดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวมามานานตั้งแต่เดือน เม.ย. 2557 โดยคาดว่ามีโอกาสลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25-0.5% ตลอดปี 2558 ซึ่งก็คงต้องติดตามผลการประชุม กนง. 11 มี.ค. ที่จะถึงนี้
แนวโน้มดอกเบี้ยขาลง จากสภาพคล่องโลกเพิ่มบวกต่อ SET
จากการศึกษาของทีมกลยุทธ์การลงทุนของ ASP ได้ประเมินผลบวกจากดอกเบี้ยตลาดที่มีแนวโน้มลดลง ที่มีต่อดัชนีตลาดหุ้น โดยการใช้แนวคิด “Market Earning Yield Gap” ซึ่งเป็นการคำนวณหา ส่วนต่างของ ผลตอบแทนระหว่างการลงทุนในตลาดหุ้น (Market Earning Yield, E/P) กับผลตอบแทนพันธบัตร 1 ปี โดยส่วนต่างดังกล่าว ถือเป็นผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยง (Risk Premium) ที่นักลงทุนควรได้รับจากการย้ายเงินลงทุนจากตลาดพันธบัตรที่มีความเสี่ยงต่ำ มาสู่การลงทุนในตลาดหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงกว่า (ปกติจะอยู่ในช่วง 4-5%) กล่าวคือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดลง โดยกลไกปกติแล้ว อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร 1 ปี ก็จะลดลงในอัตราใกล้เคียงกัน ซึ่งจะส่งผลทำให้ Market Earning Yield Gap ขยายกว้างขึ้น หรืออีกทางหนึ่ง หากกำหนดให้ Market Earning Yield Gap คงที่ ก็จะส่งผลทำให้ Earning Yield ลดต่ำลง ซึ่งก็เท่ากับว่า ค่า PER ของตลาดจะสามารถปรับสูงขึ้นได้ (โดย กำหนดให้กำไรตลาดคงเดิม) โดยสรุปผลจากการศึกษาพบว่า หากอัตราดอกเบี้ยปรับลดลง 0.25% จะส่งผลทำให้ตลาดหุ้นสามาถซื้อขายบนค่า PER ที่สูงขึ้นเฉลี่ย 0.60 เท่า ซึ่งบนประมาณการของฝ่ายวิจัยที่คาดว่า EPS งวดปี 2558 ของบริษัทจดทะเบียนที่ 103.65 บาท/หุ้น ก็น่าจะทำให้ SET Index ปรับตัวขึ้นได้ราว 62 จุด สำหรับกลยุทธ์ลงทุนภายใต้ดอกเบี้ยขาลง เลือกหุ้น Laggards และ Expected PER ต่ำ ซึ่งจะกล่าวในย่อหน้าถัดไป
กลยุทธ์ให้เลือกหุ้นได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง SPALI, GCAP
ที่ผ่านมาได้แนะนำให้ลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง (ดังรายละเอียดใน Market Talk 10 ก.พ. 2558) เริ่มจากกลุ่มได้ประโยชน์มากไปน้อยคือ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จากเหตุผลที่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกค้า ทำได้ง่ายขึ้น การปฏิเสธสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินน้อยลง แต่หากพิจารณาดัชนีกลุ่มอสังหาฯ พบว่าให้ผลตอบแทนแล้วราว 7.7% จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน (yoy) ซึ่งสูงกว่าดัชนีตลาดเล็กน้อย (SET ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6.4%yoy) แต่มีหลายบริษัทที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาดอย่างมาก ได้แก่ KC 222% ตามมาด้วย SAMCO 96.6%, PRINC 62.7%, KTP 54.4%, NCH 45.5%, ROJNA 40.1%, MK 39.2%, PRIN 38.6%, BROCK 33.9%, SENA 33.3% ส่วนที่ให้ผลตอบแทนรองลงมาคือ SIRI 16.5%, MJD 15.8%, LH 13.8%, QH 13.7%, AP 13.4%, PS 13%, PF 13%, SC 10.4% RML 7% ยกเว้นหุ้นบางบริษัทที่ยังปรับขึ้นน้อยกว่าตลาด ได้แก่ SPALI([email protected]) จึงเลือกเป็น Top pick เพราะนอกจากมี upside สูงแล้ว ยังมี PER ต่ำ 7.4 เท่า และ เงินปันผลสูง 5.37% จึงแนะนำให้ switch จากหุ้นที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาด แต่มี PER สูงกว่า และ yield ต่ำกว่า เช่น PRIN, MK
กลุ่มยานยนต์ เป็นอีกกลุ่มที่ได้รับผลบวกในเชิง sentiment แม้ดอกเบี้ยขาลง จะเอื้อต่อยอดขายรถยนต์ในประเทศไม่มาก เนื่องจากปัจจุบันดอกเบี้ยรถยนต์ใหม่อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ 0-1% (พร้อมเงินดาวน์เฉลี่ย 20-25% ผ่อนชำระ 4-6ปี) แต่ปัจจัยที่ส่งผลกระทบมากกว่า คือ ความเข้มงวดในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น ทำให้มีลูกค้าจำนวนมากที่ไม่ผ่านเงื่อนไข และไม่สามารถซื้อรถได้ ขณะที่โครงสร้างการเงินส่วนใหญ่มีหนี้สินน้อย โดยพบว่าดัชนีกลุ่มยานยนต์ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับตลาดคือ 6.7% โดยหุ้นหลายบริษัทเริ่มขยับขึ้นใน 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ราคาตลาดยังต่ำกว่าเป้าหมาย ได้แก่ AH ([email protected]) พบว่าราคาหุ้น AH ให้ผลตอบแทน 11% ytd แต่ราคาตลาดยังมี upside 9.1% ตามมาด้วย SAT(FV@B22) ซึ่งพบว่าราคาหุ้น SAT ให้ผลตอบแทน 16.7% ytd ราคาตลาดยังมี upside 16.4% ซึ่งถือว่าราคาหุ้นทั้ง 2 ยังมี upside พอสมควร และมีค่า Expected PER ปี 2558 ต่ำเพียง 9.2 เท่า และ 10.3 เท่า ตามลำดับ จึงยังแนะนำซื้อหุ้นทั้ง 2 บริษัท
หุ้นลิสซิ่ง เป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง เพราะในการปล่อยสินเชื่อ กล่าวคือ สินเชื่อแก่ลูกค้ารายย่อย มักจะคิดดอกเบี้ยในอัตราเบี้ยคงที่ (ในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับปริมาณธุรกรรมทั้งหมด) ตรงกันข้ามกับต้นทุนการกู้ยืมของผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่พึ่งพาภาระหนี้สินที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว หากพิจารณาดัชนีกลุ่มการเงิน พบว่าให้ผลตอบแทนแล้ว 29% จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน สูงกว่าตลาดมาก และมีหลายบริษัทที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาดอย่างมากได้แก่ THANI([email protected]) 85.6%, GL([email protected]) 67% ตามมาด้วย ML 61.5%, MTLS([email protected].) 61.5%, IFS([email protected]) 59.2%, SAWAD([email protected]) 50.6%, AMANAH 41.2%, TK(FV@B11) 39.2% เป็นต้น และหากพิจารณา 3 บริษัทแรกที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากสถานการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ ASK([email protected]), GL([email protected]) และ GCAP([email protected]) พบว่าหุ้นเหล่านี้ปรับตัวขึ้นจนราคาตลาดขึ้นสูงและเกินกว่า Fair Value ปี 2558 จึงน่าจะเป็นโอกาสขายทำกำไรระยะสั้นหุ้นที่กล่าวข้างต้น รวมถึง ASK ซึ่งมี upside เหลือน้อยเพียง 10.6% (ให้ผลตอบแทน 19% จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน) GL ราคาตลาดเกิน Fair Value ปี 2558 26% (ให้ผลตอบแทน 82% จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน) ยกเว้น GCAP ยังมี upside 33% แม้จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 33% จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน และมีจุดเด่นคือ มีค่า Expected PER 12 เท่า และ เงินปันผลราว 4.3% ต่อปี จึงแนะนำให้ขายหุ้นลิสซิ่งตัวอื่น ๆ แล้วมาซื้อ GCAP ซึ่งยังมี upside สูง
และสุดท้ายค้าส่ง-ค้าปลีก ได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ยฯ ในเชิงจิตวิทยา และเป็นปัจจัยบวกเรื่องที่ 2 ต่อเนื่องจากต้นทุนน้ำมันที่ลดลง ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนการดำเนินงานโดยรวมของกลุ่มฯ ลดลงได้บ้าง แม้จะไม่มากนัก แต่ช่วยบรรเทาผลกระทบของด้านรายได้ที่ยังรับผลจากปัญหากำลังซื้อชะลอตัว โดยพบว่าดัชนีกลุ่ม commerce ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2557 แต่หากพิจารณาเป็นรายตัวพบว่ามีหุ้นหลายบริษัทที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาดได้แก่ CSS 42%, MIDA 37.3% KAMART 18.3% IT 17.8% MC 15.4% SINGER 11.8% BEAUTY 10.4% ROBINS 6.7% ยกเว้น CPALL -4.7% ทั้งนี้แม้ว่า CPALL จะเป็นบริษัทเดียวในกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ย เนื่องจากมีหนี้สินสูงสุดในกลุ่ม คือ มีอัตราส่วน D/E อยู่ที่ 5.3 เท่า โดยมียอดหนี้สูงกว่า 1.8 แสนล้านบาท โดยเป็นส่วนที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวราว 5 หมื่นล้านบาท จากการศึกษาพบว่า หากอัตราดอกเบี้ยลดลง 25 bps จะส่งผลให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นราว 1% จึงแนะนำให้สะสมหุ้น CPALL(FV@B53) ยังมี upside 30% และ ตามมาด้วย ROBINS (FV@B64) ซึ่งยังมี upside 33%
เงินทุนไหลเข้าภูมิภาค แต่กลับขายไทยเบาบาง
วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าซื้อที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวจากวันก่อนหน้า แตะระดับ 202 ล้านเหรียญฯ โดยประเทศที่ซื้อสุทธิสูงสุดคือเกาหลีใต้ (กลับมาเปิดทำการอีกครั้งหลังปิดในเทศกาลตรุษจีน) ด้วยยอดซื้อสุทธิราว 134 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสลับขายสุทธิใน 3 วันหลังสุด) ตามมาด้วย อินโดนีเซียที่ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ราว 55 ล้านเหรียญฯ (แต่ลดลง 20% จากวันก่อนหน้า) และ ฟิลิปปินส์ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 และเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 20% อยู่ที่ 14 ล้านเหรียญฯ ตรงข้ามกับไทยยังคงขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 แต่ลดลงถึง 93% เหลือเพียงราว 1 ล้านเหรียญฯ (44 ล้านบาท) ขณะที่ตลาดในไต้หวันยังคงปิดทำการเช่นเดิม
ทั้งนี้แม้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง แต่ปริมาณการขายยังคงเบาบาง และมีแนวโน้มลดลง ขณะที่เริ่มเห็นแรงซื้อกลับเข้ามาในตลาดเพื่อนบ้าน และเป็นที่สังเกตว่า แรงขายตลาดหุ้นไทยมาจากพอร์ตโบรกเกอร์ และ นักลงทุนสถาบันที่ขายสุทธิออกมาราว 1.3 พันล้านบาท และ 746 ล้านบาท ตามลำดับ และเชื่อว่า แรงขายจากนักลงทุนทั้ง 2 กลุ่มนี้ยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มสถาบันในประเทศ ที่มักจะขายสุทธิออกมาในช่วงเดือน ก.พ. ของทุกปี (3 จาก 5 ปีหลังสุด) จากกอง LTF ที่ครบกำหนดอายุ และ กองทุน Trigger Fund ที่ถึงเป้าหมายระดับ 1,600 จุด ทำให้ดัชนียังคงแกว่งตัวบวกลบใกล้เคียง 1,600 จุด
ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล