- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 23 February 2015 17:01
- Hits: 1463
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“ซื้อ/ถือค่าบวก...ไม่ผ่าน 1620 ขายก่อน”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : ตลาดหุ้นไทยวันศุกร์ปิดบวกเล็กน้อย 3.49 จุด ที่ 1603.45 จุด โดยการซื้อขายน้อยกว่าปกติเพราะเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน และตลาดกำลังติดตามผลประชุมรมว.คลังยูโรโซนเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาช่วยเหลือตามที่กรีซได้เสนอมา รวมถึงจับตาผลประกอบการบจ.ที่จะประกาศออกมามากในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนก.พ.58 นักลงทุนสถาบันในประเทศและต่างชาติขายสุทธิ ส่วนพอร์ตบล.ซื้อสุทธิเล็กน้อย รายย่อยซื้อสุทธิเป็นหลัก
ปัจจัยจับตา คือ การเสนอแผนปฎิรูปของกรีซต่อยูโรกรุ๊ปในวันจันทร์นี้เพื่อให้แผนขยายระยะเวลาช่วยเหลือกรีซไปอีก 4 เดือนเป็นไปอย่างสมบูรณ์รวมถึงตัวเลข PMI ภาคการผลิต & บริการของประเทศชั้นนำต่างๆ ซึ่ง PMI ภาคการผลิตสหรัฐเดือนก.พ.ออกมาแล้วพบว่าดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าสำหรับในประเทศเป็นการรายงานผลประกอบการปี 57 และประกาศจ่ายเงินปันผล ปัจจัยที่ติดตาม คือ ปัญหาภัยแล้งปีนี้ที่อาจจะรุนแรง ซึ่งกระทบกำลังซื้อในต่างจังหวัด (บริษัทที่มีรายได้หลักอยู่ในต่างจังหวัด เช่น DCC, DRT, GLOBAL, CPALL, MC เป็นต้น) แต่ขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้รากหญ้าใช้บริการไฟแนนซ์มากขึ้น สำหรับกลุ่มที่คาดว่าผลประกอบการจะ Turnaround ในปี 58 คือ พลังงาน & ปิโตรเคมี เพราะความเสี่ยงจากการขาดทุนในสต็อกลดลง (หุ้นเด่นคือ TOP) หุ้นพื้นฐานแนะนำวันนี้เป็น STPI
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นมากสัญญาณลบแบบมีโอกาสรีบาวด์สลับก่อนลงแรง การซื้อใหม่เน้นตามด้วยค่าบวก โดยให้แนวต้านระยะสั้นไว้ที่ 1610, 1620 จุด ค่าลบควรชะลอการลงทุน ในทางกลับกันถ้า SET ปรับขึ้นแล้วไม่ผ่าน High เดิม คือ 1620 จุด แนะนำให้ขายออกไปก่อน
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
+ กรีซ : ต้องได้รับอนุมัติแผนปฎิรูปวันจันทร์นี้ การขยายความช่วยเหลือไปอีก 4 เดือนจึงจะสมบูรณ์ รัฐมนตรีคลังกลุ่มประเทศยูโรโซนและกรีซเห็นพ้องในข้อตกลงขั้นสุดท้ายให้ขยายโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซออกไปอีกเป็นเวลา 4 เดือน (จากที่กรีซขอมา6 เดือน) โดยกรีซต้องเสนอแผนปฎิรูปที่จะดำเนินการให้ยูโรกรุ๊ปพิจารณาวันจันทร์นี้
+ สหรัฐ : PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ.เพิ่มขึ้นดีกว่าคาด มาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของสหรัฐประจำเดือนก.พ.อยู่ที่ 54.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 53.9 ในเดือนม.ค. และสูงกว่าระดับ 54.0 ซึ่งเป็นตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
- รัสเซีย : มูดี้ส์ฯปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลรัสเซียลงสู่ระดับ Ba1 พร้อมให้แนวโน้มในเชิงลบ โดยมูดีส์เตือนว่าอาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อของรัสเซียลงอีกในอนาคต โดยอ้างถึงวิกฤตในยูเครน การปรับตัวลงของราคาน้ำมัน และการอ่อนค่าของสกุลเงินรูเบิลของรัสเซีย ซึ่งบั่นทอนความแข็งแกร่งของการขยายตัวของเศรษฐกิจรัสเซียในระยะกลาง
+ ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นรับข่าวบวกกรีซ ดัชนี DJIA ปรับตัวขึ้น 154.67จุด หรือ +0.86% ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 12.85 จุด หรือ +0.61% และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 31.27 หรือ +0.63%
• สัญญาน้ำมันดิบปิดในกรอบแคบ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบมี.ค.ลดลง 82 เซนต์ ปิดที่ 50.34 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วน BRENT ส่งมอบเม.ย.เพิ่มขึ้น 1 เซนต์ ปิดที่ 60.22 ดอลลาร์/บาร์เรล
• สัญญาทองคำตลาด COMEX อ่อนเล็กน้อย โดยสัญญาส่งมอบเดือนเม.ย.ลดลง 2.7 ดอลลาร์ หรือ 0.22% ปิดที่ 1,204.90 ดอลลาร์/ออนซ์ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
•/- กลุ่มยานยนต์ : การฟื้นตัวยังไม่ชัดเจน โดยผู้บริหาร STALY กล่าวว่าภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยยังไม่ชัดเจน โดยยอดขายเดือนม.ค.58ทรงตัวเมื่อเทียบ YoY ทั้งนี้เนื่องจากกำลังซื้อที่ซบเซา และอุปทานรถมือสองในระบบยังคงสูงมาก อย่างไรก็ตาม มีโอกาสที่กำลังซื้อในประเทศจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ 2H58 เป็นต้นไป
ความเห็น Retail Research : ทาง DBSV คาดว่ากำไรของกลุ่มยานยนต์มีโอกาสกลับไปเติบโตได้ระดับ 10-15% ในระยะยาว โดยในปี 58 การเติบโตฟื้นขึ้นเป็น 5-10% จากที่หดตัวในปี 57 เราให้น้ำหนักการลงทุนNeutral (ในเชิงกลยุทธ์เป็นการทยอยซื้อสะสมเพื่อลงทุนระยะกลาง-ยาว)
- ปัญหาภัยแล้งปี 58 อาจรุนแรงกว่าทุกปี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรประเมินว่าปัญหาภัยแล้งปี 58 อาจรุนแรงเนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่มีน้อยมาก (เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำ 44% ใช้ได้จริง35% ของที่มีอยู่, เขื่อนสิริกิติ์มี 59% ใช้ได้จริง 49% ของที่มีอยู่) ทางรัฐบาลได้ประกาศให้เกษตรกรงดทำนาปรังรอบ 2 แล้ว จากปัญหาภัยแล้งตั้งแต่ต.ค.57-ก.พ.58 มีพื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 10 จังหวัดมูลค่าความเสียหายราว 5 พันล้านบาท ทั้งนี้ระยะเวลาภัยแล้งจะสิ้นสุดราวเดือนเม.ย.58
ความเห็น Retail Research : ผลกระทบจากภัยแล้งเป็นสิ่งที่ต้องจับตาเพราะมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจรากหญ้าและกำลังซื้อในประเทศหลักทรัพย์ที่จะถูกกระทบหากปัญหารุนแรงคือ บริษัทที่มีรายได้หลักอยู่ในต่างจังหวัด เช่น DCC, DRT, GLOBAL, CPALL, MC เป็นต้น แต่กลุ่มไฟแนนซ์ที่ให้บริการเงินกู้ในต่างจังหวัดอาจจะได้รับผลบวกจากการขอกู้เพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทที่ทำไฟแนนซ์ในต่างจังหวัด ได้แก่ SAWAD, MTLS,GCAP (ทำไฟแนนซ์เครื่องจักกลการเกษตร), SINGER (20-30% เป็นไฟแนนซ์การเกษตร), AEONTS, TK, GL (ทำไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์)เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นไฟแนนซ์หลายบริษัทปรับขึ้นมากพอควรในเชิงกลยุทธ์จึงเป็นการเก็งกำไรที่ไม่ควรหวัง Gap กำไรมาก
+ TRC : จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบริษัทเหมืองแร่โปแตชอาเซียนเป็น 47% (จากปัจจุบันถือ 4.48%) และจะนำเข้าจดทะเบียนใน SET อีก 3 ปีข้างหน้า โครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทเหมือแร่โปแตชอาเซียนปัจจุบันประกอบด้วย กระทรวงการคลัง, ประเทศในกลุ่มอาเซียน 5ประเทศ, กลุ่มซีพี, กลุ่มอาซาฮี, กลุ่มผาแดง, TRC เป็นต้น สำหรับแผนดำเนินงาน คาดว่าจะเริ่มมีรายได้ในปี 61 ด้วยกำลังกาผลิต 3 แสนตัน/ปี,ปี 62 เพิ่มเป็น 8 แสนตัน/ปี และปี 63 เป็น 1.1 ล้านตัน/ปี (สร้างรายได้สูงสุด 1 หมื่นล้านบาท/ปี)
ความเห็น Retail Research : หากบริษัทเข้าถือหุ้นในบริษัทเหมืองแร่โปแตชอาเซียนเพิ่มขึ้นตามข่าว ก็มีโอกาสที่จะเพิ่มทุน อย่างไรก็ตามหากเป็นการเพิ่มแบบ R/O ในราคาเหมาะสมก็ไม่น่ามีปัญหาเพราะผู้ถือหุ้นทุกรายได้สิทธิเท่าเทียมกัน ส่วนงานก่อสร้าง เราคาดสิ้นปี 58 จะมีBacklog เพิ่มเป็น 1 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันมี 7.5 พันล้านบาท (ในระยะใกล้นี้จะมีเซ็นสัญญาเข้ามาเพิ่ม่ 1.1 พันล้านบาท) นอกจากนั้นยังมีโอกาสที่จะได้งานก่อสร้างเหมืองแร่โปแตซอาเซียนซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 3.5หมื่นล้านบาท (ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี) รวมถึงการร่วมทุนกับพันธมิตรคือ China Railway ของจีนในการประมูลงานก่อสร้างรถไฟทางคู่ด้วยแนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 13 บาท (รวมงานก่อสร้างเหมืองแร่โปแตชอาเซียน แต่ไม่รวมการถือหุ้นเพิ่มในเหมืองแร่โปแตชอาเซียนและไม่รวมงานก่อสร้างรถไฟทางคู่เนื่องจากยังไม่มีรายละเอียดมากพอ แต่ประเมินทั้งสองส่วนนี้เป็น Upside Risk)
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]