- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 23 February 2015 15:57
- Hits: 1295
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
หลังหนี้กรีซผ่อนคลาย คาด SET กำลังจะแกว่งบวกต่อเนื่อง!!
กลยุทธ์ : หลังจาก FSS แนะนำให้เลือกหุ้นซื้อช่วงลบ แล้วเน้นถือต่อเนื่องไว้ก่อนมาพักใหญ่ คาดว่าช่วงถัดจากนี้ SET กำลังจะกลับไปวิ่งขึ้นอีกครั้งแล้ว
หุ้นเด่นทางเทคนิค : SCP, VIH, PTG(short)
แนวโน้ม : เมื่อค่ำวันศุกร์ รมว.คลังยูโรโซนและกรีซได้บรรลุข้อตกลงขั้นสุดท้ายให้ขยายโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซออกไปอีก 4 เดือน โดยกรีซจะต้องยื่นเสนอมาตรการปฏิรูปที่ต้องดำเนินการต่อยูโรกรุ๊ปพิจารณาอนุมัติในวันนี้(23 ก.พ.) ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นกว่า 100 จุด หลังตลาดหุ้นยุโรปที่ขยับปิดบวกทำสถิติสูงสุดในรอบ 7 ปีไปก่อนหน้าจากคาดการณ์ว่าผลประชุม รมว.คลังยูโรโซนจะสามารถทำให้กรีซหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ในสิ้นเดือนนี้ได้ ซึ่งผลก็ออกมาตามคาด ทำให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ที่หลายแห่งเริ่มกลับมาเปิดทำการตามปกติจากเทศกาลตรุษจีนเมื่อสัปดาห์ก่อนก็มีจังหวะขยับบวกขึ้นด้วยเช่นกัน ขณะที่ครึ่งหลังของสัปดาห์ที่แล้ว SET เริ่มมีจังหวะรีบาวด์กลับขึ้นมาเพื่อรอรับข่าวนี้เช่นกัน ถึงแม้ว่าช่วงท้ายสัปดาห์ดัชนีจะแกว่งผันผวนและมีย้อนลบบ้าง แต่ก็ถือว่ายังทรงตัวได้ดีและยังมีแรงซื้อกลับเข้ามาหนุนให้เห็นอยู่ ทำให้ FSS คาดว่า SET ยังมีลุ้นจังหวะแกว่งบวกต่อเนื่องอีกครั้ง และมีสิทธิที่จะขยับผ่าน 1620 จุดขึ้นได้ เพื่อลุ้นทำจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่า 1649.77 จุดได้ต่อไปตามคาดเดิม
แนวรับ 1602-1598 , 1595-1590 จุด
แนวต้าน 1608-1612 , 1615-1620 , 1625-1630 จุด
Fund Flow สัปดาห์ที่ผ่านมายังไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคในปริมาณที่เบาบางเพียง US$101 ล้าน ลดลงจาก US$1,574 ล้านสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากหลายตลาดปิดทำการในช่วงเทศกาลตรุษจีน ส่วนศุกร์ที่ผ่านมายังไหลเข้าต่อเนื่องในปริมาณที่เบาบาง โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อตลาดหุ้นอินโดนีเซีย US$69 ล้าน และฟิลิปปินส์ US$11.8 ล้าน แต่ขายไทย US$18.2 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้ค่อนข้างนิ่ง Flow น่าจะไหลเข้าแต่เบาบาง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(+) กรีซบรรลุข้อตกลง ได้รับการขยายเวลาโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินออกไป 4 เดือนหลังจากสัญญาเงินกู้จะหมดอายุลงสิ้น ก.พ. นี้ หนุนตลาดหุ้นทั่วโลก โดยดาวโจนส์บวก 0.9% ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้บวกเฉลี่ย 0.2-0.3%
(+) MTLS ศักยภาพการเติบโตล้นเหลือ แม้กำไรปี 2014 จะเติบโตใกล้เคียงคาดคือ 55% Y-Y แต่พอร์ตสินเชื่อที่โตถึง 28% Y-Y และรายได้ค่าบริการที่เพิ่ม 17% Y-Y สูงเกินคาด เราจึงปรับยอดลูกหนี้คงค้างขึ้นจากเดิม 1.09 หมื่นล้านบาทเป็น 1.13 หมื่นล้านบาท +52% Y-Y สำหรับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยชะลอลงมาอยู่ที่ 16.6% จาก 18% ในปีก่อนหน้า เพราะต้นทุนการเงินที่ยังไม่ลดลงทันทีเนื่องจาก MTLS เพิ่งจ่ายชำระเงินกู้ในช่วงปลายปีหลังเข้าจดทะเบียนในตลาดฯ แต่จะได้ประโยชน์เต็มปีในปีนี้ ส่วน NPL ยังต่ำเพียง 1.37% ขณะที่ Coverage ratio สูงเกือบ 300% เราจึงปรับกำไรปี 2015 ขึ้น 7% เป็น 1 พันล้านบาท โตก้าวกระโดด 84% Y-Y ปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 24 บาทจาก 22 บาท แนะนำซื้อ ทั้งนี้บริษัทจ่ายปันผลหุ้นละ 0.13 บาท (Yield 0.65%)
(+) ROBINS กำไรสุทธิ 4Q14 ดีกว่าคาด +69% Q-Q, +6% Y-Y จากรายได้ค่าเช่าที่โตมากกว่าคาด และทำให้กำไรใน 4Q14 เป็นกำไรสูงสุดของปี ยอดขายสาขาเดิมฟื้นตัวดีขึ้นเล็กน้อยเป็น -6.1% Y-Y จาก -6.8% Y-Y ใน 3Q14 แต่ยังเป็นการติดลบ 5 ไตรมาสติดต่อกัน สำหรับกำไรทั้งปี 2014 ลดลง 3% Y-Y เรายังคงคาดกำไรปีนี้ฟื้นตัว 18% Y-Y จากการเปิดสาขาใหม่ 4 แห่ง ยังคงราคาเป้าหมาย 56 บาท แนะนำซื้อ ทั้งนี้บริษัทจ่ายปันผลหุ้นละ 0.90 บาท (Yield 2%) XD 6 มี.ค.
(0) MC กำไรสุทธิ 4Q14 ฟื้น 44% Q-Q ตามฤดูกาล แต่ยังชะลอ 7% Y-Y จากการบริโภคที่ยังไม่ฟื้น ยอดขายสาขาเดิมหดตัวถึง 15.5% Y-Y เร่งตัวขึ้นจาก 3Q14 ที่ -7% Y-Y ทำให้กำไรทั้งปี 2014 ลดลง 3% Y-Y เราอยู่ระหว่างทบทวนประมาณการปีนี้จากปัจจุบันที่คาดกำไรโต 27% Y-Y และราคาเป้าหมาย 20.50 บาท แนะนำถือไว้ก่อน
(0) SCB สินเชื่อเดือน ม.ค. ลดลง 0.62% M-M จากการจ่ายคืนสินเชื่อระยะสั้นในกลุ่มสินเชื่อธุรกิจ ส่วนเงินฝากทรงตัวจากเดือนก่อน สภาพคล่องจึงทรงตัว เรายังคงราคาเป้าหมาย 228 บาท คงคำแนะนำซื้อ อย่างไรก็ตาม เรายังคงชอบ KBANK (เป้าหมาย 271 บาท) และ KTB (เป้าหมาย 27.60 บาท) ที่สุดในกลุ่ม
(-) BAY สินเชื่อเดือน ม.ค. เพิ่ม 24% M-M จากการควบรวมธุรกิจกับ BTMU ซึ่งทำให้สินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้น 4.4 แสนล้านบาท เป็น 1.57 ล้านล้านบาท และยังคงเป็นอันดับ 5 ของกลุ่มธนาคาร หากไม่รวม BTMU สินเชื่อของเฉพาะ BAY เองลดลง 1.3% M-M จากการจ่ายชำระคืนในกลุ่ม SME, Corporate loan และลูกค้ารายย่อย ยกเว้นสินเชื่อรถยนต์ที่เติบโตดีจากกลุ่ม Used car และ refinance เรายังคงแนะนำขาย ราคาหุ้นปัจจุบันคิดเป็น PBV ถึง 2.6 เท่า สูงสุดในกลุ่ม ยังคงราคาเป้าหมาย 42 บาท
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังกรีซและยูโรโซนสามารถบรรลุข้อตกลงขยายความช่วยเหลือทางการเงินออกไปอีก 4 เดือน
ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปปิดผสมจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ค่อนข้างกระจัดกระจายรวมถึงจับตาดูการเจรจาระหว่างกรีซกับเจ้าหนี้ซึ่งตลาดปิดทำการก่อนที่จะทราบผล
ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวในแดนบวกหลังกรีซบรรลุข้อตกลงกับกลุ่มเจ้าหนี้ อย่างไรก็ตามหลายตลาดยังปิดทำการจากเทศกาลตรุษจีน
ค่าเงินบาทยังคงแกว่งตัวออกข้าง ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 32.50-32.58 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน มี.ค. ปิดที่ 50.34 เหรียญ/บาร์เรล ลดลง 0.82 ดอลลาร์/บาร์เรล และปรับลงต่อเนื่องเข้านี้หลังลิเบียกลับมาส่งออกน้ำมันเพิ่มเติมซึ่งกดดันปัจจัยอุปทานที่ล้นตลาด
ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปิดที่ 1204.90 ดอลาร์/ออนซ์ ลดลง 2.70 เหรียญ/ออนซ์ หลังกรีซบรรลุข้อตกลงด้านการขยายเวลาช่วยเหลือทางการเงินกับกลุ่มเจ้าหนี้ ทำให้นักลงทุนลดการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
23-ก.พ. - ไทย: ดุลการค้า (ม.ค.), ยอดขายรถ (ม.ค.), SCN เริ่มเทรด (ราคา IPO 5 บาท)
- จีน: ตลาดหุ้นปิดทำการวันนี้เนื่องในวันตรุษจีน
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านเก่า (ม.ค.)
24-ก.พ. - ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (ม.ค.)
- สหรัฐ: S&P/CaseShiller Index (ธ.ค.), ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ก.พ.)
25-ก.พ. - ไทย: S11 เริ่มเทรด (ราคา IPO 5.30 บาท)
- จีน: HSBC China Manufacturing PMI (ก.พ.)
- ฮ่องกง: 4Q14 GDP
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านใหม่ (ม.ค.)
26-ก.พ. - สหรัฐ: คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (ม.ค.), อัตราเงินเฟ้อ (ม.ค.)
27 ก.พ. - ไทย: ดุลการค้า (ม.ค.), อัตรการใช้กำลังการผลิต (ม.ค.)
- สหรัฐ: 4Q14 GDP (ตลาดคาด +2.1% Q-Q annualized ลดลงจากคาดการณ์ครั้งก่อนที่ +2.6%), Pending home sales (ม.ค.)
1 มี.ค. - จีน: Manufacturing PMI (ก.พ.)
2-มี.ค. - ไทย: อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)
- สหรัฐ: Personal Income (ม.ค.), ISM Manufacturing (ก.พ.)