WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เคเคเทรด : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

SET แกว่งตัวจากปัจจัยผสมผสาน
SET View
แนวโน้มวันนี้เป็นกลาง มองกรอบเคลื่อนไหว 1,600 – 1615 จุด
      SET จะแกว่งตัวไร้ทิศทางและมีโอกาสกลับลงมาสร้างฐานแถว 1600 จุดอีกครั้งจากปัจจัยผสมผสาน การประชุมระหว่างรัฐมนตรีคลังของกรีซและยูโรโซนยังไม่ได้ข้อสรุป กอปรกับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปียังมีทิศทางปรับสูงขึ้น ไม่ดึงดูดเม็ดเงินไหลเข้าในภูมิภาค และนักลงทุนต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิกว่า 1.5 พันล้านบาทกดดันจิตวิทยาการลงทุน อย่างไรก็ตามเชื่อว่ากลุ่มพลังงานมีโอกาสกลับมารีบาวน์หลังราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้นต่อเนื่องมาที่ US$61 ต่อบาร์เรล ขณะเดียวกันการประกาศตัวเลข GDP ไทย 4Q57 เมื่อวานที่ +2.3%YoY ยืนยันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และข่าวนายกรัฐมนตรีสั่งให้ธปท.จับตาเรื่องเงินไหลเข้า เงินเฟ้อติดลบ

      รวมถึงสศช.ขอให้ดูแลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อสนับสนุนภาคส่งออกซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อธปท. และจะสร้างความคาดหวังเชิงบวกต่อโอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมกนง.เดือนมี.ค. ขณะที่หุ้นรายตัวยังคงผันผวนตามการคาดหวังทั้งบวกและลบต่อการทยอยประกาศผลประกอบการปี 57 ที่จะเสร็จสิ้นภายในเดือนนี้ การเคลื่อนไหวของ SET จะขึ้นกับความคาดหวังเชิงบวกต่อปัจจัยในประเทศโดยเฉพาะด้านผลประกอบการ ซึ่งเราคาดว่ารอจนบริษัทจดทะเบียนทยอยประกาศผลประกอบการปี 57 ใกล้เสร็จสิ้น SET ถึงจะเริ่มมีแนวโน้มที่ชัดเจน การเคลื่อนไหวของ SET ยังคงผันผวนและมีโอกาสพลิกผันได้ทุกเมื่อ

      กลยุทธ์การลงทุน ระยะ 1-2 วัน ชะลอการลงทุน หรือเสี่ยงซื้อหาก SET ปรับลงมาแถว 1600 จุดหรือต่ำกว่า เพื่อไปรอขายช่วงรีบาวน์ หาก SET ปิดเหนือ 1610 จุดไม่ได้แนะนำกลับมาถือครองเงินสด

      Top Daily Pick : CK (หนึ่งในผู้รับเหมารายใหญ่ที่มีโอกาสมากสุดที่จะได้งานโครงการขนาดใหญ่ในปีนี้) /KTB (ปันผลโดดเด่นสุดในกลุ่มธนาคารราว 4.3% มีโอกาสโตจากเศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มฟื้นตัว)

Technical Pick : IFEC BWG DTAC TH TVD

      Theme Play กลุ่มพลังงาน (BANPU PTT PTTEP PTTGC) ได้จิตวิทยาเชิงบวกจากราคาน้ำมันดิบคงปรับสูงขึ้น /กลุ่มธนาคาร (BBL KBANK KTB SCB) คาดการณ์เศรษฐกิจฟื้นตัวและโอกาสปรับลดดอกเบี้ย /กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง (CK ITD STEC) โครงการขนาดใหญ่จะมีความคืบหน้าในเดือนนี้ /กลุ่มสื่อสาร (ADVANC INTUCH THCOM) ผลประกอบการปี 58 จะกลับมาโตชัดเจน /กลุ่มที่มีโมเมนตัมดี outperform ตลาดได้สองสัปดาห์ต่อเนื่อง (AGE CSS EA IFS IRPC KKC KTC ROJNA SEAFCO TSR UAC TRC)

รายงานวันนี้
Result : PTTGC (เก็งกำไร / มูลค่าเหมาะสม 62 บาท) ประกาศผลประกอบการตามคาด

GDP ไทย 4Q57 เติบโต 2.3%YoY ผลักดันจากภาคส่งออก

•สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจไทย (GDP) งวด 4Q57 เติบโต 2.3%YoY ส่งผลให้ตัวเลขการเติบโตปี 57 อยู่ที่ 0.7% ใกล้เคียงกับตัวเลขคาดการณ์ ที่ 0.8% จึงไม่มีนัยต่อจิตวิทยาการลงทุนในระยะสั้น

•ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนพัฒนาการเชิงบวกหลายด้าน (1) เป็นการเติบโต YoY มากที่สุดในรอบ 5 ไตรมาส (2) ตัวเลข GDP ณ ราคาคงที่แตะ 1.32 ล้านล้านบาทได้เป็นไตรมาสแรก บ่งบอกว่า GDP ไทยน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว (3) ด้านการผลิตมีการเติบโตในแทบทุกภาค อาทิภาคอุตสาหกรรมเติบโตครั้งแรกในรอบ 7 ไตรมาส (+7%YoY), ภาคก่อสร้างเติบโตครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส (+3.7%YoY), โรงแรมและภัตตาคารเติบโตครั้งแรกรอบ 4 ไตรมาส (+3.6%YoY), ค้าส่งและค้าปลีกเร่งตัวขึ้น (+2.3%YoY)

•อย่างไรก็ตามพิจารณาจากภาคการใช้จ่าย เรามองว่าสาเหตุการเติบโตของ GDP ใน 4Q57 เกิดจากการฟื้นตัวของภาคส่งออกเป็นหลัก (+2.8%YoY) สัดส่วน 55% ของ GDP และส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมอาทิ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานพาหนะ ซึ่งฟื้นตัวจากปัจจัยฤดูกาล ขณะที่สินค้าเกษตรภาพรวมยังมีมูลค่าลดลง (ด้านเม็ดเงิน GDP 4Q57 ที่ 1.32 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 4Q56 ราว 2.9 หมื่นล้านบาท เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของเม็ดเงินจากภาคส่งออกและบริการถึง 4.9 หมื่นล้านบาท ขณะที่เพิ่มจากรายการอื่นมีเพียงเล็กน้อย ส่วนการเพิ่มขึ้นของ GDP ที่น้อยกว่ายอดส่งออกและบริการราว 2 หมื่นล้านบาทผลจากส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือที่ลดลง )

•แม้สศช.คาดการณ์ GDP ปี 58 เติบโต 3.5%-4.5% เรามองว่าเป็นตัวเลขที่ท้าทายหากประเมินจาก (1) หาก GDP 1Q58 ยังทำได้เท่ากับ 4Q57 จะเติบโตเพียง 3.7% แต่เรามองว่าการเติบโตส่งออกช่วง 4Q57 เกิดจากการเพิ่มระดับสินค้าคงคลังของสินค้าอุตสาหกรรมเป็นหลักซึ่งจะไม่ยั่งยืน (2) ราคาสินค้าภาคการเกษตรยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวจะยังคงกดดันภาคการส่งออกสินค้าเกษตร (3) ธนาคารกลางทั่วโลกที่คงเน้นใช้มาตรการการเงินผ่อนคลายเพื่อทำให้ค่าเงินสกุลตนเองลดค่าลงอาจกดดันให้เงินบาทแข็งค่าเทียบประเทศคู่ค้าในระยะต่อไป และจะกระทบภาคส่งออก

•ในเชิงกลยุทธ์เรามีมุมมองเป็นกลางต่อตัวเลข GDP ที่ประกาศออกมา แต่มีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมกนง.เดือนหน้า (11 มี.ค.) เพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่ามากเกินไป ซึ่งหากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเกิดขึ้น จะเป็นบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง โดยเรามองว่ากลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายโดยตรงได้แก่กลุ่มธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารขนาดกลาง-เล็กที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวได้ดีกว่าธนาคารขนาดใหญ่ (TCAP TISCO TMB) และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายระดับล่างที่ค่อนข้างอ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย (LPN PS) โดยเราเชื่อว่าเมื่อใกล้การประชุมกนง.นักลงทุนจะกลับเข้ามาเก็งกำไรจากประเด็นนี้ และคาดจะกลับมาให้ความสนใจหุ้นกลุ่มนี้อีกครั้งหนึ่ง

Smart Port Note
Beta ของพอร์ตลงทุนแสดงถึงความเสี่ยงของหุ้นในพอร์ตเทียบกับ ตลาด SET หากค่า Beta สูงกว่าหนึ่งเท่า แสดงถึงความเสี่ยงของ พอร์ตลงทุนที่สูงกว่า SET
Growth Port มีค่า Beta เท่ากับ 1.20
Trading Port มีค่า Beta เท่ากับ 1.00
Dividend Port มีค่า Beta เท่ากับ 0.89
Quant Port มีค่า Beta เท่ากับ 0.83

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!