- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 16 February 2015 16:23
- Hits: 2021
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาดว่า ตลาดน่าจะได้แรงหนุนจากสภาพคล่องโลกที่เพิ่มและเข้าสู่ฤดูกาลปันผล จะช่วยหนุน SET ยืนเหนือ 1,600 จุด วันนี้เลือกหุ้นเด่นคือ SALEE([email protected]) คาดกำไรจะเติบโต 23% และมีโอกาสได้สิทธิจองหุ้น SLP อัตรา 3 หุ้น SALEE ต่อ 1 หุ้น SLP และหุ้นปันผลเด่น AIT(FV@B53) และ SPALI(FV@B 31.96)
นโยบายการเงินอ่อนตัวยังเป็นปัจจัยหนุน SET ยืนเหนือ 1,600 จุด
เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวต่ำกว่าคาด ยังคงมีน้ำหนักกดดันตลาดตลาดหุ้นโลก แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเงินเฟ้อที่ตกต่ำทั่วโลก จนทำให้หลายประเทศรายงานเงินเฟ้อติดลบและอาจจะสร้างความกังวลต่อการเข้าสู่ภาวะเงินฝืด โดยเฉพาะ ยุโรป (ติดลบทุกประเทศ ยกเว้น เยอรมัน ฝรั่งเศส และออสเตรีย) ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง (ดังที่กล่าวย้ำใน Market Talk) โดยล่าสุด เมื่อ 12 ก.พ. ธนาคารกลางสวีเดน ได้การประกาศลดดอกเบี้ยฯ จาก 0% เป็นติดลบ 0.1% เป็นการติดลบครั้งแรกต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ (เทียบกับเงินเฟ้อ ล่าสุด เดือน ธ.ค. 2557 อยู่ที่ระดับ -0.3% และเข้าสู่ภาวะเงินฝืดมายาวนาน) รวมถึงได้ประกาศใช้มาตรการ QE เป็นครั้งแรก เพื่อต่อสู่กับภาวะเงินฝืด ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ ประเทศที่ลดดอกเบี้ยมาในลักษณะติดลบ เช่นเดียวกัน ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ (ติดลบ 0.75%) และ เดนมาร์ก (ติดลบ 0.75%) เป็นต้น
และ เช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทย เชื่อว่ามีโอกาสที่จะตัดลดดอกเบี้ยนโยบายเช่นเดียวกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่ติดลบมากขึ้น (ทำให้ผลตอบแทนสุทธิเป็นบวกเกิน 2.4% ในเดือน ม.ค. หลังเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. ลบ 0.4% เป็นครั้งแรกในรอบ 64 เดือน) และมีแนวโน้มที่เงินเฟ้อจะต่ำกว่า 0% หรือบวกลบเล็กน้อย ตลอด 6M58 (จากฐานเงินเฟ้อที่สูงในงวด 6M57) ซึ่งทางฝ่ายวิจัย ASP ประมาณว่าน่าจะมีโอกาสลดดอกเบี้ย 0.25-0.5% ในปีนี้ ขณะที่ประเทศไทยยังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งอาจทำให้ยอดส่งออกสุทธิของไทยต่ำกว่าที่คาด โดยจากการศึกษาของนักเศรษฐศาตร์ของ ASP ประเมินว่า GDP Growth ปี 2558 มี ลดลงจากประมาณการเดิม 3.5% เหลือ เหลือระหว่าง 3.3.%-2.2% ทั้งนี้ขึ้นกับสมมติฐาน ส่งออกในปี 2558 จะต่ำกว่าเป้าหมายมากน้อยเพียงใด โดยหากต่ำกว่าคาดการณ์ระหว่าง 0.5%-2% จากสมมติฐานเดิมที่ 3.4% ขณะที่กำหนดให้ยอดนำเข้าลดลงเล็กน้อยเหลือ 4.1% จากเดิม 4.3% จากผลประโยชน์ของราคาน้ำมันที่ลดลง (รายละเอียดจาก Economic Update วันที่ 12 ก.พ. 2558)
เป็นฤดูกาลจ่ายเงินปันผล เลือก ASK, SPALI, AIT, PTT
หลังการประกาศงบการเงินงวดปี 2557 (ในช่วงปลายเดือน ก.พ. – ต้น มี.ค.2558) ก็จะเข้าสู่ช่วงเทศกาลของการประกาศจ่ายเงินปันผล ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่มักจ่ายในช่วงเดือน พ.ค. – มิ.ย. 2558 ทั้งนี้นักวิเคราะห์เชิงปริมาณของ Asp ได้ทำการรวมรวมข้อมูล อดีตคือ ย้อนหลัง 10 ปี และคัดกรองหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปพร้อมกับให้ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) สูงเฉลี่ยตั้งแต่ 3.5% ขึ้นไป ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันยังมี Upside สูง และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ หรือ ถือรับเงินปันผล ได้รายชื่อหุ้นออกมา 36 บริษัท
และหุ้น 36 บริษัทที่จากการคัดเลือกข้างต้น ได้ทำการศึกษาต่อพบว่า หากสามารถซื้อหุ้นและ ถือครอง ในช่วงระยะเวลาต่างๆ จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยและความน่าจะเป็นที่จะได้ผลตอบแทนเป็นบวกแตกต่างกันไป ทำให้สามารถกำหนดกลยุทธ์การลงทุน 2 ทางคือ
ซื้อหุ้นก่อนวันขึ้น XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรหลังวันขึ้น XD ราว 2 เดือน ผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีตสูงถึง 10.8% ด้วยความน่าจะเป็นราว 64% ได้แก่ PTT, SPALI, AIT, THANI
ซื้อหุ้นก่อนวันขึ้น XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรหลังวันขึ้น XD ราว 1 สัปดาห์ ผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีตราว 6.9% ด้วยความน่าจะเป็นสูงถึง 70% ได้แก่ AIT, ASK, SPALI, KTB
โดยหุ้นที่ฝ่ายวิจัยเลือกเป็น Top Picks ได้แก่ ASK, SPALI, AIT, KTB
แนะนำหุ้นใหม่ ศักยภาพการเติบโตโดดเด่น : SALEE
ในภาวะที่ตลาดผันผวน โดยยังมีความกังวลต่อ สถานการณ์ในกรีซ ทำให้กลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมน่าจะมี 2 แนวคิดคือ แนวคิดแรก เลือกหุ้นปันผล ตามที่กล่าวข้างต้นไปแล้ว และ แนวคิดที่สองคือ ใช้วิธี bottom up analysis นั่นคือคัดเลือกหุ้นที่ดี มีศักยภาพการเติบโตในระยะยาว ซึ่งวันนี้นักวิเคราะห์ของ ASP ได้ทำการคัดเลือกหุ้นใหม่ที่จะนำเสนอ คือ SALEE ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนพลาสติก (แบบฉีดและขึ้นรูป) และมีบริษัทลูก SLP ทำธุรกิจรับจ้างพิมพ์ฉลากสินค้าคุณภาพสูง (ส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 ในไทย) ล่าสุด SALEE ได้สร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติกแบบฉีดเพิ่มอีก 1 แห่ง ในงวด 2H57 เพิ่มกำลังการผลิตแบบฉีดอีก 30% เพื่อรองรับการผลิตผลิตภัณฑ์ป้อนหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์แล้ว และอยู่ระหว่างการเข้าร่วมประมูลกับภาครัฐซึ่งคาดจะเกิดขึ้นในช่วง 2H58 โดยในเบื้องต้นประเมินว่า SALEE น่าจะสามารถทำกำไรจากการดำเนินปกติได้ในอัตราสูงถึง 23% ในปี 2558
และน่าจะเติบโตในปี 2559 15%นอกจากนี้ ยังคาดว่าจะสามารถบันทึกกำไรพิเศษ ราว 70 ล้านบาท จากการนำบริษัทย่อย (บริษัทสาลี่ พริ้นติ้ง หรือ SLP) ซึ่งเตรียมจะเข้าซื้อขายในตลาดฯ ในไตรมาส 2 ของปีนี้ พร้อมกันนี้ยังให้สิทธิ์แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ SALEE ในการจองซื้อหุ้น SLP อัตราส่วน 3 หุ้น SALEE ต่อ 1 SLP (คาดจะเข้าซื้อขายตลาดหลักทรัพย์ได้ราวปลาย เม.ย.นี้ โดยการจัดสรรหุ้น SLP บางส่วน มาจากหุ้นเดิมที่ SALEE ถืออยู่ และ จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นใน SLP ลดลงจาก 100% เหลือ 65% ภายหลังเข้าตลาด) เนื่องจากบริษัทจะมีการเติบโตในระยะยาวจากการขยายกำลังการผลิตรองรับตลาดใหม่ ๆ ฝ่ายวิจัยจึงได้ประเมินมูลค่าโดยใช้วิธี DCF (WACC 9%, Terminal Growth rate 3.5%) ซึ่งจะได้มูลค่าหุ้นที่เหมาะสมในปี 2558 อยู่ที่ 12.2 บาท มี Upside จากราคาปัจจุบันสูงถึง 57.4% และยังมี Div. Yield 4.8% จึงแนะนำ “ซื้อ” SALEE([email protected]) และเป็นตัวเลือกที่ดีในช่วง 1H58
(ติดตามอ่านรายละเอียดในรายงานฉบับยาว Initial coverage วันนี้)
Fund Flow เข้าไหลตลาดหุ้น แต่ขายตลาดตราสารหนี้
วานนี้ นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 แต่ลดลง 19% เหลือราว 340 ล้านเหรียญฯ โดยเป็นการซื้อสุทธิใน 4 จาก 5 ประเทศ (ที่เปิดเผยข้อมูล) เริ่มจากไต้หวันที่ซื้อสุทธิติดต่อกัน เป็นวันที่ 9 และเพิ่มขึ้น 7% อยู่ที่ 265 ล้านเหรียญฯ ตามมาด้วยอินโดนีเซีย ที่ยังคงซื้อสุทธิเป็นวันที่ 10 ราว 73 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นถึง 53% จากวันก่อนหน้า) ขณะที่ไทย ยังคงซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 55 ล้านเหรียญฯ (1.8 พันล้านบาท, เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวจากวันก่อนหน้า) และเช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ที่ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 22 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 9%) สวนทางกับเกาหลีใต้ที่สลับมาขายสุทธิอีกครั้ง ราว 6 ล้านเหรียญฯ (ขายสลับซื้อสุทธิใน 3 วันหลังสุด)
โดยรวม นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยรวมกว่า 7.8 พันล้านบาท ตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเชื่อว่าได้รับแรงหนุนจาก กระแสดอกเบี้ยขาลง และ นโยบายผ่อนคลายทางการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก ตรงข้ามกับ ตลาดตราสารหนี้ พบว่า ต่างชาติขายสุทธิออกมาเป็นวันที่ 2 ราว 1.3 พันล้านบาท จึงมียอดขายสุทธิ 6.3 พันล้านบาท
ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล