- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 03 February 2015 15:13
- Hits: 1346
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ช่วงนี้ยังแนะซื้อช่วงลบ แล้วเน้นถือต่อเนื่อง เพื่อรอ 1650...
กลยุทธ์ : เนื่องจาก FSS คาดว่า SET ยังอยู่ในช่วงแกว่งตัวผันผวนโดยมีจังหวะบวก-ลบสลับ แต่ว่าคาดกรอบลงจำกัดและมีสิทธิที่จะกลับไปแกว่งขึ้นต่อเนื่องเร็วๆ นี้ ดังนั้นแนะนำทยอยซื้อช่วงลบแล้วเน้นถือไว้ก่อนเช่นเดิม
หุ้นเด่นทางเทคนิค : KTIS, SPCG, M(buy back)
แนวโน้ม : เมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐยังผันผวนในกรอบกว้าง โดยช่วงแรกดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลดลงกว่า 100 จุดจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ทั้ง ISM ภาคการผลิตเดือน ม.ค. ที่ออกมาต่ำสุดในรอบ 11 เดือนแย่กว่าที่ตลาดคาดไว้ รวมถึงตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคที่ชะลอตัวลงด้วย แต่สุดท้าย DJIA ก็สามารถขยับขึ้นมาปิดสิ้นวันเป็นบวกเกือบ 200 จุดได้ เพราะได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ดีดตัวขึ้นค่อนข้างแรง อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ไม่ได้ตอบสนองในเชิงบวกมากนัก โดยหลายแห่งยังเปิดเป็นลบ ซึ่งคาดว่าแรงขายส่วนหนึ่งมาจากความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะที่ตลาดหุ้นไทยวานนี้ก็มีจังหวะรีบาวด์กลับขึ้นมาจากจุดต่ำพอควรแล้วด้วย ดังนั้นถ้ายังไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุน FSS ก็คาดว่า SET ยังมีโอกาสที่จะแกว่งตัวผันผวนและมีจังหวะปรับพักตัวลงต่อได้อีก อย่างไรก็ตามเนื่องจากเข้าใกล้ช่วงประกาศผลการดำเนินงานรายปีของ บจ.ต่างๆ แล้ว ซึ่ง FSS คาดว่าจะมีแรงซื้อเก็งกำไรผลประกอบการเข้ามาหนุน ดังนั้นเรายังแนะนำเลือกหุ้นซื้อได้
แนวรับ 1580-1575 , 1570-1560 จุด
แนวต้าน 1585-1587 , 1590-1595 จุด
Fund Flow วานนี้ไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคในปริมาณที่เบาบางมาก โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไต้หวัน US$130.8 ล้าน และอินโดนีเซีย US$0.5 ล้าน แต่ขายฟิลิปปินส์ US$19.9 ล้าน ไทย US$10.7 ล้าน เวียดนาม US$8.0 ล้าน และเกาหลีใต้ US$0.5 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้ค่อนข้างนิ่ง Flow น่าจะเบาบางต่อเนื่อง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(+) เงินบาทแข็งค่าเร็ว ส่วนราคาน้ำมันขึ้นต่อ ค่าเงินบาทวานนี้แข็งค่าเร็วถึง 20 สตางค์ภายในวันเดียวจากเม็ดเงินที่เริ่มไหลเข้าตลาดพันธบัตร แต่เชื่อว่าเป็นเพียงระยะสั้นและชั่วคราว ส่วนราคาน้ำมันดิบขึ้นต่ออีก US$1.33 เป็น US$50 (WTI) หลังตัวเลขการขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว เป็น sentiment ที่ดีต่อ PTT และ PTTEP
(+) BGH เราคาดกำไรปกติ 4Q14 ยังเติบโตแข็งแกร่ง -2% Q-Q, +28% Y-Y ตามผู้ป่วยชาวต่างชาติที่ฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ และมีแรงหนุนจากโรงพยาบาลใหม่ที่เปิดเพิ่ม 8 แห่งในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้คาดว่ากำไรปกติทั้งปี 2014 เติบโต 18% Y-Y และยังคงคาดกำไรปีนี้โต 25% Y-Y คงราคาเป้าหมาย 20.50 บาท คงคำแนะนำซื้อ
(-) RML แนวโน้มกำไรปกติ 2014 ดีกว่าที่เราคาดไว้เดิม โดยน่าจะลดลงเพียง 83% Q-Q และ 60% Y-Y ซึ่งทำให้เราปรับประมาณการกำไรปกติปี 2014 ขึ้น 3% เป็นเติบโตก้าวกระโดดถึง 84% Y-Y แต่ปรับลดกำไรปกติปี 2015 ลง 9% จากแนวโน้มรายได้โอนที่ช้ากว่าที่เดิม ทำให้กำไรปี 2015 ลดลง 6% Y-Y เป็นเพียงบริษัทเดียวที่มีกำไรปกติลดลงในปีนี้ ลดราคาเป้าหมายลงเป็น 2.20 บาท จาก 2.40 บาท ลดคำแนะนำเป็นถือ จากเดิมซื้อ
(-) IRPC แนวโน้มผลประกอบการ 4Q14 แย่กว่าที่เคยคาด โดยจะขาดทุนสุทธิ 5,427 ล้านบาทเพราะผลขาดทุนจากสต็อกสูงถึง 9.5 พันล้านบาท แม้ค่าการกลั่นจะดีขึ้นและธุรกิจปิโตรเคมีมี Margin กว้างขึ้น รวมถึงมีรายได้พิเศษจากค่าเคลมประกันไฟไหม้ 1 พันล้านบาท แต่ไม่สามารถชดเชยได้ ทำให้ปี 2014 จะขาดทุนสุทธิ 4,883 ล้านบาท เราปรับกำไรสุทธิปี 2015 ลง 19% ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 3.60 บาทจาก 4.10 บาท แม้ราคาหุ้นจะปรับลงมาแล้วแต่ upside ยังแคบ ประกอบกับ Upside จากโครงการ Phoenix ไม่มากเหมือนที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ ลดคำแนะนำเป็นถือ จากเดิมซื้อ
(0) TCAP แม้ไม่มีประเด็นบวกในเชิงพื้นฐาน (สินเชื่อเช่าซื้อสุทธิมีแนวโน้มหดตัวต่อจากปีก่อน คาดปลายปี 2016 ถึงต้นปี 2017 จึงจะกลับสู่ภาวะปกติ) แต่การซื้อหุ้นคืนอาจช่วยจำกัด Downside ของราคาหุ้นได้ เพราะเป็นสัญญาณบวกต่อความเพียงพอของสภาพคล่องและเงินกองทุน จากข้อมูลสถิติในอดีตทั้ง 3 ครั้งของการทำ Treasury stock ราคาหุ้น TCAP ปรับขึ้นดีกว่าการปรับขึ้นของทั้ง SET และ SETBANK ราว 15% และ 18% ตามลำดับ เราคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 43 บาท
(+) IPO ใหม่ ‘PLAT’ บมจ. เดอะแพลทินัมกรุ๊ป ปัจจุบันมีโครงการที่ดำเนินอยู่ 3 แห่งคือ เดอะแพลทินัมแฟชั่นมอลล์ โรงแรมโนโวเทลกรุงเทพแพลทินัมประตูน้ำ และเดอะวอร์ฟสมุย (Community mall) และอยู่ระหว่างพัฒนาโครงการศูนย์ค้าปลีก โรงแรมและทางเชื่อมรถไฟฟ้ารวม 4 โครงการซึ่งจะทยอยสร้างแล้วเสร็จในปี 2017-18 เราคาดกำไรปี 2014 โตก้าวกระโดด 72% และชะลอเหลือ 11% ในปีนี้และ 6% ในปี 2016 ประเมินมูลค่าเหมาะสมที่ 8.50 บาท แบ่งเป็นโครงการปัจจุบัน 5.48 บาทและอนาคต 3.02 บาท (FSS เป็นผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น IPO ของ PLAT)
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาพุ่งขึ้นแรงกว่า 1% โดยได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องรวมถึงสถานการณ์ในยูโรโซนที่มีทิศทางดีขึ้น ซึ่งบดบังตัวเลข ISM ภาคการผลิตที่ออกมาต่ำกว่าคาด
ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนปิดค่อนมาในแดนบวกได้เล็กน้อยจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาน่าพอใจรวมถึงสถานการณ์ของกรีซที่คาดว่าจะดีขึ้นโดยจะเจรจาเงื่อนไขการชำระหนี้
ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวในกรอบแคบๆ โดยนักลงทุนคาดหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางออสเตรเลียวันนี้
ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแรงโดยเคลื่อนไหวในกรอบ 32.46-32.60 บาท/ดอลลาร์
น้ำมันดิบในตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน มี.ค. ปิดที่ 49.57 ดอลลาร์/บาร์เรล พุ่งขึ้น 1.33 ดอลลาร์/บาร์เรล จากคาดการณ์ว่าการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯจะลดลง แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าการปรับขึ้นจะถูกจำกัดจากตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
ทองคำในตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปิดที่ 1,276.90 ดอลลาร์/ออนซ์ ขยับลง 2.30 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากราคาทองคำพุ่งขึ้นแรงในช่วงเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามจากเศรษฐกิจโลกที่ยังน่าเป็นห่วงทำให้ราคาทองคำปรับตัวลงจำกัด
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
8 ก.พ. - จีน: ดุลการค้า (ม.ค.)
10 ก.พ. - จีน: อัตราเงินเฟ้อ (ม.ค.), ยอดสินเชื่อเดือน ม.ค.
12 ก.พ. - ฟิลิปปินส์: ธนาคารกลางประชุม
- สหรัฐ: ยอดค้าปลีก (ม.ค.)
- ยูโรโซน: 4Q14 GDP
16 ก.พ. - ไทย: 4Q14 GDP (สศค.คาด GDP 4Q14 โต 2.3% Y-Y ทั้งปีโต 0.7%)
- ญี่ปุ่น: 4Q14 GDP
Contact person : Somchai Anektaweepon
Research Dept. Tel: 02-646-9967, 02-646-9852