- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 02 February 2015 15:19
- Hits: 1577
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
Today’s Report : ERW
Our Portfolio Feb 2015 : ADVANC, CENTEL, MTLS, PS, SEAFCO
ช่วงนี้ SET อ่อนตัวแนะนำทยอยซื้อสะสม แล้วเน้นถือต่อเนื่อง!!
กลยุทธ์ : แม้ว่า FSS จะคาดว่า SET ยังอยู่ระหว่างแกว่งตัวผันผวนและปรับตัวลงได้อีก แต่คาดกรอบลบจำกัดและมีแนวโน้มที่ใกล้จะกลับไปแกว่งขึ้นต่อเนื่องแล้ว ดังนั้นเรายังแนะนำทยอยซื้อช่วงลบแล้วเน้นถือไว้ก่อนได้
หุ้นเด่นทางเทคนิค : AJD, AGE, BH(buy back)
แนวโน้ม : ตลาดหุ้นไทยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เริ่มมีจังหวะปรับตัวลงจริงจังมากขึ้น หลังจากตลอดทั้งสัปดาห์จะมีลักษณะแกว่งตัวผันผวนโดยมีจังหวะแกว่งบวก-ลบสลับไปมาอยู่ ซึ่งคาดว่าแรงขายส่วนหนึ่งมาจากการขายทำกำไรเพื่อลดความเสี่ยง เนื่องจากก่อนหน้านี้ SET ขยับบวกขึ้นมารอรับข่าวการเพิ่มมาตรการ QE ของ ECB ไปล่วงหน้าพอควรแล้ว ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศในบ้านเราก็เริ่มกลับมามียอดขายสุทธิอีกครั้ง ประกอบกับเช้านี้ยังได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวลงแรงของดัชนีดาวโจนส์ และการปรับลงของตลาดหุ้นยุโรปส่วนใหญ่ จากตัวเลขประมาณการ GDP ไตรมาส 4/2014 ของสหรัฐออกมาต่ำกว่าคาด สร้างความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ในบ้านเรายังมีเหตุระเบิดหน้าห้างสยามพารากอนเมื่อช่วงค่ำวานนี้(1 ก.พ.) ซึ่งเพิ่งจะมีประเด็นการเมืองเกี่ยวกับการถอดถอนอดีตนายกฯ และเตรียมฟ้องอาญาฯ อยู่ ทำให้นักลงทุนบางส่วนอาจวิตกถึงเหตุการณ์บานปลายได้ จึงทำให้ FSS ยังคาดว่า SET จะยังแกว่งผันผวนและปรับพักตัวลงอีกได้
แนวรับ 1575-1570 , 1564-1560 จุด
แนวต้าน 1585-1587 , 1590-1595 จุด
Fund Flow สัปดาห์ที่ผ่านมาไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาค US$1,014 ล้าน ลดลงจาก US$2,706 ล้านเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ส่วนศุกร์ที่ผ่านมายังไหลออกติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในปริมาณที่เบาบาง โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ US$95.9 ล้าน ไทย US$22.9 ล้าน แต่ซื้ออินโดนีเซีย US$43.2 ล้าน ฟิลิปปินส์ US$5.5 ล้าน และเวียดนาม US$2.1 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้อ่อนค่าเล็กน้อย Flow น่าจะยังไหลออกแต่เบาบาง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) ธนาคารกลางรัสเซียใช้ยาแรง ศุกร์ที่ผ่านมาธนาคารกลางรัสเซียเซอร์ไพรส์ตลาดโดยปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 2% เหลือ 15% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เสียหายจากการถูกคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกและราคาน้ำมันที่ตกต่ำ เงินรูเบิลอ่อนค่าอีก 2% ผลกระทบโดยตรงกับไทยมีน้อยมากเพราะมูลค่าการส่งออกไปรัสเซียคิดเป็น 0.5% ของการส่งออกรวม และเงินลงทุนโดยตรงจากรัสเซียในไทยคิดเป็น 0.2% ของเงินลงทุนทั้งหมด แต่กระทบโดยอ้อมจากความผันผวนในตลาดเงินและเศรษฐกิจโลก
(-) ผิดหวัง GDP สหรัฐ แต่ราคาน้ำมันดิบพุ่ง GDP สหรัฐลดเหลือ 2.6% ใน 4Q14 ต่ำกว่า 3Q14 ที่โตแข็งแกร่งกว่าปกติที่ 5% แต่ไม่น่าห่วงเพราะการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มสูงขึ้นมาก แต่ที่ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 3% เพราะส่งออก สะท้อนความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก ส่วนราคาน้ำดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้น US$3/บาร์เรล จากตัวเลขหลุมขุดเจาะน้ำมันดิบในอเมริกาเหนือลดลงกว่า 94 หลุมหรือ 7% ในสัปดาห์ที่แล้ว
(+) กลยุทธ์เดือน ก.พ. ความผันผวนที่ล้วนแต่เกิดจากปัจจัยต่างประเทศในเดือนก่อนจะผ่อนคลายลงในเดือนนี้เพราะตลาดรับรู้ไปในระดับหนึ่งแล้ว ขณะที่เศรษฐกิจในประเทศจะค่อยๆฟื้นตัวและชัดเจนขึ้นเมื่อเข้าสู่ 2Q15 ส่วนราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่จะอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกพักใหญ่ เป็นปัจจัยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเป็นบวกต่อตลาดหุ้น (เป็นลบต่อกลุ่มโรงกลั่นและน้ำมัน) และจากสถิติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา SET Index เดือน ก.พ. บวกเฉลี่ย 3.5% M-M โดยมีถึง 8 ใน 10 ครั้งที่ดัชนีเดือน ก.พ. เป็นบวก เราจึงเชื่อว่า SET Index ในเดือนนี้มีแนวโน้มสดใส มีลุ้นวิ่งขึ้นหาจุดสูงสุดเดิมแถว 1650 จุด แนะนำให้หาจังหวะสะสมหุ้นช่วงลบเพื่อถือรอรอบใหญ่ หุ้นแนะนำเดือนนี้ได้แก่ ADVANC, CENTEL, MTLS, PS และ SEAFCO
(+) ERW เราคาดว่า ERW จะพลิกมามีกำไรปกติ 74 ล้านบาทใน 4Q14 ตาม High season และจากภาวะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว ส่วนแนวโน้มกำไรใน 1Q15 น่าจะสร้างสถิติสูงสุดในรอบ 15 ปี เป็นการฟื้นตัวหลังจากถูกกกระทบอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์การเมืองในปีก่อน Occupancy rate และราคาห้องพักจะสูงขึ้นมากทั้งที่โรงแรมเรเนซองส์ เกาะสมุย และแกรนด์ไฮแอธเอราวัณหลัง Renovation เสร็จสิ้น เรายังคงคาดว่าปี 2015 จะมีกำไรปกติ 277 ล้านบาท นอกจากนี้ ERW ยังมีแผนจัดตั้ง REIT ใน 2H15 ซึ่งจะเป็น upside ต่อประมาณการของเรา เรายังคงแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 5.70 บาท
(-) IRPC แนวโน้ม 4Q14 แย่กว่าคาด น่าจะขาดทุนสุทธิสูงถึง 5.5 พันล้านบาทจากการขาดทุนสต็อก ขณะที่ธุรกิจหลักทั้งค่าการกลั่นและปิโตรเคมีก็แย่ลง เราอยู่ระหว่างทบทวนประมาณการและราคาเป้าหมายใหม่
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปรับตัวลงค่อนข้างแรงหลังตัวเลข GDP 4Q14 ของสหรัฐฯเติบโตช้ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ รวมถึงแรงกดดกันหลังธนาคารกลางรัสเซียประกาศลดดอกเบี้ย
ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนวันศุกร์ปิดในแดนลบเช่นกันรับตัวเลขเงินเฟ้อรวมถึงผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาต่ำกว่าคาด
ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวผสม โดยได้รับปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามตลาดยังจับตาดูตัวเลขเศรษฐกิจจีนเช้านี้
หลังจากอ่อนค่าลงแรง ค่าเงินบาทเริ่มแกว่งตัวออกข้างโดยเคลื่อนไหวในกรอบ 32.61-32.74 บาท/ดอลลาร์
น้ำมันดิบในตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน มี.ค. ปิดที่ 48.24 ดอลลาร์/บาร์เรล พุ่งขึ้น 3.71 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีรายงานว่าจำนวนแท่นขุดเจาะในสหรัฐฯลดลงจากราคาน้ำมันที่ต่ำ
ทองคำในตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปิดที่ 1,279.20 ดอลลาร์/ออนซ์ พุ่งขึ้น 23.30 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังร่วงแรงในวันก่อนหน้า รวมถึงได้รับแรงหนุนจากตัวเลข GDP ของสหรัฐฯที่ออกมาต่ำกว่าคาด
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
2 ก.พ. - ไทย: อัตราเงินเฟ้อ (ม.ค.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (ม.ค.)
- สหรัฐ: การใช้จ่ายส่วนบุคคล (ธ.ค.), ISM Manufacturing (ม.ค.)
3 ก.พ. - ญี่ปุ่น: BOJ ประชุม
- ออสเตรเลีย: ธนาคารกลางประชุม
4 ก.พ. - จีน: HSBC China Composite PMI (ม.ค.)
- อินโดนีเซีย: 4Q14 GDP
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (ม.ค.)
5 ก.พ. - ไทย: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.ค.)
- อินโดนีเซีย: 4Q14 GDP (ตลาดคาด -1.5% Q-Q, +4.9% Y-Y)
- อังกฤษ: BOE ประชุม
6 ก.พ. - สหรัฐ: การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราว่างงาน (ม.ค.)
8 ก.พ. - จีน: ดุลการค้า (ม.ค.)
10 ก.พ. - จีน: อัตราเงินเฟ้อ (ม.ค.), ยอดสินเชื่อเดือน ม.ค.
12 ก.พ. - ฟิลิปปินส์: ธนาคารกลางประชุม
- สหรัฐ: ยอดค้าปลีก (ม.ค.)
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research