WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.บัวหลวง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

รอบด้านตลาดหุ้น

มุมมองตลาด

      ตลาดหุ้นไทยยังคงปรับตัวขึ้นได้ไม่มากนัก ดัชนีบริเวณ 1600 จุดทำหน้าที่เป็นแนวต้านที่แข็งแกร่ง หากพิจารณาผลตอบทานของตลาดตั้งแต่ต้นปี 2015 นับได้ว่าตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้แข็งแกร่งกว่าตลาดอื่นในภูมิภาคเอเชียปัจจัยบวกยังคงเป็นเรื่องของกระแสเงินลงทุนที่ไหนเข้าสู่ตลาดทุน ขณะที่นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิที่ 1.3 หมื่นล้านบาท (21-28 ม.ค.) อย่างไรก็ตามเนื่องจากมูลค่าตลาดที่ค่อนข้างสูงทำให้ตลาดมีความผันผวน ดัชนีขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 1600 จุด แต่ยังไม่สามารถยืนได้ ดังนั้นสิ่งที่เราเฝ้าติดตามต่อจากนี้ไปคือดูเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่จะบอกเราถึงการเปลี่ยนรูปแบบเป็นลง ส่วนจุดที่เราพิจารณาว่าตลาดจะเปลี่ยนเป็นลงหรือไม่นั้น เราจะใช้แนวรับหลักหรือเส้นค่าเฉลี่ยเข้ามาช่วย เราให้แนวรับที่เส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน 1570 จุด กรณีลงต่ำกว่าจะส่งผลให้แนวโน้มระยะสั้นปรับตัวลง สัปดาห์นี้ ชาร์ตที่น่าสนใจคือ ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงเข้าใกล้แนวรับสำคัญบริเวณ 17000 จุด กรณีปรับตัวลงต่ำกว่าอาจส่งผลให้ดัชนีปรับตัวลงแรง ปัจจัยสำคัญคือเรื่องกรีซ ล่าสุดรมว.คลังกรีซ เตรียมหารือกับรัฐมนตรีคลังของยุโรปเพื่อทำข้อตกลงฉบับใหม่ โดยหวังว่าจะสามารถหาทางออกและไม่สร้างความขัดแย้งกับยุโรป
      สรุปแนวโน้มตลาด: ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวอยู่บนแนวโน้มขาขึ้นมาตลอด อย่างไรก็ตามหากดัชนีหลุดแนวรับสำคัญ 1570 จุด (10-days EMA) เราแนะนำลดพอร์ตการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง

BLS รายงานพื้นฐานวันนี้ (ดูรายละเอียดฉบับเต็ม)

(+) KTB คาดการตั้งสำรองลดลงเล็กน้อยเหลือ 1.20-1.25 หมื่นล้านบาทจาก 1.3 หมื่นล้านบาทปีนี้ เป้า ROE 15% ตั้งเป้าสินเชื่อขยายตัว 6-7% จากธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง และธุรกิจรายย่อย บนสมมติฐานจีดีพีไทย +3.5-4%
(+) ADVANC ประชุมนักวิเคราะห์ คาดรายได้จากการโทรน้อยลงราว 5% จากนี้ แต่รายได้จากข้อมูลโตปีละ 200% จากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้การส่งข้อความและดูข้อมูลบนสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น โดยคาดว่ายอดผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะเพิ่มจาก 10 ล้านเครื่องเป็น 52 ล้านเครื่องในอีก 3-5 ปี บริษัทจะเน้นใช้ธุรกิจด้าน broadband โดยตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม
(+) SF คาดกำไรไตรมาส 4/57 +62% YoY, +20% QoQ ซึ่งเป็นตัวเลขที่โตต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง สำหรับประเด็นสำคัญปีนี้คือ คาดรายได้ค่าเช่าพื้นที่เพิ่ม จากอัตราการเช่าพื้นที่ที่สูงขึ้น คาดแตะ 90% ปีนี้ โดยโครงการเมกะบางนา รายได้น่าจะโตราว 14%
(-)PTTEP คาดนักวิเคราะห์ในตลาดประเมินกำไรปี 2558 สูงเกินไปจาก 1/ ค่าใช้จ่ายค่าเสื่อมที่น่าจะสูงกว่าคาด 2/ ราคาน้ำมัน brent หากค่าเฉลี่ยต่ำกว่า $55/บาร์เรล กำไรบริษัทก็จะเป็นขาดทุนจากการตั้งส่วนลดมูลค่าสินทรัพย์เพิ่ม เราคาดกกำไรปีนี้ของบริษัทต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาทเทียบกับค่าเฉลี่ยกำไรประเมินโดยนักวิเคราะห์ในตลาดที่สูงถึง 4 หมื่นล้านบาท ราคาขณะนี้ใกล้มูลค่าบัญชีต่อหุ้นที่ 114 บาท แนะขายเล่นสั้น และซื้อกลับราคาใกล้ 100 บาท

ธนรัตน์ อิศรกุล Tel. (662) 618-1334
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาด

สศค.ปรับลดจีดีพีปีนี้เหลือ 3.9% หลายปัจจัยเสี่ยงกระทบเศรษฐกิจไทย

       "สศค." ประกาศปรับลดประมาณการ จีดีพีปี 58 ลงเหลือ 3.9% จากคาดการณ์เดิม 4.1% คาดส่งออกโตเพียง 1.4% จาก 3.5-4% ส่วนภาคสินค้านำเข้าโต 4% หลังประเมินหลากปัจจัยเสี่ยงเข้ามาเร็ว และต้องเกาะติดใกล้ชิด ประกอบด้วย การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงอ่อนแอ ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย สงครามค่าเงิน แนวโน้มการลดลงของราคาน้ำมัน และราคาสินค้าเกษตร (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)

ธอส.เล็งเพิ่มเป้า 'ปล่อยสินเชื่อ-กำไร'

"ธอส." เตรียมปรับเป้าปี 2558 จากเดิม ตั้งเป้ากำไร 9.3 พันล้าน และปล่อยสินเชื่อใหม่ 1.4 แสนล้านบาท หลังผลการดำเนินงานปี 2557 ออกมาดี ทะลุเป้าทุกด้าน ประเมิน ภาพรวมอสังหาฯปีนี้เติบโตได้ในระดับ 5-6% โดยเฉพาะในกรุงเทพและรอบนอก จากโครงการรถไฟฟ้า ตั้งเป้าภายใน 5 ปี สินเชื่อทะลุ 1 ล้านล้าน เอ็นพีแอลเหลือ 4% (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)

ผลผลิตอุตสาหกรรมฟื้นตัว รถยนต์-ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์-สิ่งทอหนุน

นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปี 2558 ว่า โดยภาพรวมจะขยายตัวได้ประมาณ 3-4% เติบโตขึ้นจากปีก่อนที่หดตัว 4.6% แม้ว่าในเดือน ธ.ค.ปีที่ผ่านมาผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัว 0.35% แต่หดตัวในอัตราที่น้อยลงจากต้นปี จนทำให้ในไตรมาส 4/2557 หดตัวลง 2.4% จากก่อนหน้าที่หดตัวลง 3.9% ถือว่าน้อยกว่าที่คาดการณ์ (หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์)

ทุนจีน-อิหร่านเล็งตั้งโรงงานยางพาราที่ใต้

แหล่งข่าวจากสถาบันการเงินทางภาคใต้ เปิดเผยว่า กลุ่มทุนรายใหญ่จากสถาบันการเงินของจีนยังคงมีแผนเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานอุตสาหกรรมยางพารารมควัน และธุรกิจเกี่ยวเนื่องในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่างอีก 2 แห่ง ซึ่งอยู่ในระหว่างเจรจากับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สำนักงาน จ.สงขลา ตั้งลงทุนอันดับ 1 ของเอเชีย โดยก่อนหน้านี้ได้เข้ามาตั้งโรงงานอุตสาหกรรมยางรมควันแล้วจำนวน 3 แห่ง ในพื้นที่ชุมพร และสุราษฎร์ธานี แต่ละโรงลงทุนประมาณ 67 ล้านบาท (หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์)

ชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ Tel. (662) 618-1330-1
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

รายงานวันนี้

หุ้น: BCP คำแนะนำ: ซื้อ ราคาเป้าหมาย (บาท): 37.00
เราคาด BCP จะรายงานกำไรหลักไตรมาส 4/57 ที่ 2,568 ล้านบาท ซึ่งพลิกฟื้น YoY และเพิ่มขึ้นถึง 80% QoQ
อย่างไรก็ตาม เรามองว่าไตรมาสดังกล่าวจะขาดทุนสุทธิที่ 2,810 ล้านบาท พลิกจากกำไรสุทธิในไตรมาส 4/56 และ 3/57 และคาดกำไรสุทธิของปี 2557 จะอยู่ที่เพียง 390 ล้านบาท (จากที่คาดการณ์ไว้ 4,653 ล้านบาทก่อนหน้า)
คาดแนวโน้มการเติบโตของกำไรหลักที่แข็งแกร่ง (ทั้ง YoY และ QoQ) จะดำเนินต่อเนื่องจนถึงไตรมาส 1/58 อีกทั้งเรายังเชื่อว่ากำไรสุทธิไตรมาสดังกล่าวยังคาดจะพลิกมาทำกำไรได้จากขาดทุนสต๊อกน้ำมันที่ลดลง
จากค่าการกลั่นและอุปสงค์ที่มีแนวโน้มดีขึ้น เราจึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2558 ขึ้น 7% เป็น 5,768 ล้านบาท ส่งผลให้ราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2558 เพิ่มขึ้นเป็น 37 บาท (จาก 33 บาท)
ปรับเพิ่มคำแนะนำจาก ถือ เป็น ซื้อ

นักวิเคราะห์: สุพพตา ศรีสุข, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

หุ้น: KTB คำแนะนำ: ซื้อ ราคาเป้าหมาย (บาท): 28.00

      ธนาคารแนะสินเชื่อปี 2558 จะเติบโต 6-7% หนุนโดยสินเชื่อกลุ่ม SME และรายย่อย และตั้งเป้ารายได้จากค่าธรรมเนียมเติบโต 10-12%
ผู้บริหารมองว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยปี 2558 จะใกล้เคียงกับปีก่อนหรือ 2.7% หนุนจากการที่ธนาคารมุ่งเน้นไปที่สินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูงมากขึ้น (สินเชื่อรายย่อยและ SME ขนาดเล็ก)
ธนาคารคาดตั้งสำรองหนี้สูญฯปี 2558 มีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย
ผู้บริหารตั้งเป้าอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นที่ 15% ใกล้เคียงกับปีก่อน ด้วยอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่ราว 45% แต่เรามองว่ายังมัอัพไซด์ได้หากสินเชื่อของธนาคารและรายได้จากค่าธรรมเนียมเติบโตมากขึ้นคาด รวมถึงหากตั้งสำรองหนี้สูญฯต่ำกว่าคาดการณ์ของเรา
เรายังคงสมมติฐานสินเชื่อเติบโตที่ 8% สำหรับทั้งปี 2558 และ 2559 หนุนจากสินเชื่อรายย่อยและ SME ขนาดเล็ก

นักวิเคราะห์: สุวัฒน์ บำรุงชาติอุดม, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

หุ้น: SF คำแนะนำ: ซื้อ ราคาเป้าหมาย (บาท): 10.60
คาดกำไรไตรมาส 4/57 เติบโตเด่น 192 ล้านบาท (+68% YoY, +20% QoQ) โดยได้ปัจจัยหนุนหลักจากการเติบโตของส่วนแบ่งกำไร Mega Bangna และแนวโน้ม Occupancy rate (อัตราการเช่า) ที่สามารถยืนได้ในระดับ 96%
แนวโน้มการเติบโตในปี 2015 มาจาก Occupancy rate ที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่วนแบ่งกำไร Mega Bangna ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงจากพื้นที่เช่าประเภท non-leasing (พื้นที่ทางเดิน ป้ายโฆษณา ฯลฯ)
เราใช้สมมติฐานเชิงอนุรักษ์นิยมการเติบโตในระดับ 14% ในประมาณการของเรา ซึ่ง Sensitivity analysis ชี้ว่าการเติบโตของส่วนแบ่งกำไรในระดับ 20-25% ตามเป้าหมายของบริษัท กำไรสุทธิ และราคาเป้าหมายจะปรับเพิ่มราว 3%-5% ตามลำดับ
คาดปีนี้ SF ยังคงจ่ายปันผลเป็นหุ้น (Stock dividend) ในอัตรา 8 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ โดยเรามีมุมมองเชิงบวกต่อการจ่ายปันผลเป็นหุ้นของ SF เนื่องจากในอดีตราคาหุ้นสามารถกลับขึ้นไปในบริเวณราคาก่อน XD ได้ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา หนุนให้ผู้ถือหุ้นมี wealth เพิ่มขึ้นทุกครั้งที่มีการจ่าย Stock dividend โดยเฉลี่ยในอัตรา 12%

นักวิเคราะห์: วิกิจ ถิรวรรณรัตน์, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!