WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล. เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
    ยังอยู่ในช่วงปรับฐาน แม้ Fund Flow ยังหนุนตลาด และยังคงชื่นชอบหุ้นใหญ่ SCC(FV@B 530)/KBANK(FV@B 300) หุ้นกลาง SYNTEC(FV@B 3.85) วันนี้เลือก GUNKUL(FV@B 36) เป็น Top pick นักวิเคราะห์ ASP ปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นขึ้นอีก 5 บาท สะท้อนโอกาสได้งานโซลาร์ฟาร์ม และ โซล่าร์รูฟท๊อป ปี 2558 อีก 70 เมกะวัตต์ (อ่านรายละเอียด Equity Talkวันนี้)

ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นทั่วโลก หนุนดอกเบี้ยต่ำชัดเจนขึ้น
    เชื่อว่าความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะเงินฝืดได้ขยายในวงกว้างมากขึ้น และ อาจจะทำให้ความเสี่ยงต่อการปรับลด GDP Growth โลกยังมีอยู่ โดยเฉพาะจากฝั่งสหภาพยุโรป โดยข้อมูลล่าสุดวานนี้ มีการเปิดเผยว่า เยอรมัน ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในฝั่งสหภาพยุโรป เผชิญกับเฟ้อติดลบมากถึง 0.5% ในเดือน ม.ค. ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าไว้ว่าจะติดลบ 0.2% ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2552 หรือกว่า 5 ปี และเช่นเดียวกับบางประเทศที่เงินเฟ้อติดลบแล้ว เช่น และ อิตาลี (0.3% เดือน พ.ย. และ -0.1% ในเดือน ธ.ค.) ขณะที่ฝรั่งเศสมีแนวโน้มจะติดลบเช่นกัน หากพิจารณาเงินเฟ้อลดลงเหลือ 0.3% เดือน พ.ย. และ 0.1 เดือน ธ.ค. จึงเป็นที่คาดหมายว่า เงินเฟ้อเฉลี่ยของสหภาพยุโรปเดือน ม.ค. จะติดลบ 0.5% หลังจากที่เงินเฟ้อติดลบ 0.2% เดือน ธ.ค. และน่าจะยังต้องเผชิญกับภาวะเงินฝืดต่อไปอย่างน้อย 6 เดือนแรกของปีนี้ ดังนั้นการที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้เตรียมอัดฉีดเม็ดเงิน กว่า 1.14 ล้านล้านยูโร หรือราว 4% ของ GDP ซึ่งน่าจะเป็นเงินที่มากพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า แม้ว่ายังมีขั้นตอนในทางปฏิบัติที่เป็นอุปสรรคอยู่ก็ตาม เช่น การไม่รวมกรีซ เข้ามาในแผนการอัดฉีดเงินก็เพื่อให้กรีซ ได้ทำการปรับโครงหนี้ที่มีอยู่กับ TROIKA ให้เสร็จสิ้นไปก่อนและหลังจากนั้นอาจจะมีการพิจารณาอีกครั้ง

      ปัจจัยเหล่านี้น่าจะทำให้ ธนาคารกลางโลกน่าจะใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำไปอีกระยะหนึ่ง หรือแม้แต่สหรัฐ และ อังกฤษ แม้สัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็น่าจะต้องชะลอการใช้มาตรการเงินที่เข้มงวดออกไป เพื่อรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวกว่าคาด สะท้อนจากการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐล่าสุดเริ่มมีความผันผวน แม้ยังอยู่ในแนวโน้มที่ดี เช่น จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (initail jobless claim) สิ้นสุด 24 ม.ค. ลดลง 4.3 หมื่นราย อยู่ที่ 2.65 แสนราย แม้ต่ำสุดนับตั้งแต่ เม.ย. 2543 ดีกว่าที่ตลาดคาดที่ 3 แสนราย (ตัวเลขที่ต่ำนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมีวันหยุดระหว่างสัปดาห์ ทำให้เป็นตัวชี้วัดไม่ดีนัก) ตามมาด้วย อัตราการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) (ชี้วัดจำนวนสัญญาซื้อขายบ้านมือสองที่ยังไม่ได้ปิดการขาย) เดือน ธ.ค. ลดลงถึง 3.7% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.5% เนื่องจากจำนวนบ้านที่ลดลง และราคาบ้านที่สูงขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจที่ยังผันผวนช่วงสั้น และความเสี่ยงเงินฝืดทั่วโลก น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้ Fed ยังคงใช้อัตราดอกเบี้ยระดับต่ำต่อไป สอดคล้องกับผลการประชุม FOMC รอบล่าสุดที่ผ่านมาว่า Fed จะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงการประชุมเดือน มิ.ย. นี้ จึงน่าจะเป็นปัจจัยบวกที่หนุนตลาดหุ้นโลกในช่วงสั้น

งบงวด 4Q57 ภาคการผลิตไม่ดีนักแต่น่าจะสะท้อนในตลาดแล้ว
     หลังจากการรายงานงบของธนาคารพาณิชย์ไปแล้ว คาดว่ากลุ่มภาคการผลิตน่าจะทยอยประกาศงบงวด 4Q57 ในปลายเดือน ก.พ. เป็นตันไป และ เหมือนทุกครั้งในช่วงปลายม.ค. นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะเข้าพบผู้บริหารและจะทำการคาดการณ์ ผลการดำเนินงานไว้ล่วงหน้า ส่วนใหญ่คาดว่าไม่สดใสนัก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มพลังงาน จากที่นักวิเคราะห์ ASP ได้ประเมินแล้วคาดว่าจะเผชิญกับภาวะขาดทุนอย่างหนัก โดยเฉพาะหุ้นโรงกลั่น เนื่องจากต้องบันทึกขาดจากการสต๊อกน้ำมัน ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดลง เริ่มจาก BCP(ถือ: [email protected]) ซึ่งนักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASP คาดงวด 4Q57 จะขาดทุนราว 2.8 พันล้านบาท เนื่องจากขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสูงถึง 15 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ไม่มีธุรกิจปิโตรเคมี) ส่งผลให้กำไรทั้งปี 2557 อยู่ที่ราว 400 ล้านบาท แต่คาดว่าจะกลับมามีกำไรสุทธิ 4.7 พันล้านบาทในปี 2557 แต่อย่างไรก็ตามราคาหุ้นปัจจุบันใกล้ Fair value จึงปรับลดคำแนะนำเป็นถือ (ติดตามอ่าน Equity Talk วันนี้ )

       ตามมาด้วย TOP(ถือ: FVB48) คาดว่าจะขาดทุนสูงถึง 6.4 พันล้านบาท (เทียบกับงวด 3Q57 ขาดทุนเพียง 2.2 พันล้านบาท ) เนื่องจากขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสูงถึง 13.5 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล และ spread ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในกลุ่มอะโรเมติกส์ ทั้งพาราไซลีนและเบนซีนลดลงกว่า 31.9% และ 36.7% จากงวด 3Q57 ทั้ง 2 ปัจจัยได้หักล้างค่าการกลั่นที่เพิ่มถึง 78% เป็น 8.2 เหรียญฯ ทำให้ทั้งปี 2557 ขาดทุนสุทธิเกือบ 4 พันล้านบาท แต่คาดว่าในปี 2558 จะพลิกมามีกำไร 7 พันล้านบาท แต่เพราะ ราคาหุ้นปัจจุบันได้เกิน Fair Value ไปแล้ว ระยะสั้นแนะนำให้ Switch ให้ไปเข้าหุ้นที่มี upside เช่น PTTGC(FV@B68) แม้ประเมินว่าเป็นอีกบริษัทที่จะเผชิญกับขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน แต่จะได้ปัจจัยหนุนจากธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ ที่อยู่ในวัฏจักรขาขึ้นอีกครั้ง

     ส่วนปิโตรเลี่ยมขั้นต้น คือ PTTEP(ซื้อ : FV@B134) คาดงวด 4Q57 จะขาดทุน 2.44 หมื่นล้านบาท โดยมีปัจจัยกดดันหลักมาจากราคาน้ำมันที่ลดลง และ การตั้งด้อยค่าสินทรัพย์สูงถึง 3.3 หมื่นล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าปี 2558 ทุกอย่างจะค่อย ๆ ดีขึ้นและน่าจะกลับมามีกำไร 4.2 หมื่นล้านบาท (สมมติฐานราคาน้ำมันดิบที่ลดลงเหลือ 75 เหรียญฯต่อบาร์เรล) เชื่อว่าราคาหุ้นได้สะท้อนราคาน้ำมันดิบที่คาดว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว

และโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน GUNKUL(FV@B36) คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 20 ล้านบาท ลดลงจากงวด 3Q57 อย่างมากแต่เป็นไปตามคาด เพราะผลกำไรส่วนใหญ่ได้มีการรับรู้ไปในงวด 9 เดือนแรกของปี แต่การที่บริษัทมีโอกาสได้รับงานประมูลโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์ม และ โซลาร์รูฟท๊อป รวมเพิ่มอีก 70 เมกะวัตต์ รวมเป็น 120 เมกะวัตต์ ในปี 2558 ทำให้นักวิเคราะห์ ASP ปรับเพิ่มประมาณการกำไรในปี 2558 ขึ้น จากเดิม 18% เป็น 745 ล้านบาท เทียบกับ 487 ล้านบาทในปี 2557 เติบโต 53%

     กลุ่มที่คาดว่าผลประกอบการงวด 4Q57 ออกมาเติบโต ได้แก่ กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งได้ประโยชน์จากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงตามภาวะดอกเบี้ยต่ำ เริ่มจาก PS (FV@B 40.52) ปรับเพิ่มประมาณการฯ ปี 2557 ขึ้น 3% จากเดิม เนื่องจากรายได้เกินเป้า ส่งผลให้ปี 2557 คาดกำไรเติบโต 15%yoy และปี 2558 เติบโตอีก 12%yoy เพราะมียอด Backlog สูงเกือบครึ่งของรายได้ทังปี SPALI (FV@B 31.96) คาดการณ์กำไรฯ ปี 2557 เติบโตสูงมากถึง 63%yoy และ 18% มนปี 2558 จุดเด่นคือ backlog รองรับรายได้กว่า 74% LH (FV@B 10.09) คาดกำไรงวด 4Q57 จะสูงสุดของปี เพราะมีกำไรพิเศษจากการขายสินทรัพย์เข้ากอง REIT ส่วนปี 2558 วางเป้าขยายสัดส่วนบ้านเดี่ยวช่วยหนุน Presale และรายได้มากขึ้น QH (FV@B 4.58) กำไรเติบโตสม่ำเสมอ 7% ในปีนี้และ 11% ในปีหน้า โดยวางเป้าเพิ่มสินค้าระดับกลาง-ล่าง และต่างจังหวัด เพื่อการเติบโตยั่งยืน

      ตามมาด้วยกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ปัจจัยหนุนมาจากการเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้นจากแรงหนุนของการก่อสร้างภาครัฐและเอกชน รวมทั้งต้นทุนดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ และโครงสร้างทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น โดยยังคงชื่นชอบ จาก SYNTEC (FV@B 3.85) นักวิเคราะห์กลุ่มก่อสร้างของ ASP ได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2558 ขึ้นจากเดิม 14% สะท้อนคาดการณ์รายได้งานก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจากโครงการคอนโดฯ และ Backlog จำนวนมากในปีนี้ ทั้งยังมีปัจจัยบวกเพิ่มเติมจาก Tax Shield อีกกว่า 500 ล้านบาท (ยังไม่รวม Upside เพิ่มเติมจาก Hidden Asset จำนวนมากที่มีโอกาสรับรู้เป็นกำไรพิเศษ เช่น หุ้น BMCL, ที่ดินที่ไม่ได้ใช้งาน) บวกกับ PER ที่อยู่ในระดับต่ำเพียง 11.6 เท่า

และ กลุ่มสื่อสาร ระยะสั้นหุ้นที่เกี่ยวกับธุรกิจมือถือ (ADVANC, DTAC, TRUE) อาจได้รับ sentiment เชิงลบจากประเด็นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต แต่ยังสามารถเลือกลงทุนหุ้นสื่อสารในกลุ่มที่ยังมีการเติบโต และไม่มีผลกระทบจากภาษีดังกล่าวคือ AIT(FV@B52) คาดการณ์กำไรปี 2557 และ 2558 เติบโต 25% และ 11% ตามลำดับ ปัจจัยสนับสนุนยังเป็นโครงการเศรษฐกิจดิจิทัล และ THCOM(FV@B51) คาดปี 2557 กำไรเติบโตถึง 41% จากรายจ่ายพิเศษที่ลดลง และเงินบาทที่ออนค่าในช่วงปลายปี ส่วนปี 2558 ดาวเทียมไทยคม 7 จะช่วยหนุนกำไรให้เติบโตกว่า 27%

แรงซื้อต่างชาติเริ่มแผ่ว ขณะที่สถาบันขายต่อ
     วานนี้นักลงทุนต่างชาติพลิกมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันแรกในรอบ 9 วัน ราว 196 ล้านเหรียญฯ โดยเป็นการเลือกซื้อขายรายประเทศ แต่ยอดขายส่วนใหญ่ยังมาจากเกาหลีใต้ โดยขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ราว 244 ล้านเหรียญฯ และ เพิ่มขึ้นกว่า 8 เท่าตัวจากวันก่อนหน้า และ อินโดนีเซียขายสุทธิเป็นวันที่ 2 เช่นกัน ราว 2 ล้านเหรียญฯ แต่ลดลง 93% สวนทางกับไทย ที่ยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 แต่ลดลงถึง 80% จากวันก่อนหน้า เหลือราว 23 ล้านเหรียญฯ (755 ล้านบาท) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 19 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 59%) และสุดท้ายคือไต้หวัน ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 9 แต่ลดลงถึง 97% เหลือเพียงราว 9 ล้านเหรียญฯ เท่านั้น
เชื่อว่าแรงซื้อต่างชาติที่แผ่วเบาน่าจะเป็นระยะสั้นๆ เท่านั้น เพราะประเด็นบวกจากการใช้ QE และ ภาวะเงินฝืดที่กำลังระบาดทั่วโลกน่าจะหนุนให้มีเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคเอเซีย รวมถึงไทย ซึ่งจะไปเพิ่ม money supply ในระบบการเงิน นั่นหมายถึงดอกเบี้ยต่ำยังคงมีอยู่อย่างน้อย 6-12 เดือนข้างหน้า ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นเอเซีย รวมถึงตลาดหุ้นไทย
อย่างไรก็ตามทางฝั่งสถาบันในประเทศ วานนี้ขายสุทธิเพิ่มเติมอีกราว 801 ล้านบาท นับเป็นการขายสุทธิติดต่อกัน 4 วันรวม 5.9 พันล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากการขายของกอง LTF ที่ครบ 5 ปีปกฏิทิน (ยังมียอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปี 2558 รวม 1.1 หมื่นล้านบาท) ซึ่งเป็นเป็นปัจจัยกดดันทำให้ดัชนีหุ้นไทยผันผวนในช่วงนี้

หุ้นที่แนะนำใน Market talk

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!