- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 26 January 2015 15:28
- Hits: 2006
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
SET ดีดขึ้นแรงทำให้ต้องระวังแกว่งพักลง ดังนั้นรอซื้อช่วงอ่อน
กลยุทธ์ : หลัง SET รีบาวด์กลับขึ้นมาค่อนข้างแรงในสัปดาห์ก่อน ทำให้ระยะสั้นต้องระวังการแกว่งพักตัวลงไว้ด้วย ดังนั้นถ้าจะเลือกหุ้นเข้าซื้อเพิ่ม เราจึงแนะนำให้รอช่วง SET ปรับตัวลงดีกว่า
หุ้นเด่นทางเทคนิค : PTTGC, TTA, LOXLEY(buy back)
แนวโน้ม : เมื่อวันศุกร์ SET ยังดีดตัวขึ้นต่อตอบรับผลประชุม ECB ที่มีการออกมาตรการ QE เพิ่มด้วยเม็ดเงินสูงกว่าคาด ทำให้มีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างประเทศกลับเข้ามาหนุนตลาดต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการดีดตัวแรงมากในภาคบ่ายของ SET ส่วนหนึ่งมาจากการขยับบวกแรงของหุ้น BAY ซึ่งมีอิทธิพลต่อการคำนวณ Index พอควรด้วย ขณะที่เช้านี้ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่กลับมาเปิดเป็นลบ จากการปรับตัวลงของตลาดหุ้นสหรัฐ หลังมีข้อมูลบ่งชี้ว่า บริษัทเอกชนในสหรัฐมีรายได้ลดลงใน Q4/2014 รวมทั้งผลการเลือกตั้งในกรีซมีแนวโน้มที่จะเป็นไปตามคาด คือฝ่ายค้านเดิมได้รับชัยชนะ ซึ่งอาจทำให้การดำเนินแผนฟื้นฟูของกรีซประสบปัญหาได้ ทำให้นักลงทุนบางส่วนคงต้องการรอดูท่าทีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ของกรีซ และแนวนโยบายอีกครั้ง ส่งผลให้ FSS คาดว่า SET มีโอกาสที่จะมีรอบปรับพักตัวลงให้เป็นโอกาสในการเลือกหุ้นเข้าซื้อใหม่ได้ รวมทั้งในสัปดาห์นี้ยังต้องรอติดตามท่าทีของเฟดหลังการประชุมกลางสัปดาห์ และสถานการณ์การเงินของรัสเซียด้วย
แนวรับ 1595-1590 , 1585-1575 จุด
แนวต้าน 1604-1610 , 1620-1628 จุด
Fund Flow สัปดาห์ที่ผ่านมากลับมาไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคในปริมาณที่หนาแน่น US$2,706 ล้าน เทียบกับไหลออก US$1,312 ล้านเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ส่วนศุกร์ที่ผ่านไหลเข้าต่อเนื่องในปริมาณที่หนาแน่น โดยซื้อตลาดหุ้นไต้หวัน US$677.7 ล้าน อินโดนีเซีย US$129.3 ล้าน เกาหลีใต้ US$124.4 ล้าน ไทย US$100.8 ล้าน ฟิลิปปินส์ US$18.9 ล้าน และเวียดนาม US$0.7 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้ทรงตัว Flow น่าจะยังไหลเข้าต่อจากผลบวกต่อเนื่องของ QE กลุ่ม EU ที่สูงเป็นประวัติการณ์
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) ผลเลือกตั้งกรีซกดดันสินทรัพย์เสี่ยงเช้านี้ Exit poll ระบุพรรคไซรีซาซึ่งต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดตามเงื่อนไขของ IMF และ EU มีคะแนนนำพรรคนิวเดโมเครซี (ND) โดยคะแนนล่าสุดชี้ว่าพรรคไซรีซาอาจได้ที่นั่งประมาณ 149-151 จากทั้งหมด 300 ที่นั่ง ตลาดกังวลว่ากรีซอาจไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ 2.4 แสนล้านยูโร (US$2.69 แสนล้าน) ที่กู้ยืมมาตั้งแต่ปี 2010 เงินน่าจะมีเพียงพอถึงเดือน ก.ค.นี้และอาจต้องออกจากกลุ่มยูโรโซนหากไม่ได้รับเงินช่วยเหลือต่อไป ผลดังกล่าวกดดันค่าเงินยูโรให้อ่อนค่าต่อ เป็นลบกับสินทรัพย์เสี่ยง ส่วนค่าเงินบาทยังมีโอกาสแข็งค่าต่อในสัปดาห์นี้
(0) คาด FOMC และ กนง. ไม่เซอร์ไพรส์ตลาด เราคาด FOMC จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามเดิม 0-0.25% ส่วนการประชุมกนง.วันพุธ เราคาดว่าจะคงดอกเบี้ยที่ 2% แม้าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะมีความเสี่ยงรออยู่ แต่ราคาน้ำมันที่ต่ำลงน่าจะทำให้เศรษฐกิจมีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น ชดเชยความเสี่ยงขาลงได้ แต่ต้องติดตามการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างใกล้ชิดหลัง ECB ออก QE และการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed กลางปี และถ้าเศรษฐกิจไทยฟื้นช้ากว่าคาด คิดว่ามีโอกาสที่กนง.จะปรับลดดอกเบี้ยในอนาคต
(+) แนะนำแบงก์ขนาดใหญ่ KBANK (ราคาเป้าหมาย 271 บาท) และ KTB (ราคาเป้าหมาย 27.60 บาท) เพราะเป็นธนาคารที่มีกำไรเติบโตสูงในปีนี้ คาด +10% และ +13% ตามลำดับ เติบโตสูงกว่ากลุ่มที่โตเฉลี่ย 7% และยังเป็นธนาคารที่ได้ประโยชน์เต็มที่จากการลงทุนขนาดใหญ่ที่จะฟื้นตัวในปีนี้ มี NIM ในระดับสูง และมีคุณภาพสินเชื่อที่ดี
(+) PS แม้ Presales ปี 2014 พลาดเป้าไป 9% แต่เชื่อว่าไม่กระทบประมาณการรายได้และกำไรปี 2015 ที่เราคาดโต 15% และ 14% ตามลำดับ จาก Backlog ที่มีอยู่ 2.29 หมื่นล้านบาท รองรับคาดการณ์รายได้ของเรา 49% ส่วนที่เหลือจะมาจากโครงการที่อยู่ระหว่างขาย เชื่อว่าจะทำได้ตามเป้ารายได้ของเราที่ 4.76 หมื่นล้านบาท บริษัทมีมุมมองดีขึ้นต่อตลาดที่อยู่อาศัยในปีนี้ จึงวางแผนเปิดโครงการใหม่ 70-75 แห่ง มากกว่าปีก่อนที่เปิด 62 โครงการ ราคาหุ้นปัจจุบันมี PE 10 เท่าใกล้เคียงกลุ่ม ขณะที่กำไรเติบโตสูงกว่าถึง 2 เท่า แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 42 บาท คาดปันผล 0.85 บาท/หุ้น (yield 2.7%)
(+) BEAUTY กำไรสุทธิใน 4Q14 มีแนวโน้มสร้างสถิติสูงสุดใหม่ที่ 92 ล้านบาท +13% Q-Q และ 71% Y-Y เติบโตดีที่สุดในกลุ่มค้าปลีก จากยอดขายเฉลี่ยต่อสาขาเดิมที่เพิ่มขึ้นอีก 12% Y-Y และการเปิดสาขาใหม่อีก 10 สาขา ซึ่งทำให้อัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้นจากการประหยัดต่อขนาด สำหรับปี 2015 BEAUTY มีแผนขยายสาขาอีก 55 สาขาในประเทศ และอีก 10-12 สาขาในเวียดนามซึ่งเป็นตลาดที่เติบโตได้ดี เราคาดกำไรปีนี้โตสูงถึง 37% และโตต่อเนื่องอีก 25% ในปี 2016 ยังคงแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 40 บาท
(0) KSL ประกาศแตกพาร์จากหุ้นละ 1 บาท เป็น 0.5 บาท และจ่ายหุ้นปันผล 5 : 1 พร้อมเงินสดหุ้นละ 0.0811 บาท (บนพาร์ 0.5 บาท) XD 12 มี.ค. จ่ายเงิน 27 มี.ค.
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ปรับตัวร่วงลงหลังตัวเลขเศรษฐกิจออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาด รวมถึงแรงขายทำกำไรหลังจากดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น 4 วันติดต่อกัน
ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปยังปรับตัวพุ่งขึ้นต่อเนื่องโดยยังได้รับปัจจัยหนุนจากการที่ ECB กระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวในแดนลบตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ รวมถึงชัยชนะการเลือกตั้งของพรรคฝ่ายค้านกรีซที่อาจส่งผลให้ต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจและต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน
ค่าเงินบาทยังแกว่งตัวออกทางข้างหลังจากแข็งค่ามาพอสมควรในช่วงก่อนหน้า โดยเคลื่อนไหวในกรอบ 32.48-32.64 บาท/ดอลลาร์
น้ำมันดิบในตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน มี.ค. ปิดที่ 45.59 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 0.72 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินคาดในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทองคำในตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ปิดที่ 1,292.60 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 8.10 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรหลัง ECB กระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
27 ม.ค. - ไทย: ดุลการค้า (ธ.ค.), ดัชนีผลิตอุตสาหกรรมและอัตรากำลังการผลิต (ธ.ค.)
- สหรัฐ: S&P/CaseShiller Index (พ.ย.), คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (ธ.ค.), ยอดขายบ้านใหม่ (ธ.ค.)
27-28 ม.ค. - สหรัฐ: FOMC ประชุม
28 ม.ค. - ไทย: กนง. ประชุม
29 ม.ค. - ฟิลิปปินส์: 4Q14 GDP
- สหรัฐ: Pending home sales (ธ.ค.)
- ยูโรโซน: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.ค.)
30 ม.ค. - ไทย: ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน ธ.ค.
- ไต้หวัน: 4Q14 GDP
- สหรัฐ: 4Q14 GDP (ตัวเลขสุดท้าย)
1 ก.พ. - จีน: Manufacturing PMI (ม.ค.)
2 ก.พ. - ไทย: อัตราเงินเฟ้อ (ม.ค.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (ม.ค.)
- สหรัฐ: การใช้จ่ายส่วนบุคคล (ธ.ค.), ISM Manufacturing (ม.ค.)
3 ก.พ. - ญี่ปุ่น: BOJ ประชุม
Contact person : Somchai Anektaweepon
Research Dept. Tel: 02-646-9967, 02-646-9852