- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 23 January 2015 17:18
- Hits: 2293
บล.บัวหลวง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
รอบด้านตลาดหุ้น
EU-QE size and pace beats expectations
วันนี้คาดดัชนีฯ ขึ้นแล้วลดช่วงบวกลงตอนบ่าย แนวรับ 1,550 จุด แนวต้าน 1,570 จุด
ปัจจัยบวก EU QE 6 หมื่นล้านยูโร/เดือน เริ่ม มีค.2015 ถึง กย.2016 และเปิดช่องทำ QE เพิ่มถ้าเงินยังฝืด (เม็ดเงินมากกว่าตลาดคาดที่ 4-5.5 หมื่นล้านยูโร/เดือน และระยะเวลาอัดฉีดตลาดคาดจบกลางปีหน้า) แต่สินทรัพย์ที่จะซื้อรอบนี้ ไม่รวม Corporate bond (ผิดจากตลาดคาด) โดยสินทรัพย์ที่จะซื้อครั้งนี้ได้แก่ sovereign bonds, agencies, supras, linkers and floaters แต่ประเทศกรีซ ไซปรัส ที่รอเครดิตพินิจ จะไม่สามารถเข้าร่วมโปรแกรมนี้ทันเดือน มีค.
ปัจจัยลบ การอัดฉีด EU-QE ที่มากกว่าคาด สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปอาการหนักกว่าที่ตลาดประเมิน คาดการเติบโตของเศรษฐกิจมีโอกาสปรับลงได้อีก และ ผลเลือกตั้งกรีซสุดสัปดาห์นี้
ระยะสัปดาห์ คาดดัชนีฯมีย่อ (เริ่มบ่ายนี้ถึง ต้นสัปดาห์หน้า) จากวิตกผลเลือกตั้งกรีซ (25 มค.) และแรงขายทำกำไรหลังขึ้นรับข่าวดี EU-QE ส่วนปลายสัปดาห์ คาดเฟด แถลงการณ์เชิงบวก (ประชุมเฟด 29 มค.) ยังคงหนุนหุ้นโลก
ระยะเดือน คงคาดความผันผวนของตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ตลาดการเงินโลก และ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกแย่กว่าคาด จะกดดันหุ้นโลก และหุ้นไทย ในระยะ 1 เดือนข้างหน้า แนวต้านหลัก (รายเดือน) คงไว้ที่บริเวณ +/-1,550 จุด แนะ ขึ้นทดสอบเป็นโอกาสในการกระชับพอร์ต
หุ้นแนะนำ KTB ITD MONO TPCH
BLS รายงานพื้นฐานวันนี้ (ดูรายละเอียดฉบับเต็ม)
(0) BECL BMCL: อัตรา Swap ratio 20.6 หุ้น BMCL แลกได้ 1 หุ้น BECL (นำราคาหุ้น BMCL คูณกับ Swap ratio แล้วต้องได้ราคาตลาดของ BECL ถ้าไม่เท่ากันมีโอกาสทำ Arbitrage) ส่วนด้าน BECL จะรับรู้กำไร (หลังภาษี) ราว 1 พันล้านบาท จากการขายหุ้น 2,050 ล้านหุ้น ใน BMCL ให้ CK คาดเป็นเงินราว 3.67 พันล้านบาท
(-) CKP ต้องจ่ายเงินซื้อรฟฟ.ไซยะบุรีราว 4.3 พันล้านบาท แต่กว่า รฟฟ. จะขายไฟเชิงพาณิชย์ ต้องรอปี 2562 และ เกิด Dilution อีก 30% จากการเพิ่มทุน เราปรับคำแนะนำ ลงเหลือ ถือ ราคาเป้าหมาย 18 บาท
(+) CK คาดได้กำไรพิเศษจากการขาย ไซยะบุรี ราว 1.6 พันล้านบาท (0.95 บาท ต่อหุ้น) เราปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 32.75 บ. แนะนำ ซื้อ
(+) สรุปผลการดำเนินงานกลุ่มแบงก์ (ที่เราศึกษา) 4Q14 มีกำไรรวม 4.9 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าที่เราคาดราว 4% โดยกำไรที่ดีกว่าคาดมีเพียง TMB และ TISCO ส่วนที่แย่กว่าคาดได้แก่ KTB SCB BBL (นอกนั้นที่ไม่ได้กล่าวถึงตามคาด) เราคงมุมมองกำไรปีนี้ มีโอกาสดีขึ้นและดีกว่าคาด
จากกรณีศึกษา Sensitivity ของกำไรกลุ่มแบงก์และ GDP ไทย พบว่ากรณีที่แย่สุด GDP โตเพียง 1.5% ยังเติบโตได้ 5.3% และ กรณี Base case GDP โต 4.1% คาดกำไรแบงก์เติบโต 14.4% เราเชื่อว่าราคาหุ้นแบงก์จะมี Downside จำกัด และ ปัจจุบันซื้อขายใกล้ค่าเฉลี่ย PBV ที่ 1.4 เท่า มองว่ามี Downside ไม่มาก แนะนำ Overweight กลุ่มแบงก์ ส่วนหุ้น Top pick ได้แก่ KTB KBANK
(0) TOP คาดกำไร 4Q14 จะเป็นไตรมาสที่แย่ที่สุดของปี 2014 ส่วนปี 2015 คาดกำไรดีขึ้นเป็น 6.4 พันล้านบาท +22% แต่ยังคงมี Downside ทั้งในส่วนของ Oversupply โรงกลั่น ส่วนต่างราคา PX จาก Demand ที่ยังฟื้นตัวช้า คงแนะนำ ถือ ราคาเป้าหมาย 50 บ.
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
(*/+) ธปท. คาดทุนเคลื่อนย้ายส่อไหลเข้าไทย พร้อมประเมิน 2 สกุลเงินโลก "เยน-ยูโร" จ่อทำคิวอีเพิ่ม เปิดศึกสงครามค่าเงิน ขณะหลายประเทศเริ่มทยอยลดดอกเบี้ย
(-) กรีซจัดเลือกตั้งฉุกเฉิน 25 มค. รอบใหม่ โพลคาดพรรคสนับสนุนการยกเลิกมาตรการรัดเข็มขัดชนะ ส่งผลกรีซเสี่ยงออกจากกลุ่มยูโรโซน
(+) ECB-QE 6หมื่นล้านยูโร/เดือน เริ่ม มีค.2015 ถึง กย.2016 โดยคาด ประเภทสินทรัพย์และ วงเงินที่เข้าซื้อ ดังต่อไปนี้ €45bn a month (€40bn of sovereign bonds and €3.5bn of agencies), supras around €6bn a month and ABS and covered bond purchases of around €10bn a month (combined) ไม่รวม Corporate bond โดยประเทศที่มีปัญหารอ เครดิตพินิจ กรีซ (20 กค.) ไซปรัส (รอ IMF และ ทรอยก้า ทบทวนในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า) จะยังไม่สามารถเข้าโปรแกรมนี้ได้
(+) ศุกร์ ยอดขายบ้านเก่า ธค. คาด +2.4% จาก -6.1% m-m, EU PMI composite มค. คาด 51.7 จาก 51.4 และ ภาคการผลิต ดีขึ้นเป็น 51 จาก 50.6, เกาหลีใต้ GDP 4Q14 คาด +2.8% ชะลอลงจาก +3.2% y-y, จีน Flash PMI มค. คาด 49.8 จาก 49.6
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาด
ธนาคารกลางยุโรปประกาศวงเงิน QE มากกว่าคาด
ธนาคารกลางยุโรปประกาศวงเงิน QE 1.08 ล้านล้านยูโรมากกว่านักวิคราะห์คาดที่ราว 6 แสนล้านยูโร โดยทะยอยซื้อพันธบัตรรัฐบาลในกลุ่มสมาชิก และ ตราสารหนี้ของสถาบันการเงิน 5 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน และ ตราสารหนี้เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์และมีหลักประกันชั้นดีอีก 1 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนรวมเป็น 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน เริ่มมี.ค 58 เป็นระยะเวลา 18 เดือน (Bloomberg)
'กสิกร'เล็งอุ้มเอสเอ็มอีท่องเที่ยว ตั้งเป้ารายได้ปีนี้โต 9%
ประเมินพ.ร.บ.ค้ำประกัน กระทบปล่อยกู้-แก้หนี้ยาก กสิกรไทยรับปีนี้ทำธุรกิจสินเชื่อเอสเอ็มอียากคาดรายได้โต 9% โตหลักเดียวในรอบหลายปี เตรียมแผนช่วยลูกค้ากลุ่มท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบมูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท พร้อมประเมินพ.ร.บ.ค้ำประกันกระทบปล่อยกู้-แก้หนี้ยาก มั่นใจคุมหนี้เสียสิ้นปี 2.39% ส่วนสินเชื่อปีนี้คาดโตได้ 7.7% (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)
น้ำมันจ่อลดอีก-พร้อมลอยตัว'เอ็นจีวี'
นายชวลิต พิชาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ประเมินแนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบน่าจะทรงตัวอยู่ที่ระดับ 40-50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แม้อาจมีบางช่วงที่ราคาปรับสูงขึ้นในระยะสั้นๆ ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางราคาตลาดโลก (หนังสือพิมพ์ข่าวสด)
หึ่ง!150 เสียงถอด'ปู'ชี้แจงไม่เคลียร์สนช.ลงมติฟัน/'นิคม-สมศักดิ์'รอด
"วิชา" ตอกฝาโลงมหากาพย์โกงที่ชัดเจนที่สุดในประเทศ ที่อาจไม่ได้เห็นทั้งชาตินี้และชาติหน้า เปิดใบเสร็จมัด "ยิ่งลักษณ์" สร้างความฉิบหายกว่า 7 แสนล้านบาท นิยาม "รัฐบาลจำนำข้าว ชาวนาจำนำชีวิต ประเทศจำนำหนี้" ยกพระบรมราโชวาทในหลวงเรื่องคนดี พร้อมวอน สนช.ร่วมจารึกประวัติศาสตร์ถอดถอน "นารีปู" ท่องโพยโต้แบบถามช้างตอบม้า โอดเป็นนโยบายคลอดจากครม.และ กขช. แต่ถูกทำลายคนเดียว ขู่อย่างสร้างความขัดแย้งรอบใหม่ สะพัด 150 เสียงยืนยันเขี่ย "วูแมนทัช" แต่ "สมศักดิ์-นิคม" รอด อสส.เตรียมฟ้องอาญาดาบ 2 ซ้ำ (หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์)
'ประจิน'มั่นใจจีนให้กู้สร้างรถไฟ
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมไทย-จีน ร่วมกับ นายหู จู่ฉาย รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ ในการประชุมร่วมไทย-จีนเพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย ครั้งที่ 1 ซึ่งมีการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 มกราคมที่ผ่านมา ภายหลังจากมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือกันไทยกับจีน ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 ระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับจีนเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ได้การมีลงนามความร่วมมือระหว่างกัน และมีการตั้งคณะกรรมการบริหารงานร่วมกัน 2 ฝ่าย ทั้งระดับนโยบายและระดับการบริหาร เพื่อความสะดวกในการวางแผนสำรวจออกแบบ การประมาณการด้านราคาและบทบาทหน้าที่ในการรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย (หนังสือพิมพ์บ้านเมือง)
ชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ Tel. (662) 618-1330-1
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
รายงานวันนี้
หุ้น: BECL คำแนะนำ: ถือ ราคาเป้าหมาย (บาท): 48.00
ในวันที่ 21 ม.ค. 2558 คณะกรรมการ BECL ได้อนุมัติการควบรวมกิจการระหว่าง BECL และ BMCL ภายใต้เงื่อนไขการแลกหุ้นระหว่างกันในสัดส่วน 1 หุ้นเดิมใน BECL ต่อ 8.65537841 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้นเดิมของ BMCL ต่อ 0.42050530 หุ้นในบริษัทใหม่
แม้การควบรวมกิจการคาดจะเอื้อประโยชน์ต่อแนวโน้มการเติบโตในอนาคตให้แก่ทั้ง BECL และ BMCL แต่เราคิดว่าการเคลื่อนไหวราคาหุ้นของทั้งสองบริษัทจากนี้ไปจะถูกกำหนดโดยสัดส่วนการแลกเปลี่ยนหุ้น ซึ่งราคาหุ้น ณ ปัจจุบันได้สะท้อนจุดดุลยภาพของอัตราส่วนการแลกหุ้นไปแล้ว
ในมุมมองของเรา การควบรวมกิจการคาดจะให้ประโยชน์ต่อทั้งสองบริษัท เนื่องจาก BECL มีงบดุลที่แข็งแกร่งแต่มีโอกาสในการลงทุนที่จำกัด ในขณะที่ BMCL มีความจำเป็นที่จะต้องขยายขีดความสามารถทางการเงินสำหรับการลงทุนในอนาคต
บริษัมร่วมแสดงความความสนใจที่จะเข้าประมูลรถไฟฟ้าสายสีชมพู สีส้ม และสีเหลือง โดยการควบรวมกิจการจะช่วยเพิ่มฐานะในตลาดหลักทรัพย์สำหรับทั้งสองบริษัท โดยเราคาดบริษัทร่วมจะได้เข้าไปอยู่ใน SET50 ด้วยมูลค่าตลาดกว่า 78,000 ล้านบาท
คณะกรรมการ BECL ยังอนุมัติการขายหุ้น BMCL (ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการควบรวม) ที่บริษัทถือคิดเป็นมูลค่ารวม 3,670 ล้านบาทให้แก่ CK ซึ่งเบื้องต้นเราประเมินว่า BECL จะรับรู้กำไรพิเศษหลังหักภาษีจากการขายหุ้นดังกล่าวราว 1 พันล้านบาท
นักวิเคราะห์: สุพพตา ศรีสุข, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
หุ้น: TOP คำแนะนำ: ถือ ราคาเป้าหมาย (บาท): 50.00
เราปรับลดประมาณการกำไรปี 2557 ลงจาก 4,393 ล้านบาทเป็นขาดทุน 2,748 ล้านบาทจากขาดทุนสต๊อกน้ำมันจำนวนมาก และการรับรู้ราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า (LCM) ในไตรมาส 4/57 ที่ 12,000 ล้านบาท
คาดขาดทุนไตรมาส 4/57 ที่ 6,846 ล้านบาท โดยขาดทุนมากขึ้นจากไตรมาส 3/57 ที่ 2,175 ล้านบาท
เรามองไตรมาส 1/58 บริษัทจะสามารถพลิกมาทำกำไรสุทธิได้จากการกลับบัญชีตัวเลขราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่าที่ 2.4 พันล้านบาทและจากค่าการกลั่นที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประมาณการปี 2558 ของเราเพิ่มขึ้น 22% เป็น 6,431 ล้านบาท (แต่ยังคงต่ำกว่าระดับปกติ)
ความเสี่ยงต่อกำไรยังคงสูง เนื่องจากภาวะอุปทานมากกว่าอุปสงค์ยังคงกดดันสภาพตลาดโดยรวม และกำไรขึ้นกับธุรกิจการกลั่น
ในมุมมองของเรา ผลกระทบจากช่วงโลว์ซีซั่น อุปทานที่จะเข้ามาใหม่ และต้นทุนผลผลิตที่ต่ำลงจากภาวะราคาน้ำมันดิ่งจะส่งผลให้ราคาผลผลิตปรับลดตามและกดดันค่าการกลั่น
ในกลุ่มโรงกลั่น เราชอบ BCP มากที่สุด เนื่องจากราคาน้ำมันลงส่งผลบวกต่อธุรกิจน้ำมันค้าปลีก ขณะที่ แนวโน้มอะโรเมติกส์ที่ยังแย่ จะกดดันมาร์จิ้นรวมของ TOP คงคำแนะนำ ถือ
นักวิเคราะห์: ธนัทเทพ จันทรกานต์, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
หุ้น: LPN คำแนะนำ: ซื้อ ราคาเป้าหมาย (บาท): 27.00
เราชื่นชอบ LPN เนื่องจากบริษัทมีกำไรเติบโตโดดเด่นที่สุดในบรรดาหุ้นกลุ่มอสังหาฯภายใต้การวิเคราะห์ของเรา และมีความชัดเจนของรายได้มากที่สุด
ผู้บริหารแนะยอดจองซื้อปี 17,000 ล้านบาทสำหรับปี 2557 เทียบกับยอดจองซื้อที่ทำสถิติสูงสุดในปี 2556 ที่ 24,000 ล้านบาท โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับขายในปี 2557 มีแนวโน้มต่ำกว่าเป้า 12% เป็น 12,300 ล้านบาท
แม้ตัวเลขยอดจองซื้อและรายได้ปี 2557 จะน่าผิดหวัง แต่ LPN จะยังคงจะมีอัตราการเติบโตของยอดจองซื้อและกำไรมากที่สุดในหุ้นกลุ่มอสังหาฯที่เราให้คำแนะนำในไตรมาส 4/57
บริษัทแผนการเติบโตทางธุรกิจแข็งแกร่งสำหรับปี 2558 โดยแผนจะเปิดตัวโครงการใหม่ปี 2558 จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 54% YoY เป็น 19,000 ล้านบาท และตั้งเป้ายอดจองซื้อที่ 20,000 ล้านบาทสำหรับปีดังกล่าว เติบโต 17%
ผู้บริหารแนะอัตรากำไรขั้นต้นสำหรับปี 2558 จะเพิ่มขึ้นโดยได้แรงหนุนจากโครงการอัตรากำไรสูงหลายโครงการที่จะมีการโอนภายในปีนี้
นักวิเคราะห์: นฤมล เอกสมุทร, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
กลุ่ม: ธนาคาร คำแนะนำ: เพิ่มน้ำหนักการลงทุน ราคาเป้าหมาย (บาท): -
เก้าธนาคารขนาดใหญ่รายงานกำไรไตรมาส 4/57 รวมกันที่ 4.9 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.6% YoY แต่ลดลง 8.7% QoQ (จากผลกระทบทางฤดูกาลในการบันทึกค่าใช้จ่าย) ต่ำกว่าประมาณการของเรา 4% โดยหลักจากตั้งสำรองหนี้สูญฯที่สูงกว่าคาด
สินเชื่อกลุ่มธนาคารเติบโต 2.5% QoQ และ 4.1% YoY ในไตรมาส 4/57 นำโดย KTB, BAY, TMB และ KBANK และคาดจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกในปี 2558 ซึ่งเรามองว่าจะเติบโต 9% YoY นำโดย BAY, KTB, KBANK และ TMB
เราคาดว่าธนาคารส่วนใหญ่ (โดยเฉพาะธนาคารเพื่อรายย่อย) จะปรับลดตั้งสำรองหนี้สูญฯลงในปี 2558 เนื่องจากตอนนี้ธนาคารมีอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสะสมต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ค่อนข้างสูงแล้ว
เราประมาณการว่ากำไรรวมของเก้าธนาคารจะเติบโต 14% ภายใต้สมมติฐานกรณีพื้นฐานสำหรับปี 2558 ซึ่งมีอัตราการเติบโตของ GDP 4.1% อีกทั้งเรายังมองเห็นอัพไซด์ต่อสินเชื่อที่ดูจะเติบโตมากกว่าคาดและตั้งสำรองหนี้สูญฯที่ลดลงจากการบริหารคุณภาพสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย
เรายังคงแนะนำ เพิ่มน้ำหนักการลงทุน กลุ่มธนาคารเนื่องจากมูลค่ายังค่อนข้างถูก และธนาคารที่เราชื่นชอบมากที่สุดในปีนี้ได้แก่ KBANK และ KTB
นักวิเคราะห์: สุวัฒน์ บำรุงชาติอุดม, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์