WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      แม้แนวโน้มที่ ECB จะอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชัดเจนขึ้น เป็น sentiment เชิงบวก กลยุทธ์ยังเลือกที่ได้ประโยชน์จากน้ำมันขาลง คือ SCC(FV@B530) และ RCL([email protected]) วันนี้เลือก MCS([email protected]) และ RCL([email protected]) เป็น Top picks สัปดาห์นี้พบว่าดัชนีเดินเรือคอนเทนเนอร์เพิ่มขึ้น 3% เทียบกับสัปดาห์ก่อนเพิ่มเพียง 2%

ECB อัดฉีดเงินเข้าระบบตามคาด
     เชื่อว่าตลาดหุ้นโลกยังให้น้ำหนักต่อผลการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งกำลังจะมีขึ้นในวันนี้ (ทราบผลพรุ่งนี้ตามเวลาไทย) อย่างไรก็ตามก่อนการประชุม เมื่อวานนี้ โฆษกของ ECB ได้แสดงความเห็นต่อสื่อมวลชนถึงแผนการใช้มาตรการ QE ขนาดใหญ่วงเงิน 5 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน หรือ 6 แสนล้านยูโรต่อปี (6.5 แสนล้านเหรียญฯ) ซึ่งใกล้เคียงกับการสำรวจครั้งหลังสุด ที่ประเมินโดย บลูมเบิร์ก คาดว่าจะมีการใช้วงเงิน QE จำนวน 5.5 แสนล้านยูโร (6.35 แสนล้านเหรียญฯ) แต่เนื่องจากกำหนดระยะเวลาในการกระตุ้น 2 ปี จนถึงปี 2559 จะทำให้มีวงเงินรวม 1.2 ล้านล้านยูโร (1.3 ล้านล้านเหรียญฯ) ซึ่งจะทำให้ ECB ไปถึงเป้าหมายที่ต้องการขยายงบดุลให้ถึง 3 ล้านล้านยูโร จากปัจจุบัน 2 ล้านล้านยูโร
     หากพิจารณาเงินเม็ดเงินในการทำ QE รวม 1.2 ล้านล้านยูโร แม้คิดเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของเม็ดเงินที่สหรัฐใช้ QE 3 รวมทั้งสิ้น 2.6 ล้านล้านเหรียญฯ แต่กลับใกล้เคียงกันหากคิดเป็นสัดส่วนต่อ norm GDP หรือราว 4 % ของ norm GDP ขณะที่ญี่ปุ่นใช้วงเงิน QE คิดเป็นราว 38% ของ GDP (1.8 ล้านล้านเหรียญฯ) และอังกฤษ คิดเป็นราว 2.2% ของ GDP (6 แสนล้านเหรียญฯ) ซึ่งต้องติดตามความชัดเจนจากการประชุมของ ECB ในวันที่ 22 ม.ค. และการเลือกตั้งนายกฯ คนใหม่ของกรีซ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 25 ม.ค.

ธนาคารกลางโลกหลายแห่ง ทยอยลดดอกเบี้ย
    เชื่อว่า ปัจจัยหนุนตลาดหุ้น ยังคงเป็นเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่ตกต่ำทั่วโลก อันเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดลงอย่างมาก ทำให้คาดหวังว่าธนาคารกลางสำคัญของโลกน่าจะใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ ตลอดปี 2558 โดยเฉพาะสหรัฐ และอังกฤษ ซึ่งเชื่อว่ามีแนวโน้มที่จะยืดระยะเวลาการขึ้นดอกเบี้ยออกไปในช่วงปลายปี 2H58 หรือต้นปี 2559 ขณะที่เอเซียน่าจะยืนดอกเบี้ย ณ ระดับปัจจุบัน จนถึงกลางปี 2558 แม้แต่บางประเทศเพิ่งมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยฯ ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาก็ตาม ได้แก่ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ทั้งนี้ภายหลังจากที่รัฐบาล ได้ยกเลิกมาตรการอุดหนุนเชื้อเพลิงในปลายปี 2557 ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น สำหรับประเทศไทย คาดว่าธนาคารแห่งประเทศ น่าจะยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 2% ตลอดปี 2558
     ทั้งนี้ IMF ได้คาดการณ์เงินเฟ้อระยะยาวปี 2563–2568 ของสหรัฐ และญี่ปุ่นว่าอาจจะถึงเป้าหมาย 2% ได้ค่อนข้างยาก ขณะที่ผลการประชุม BOJ ล่าสุด ได้ตัดลดคาดการณ์เงินเฟ้อพื้นฐานลงอีก 1% จาก 1.7% และคงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินต่อไปด้วยการเพิ่มฐานเงินในระบบอยู่ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี (6.74 แสนล้านเหรียญฯ) นอกจากนี้ยังตั้งเป้าเศรษฐกิจขยายตัวจาก 7 เป็น 10 ล้านล้านเยน โดยการเตรียมขยายมาตรการเงินให้กู้ยืม
     ล่าสุด ธนาคารกลางแคนาดาตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2552 เพื่อสกัดเงินฝืด โดยได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย RP ลงมาอยู่ที่ 0.75% เนื่องจากการปรับลดลงของราคาน้ำมัน ได้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพด้านการเงินของประเทศ
ขณะที่ก่อนหน้านี้นักเศรษฐศาสตร์ในอินเดีย คาดว่าธนาคารกลางอินเดียน่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบ 2 ปี หลังจากที่ลดดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายเมื่อ ม.ค. 2556 ลง 0.25% เหลือ 4% ทั้งนี้เนื่องจากอินเดียเป็นผู้นำเข้าสุทธิน้ำมันราว 40% ของยอดนำเข้รวม หรือคิดเป็น 9.7% ของ GDP ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนุนสำคัญที่ทำให้ค่าเงินอินเดียแข็งค่าอย่างรวดเร็ว นอกเหนือจาก Fund Flow ที่ยังคงไหลเข้าในอินเดีย แม้ว่าจะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ถือเป็นไม่กี่ประเทศที่ต่างชาติยังมียอดซื้อสุทธิอยู่

Fund Flow กลับมาซื้อภูมิภาคต่อเนื่องเป็นที่ 3
      วานนี้ นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 และเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้าถึงกว่าเท่าตัว อยู่ที่ราว 679 ล้านเหรียญฯ โดยเป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศ ทั้งนี้ซื้อสุทธิสูงสุดยังคงเป็นไต้หวัน และต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ราว 539 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 86% ขณะที่ประเทศอื่นๆ ยอดซื้อสุทธิยังเบาบางกล่าวคือ เกาหลีซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 49 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 16% ใกล้เคียงกับ ฟิลิปปินส์ ที่สลับมาซื้อสุทธิราว 48 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสลับขาย 3 วันหลังสุด) ส่วนไทยพลิกมาซื้อสุทธิเช่นกันราว 25 ล้านเหรียญฯ (813 ล้านบาท, ขายสุทธิติดต่อกัน 8 วันก่อนหน้า) และสุดท้ายคืออินโดนีเซียสลับมาซื้อสุทธิราว 17 ล้านเหรียญฯ หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 7 วันก่อนหน้า
     ทั้งนี้ เงินทุนที่ไหลเข้าในภูมิภาควานนี้ เชื่อว่าเป็นผลมาจากความคาดหวังต่อ ผลการประชุมของ ECB ในวันนี้ ต่อการ กำหนด วงเงิน QE ที่ชัดเจนขึ้นตามที่นักเศรษฐสตร์คาดการณ์กัน รายละเอียดปรากฏข้างต้น เชื่อว่าประเด็นนี้น่าจะหนุน Fund Flow กลับมาตลาดหุ้นไทยอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ขายสุทธินับตั้งแต่ปลายปี 2556 จน ถึงต้นปี 2558

ดัชนี ค่าระวางเรือคอนเทนเนอร์ทำสถิติสูงสุดรอบ 3 ปีติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 2 บวกต่อ RCL
    ดัชนี HOWE ROBINSON INDEX (HRCI) ในวันพุธที่ 21 ม.ค. 58 ฟื้นตัวจากสัปดาห์ก่อนหน้า 0.32% มาอยู่ที่ 558 จุด ทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 ปี ต่อเป็นสัปดาห์ที่ 2 แสดงถึงการฟื้นตัวที่ยังคงแข็งแกร่งของธุรกิจเรือคอนเทนเนอร์อย่าง RCL ทั้งนี้ จากรายงานของ MAERSK ซึ่งเป็นบริษัทนายหน้าเช่าเรือยักษ์ใหญ่ของโลก พบว่าอัตราค่าระวางเรือคอนเทนเนอร์ขนาดที่ RCL ให้บริการอยู่ (628 TEUs - 2,732 TEUs) ตั้งแต่ต้นปี 2558 (YTD) มีค่าระวางเรือปรับเพิ่มขึ้นทุกขนาดจากค่าเฉลี่ยของปีก่อนหน้าราว 11.5% นอกจากนี้ ในสัปดาห์ก่อนหน้ายังมีเรือคอนเทนเนอร์ปลดระวาง 3 ลำ โดยเป็นขนาดที่ RCL ให้บริการทั้งหมด ขณะที่ไม่มีการส่งมอบเรือลำใหม่จึงคาดจะช่วยลดซัพพลายของเรือคอนเทนเนอร์ในตลาดและเป็นปัจจัยบวกต่อดัชนี HRCI ได้ อีกทั้ง RCL ยังคงได้รับประเด็นบวกจากราคาน้ำมันโลก ที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากต้นทุนน้ำมันทั้งหมดเของ RCL มีสัดส่วนราว 20% ของต้นทุนรวม อีกทั้งยังซื้อสัญญาน้ำมัน ล่วงหน้าไว้เพียง 25% ของปริมาณขนส่ง จึงคาดภาระต้นทุนน้ำมันจะลดลงตั้งแต่ 4Q57 และจะรับประโยชน์เต็มไตรมาสใน 1Q58 ทั้งนี้ ด้วยปัจจัยบวกทั้งการฟื้นตัวของรายได้ค่าระวางที่ดีกว่าคาด และต้นทุนน้ำมันที่ลด ทำให้ฝ่ายวิจัยมีโอกาสทบทวนปรับเพิ่มประมาณการและมูลค่าพื้นฐานหุ้น RCL ภายหลังประกาศงบปี 2557 โดยภายใต้ประมาณการปัจจุบัน คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2557 ที่ 226 ล้านบาท พลิกจากขาดทุนในปีก่อน และคาดเติบโต 59% yoy ในปี 2558 และกำหนดมูลค่าพื้นฐานปี 2558 (อิง PBV ที่ 1 เท่า) อยู่ที่ 11.80 บาท มี Upside 22.9% แนะนำ “ซื้อ” และเลือกเป็น Top Pick

ปรับโครงสร้างธุรกิจกลุ่ม CK น่าจะบวกต่อหุ้น CK และ BECL
     กลุ่ม CK ปรับโครงสร้างธุรกิจในกลุ่มครั้งใหญ่ โดยผลสรุปที่เกิดขึ้นหลังการปรับโครงสร้าง BECL กับ BMCL จะควบรวมกันโดยเกิดเป็นบริษัทใหม่ และ CK จะมีการขายเงินลงทุนใน โรงไฟฟ้าไซยะบุรี ทั้งหมด ไปให้กับ CKP เพื่อ CKP จะเป็น Holding Company ในธุรกิจโรงไฟฟ้าของกลุ่ม CK ทั้งหมด ทั้งนี้กระบวนการเพื่อให้ได้ภาพดังกล่าว จะเป็นดังต่อไปนี้
1. กรณีการควบรวมกิจการระหว่าง BECL กับ BMCL : ปจั จุบัน CK เป็นผู้ถือหุ้น BECL ในสัดส่วน 15.15% และถือหุ้นใน BMCL อีก 25.19% ขณะที่ BECL ก็ถือหุ้นอยู่ใน BMCL อยู่อีก 10%
กระบวนการแรก เป็นการขจัดการถือหุ้นซ้ำซ้อน โดย CK จะเข้าซื้อหุ้น BMCL ในส่วนที่ BECL ถือทั้งหมด (10% ของทุนจดทะเบียน BMCL) ในราคา 1.79 บาท คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 3.67 พันล้านบาท หลังจากรายการนี้สัดส่วนการถือหุ้นของ CK ใน BMCL จะเพิ่มเป็น 35.19% ขณะที่จะไม่เหลือรายการถือหุ้นระหว่างกันของ BECL กับ BMCL
กระบวนการถัดมาเป็นการควบรวมระหว่าง BECL กับ BMCL โดยจะเป็นการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา แล้วทำการแลกหุ้น (SWAP) ของบริษัทใหม่ กับ BECL และ BMCL ซึ่งกำหนดอัตราส่วนออกมาว่า 1 หุ้น BECL จะแลกหุ้นบริษัทใหม่ได้ 8.65538 หุ้น และ 1 หุ้น BMCL จะแลกหุ้นบริษัทใหม่ได้ 0.42051 หุ้น ซึ่งจากการคำนวนก็จะพบว่าบริษัทใหม่ จะมีหุ้นรวม 15,285 ล้านหุ้น โดยผู้ถือหุ้นของ BECL จะถือหุ้นในบริษัทใหม่สัดส่วน 44% และ ผู้ถือหุ้นของ BMCL จะถือหุ้นบริษัทใหม่สัดส่วน 56% (ข้อสังเกตุประการหนึ่งก็คือ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทใหม่ของ BECL และ BMCL ถือว่าใกล้เคียงกับสัดส่วนของ Market Cap ของ BECL และ BMCL ที่ราคาตลาดปัจจุบัน SWAP Ratio ที่เกิดขึ้น จึงน่าจะถูกคำนวนมาจากฐานราคาตลาดหุ้นในปัจจุบัน)
2. กรณี CK ขายหุ้น โรงไฟฟ้า ไซยะบุรี ให้กับ CKP : ถือเป็นกาปรับโครงสร้างเพื่อให้ CKP เป็น Holding Company ของ CK อย่างสมบูรณ์แบบ โดยรายการที่เกิดขึ้น CK จะขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ใน โรงไฟฟ้าไซยะบุรี (ประมาณ 30%) ให้กับ CKP ด้วยมูลค่า 4.34 พันล้านบาท โดยที่ CKP จะทำการเพิ่มทุน ในอัตราส่วน 1 หุ้นเดิมต่อ 0.34 หุ้นใหม่ ราคา 3 บาท ซึ่งจะได้รับเงินจากการเพิ่มทุน 5.6 พันล้านบาท พร้อม แจก Warrant สำหรับผู้ที่ซื้อหุ้นเพิ่มทุน อัตราส่วน 1 หุ้นเพิ่มทุน ต่อ 1 Warrant ทั้งนี้ก่อนดำเนินการเพิ่มทุนดังกล่าว CKP จะทำการแตกพาร์จาก 5 บาท เป็น 1 บาทก่อน ซึ่งในรายการขายดังกล่าวนอกจากเป็นการปรับโครงสร้างการถือหุ้นในกลุ่มบริษัทแล้วยังเกิดผลดีต่อ CK ตามมาอีกหลายประการ เริ่มจาก
การที่ได้รับกระแสเงินสดเข้ามา 4.34 พันล้านบาท ทำให้สภาพคล่องทางการเงินดีขึ้น และยังเป็นการสร้างโอกาสสำหรับการลงทุนใหม่ๆ ในอนาคต


    การบันทึกกำไรจากรายการขายเงินลงทุน มูลค่าประมาณ 2.16 พันล้านบาท (ก่อนภาษีและหักส่วนที่ถือหุ้นระหว่างกันออกไป)
เนื่องจากโรงไฟฟ้า ไซยะบุรี เป็นโรงไฟฟ้าที่อยู่ระหว่าการก่อสร้าง ทำให้ต้องการใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ Operation ยังขาดทุนอยู่ การขายเงินลงทุนดังกล่าวออกไป ทำให้ CK ลดภาระเงินลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และ ทำให้ไม่ต้องรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนจาก ไซยะบุรี เต็มจำนวนเฉลี่ยปีละ 200 ล้านบาท แต่จะรับรู้ทางอ้อมผ่านการถือหุ้นของ CK ใน CKP ซึ่งถืออยู่ 29.87%
      จากรายการดังกล่าว ฝ่ายวิจัยประเมินว่าจะเป็นผลดีต่อราคาหุ้น CK (FV@B 30) และ BECL (FV@B 45) เป็นหลัก โดยในส่วนของ CK นอกจากจะได้รับกำไรจากการขายเงินลงทุนดังกล่าวข้างต้นแล้ว โครงสร้างธุรกิจที่ทำการปรับปรุงใหม่ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทในระยะยาว ส่วน BECL ถือเป็นหุ้นที่มีค่า PER ต่ำเนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า เมื่ออายุสัมปทานหมดลงอาจทำให้ทิศทางผลประกอบการไม่ชัดเจน เมื่อรวม BMCL เข้ามา ซึ่งโดยสภาพถูกคาดหมายว่า เมื่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง และ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเป็นดำเนินการ น่าจะทำให้ผลประกอบการพลิกกลับมาเป็นบวก แสะสร้างกำไรที่โดดเด่นในระยะยาว ทำให้บริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีความต่อเนื่องในการทำกำไร องค์ประกอบดังกล่าวจึงน่าจะทำให้หุ้น BECL ที่ระดับราคาปัจจุบันที่ค่อนข้างถูก ได้รับแรงกระตุ้นขึ้นมา ขณะที่ราคาหุ้น BMCL ซึ่งปัจจุบันสูงเกินปัจจัยพื้นฐานอยู่แล้ว อาจไม่ได้ตอบสนองเชิงบวกเพิ่มจากที่เป็นอยู่

ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!