WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

หลังซื้อช่วงลบแล้วเน้นถือต่อได้ แต่ถ้าจะซื้อใหม่น่ารออ่อนตัว!

  กลยุทธ์ : FSS คาดว่า SET ยังมีสิทธิแกว่งผันผวนได้อยู่ แม้ว่ากำลังจะเริ่มขยับขึ้นต่อ ดังนั้นซื้อแล้วเน้นถือได้ แต่ถ้าจะซื้อเพิ่มยังน่ารอช่วง SET อ่อนตัวก่อนน่าจะปลอดภัยกว่า
  หุ้นเด่นทางเทคนิค : EPCO, SYNTEC, GLOW(buy back)
  แนวโน้ม : แม้ว่าปลายสัปดาห์ที่แล้ว SET จะปรับพักตัวย้อนกลับมาเคลื่อนไหวเป็นลบ แต่ก็ยังมีลักษณะของการแกว่งทรงตัวได้บ้าง ขณะที่เช้านี้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศเริ่มกลับมาสดใสมากขึ้นอีกครั้ง หลังตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปสามารถปิดด้านบวกกว่า 1% ขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งของภาคเอกชนเช่น โกลด์แมน แซคส์ และอินเทล คอร์ป รวมทั้งตลาดยังได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีของสหรัฐ โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐขยับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี นอกจากนี้นักลงทุนยังคาดหวังว่า ECB จะประกาศใช้มาตรการ QE ครั้งใหม่ในการประชุมช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์นี้ด้วย(22 ม.ค.) ส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่เปิดขยับบวกได้อีก ซึ่งน่าจะช่วยกระตุ้นให้มีแรงซื้อกลับในตลาดหุ้นไทยด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม FSS คาดว่า SET อาจจะยังแกว่งผันผวนได้อยู่ ดังนั้นส่วนที่ซื้อแล้วเน้นถือได้ แต่ถ้าจะซื้อเพิ่มยังน่ารอช่วงตลาดแกว่งอ่อนตัวลงก่อนได้
  แนวรับ 1516-1514 , 1510-1505 จุด
  แนวต้าน 1520-1526 , 1530-1535 , 1540 จุด
  Fund Flow สัปดาห์ที่ผ่านมายังไหลออกจากตลาดหุ้นภูมิภาคต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเป็น US$1,312 ล้าน จาก US$903 ล้านเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ส่วนศุกร์ที่ผ่านมายังคงไหลออก โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ US$321 ล้าน ไต้หวัน US$265.2 ล้าน ไทย US$53.4 ล้าน อินโดนีเชีย US$26.4 ล้าน แต่ซื้อเวียดนาม US$2.5 ล้าน ขณะที่ฟิลิปปินส์ปิดทำการ แนวโน้ม Flow น่าจะมีโอกาสไหลเข้าจากที่ตลาดคาดว่า ECB จะออก QE เพิ่มอีก US$635 ล้าน ในการประชุมวันที่ 22 ม.ค นี้

ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
  (0) ทั่วโลกจับตาการประชุม ECB มีการคาดหวังค่อนข้างสูงว่า ECB จะเพิ่มมาตรการ QE ขนานใหญ่ในการประชุม 22 ม.ค. นี้ ไม่ว่าจะเป็นไปตามคาดหรือผิดคาด เชื่อว่าอาจมีแรง Sell on fact ระยะสั้น เพราะความผันผวนในตลาดเงินที่ยังอยู่หลังธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ยุติการตรึงค่าเงินกับยูโร ทำให้สวิสฟรังก์แข็งค่าขึ้นและแข็งค่ากว่าดอลลาร์ นอกจากนี้ การเลือกตั้งของกรีซ 25 ม.ค. และการครบกำหนดชำระหนี้ของรัสเซียสิ้นเดือนนี้ยังเป็นความผันผวนที่รออยู่ข้างหน้า
  (+) ธนาคารเริ่มทยอยประกาศผลประกอบการสัปดาห์นี้ แม้ว่าความต้องการสินเชื่อมักจะสูงสุดใน 4Q (แต่ไม่ใข่ 4Q14) แต่กำไรมักต่ำที่สุดของปีเพราะค่าใช้จ่ายที่สูงสุดในไตรมาสนี้ เราจึงคาดกำไรของกลุ่มธนาคารใน 4Q14 ลดลง 11% Q-Q แต่คาดว่า KBANK และ TMB น่าจะมีกำไรเด่นสุด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าราคาหุ้นรับรู้และมองข้ามผลประกอบการปี 2014 ไปแล้ว ในทางตรงกันข้าม ผลประกอบการมีโอกาสสร้างเซอร์ไพรส์เช่น TISCO ที่กำไรดีกว่าคาดมาก ก็เป็นได้ กลุ่มธนาคารเป็นกลุ่มที่เราชอบเป็นลำดับต้นๆ สำหรับการลงทุนปีนี้โดยเชื่อว่าสินเชื่อจากการลงทุนจะกลับมาโดดเด่น Top pick ยังคงเป็น KBANK (ราคาเป้าหมาย 271 บาท) และ KTB (ราคาเป้าหมาย 27.60 บาท)
  (+) ROBINS เราคาดกำไรสุทธิ 4Q14 ลดลง 11% Y-Y จากการบริโภคที่ฟื้นตัวไม่เต็มที่และถูกกระทบจากการท่องเที่ยวที่ชะลอ ทำให้ยอดขายสาขาเดิมยังติดลบต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกัน และทำให้กำไรปี 2014 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี ราว -8% Y-Y แต่เราเชื่อว่ากำไรจะกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้งในปีนี้ จากแผนขยายสาขาในไทยและเวียดนามต่อเนื่อง และนำบริษัทร่วม Power Buy (ROBINS ถือ 40%) เข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในเวียดนาม เราปรับกำไรปีนี้ขึ้น 2% เป็นเติบโต 24% Y-Y และปรับราคาเป้าหมายเพิ่มเป็น 56 บาทจาก 55 บาท ยังคงแนะนำซื้อ
  (+) THCOM เราทบทวนประมาณการใหม่โดยปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2014-15 ลง 5% และ 1% ตามลำดับ แต่ยังมีกำไรเติบโตสูง โดยคาด +41% Y-Y ในปี 2014, +35% Y-Y ปี 2015 และ +16% Y-Y ปี 2016 การเติบโตมาจากทั้ง iPSTAR (อยู่ระหว่างเจรจากับลูกค้าหลายราย) และดาวเทียมแบบดั้งเดิมที่มีความต้องการมากขึ้นจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปของทีวีช่องปกติเป็นช่องทีวี HD ในปัจจุบันและเป็น Ultra HD ในอนาคต ซึ่งต้องใช้ Bandwidth มากกว่าช่องปกติถึง 4 เท่าและ 16 เท่าตามลำดับ ขณะเดียวกัน Digital TV ก็ต้องเช่าช่องสัญญาณจากดาวเทียมเช่นกันจากกฎ Must carry และปีนี้เป็นปีแรกที่รับรู้รายได้เต็มปีจากไทยคม 7 ส่วนไทยคม 8 จะให้บริการในปี 2016 เราประเมินราคาเป้าหมายใหม่เป็น 50 บาท (DCF) ลดลงจากเดิมที่ 57 บาท ยังคงแนะนำซื้อ
  (-) KKP รายงานผลกำไร 4Q14 น่าผิดหวังและต่ำสุดในปีที่ 488 ลบ. -42.7%Q-Q และ 52.6%Y-Y ซึ่งเกิดจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญที่สูงกว่าคาด, ยังคงมีผลขาดทุนรถยึดที่มากกว่าคาด และค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยมากเกินคาด อย่างไรก็ตาม PPOP ปรับดีขึ้นจากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่ลดลง เราปรับลดประมาณการกำไรและราคาเหมาะสมลงเป็น 45 บาท (จากเดิม 48 บาท) ยังคงคำแนะนำ ซื้อ เนื่องจากราคาที่ต่ำกว่า Book Value และคาดการณ์การจ่ายเงินปันผลอีกหุ้นละ 1 บาท

  ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ปิดพุ่งขึ้นเป็นวันแรกหลังจากร่วงลงติดต่อกัน 5 รับผลประกอบการของบริษัทเอกชนที่แข็งแกร่งรวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจที่สดใสและราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
  ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนวันศุกร์พุ่งขึ้นหลังจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ยกเลิกการตรึงค่าเงินสวิสฟรังก์กับยูโร ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนคาดหวังว่า ECB จะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
  ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวในแดนบวกตามตลาดหุ้นภูมิภาคอื่นจากบรรยากาศการลงทุนที่สดใส
  ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแรงเมื่อวันศุกร์ ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 32.43-32.64 บาท/ดอลลาร์
  น้ำมันดิบในตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ปิดที่ 48.69 ดอลลาร์/บาร์เรล พุ่งขึ้น 2.44 ดอลลาร์/บาร์เรล หลัง IEA ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของผลผลิตจาก OPEC และระบุว่าราคาน้ำมันเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัว
  ทองคำในตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ปิดที่ 1,276.90 ดอลลาร์/ออนซ์ พุ่งขึ้น 12.10 ดอลลาร์/ออนซ์ สูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยยังคงได้รับปัจจัยบวกหลังธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ยกเลิกเพดานอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินสวิสฟังก์กับยูโร

ปัจจัยที่ต้องติดตาม
19-23 ม.ค. - ไทย: กลุ่มธนาคารทยอยประกาศผลประกอบการปี 2014
19 ม.ค. - สหรัฐ: ตลาดการเงินปิดทำการ Martin L. King Day
20 ม.ค. - ไทย:ยอดขายรถ (ธ.ค.)
- จีน:4Q14 GDP, ยอดค้าปลีก (ธ.ค.) Fixed asset investment (ธ.ค.)
- ยูโรโซน:ZEW Survey Expectations (ม.ค.)
21 ม.ค. - ญี่ปุ่น:BOJ Monetary Policy Statement
- สหรัฐ:Housing starts, Building permit (ธ.ค.)
22 ม.ค. - ยูโรโซน:ECBประชุม, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.ค.)
23 ม.ค. - ไทย: ดุลการค้า (ธ.ค.), ลงมติคดีถอดถอน “นิคม-สมศักดิ์-ยิ่งลักษณ์”
- จีน: HSBC China Manufacturing PMI (ม.ค.)
- เกาหลีใต้: 4Q14 GDP
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านเก่า (ธ.ค.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (ม.ค.)
27 ม.ค. - ไทย: ดัชนีผลิลตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต (ธ.ค.)
- สหรัฐ: S&P/CaseShiller Index (พ.ย.), คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (ธ.ค.),ยอดขายบ้านใหม่ (ธ.ค.)
Contact person : Somchai Anektaweepon
Research Dept.   Tel: 02-646-9967, 02-646-9852

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!