- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 03 June 2014 18:36
- Hits: 3137
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“การฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในยังหนุนต่อ”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
• ภาพตลาดวันก่อน : ดัชนีทะยานขึ้นแรง 25.21 จุด มาปิดที่ 1440.94 มูลค่าซื้อขาย 5 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งคึกคักขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วง 5M57 ที่ผ่านมา โดยแรงซื้อเข้ามามากในกลุ่มธนาคารพาณิชย์, พลังงาน และสื่อสาร หลังจากที่คสช.ชี้แจงบทบาท 3 ระยะ & โรดแมพเศรษฐกิจในภาพกว้างและมาตรการเร่งด่วน ที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ใน 2H57 และขยายตัวดีขึ้นในปี 58 ส่วนกลุ่มที่อิงอุปสงค์ในประเทศอื่นๆ ก็ยังปรับขึ้นต่อจากปลายสัปดาห์ก่อน นักลงทุนต่างชาติพลิกกลับเป็นซื้อสุทธิ 2.7 พันล้านบาท สถาบันในประเทศและพอร์ตบล.ซื้อสุทธิกลุ่มละ 1 พันกว่าล้านบาทส่วนรายย่อยขายสุทธิ 4.8 พันล้านบาท
• ปัจจัยและกลยุทธ์ : การเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นของคสช. การตั้งสภาปฏิรูปและสภานิติบัญญัติในระยะกลางเพื่อ Reform ประเทศครั้งใหญ่เพื่อให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ยังเป็นปัจจัยกระตุ้นตลาดในช่วงนี้ นอกจากนั้นยังมีแรงหนุนจากการที่มูดีส์ฯ คงอันดับความน่าเชื่อถือของไทยไว้ที่ Baa1 โดยระบุว่าการมีรัฐประหารไม่กระทบปัจจัยพื้นฐานและความสามารถในการชำระหนี้ของไทยยังแข็งแกร่ง ทั้งนี้เราคาดว่าสถาบันจัดอันดับฯ รายใหญ่อื่น เช่น ฟิทช์, เอสแอนด์พี ฯลฯ ก็น่าจะมีความเห็นไปในทางเดียวกัน สำหรับอัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค.ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ14 เดือน คาดว่าจะไม่กระทบมาก โดยประเมินว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะไม่รุนแรง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการชะลอการปรับขึ้นราคา LPG ภาคครัวเรือนไว้ก่อน อัตราดอกเบี้ยของไทยยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่ำได้ต่อไป ซึ่งเป็นบวกกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (หุ้นเด่น BBL, KBANK, KTB), พาณิชย์ (หุ้นเด่น BIGC,CPALL, M), ที่พักอาศัย (หุ้นเด่น SPALI, QH, AP, LPN, RML) และเช่าซื้อ (TISCO, TCAP, SINGER) เป็นต้น สำหรับปัจจัยภายนอกมีน้ำหนักเป็นบวก ในทางปัจจัยพื้นฐาน เรายังคงให้เลือกซื้อลงทุนในหุ้นปัจจัยพื้นฐานแข็งแรง ความสามารถในการทำกำไรดี และเติบโตได้ในระยะกลาง-ยาว สำหรับการลงทุนตามรอบโดยใช้วิเคราะห์ทางเทคนิคมีกลยุทธ์ คือ โดยหลักเป็นการซื้อตามค่าบวก แนวต้านระยะสั้น 1460, 1480 จุด สำหรับหุ้นพื้นฐานที่น่าสนใจวันนี้ เป็น KTB
Fundamental Pick
KTB แนะนำซื้อปิด 19.20 บาท ราคาพื้นฐาน 23 บาท
• KTB ได้รับประโยชน์จากการใช้จ่าย & ลงทุนในโครงสร้างขั้นพื้นฐานของรัฐบาล เนื่องจากมีสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อในโครงการรัฐสูงกว่าธนาคารอื่นๆ ผลประกอบการปี 58 จึงมีโอกาสดีกว่าที่เราประมาณการไว้ (+11%) แต่ในปี 57 คาดว่ากำไรสุทธิไม่น่าจะต่างจากที่เราทำไว้ ซึ่งเป็นระดับที่ไม่น่าตื่นเต้น (โดยมีสมมติฐานหลักของปี 57 คือ สินเชื่อ +4.2%, รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย +10%) อย่างไรก็ตาม ตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าวมีโอกาสที่จะเกิด Positive Upsideมากขึ้น แนะนำซื้อ KTB ให้ราคาพื้นฐาน 23 บาท โดยอิงกับ Gordon Growth Model (ให้16.6% ROE, 10% growth และ 14% cost of equity) ซึ่งเทียบเท่ากับ P/BV ปี 57 ที่ 1.4 เท่าณ ราคาปัจจุบัน ซื้อขายที่ P/BV ปีนี้ที่ 1.2 เท่า ยังต่ำกว่าระดับสูงสุดเมื่อมี.ค.56 ที่ 1.7 เท่าอย่างมีนัยสำคัญ (ในช่วงนั้นมีความหวังว่าโครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาทจะเดินหน้าลงทุนได้แล้ว)
ปัจจัยต่างประเทศและโภคภัณฑ์
+ สหรัฐ : ตัวเลขภาคการผลิตพ.ค.บ่งชี้การเติบโตต่อเนื่อง ภาคก่อสร้างไปได้ดี...จับตาตัวเลขภาคแรงงานสำคัญในวันศุกร์นี้
+ ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐในเดือนพ.ค.ปรับตัวขึ้นแตะ 56.4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ3 เดือน จาก 55.4 ในเดือนเม.ย. นับว่าผลผลิตในภาคการผลิตของสหรัฐยังคงขยายตัวมากขึ้นตลอดช่วงไตรมาส 2/57 โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวดีขึ้นอย่างมากของปริมาณธุรกิจใหม่
• สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่าดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ค.เคลื่อนไหวที่ระดับ 53.2 ซึ่งแม้ว่าชะลอตัวลงจากเดือนเม.ย.ที่ 54.9 แต่ก็ยังสูงกว่า 50
+ การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างในเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 0.2% สู่ระดับ 9.535 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่เดือนมี.ค.52
• ติดตามรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐเดือนพ.ค.ที่จะออกมาในวันศุกร์ที่ 6มิ.ย.นี้ ทั้งนี้นักวิเคราะห์คาดว่าอัตราว่างงานเดือนพ.ค.จะขยับขึ้นแตะระดับ 6.4% จากเดือนเม.ย.ที่ระดับ 6.3%
+ จีน : PMI ภาคการผลิตเดือนพ.ค.เพิ่มเป็น50.8 ...ดีเกินคาด
+ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และสหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนปรับตัวขึ้นแตะ 50.8 ในเดือนพ.ค.57 จากระดับ50.4 ในเดือนเม.ย. นักวิเคราะห์กล่าวว่าดัชนี PMI ภาคการผลิตจีนที่ออกมาดีเกินคาด บ่งชี้ถึงการปรับตัวที่ดีขึ้น และเชื่อว่าเศรษฐกิจจีนในปี 57 จะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ 7.5%
• ตลาดหุ้นสหรัฐขยับขึ้น ตอบรับตัวเลขภาคการผลิตที่ดี แต่ยังรอดูตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรปลายสัปดาห์นี้
• ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,743.63 จุด เพิ่มขึ้น 26.46 จุด หรือ +0.16% ดัชนีS&P500 ปิดที่ 1,924.97 จุด เพิ่มขึ้น 1.40 จุด หรือ +0.07% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,237.20 จุดลดลง 5.42 จุด หรือ -0.13% ปัจจัยหนุน คือ ตัวเลข PMI ด้านการผลิตเดือนพ.ค.ที่ปรับขึ้น และค่าใช้จ่ายภาคก่อสร้างที่ขยายตัวต่อในเดือนเม.ย.และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี แต่นักลงทุนยังไม่ได้เข้าซื้อหุ้นคึกคักมากนัก เพราะรอดูตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรที่จะออกมาในปลายสัปดาห์นี้ก่อน
• สัญญาน้ำมันดิบอยู่ในกรอบแคบ
• สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.ปรับตัวลง 24 เซนต์ ปิดที่ 102.47 ดอลลาร์/บาร์เรลสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 58 เซนต์ ปิดที่ 108.83ดอลลาร์/บาร์เรล การอ่อนตัวลงเป็นผลจากมีคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันของโอเปคจะเพิ่มขึ้น 75,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ระดับเฉลี่ย 29.988 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนพ.ค.57 รวมทั้งมีข่าวว่าท่าส่งออกน้ำมันฮาริกาในลิเบียจะเปิดดำเนินการอีกครั้งภายใน 2 วันนี้
• จับตาดูการประชุมโอเปคซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 11 มิ.ย.57 (การประชุมครั้งก่อน กลุ่มโอเปคมีมติคงเพดานการผลิตน้ำมันดิบไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ทั้งนี้กลุ่มโอเปคเป็นผู้จัดหาน้ำมันดิบรองรับความต้องการของตลาดโลกในสัดส่วน 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำมันดิบทั่วโลก
-/+ สัญญาทองคำ COMEX ยังซบเซา แต่ก็มีลุ้นรีบาวด์ทางเทคนิค
-/+ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ปรับตัวลง 2ดอลลาร์ หรือ 0.16% ปิดที่ 1,244 ดอลลาร์/ออนซ์
ปัจจัยในประเทศและหลักทรัพย์
+ มูดีส์ฯ คงความน่าเชื่อถือของไทยระดับเดิม คือ Baa1
+ เมื่อ 2 มิ.ย.57 มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือของไทยอยู่ที่ระดับเดิม คือ Baa1 โดยรายงานของมูดี้ส์ฯ ระบุว่าการคงอันดับความน่าเชื่อของไทย เนื่องจากได้พิจารณาถึงความสามารถของรัฐบาลในการจัดการด้านการเงิน, ความแข็งแกร่งของสถาบันการเงินซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากการทำรัฐประหาร และการรักษาความแข็งแกร่งจากปัจจัยภายนอก (ที่มา : ไทยรัฐ)
•/+ อัตราเงินเฟ้อพ.ค. 2.62% เพิ่มสูงสุดในรอบ 14 เดือน แต่คาดว่าแรงกดดันจะน้อยลงในระยะต่อไป...คาดดอกเบี้ยของไทยจะอยู่ในเกณฑ์ต่ำต่อ ซึ่งเป็นบวกกับกลุ่มแบงค์, พาณิชย์, ที่พักอาศัย และเช่าซื้อ
• กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพ.ค.57 เท่ากับ 2.62% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือน ปัจจัยหลักที่ผลักดัน คือ การปรับขึ้นของราคาพลังงาน ราคาอาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น อุปกรณ์การเรียน เป็นต้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อสะสมช่วง 5M57 เท่ากับ2.21% ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของเดือนพ.ค.57 เท่ากับ 1.75% และสะสม 5M57 เป็น1.40% สำหรับทั้งปี 57 ทางกระทรวงฯ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในประมาณการที่ 2.0-2.8% (ที่มา : โพสทูเดย์ & สยามรัฐ & ข่าวสด)
ความเห็น Retail Research : แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนพ.ค.57 จะเพิ่มขึ้นและสูงสุดในรอบ14 เดือน แต่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปจะกดดันน้อยลง ซึ่งเป็นผลจากการที่ฝ่ายเศรษฐกิจของคสช.ให้ตรึงราคาก๊าซ LPG หุงต้มไว้ที่ 22.63 บาทต่อลิตรไปก่อน ส่วนความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อทางด้านอุปสงค์ยังไม่มาก เนื่องจากเศรษฐกิจเพิ่งเริ่มต้นฟื้นตัว และโดยปกติแล้วการบริโภคในส่วนสินค้าคงทนจะมี Lag time ประมาณ 3-6 เดือนหลังจากมาตรการกระตุ้นมีผลบังคับใช้
ดังนั้น เราประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 57 ยังไม่เป็นประเด็นที่กดดันต่ออัตราดอกเบี้ยให้ปรับขึ้นแต่ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยก็อาจไม่ลดลง เนื่องจากสัดส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนที่สูง ขณะที่ระดับอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน (MLR ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อยู่ที่ 6.75% และอัตราดอกเบี้ยนโยบาย R/P 1 วันที่ 2.00%) ยังเอื้อต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ถ้าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการฟื้นตัว ซึ่งขณะนี้อยู่ในแนวโน้มที่ดีขึ้น หลังจากปัญหาการเมืองคลี่คลาย เห็นบทบาทของคสช.และโรดแมพด้านเศรษฐกิจที่เป็นภาพใหญ่ของประเทศ รวมทั้งการเร่งเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในส่วนรากหญ้า, SME, โครงการขนาดใหญ่ภาครัฐ และการลงทุนภาคเอกชน
อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำและการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นผู้บริโภค เป็นบวกกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (หุ้นเด่น BBL, KBANK, KTB), พาณิชย์ (หุ้นเด่น BIGC, CPALL, M), ที่พักอาศัย (หุ้นเด่น SPALI, QH, AP, LPN, RML) และเช่าซื้อ (TISCO, TCAP, SINGER)
+ PTTGC : ผลประกอบการ 2Q57 เติบโตQoQ เนื่องจากใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น (ใน1Q57 ปิดซ่อมโรงงานทั้งในและนอกแผน)...แนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 84 บาท
+ ผ่านพ้นไตรมาสที่แย่สุดของปี 57 ไปแล้ว ทั้งนี้บริษัทรายงานกำไรสุทธิ 1Q57 เท่ากับ 6.3พันล้านบาท ลดลง 48%YoY ใกล้เคียงกับที่ฝ่ายวิจัยฯ DBSV คาดการณ์ไว้ ปัจจัยที่กดดันผลประกอบการไตรมาสนี้ คือ อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ลดลงเพราะมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานตามแผนและนอกแผน, Spread ของ PX ต่ำลง และมีขาดทุนจากสต็อก เพราะราคาน้ำมันดิบสิ้น 1Q57 ลดลง QoQ อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการที่ซบเซาของ 1Q57 ได้สะท้อนในตลาดไปแล้ว และคาดว่า 1Q57 จะเป็นไตรมาสที่มีกำไรจากการดำเนินงานปกติ (Core Profit) ต่ำที่สุดในปี 57 และจะเติบโตดีขึ้นใน 2Q57 เมื่อกลับมาผลิตเต็มที่เต็มไตรมาส ขณะเดียวกัน Spreadของผลิตภัณฑ์ Polyethylene จะยังคงแข็งแกร่งในช่วงที่เหลือของปี 57 และปี 58 แนะนำซื้อโดยให้ราคาตามพื้นฐาน 84 บาท
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]