- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 03 June 2014 16:17
- Hits: 3334
บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
Highlight
ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดคละ แต่ญี่ปุ่นปิดบวกแรงสุด หลัง DJIA, S&P 500, DAX เดินหน้าทำสถิติสูงสุดใหม่จากภาคการผลิตสหรัฐฯ และภาคบริการของจีน ดีกว่าคาด
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ : USA คำสั่งซื้อโรงงาน เม.ย. คาด 0.5%m-m (vs 0.9%) EU อัตราว่างงาน เม.ย. 11.8% CPI พ.ค. คาด 0.7%y-y (Vs 0.7%) ผลประชุมธนาคารกลางออสเตรเลีย อินเดีย คาดคงดอกเบี้ยที่ 2.5% และ 8%
+วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อ +2.69 พันลบ. (จากขายสะสม 9 วันรวม -3.31 หมื่นลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้ออีก +1.03 พันลบ. (ซื้อสะสม 15 วัน จาก 16 วันทำการ รวม +1.98 หมื่นลบ.)
+การเมือง คสช. เดินหน้าตั้งศูนย์ปรองดอง ชี้แจงต่างประเทศ และกระตุ้นเศรษฐกิจ
คาดดัชนีฯ สัปดาห์นี้ ทิศทางเป็นบวกต่อเนื่องหลังทำจุดสูงสุดใน 7 เดือนวานนี้ แนวต้าน 1450/1470 จุด แนวรับ 1426/1420 จุด แรงหนุนเป็นเรื่องความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเศรษฐกิจในระยะต่อไป ว่าจะมีทิศทางดีขึ้นหลังมีรัฐบาล และนักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อวันแรกนับตั้งแต่ไทยประกาศกฎอัยการศึก
กลยุทธ์: แนะนำ Trading Buy กลุ่ม Domestic Play อาทิ บ้านฯ นิคมฯ ท่องเที่ยว วัสดุฯ ธนาคาร จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีกว่าคาด อาทิ SPALI QH LH AOT CPALL AMATA HEMRAJ SCC SCB KBANK กลุ่มหลักทรัพย์ ASP MBKET และหุ้นที่มีลุ้นติด SET 100 Index (MEGA SIM)
หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 6.0%) ได้แก่ SUPER EA ANAN IFEC RASA TISCO LPN TRUE WHA TGPRO หุ้นที่ลงกว่า 2.0% THAI VGI GOLD PDI JMART
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ BBL+730 SCC+395 SCB+337 PTTEP+320 TRUE+315 ด้านขาย DTAC-57 SF-36
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ KBANK 134 ITD 82 ADVANC 34
Market Outlook
คาดดัชนีฯ ขึ้นต่อ แต่มีแนวโน้มผันผวนบริเวณ 1450/1470 จุด แนวรับ 1426/1420 จุด รอลุ้น ข่าวดีความชัดเจนเรื่องโครงการขนาดใหญ่ภาครัฐ และ ECB ผ่อนคลายนโยบายการเงิน แนะนำ เก็งกำไร กลุ่ม Domestic Plays อาทิ บ้านฯ นิคมฯ ท่องเที่ยว วัสดุฯ ธนาคาร หลักทรัพย์ และหุ้นที่มีลุ้นติด SET 100 Index
คาดดัชนีฯ ยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น แต่มีแนวโน้มผันผวนมากขึ้นบริเวณ 1450/1470 จุด แนวรับ 1426/1420 จุด นักลงทุนยังให้มุมมองบวกต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่ทยอยออกมา ทั้งต่อการบริโภคภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐฯ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ ขณะที่วานนี้นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยเป็นวันแรก หลังขายหนักต่อเนื่อง 3.3 หมื่นล้านบาทนับตั้งแต่ประกาศกฎอัยการศึก นอกจากนี้ยังมีข่าวดีเรื่องอันดับความน่าเชื่อถือที่มูดีส์ประกาศคงอันดับไทยเช่นเดียวกับฟิทซ์ รวมถึงเริ่มเห็น Upward Revision ต่อ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ (+กลุ่มรับเหมาฯ และวัสดุก่อสร้าง) ด้านปัจจัยต่างประเทศยังมีประเด็นบวกเรื่อง ECB meeting ปลายสัปดาห์นี้ มีโอกาสสูงที่จะออกมาตรการ Negative Deposit rate เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นครั้งแรก
กลยุทธ์: Trading รายวัน ยังเน้นเก็งกำไรกลุ่ม Laggard Plays ที่เป็น Domestic Play อาทิ บ้านฯ นิคมฯ ท่องเที่ยว วัสดุฯ ธนาคาร จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีกว่าคาด อาทิ SPALI QH LH AOT CPALL AMATA HEMRAJ SCC SCB KBANK กลุ่มหลักทรัพย์ ASP MBKET และหุ้นที่มีลุ้นติด SET100 (MEGA SIM)
ระยะกลาง เราคงคำแนะนำระยะ 3-6 เดือน เลือกลงทุนกลุ่ม High Dividend Play (BTS INTUCH) และเลือกสะสมกลุ่มส่งออก อาหาร (CPF GFPT TUF) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ (HANA KCE) กลุ่มพาณิชย์ (CPALL) ส่วนรับเหมาฯ (ITD CK TTCL STEC) let profit run
สำหรับเดือน มิ.ย.: แนะนำลงทุน BTS INTUCH (Dividend Play) GFPT TTCL (Global play) SPALI SCC CPALL (การบริโภคการลงทุนในประเทศ) M MEGA OFM (SET50/SET 100 reshuffle)
ปัจจัยในประเทศ คลายกังวลเรื่องถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ – วานนี้มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือของไทยที่ Baa1 โดยระบุว่า ความแข็งแกร่งด้านปัจจัยพื้นฐานของความน่าเชื่อถือของไทย สามารถต้านทานแรงกดดันตามวัฏจักรต่อเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอนทางการเมืองไม่น่าส่งผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือไทยในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า ซึ่งถือว่าเป็นมุมมองบวกที่เราได้เห็นจากต่างชาติ จากที่ก่อนหน้านี้ ต่างประเทศส่วนใหญ่มองลบการเศรษฐกิจไทยหลังมีรัฐประหาร โดยก่อนหน้านี้ฟิตซ์คงอันดับความน่าเชื่อถือไทยเช่นกัน ทำให้คลายความกังวลเรื่องนี้ไป ประกอบกับก่อนหน้านี้ต่างชาติขายหุ้นไทยที่ซื้อมาใหม่ในปีนี้ออกไปจนหมด ทำให้วานนี้ เริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นขนาดใหญ่ เรายังคาดหวังการปรับตัวขึ้นของหุ้นขนาดใหญ่หากเงินต่างชาติไหลกลับ โดยเฉพาะหุ้นที่ได้ผลบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งธนาคาร และวัสดุก่อสร้าง ส่วนหุ้นที่ยัง laggard เช่นกลุ่มอสังหาฯ และท่องเที่ยว คาดจะมีแรงซื้อสลับเข้ามาได้เช่นกัน
ค่าเงินบาทเช้านี้แข็งค่าเล็กน้อย ที่ 32.77 บาท/ดอลลาร์ หลังวานนี้อ่อนค่าสุดที่ 32.90 บาท/ดอลลาร์ โดยเรายังจับตาค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด จะน่ากังวล หากหลุด 33.00 บาท/ดอลลาร์ เพราะจะส่งผลต่อ กลุ่มพลังงาน (FX loss) และความเชื่อมั่นนักลงทุน
+ปัจจัยต่างประเทศ บวกจากผลประชุม ECB – ECB Meeting: เราคาดว่า ผลประชุมอีซีบี ต้นเดือน มิ.ย. จะส่งผลบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะ Equities จากคำพูดล่าสุดของประธาน ECB ชี้ว่าคณะกรรมการของ ECB กำลังพิจารณาเรื่องดังกล่าวอยู่ โดยมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติม จะออกมาในการประชุมครั้งถัดไปเลย เราคาดว่าโอกาสสูงที่ ECB จะตัดสินใจใช้วิธีลดดอกเบี้ย 10 bps ในทุก key interest rate และคาดว่าจะมีการส่งสัญญาณเพิ่มสภาพคล่อง อาทิ LTRO programme ออกเดือนมิย หรืออาจส่งสัญญาณ การทำ QE เฉพาะตราสารหนี้ที่เชื่อมโยงกับ SME
ทางเทคนิค ระยะสัปดาห์ยังคงเป็นสัญญาณขาขึ้น โดยตลาดมีโอกาสปรับสูงขึ้นทดสอบแนวต้านของ Fibonanci กรอบ 1386-1470 จุด โดยมีแนวต้านต่อไปที่ 1450 และ 1470 จุดตามลำดับ ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1426/1420 จุด
ประเด็นจับตา
-1. ประเด็นการเมือง: จับตานโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการรัฐขนาดใหญ่
ประเด็นการเมือง (Update):
กต.เร่งแจงต่างชาติ หลัง 39ประเทศเป็นห่วง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้หารือทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุมความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ที่ประเทศสิงคโปร์ อาทิ สหรัฐอเมริกา ออสเตเลีย ญี่ปุ่น เยอรมัน โดยไทยได้แสดงความไม่พอใจกับท่าทีของออสเตรเลียที่ได้มีการประกาศลดการมีปฏิสัมพันธ์กับกองทัพไทย และพิจารณาไม่ให้ผู้นำเหล่าทัพเดินทางเข้าประเทศออสเตรเลียออกมาเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ พร้อมกันนี้ได้อธิบายขั้นตอนภายใต้โรดแมปให้ฟัง ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการที่ดีขึ้น เพื่อให้นำข้อมูลเหล่านี้ ไปพิจารณาเพื่อทบทวนท่าที รวมถึงมาตรการตอบโต้ต่างๆ ที่มีกับไทย สำหรับสถานะประกาศเตือนการเดินทางเยือนไทยล่าสุด นายเสข กล่าวว่า ขณะนี้มี 63 ประเทศ ในจำนวนนี้มี 19 ประเทศประกาศให้หลีกเลี่ยงการเดินทางหากไม่จำเป็น
คสช.ให้แต่ละกระทรวงไปเร่งสรุปโครงการใช้งบปี 57 มาเสนอใน 2 สัปดาห์ คสช. ขอให้แต่ละกระทรวงไปเร่งสรุปโครงการที่จะใช้งบประมาณปี 57 มีโครงการใดที่ต้องเร่งดำเนินการ หรือจะทำในโครงการใดบ้าง ใช้งบเท่าใด โดยให้เวลา 2 สัปดาห์ ไปสรุปแผนการใช้จ่าย งบปี 57 เพื่อให้คสช.พิจารณาอีกครั้ง
'ประยุทธ์'สั่งเร่งตั้งศูนย์ปรองดอง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวในที่ประชุมคสช. ว่าสถานการณ์ทุกอย่างเริ่มไปในทิศทางที่ดี นอกจากนี้กำชับการจัดตั้งศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป โดยให้กระทรวงมหาดไทยและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ช่วยกันขับเคลื่อนโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นแม่งานใหญ่ ในวันที่ 4 มิ.ย.นี้ กอ.รมน.จะประชุมเพื่อกำหนดทิศทางการปรองดองและการทำกิจกรรมต่างๆ
2. SET50/SET100 reshuffle รอบ 2H57
จากการคำนวณของ KTZmico (ณ วันที่ 2 มิ.ย. 57) หุ้นที่คาดว่าจะได้เพิ่มเข้าคำนวณ SET50 ในรอบครึ่งปีหลังปี 57 (ก.ค. –ธ.ค. 57) ได้แก่ M และ KKP ส่วนหุ้นที่คาดว่าจะถูกถอดออกได้แก่ CK และ THAI ส่วนหุ้นที่คาดว่าจะได้เพิ่มเข้าคำนวณ SET100 ได้แก่ M TVO BJCHI EARTH SGP NOK NYT PSL MC MEGA และ OFM สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะถูกถอดออกได้แก่ ASP KTC TASCO MBK SF TFD LOXLEY RS CHG ERW และ JMART
จากสถิติ หุ้นที่ได้เข้าคำนวณดัชนี SET50 6 ครั้งหลังสุด (รอบ 2H11-1H14) ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย +3.2% และ +2.7% ในช่วง 1 เดือน และ 2 สัปดาห์ก่อนวันประกาศรายชื่อ แต่กลับมาให้ผลตอบแทนติดลบ -1.4% ในช่วง 2 สัปดาห์หลังประกาศรายชื่อ โดยปกติจะประกาศรายชื่อช่วงกลางเดือนมิ.ย. และกลางเดือน ธ.ค.
3. การประชุม ECB :ทั่วโลกจับตาประชุมธ.กลางยุโรปพฤหัสฯนี้ คาดผ่อนคลายนโยบายครั้งใหญ่
การประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในวันที่ 5 มิ.ย. ถือเป็นเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ หลังจากอีซีบีส่งสัญญาณว่าจะผ่อนคลายนโยบายการเงินในหลายรูปแบบด้วยกัน ตามข่าว อีซีบีกำลังจัดเตรียมนโยบายหลายอย่างเพื่อเลือกใช้ในวันที่ 5 มิ.ย. ซึ่งรวมถึงนโยบายปรับลดอัตราดอกเบี้ย และนโยบายแบบเฉพาะเจาะจงที่ตั้งเป้าหมายไปยังการส่งเสริม การปล่อยกู้แก่บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) นอกจากนี้ อีซีบี อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงสู่ระดับติดลบเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ด้วย โดยการกระทำดังกล่าวจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์เป็นฝ่ายที่ต้องจ่ายเงินให้แก่อีซีบีเมื่อนำเงินมาฝากไว้ ซึ่งจะกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์นำเงินไปปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจมากยิ่งขึ้น
ก่อนหน้านักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอีซีบีจะผ่อนคลายนโยบายการเงินลงอีก เนื่องจากค่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นส่งผลให้อียูกังวลต่อปัญหาภาวะเงืนฝืดและการส่งออก ซึ่งหลังจากที่ประธานอีซีบี ออกมาส่งสัญญานที่ชัดเจนว่าเตรียมผ่อนคลายนโยบายการเงินทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง ราคาทองคำปรับตัวลง และตลาดหุ้นปรับสูงขึ้น เราคาดว่ามีโอกาสสูงที่ ECB จะตัดสินใจใช้วิธีลดดอกเบี้ย 10 bps ในทุก key interest rate อาทิ refinance rate ลดเหลือ 0.15% , Deposit rate ลดเป็น -0.10% (อัตราดอกเบี้ยที่แบงก์ ฝากที่ ธนาคารกลาง) และ marginal lending facility rate ลดลงเป็น 0.65% โดยการผ่อนคลายนโยบายการเงินของอีซีบีหรือการส่งสัญญานเพิ่มเติมจะส่งผลบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยงรวมถึงตลาดหุ้น
4.รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : จับตา EU CPI พค คาด 0.7%q-q, 1Q57 GDP คาด 0.2%q-q, ECB Meeting คาดลด 10 bp refinance rate and 10 bp cut ใน Deposit rate
อังคาร: USA คำสั่งซื้อโรงงาน เม.ย. คาด 0.5%m-m (vs 0.9%) EU อัตราว่างงาน เม.ย. 11.8% CPI พค คาด 0.7%y-y (Vs 0.7%) ผลประชุมธนาคารกลางออสเตรเลีย อินเดีย คาดคงดอกเบี้ยที่ 2.5% และ 8%
พุธ: USA การจ้างงานภาคเอกชน พ.ค. คาด +215k (Vs +220k) ISM non-mfg Index พ.ค. คาด 55.5 (Vs 55.2) รายงาน Fed Beige Book
พฤหัสบดี: ECB Meeting คาดลดดอกเบี้ยเหลือ 0.1% (Vs 0.25%) UK Meeting คาดคงดอกเบี้ย 0.5% Germany คำสั่งซื้อโรงงาน เม.ย. คาด +1.1%m-m (Vs -2.8%)
ศุกร์ : USA: การจ้างงานนอกภาคเกษตร พค คาด +218k(Vs +288k) อัตราว่างงาน 6.4% (Vs 6.3%) Germany ดุลการค้า เม.ย. คาด +$14พันล้านยูโร (Vs +16.4 พันล้านยูโร)
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
ดัชนี ผู้จัดการจัดซื้อจีน พ.ค. พุ่ง สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน รายงานว่าดัชนีผู้จัดการจัดซื้อเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 50.8 จาก 50.4 ในเดือน เม.ย. ตัวเลขดังกล่าว สูงกว่าการคาดหมายของตลาดที่ 50.6 ทั้งยังเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดกัน
พาณิชย์ไทยเผย CPI พ.ค. เพิ่ม 2.62%, Core CPI เพิ่ม 1.75% ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(CPI) ในเดือน พ.ค. อยู่ที่ 107.90 เพิ่มขึ้น 2.62% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ คาดไว้เพิ่มขึ้น 2.59% ขณะที่เมื่อเทียบเดือนก่อนหน้า เพิ่มขึ้น 0.40% ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน(Core CPI) ซึ่งไม่รวมหมวดอาหารสด และพลังงาน ใน พ.ค. อยู่ที่ 104.78 เพิ่มขึ้น 1.75% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.13% จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่นักวิเคราะห์คาดไว้เพิ่มขึ้น 1.70% เมื่อเทียบปีต่อปี
อินโดฯ ขาดดุลการค้าเกือบ 2 พันล้านดอลล์ ใน เม.ย. หลังเกินดุล 2 เดือน อินโดนีเซียมียอดขาดดุลการค้าอีกครั้งในเดือน เม.ย. หลังจากที่มียอดเกินดุลการค้า 2 เดือนติดต่อกัน ทั้งนี้ อินโดนีเซียมียอดขาดดุลการค้า 1.97 พันล้านดอลลาร์ ในเดือนเม.ย. เทียบกับ 670 ล้านดอลลาร์ ในเดือน มี.ค. ยอดส่งออกในเดือน เม.ย. ลดลง 3.16% สู่ระดับ 1.429 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่ยอดนำเข้าลดลง 1.26% สู่ระดับ 1.626 หมื่นล้านดอลลาร์
ผลสำรวจชี้ดัชนี PMI ภาคการผลิตอินเดียขยายมากขึ้นในเดือน พ.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเอชเอสบีซี ซึ่งรวบรวมข้อมูลโดยมาร์กิต เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 51.4 ในเดือน พ.ค. จากระดับ 51.3 ในเดือน เม.ย. แม้ข้อมูลดังกล่าวต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 51.6 ในผลสำรวจของรอยเตอร์ แต่ดัชนีที่เหนือระดับ 50 ก็บ่งชี้ถึงการขยายตัว
ผลสำรวจชี้ PMI ภาคการผลิตเยอรมนีขยายตัวเป็นเดือนที่ 11 ใน พ.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิตสำหรับภาค การผลิต ซึ่งมีสัดส่วนราว 1 ใน 5 ของเศรษฐกิจ ร่วงลงสู่ระดับ 52.3 ในเดือนพ.ค. จาก 54.1 ในเดือน เม.ย. แต่ยังคงยืน เหนือระดับ 50 ที่บ่งชี้ถึงการขยายตัวเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน แม้ลดลงจากข้อมูล PMI ขั้นต้นที่ 52.9
ผลสำรวจชี้ดัชนี PMI ภาคการผลิตยูโรโซนขยายตัวเป็นเดือนที่ 11 ใน พ.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิตสำหรับภาคการผลิต ขั้นสุดท้ายของยูโรโซน ร่วงลงสู่ระดับ 52.2 ในเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน จากระดับ 53.4 ในเดือน เม.ย. ขณะที่ข้อมูลที่แข็งแกร่งจากเยอรมนีไม่สามารถชดเชยภาคการผลิตของฝรั่งเศสที่หดตัวลงได้
ISM เผย PMI ภาคการผลิตเพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค. สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเพิ่มขึ้นสู่ 55.4 ในเดือน พ.ค. จาก 54.9 ในเดือน เม.ย. นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตจะอยู่ที่ 55.5 ในเดือน พ.ค.
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ DJIA, S&P 500 ยังคงเดินหน้าทำ New High
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงปิดขึ้นทำ New High ต่อเนื่อง โดยดัชนี DJIA ปิดเพิ่มขึ้น 26.46 จุดหรือ 0.16% สู่ระดับ 16,743.63 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดขึ้นเล็กน้อย 1.40 จุด หรือ 0.07% สู่ระดับ 1,924.97จุด และ Nasdaq ปิดร่วง 5.42 จุด หรือ -0.13% สู่ระดับ 4,237.20 จุด ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 16,756.64 ส่วนดัชนี S&P 500 ทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 1,925.88 ในวันจันทร์ และปิดตลาดในแดนบวกทั้งสองดัชนี หลังจากสถาบันจัดการอุปทาน (ISM) ปรับแก้ดัชนีกิจกรรมภาคโรงงานของสหรัฐให้สูงขึ้นจากเดิม
ISM รายงานว่า ดัชนีกิจกรรมภาคโรงงานพุ่งขึ้นสู่ 55.4 ในเดือน พ.ค. จาก 54.9 ในเดือน เม.ย. โดยตัวเลขเดือน พ.ค.ได้รับการปรับแก้จากตัวเลขเดิมที่ 53.2 เนื่องจากเกิดความผิดพลาดในการปรับตัวเลขตามปัจจัยด้านฤดูกาล
+/- ตลาดหุ้นยุโรป ปิดคละ ได้ข่าวดีจากภาคการผลิตจีน
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปเพิ่มขึ้น FTSE ปิดบวก 19.59 จุด หรือ 0.29% สู่ 6,864.10 จุด ดัชนี CAC40 ปิดย่อลง 3.68 จุด หรือ -0.08% สู่ 4,515.89 จุด และ DAX ปิดเพิ่มขึ้น 6.85 จุด หรือ 0.07% สู่ 9,950.12 จุด หุ้นกลุ่มเหมืองแร่พุ่งขึ้นทั่วยุโรป ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทริโอ ตินโต และบีเอชพี บิลลิตัน หลังจากมีรายงานระบุว่า กิจกรรมภาคโรงงานของจีนขยายตัวในเดือน พ.ค.ในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 5 เดือน
-ราคาน้ำมันดิบ ร่วงจากวิตกอุปทานล้น
วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ ก.ค. ย่อลง 0.58 ดอลลาร์ สู่ 108.83 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ ก.ค. ลดลง 0.24 ดอลลาร์ มาปิด ตลาดที่ 102.47 ดอลลาร์ต่อ บาร์เรล หลังนักลงทุนได้รับข้อมูลเศรษฐกิจไร้ทิศทาง มีทั้งบวกและลบ และมีสัญญาณว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหรือโอเปกจะเพิ่มขึ้น ผลสำรวจของรอยเตอร์ที่ออกมาในวันศุกร์ระบุว่า ปริมารการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 3 เดือนในเดือน พ.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากแองโกลาและจากภาคใต้ของอิรัก และปัจจัยนี้บดบังปัญหาด้านการส่งออกของลิเบีย ปริมาณอุปทานน้ำมันจากกลุ่มโอเปกอยู่ที่ 30.02 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน พ.ค. โดยปรับขึ้นจาก 29.68 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน เม.ย.
-ราคาทองคำ ปิดร่วง 5 วันติดต่อกันและต่ำสุดรอบ 4 เดือน
วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม ปิดตลาด ลดลง 1.60 ดอลล์ หรือ -0.13% สู่ 1,244 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วงลง 6.69 ดอลลาร์ สู่ 1,244 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยปรับลงเป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งถือเป็นการร่วงลงที่ยาวนานที่สุดในรอบ 7 เดือน ในขณะที่นักลงทุนยังคงเข้าลงทุนในตลาดหุ้น หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐขึ้นไปทำสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้ง
* ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดเท่าเดิม หลังลดลง 5 ในรอบ 6 วัน
วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index กลับมาปิดลดลง 19 จุด หรือ -1.95% เป็น 954 จุด หลังจากปี 56 พิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)
ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501
[email protected]
02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564
[email protected]
02-624-6270