WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

ลุ้น ดัชนีฯ สร้างสถิติสูงสุดใหม่
Highlight
      ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ ปรับขึ้น หลังจาก DJIA S&P500 ทำสถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และจีนรายงาน PMI mfg พ.ค. ดีกว่าคาด (50.8 Vs 50.4 และคาด 50.6) รอลุ้น ECB Meeting ผ่อนคลายการเงินรอบใหม่
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ : USA: ISM mfg พ.ค. คาด 55.5 (Vs 54.9) EU: PMI mfg พ.ค. คาด 52.5 ไทย เงินเฟ้อ พ.ค. คาด 2.5%y-y 0.3%m-m
      -วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติขายต่อ -2.17 พันลบ. (ขายสะสม 9 วัน รวม -3.31 หมื่นลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อ +495 ลบ. (ซื้อสะสม 14 วัน จาก 15 วันทำการ รวม +1.88 หมื่นลบ.)
     +การเมือง คสช. ประชุมแผนงานสัปดาห์นี้ เร่งหน่วยงานรัฐเดินหน้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
คาดดัชนีฯ สัปดาห์นี้ สร้างจุดสูงสุดใหม่ของปีนี้ 1428/1439 จุด แนวรับ 1400/1396 จุด แรงหนุนยังเป็นการซื้อต่อเนื่องของนักลงทุนในประเทศ หลัง
     ความเชื่อมั่นเริ่มฟื้น และความคาดหวังต่อโครงการภาครัฐขนาดใหญ่
      กลยุทธ์: แนะนำ Trading Buy กลุ่ม Laggard Play อาทิ รับเหมาฯ บ้านฯ นิคมฯ ท่องเที่ยว จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีกว่าคาด อาทิ SPALI QH LH AOT CPALL TK MC AMATA HEMRAJ AOT กลุ่มหลักทรัพย์ ASP MBKET และหุ้นที่มีลุ้นติด SET 100 Index (MEGA MAKRO SIM)

หุ้นในกระแส:
      หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 5.0%) ได้แก่ RASA CCP MDX CKP MACO THANI GUNKUL DEMCO TCMC VGI PAP TPOLY ERW หุ้นที่ลงกว่า 2.0% MBK HANA GRAMMY AH STEC BAFS DELTA PDI
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ BH+841 PTT+537 PTTEP+527 PTTGC+165 ด้านขาย SCB-278 BBL-225 TUF-199 SCC-180 BGH-166 IVL-131 KBANK-127
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ ITD139 PTT 96 DTAC 75

Market Outlook
      คาดดัชนีฯ อยู่ในทิศทางขาขึ้น คาดสร้างสถิติสูงสุดใหม่ปีนี้ ในสัปดาห์นี้ แนวต้าน 1428/1439 จุด แนวรับ 1400/1396 จุด ลุ้นข่าวดีความชัดเจนเรื่องโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ และ ECB ผ่อนคลายนโยบายการเงิน แนะนำ เก็งกำไร กลุ่ม Laggard Plays อาทิ รับเหมาฯ บ้านฯ นิคมฯ ท่องเที่ยว จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีกว่าคาด อาทิ SPALI QH LH AOT CPALL TK MC AMATA HEMRAJ AOT กลุ่มหลักทรัพย์ ASP MBKET และหุ้นที่มีลุ้นติด SET 100 Index (MEGA MAKRO SIM)
       คาดดัชนีฯ ยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น แนวต้าน 1428/1439 จุด แนวรับ 1400/1396 จุด โมเมนตัมบวกจาก การทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของ DJIA, S&P500 จากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีสัญญาณฟื้นตัวแบบ V shape recovery ตั้งแต่ 2Q57F เป็นต้นไป และจีน มีข่าวดีจาก PMI mfg พ.ค. ดีกว่าคาด (50.8 Vs เมย 50.4 จากคำสั่งซื้อใหม่ เพิ่ม) และเริ่มส่งสัญญาณลด RRR เมื่อสุดสัปดาห์ รวมถึง ECB meeting ปลายสัปดาห์นี้ มีโอกาสสูงที่จะออกมาตรการ Negative Deposit rate เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นครั้งแรก รวมถึง Upward Revision ต่อ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ (+กลุ่มรับเหมาฯ และวัสดุก่อสร้าง) และสัญญาณการเลือกตั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้นใน 12-15 เดือนข้างหน้า จะเป็นปัจจัยสนับสนุนตลาดหุ้นไทยสร้างสถิติสูงสุดใหม่ (เดิม 1423 จุด) ส่วนความเสี่ยงคือ วิตกผลกระทบจาก ค่าเงินบาทอ่อนค่าเร็วเกินไปอาจกระทบต่อตลาดหุ้นระยะสั้น
       กลยุทธ์: ระยะกลาง เราคงคำแนะนำระยะ 3-6 เดือน เลือกลงทุนกลุ่ม High Dividend Play (BTS INTUCH) และเลือกสะสมกลุ่มส่งออก อาหาร (CPF GFPT TUF) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ (HANA KCE) กลุ่มพาณิชย์ (CPALL) ส่วนรับเหมาฯ (ITD CK TTCL STEC) let profit run
      สำหรับเดือน มิ.ย.: แนะนำลงทุน BTS INTUCH (Dividend Play) GFPT TTCL (Global play) SPALI SCC CPALL (การบริโภคการลงทุนในประเทศ) M MEGA OFM (SET50/SET 100 reshuffle)
June Statistic : สถิติย้อนหลัง 10 ปี (ปี 47-56) พบว่ามีโอกาส 60% ที่ ดัชนีฯ เดือน มิ.ย. ปิดปรับขึ้น ด้วยอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย +0.07%m-m Max +6.61% (ปี 52) Min -7.05% (ปี 56) ขณะที่เดือน ก.ค. ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย +2.01%m-m ทั้งนี้ จากสถิติปี 49 หลังการทำรัฐประหาร 1 และ 2 เดือน พบว่า ดัชนีฯ ให้ผลตอบแทน +2.6% และ+3.4% ตามลำดับ
      Fund Flow: สถิติเดือน มิ.ย. ย้อนหลัง 10 ปี (ปี 47-56) พบว่า นักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิเฉลี่ย 10 ปี ย้อนหลัง -7.26 พันลบ. ก่อนกลับมาซื้อสุทธิเดือน ก.ค. +7.12 พันลบ.
Investment Theme: กลุ่มอิงนโยบายรัฐฯ เช่น รับเหมาฯ วัสดุฯ ฯลฯ กลุ่มอิงความเชื่อมั่นผู้บริโภค เช่น กลุ่มพาณิชย์ อาหาร ฯลฯ รวมถึงกลุ่มส่งออก (เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว+บาทอ่อน) ชิ้นส่วนอิเล็กฯ เกษตรส่งออก เป็นกลุ่มเด่นเดือนนี้

Event Plays:
     1) SET50/100 Index reshuffle: หุ้นที่คาดว่าจะเข้าคำนวน SET50 ในรอบนี้ ได้แก่ M MAKRO และSET100 ได้แก่ M MAKRO TVO BJCHI CKP EARTH SGP NOK NYT PSL MC MEGA OFM และ SIM โดยจากสถิติ หุ้นได้เข้าคำนวณดัชนี SET50 6 ครั้งหลังสุด (รอบ 2H54-1H57) ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย +3.2% และ +2.7% ในช่วง 1 เดือน และ 2 สัปดาห์ก่อนวันประกาศรายชื่อ แต่กลับมาให้ผลตอบแทนติดลบ -1.4% ในช่วง 2 สัปดาห์หลังประกาศรายชื่อ โดยปกติจะประกาศรายชื่อช่วงกลางเดือน มิ.ย.
       2) Window dressing จากสถิติ 8 ปีหลังสุด (49-56) ในไตรมาส 2 ดัชนี SET ให้ผลตอบแทนเป็นบวก +1.9% และ +0.9% ในช่วง 1 และ 2 สัปดาห์สุดท้ายก่อนสิ้นไตรมาส โดยกลุ่มที่ปรับขึ้นได้ดีได้แก่ กลุ่มธนาคาร (BBL KBANK BAY KTB SCB) กลุ่มสื่อสาร (JMART INTUCH ADVANC SIM THCOM) วัสดุ ก่อสร้าง (RCI GEL TCMC SCCC SCC) และอิเล็กทรอนิกส์ (TEAM DRACO DELTA EIC CCET)
        ปัจจัยในประเทศ ความเชื่อมั่นเริ่มฟื้น – สศค. เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ในเดือนเม.ย. และคาดจีดีพีไตราส 2/57 จะกลับมาบวกได้ที่ 1% หลังจากติดลบ -0.6% ในไตรมาสแรก เชื่อทั้งปีโตไม่ต่ำกว่า 2% แต่จะพยายามให้ถึง 3% สำหรับประเด็นระยะสั้นที่คาดส่งผลบวกตลาดหุ้นปรับขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์นี้เป็นเรื่องนโยบายโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐที่ทำให้มีการเก็งกำไรเข้ามาในหุ้น รับเหมาฯ วัสดุก่อสร้างและธนาคาร เนื่องจากคาดได้ผลประโยชน์โดยตรง และยังมีลุ้นเรื่องการยกเลิกเคอร์ฟิวในเมืองท่องเที่ยวซึ่งกำลังประเมินสถานการณ์อยู่ ทำให้คาดกลุ่มท่องเที่ยวใกล้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มนิคมที่จะได้ผลบวกหากเร่งอนุมัติ BOI ที่ค้างอยู่ถึง 7 แสนล้านบาท ส่วนกลุ่มที่ได้ผลประโยชน์ตามมาหลังประชาชนกลับมาใช้จ่ายได้แก่ ค้าปลีกและอสังหาฯ ที่ราคายังค่อนข้าง laggard มองเป็นโอกาสในการซื้อสะสม
      กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยรายชื่อ ประเทศที่มีการประกาศเตือนเกี่ยวกับสถานการณ์ ทางการเมืองภายในประเทศไทยแล้ว มี 62 ประเทศ ทั่วโลก โดย มี 19 ประเทศ ที่ประกาศให้หลีกเลี่ยงการเดินทางมายังประเทศไทย หากไม่จำเป็น ในระดับสีแดง หรือ avoid non-essential travel ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, สเปน, อิตาลี, ฟินแลนด์, รัสเซีย, กรีซ, ฮังการี, มอลตา, อิหร่าน, ฮ่องกง, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, สปป.ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, โครเอเชีย และไซปรัส
      -ค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง สัปดาห์ก่อนอ่อนค่า 0.74%w-w เป็น 32.81บาท/ดอลลาร์ จาก 32.57 บาท/ดอลล์ เป็นผลจาก การแข็งค่าของสกุล USD เงินทุนที่ยังไหลออกจากตลาดหุ้น และการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงช่วงสิ้นเดือน เราคาดว่าสัญญาณอ่อนค่าที่มีอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในประเทศ และอาจฉุดตลาดหุ้นไทยร่วงลง หากหลุด 33.00 บาท/ดอลลาร์ นำลงโดยกลุ่มพลังงาน (FX loss)
      +ปัจจัยต่างประเทศ บวกจากผลประชุม ECB – ECB Meeting: เราคาดว่า ผลประชุมอีซีบี ต้นเดือน มิ.ย. จะส่งผลบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะ Equities จากคำพูดล่าสุดของประธาน ECB ชี้ว่าคณะกรรมการของ ECB กำลังพิจารณาเรื่องดังกล่าวอยู่ โดยมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติม จะออกมาในการประชุมครั้งถัดไปเลย เราคาดว่าโอกาสสูงที่ ECB จะตัดสินใจใช้วิธีลดดอกเบี้ย 10 bps ในทุก key interest rate อาทิ refinance rate ลดเหลือ 0.15% , Deposit rate ลดเป็น -0.10% (อัตราดอกเบี้ยที่แบงก์ ฝากที่ธนาคารกลาง) และ marginal lending facility rate ลดลงเป็น 0.65% และคาดว่าจะมีการส่งสัญญาณเพิ่มสภาพคล่อง อาทิ LTRO programme ออกเดือนมิย หรืออาจส่งสัญญาณ การทำ QE เฉพาะตราสารหนี้ที่เชื่อมโยงกับ SME) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะเงินฝืด
ส่วนรายงานเศรษฐกิจสัปดาห์นี้คาดว่าจะเป็นบวกจากรายงานจ้างงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ อาทิ ISM mfg เดือน พ.ค. และ Fed Beige Book ฯลฯ โดยคาด 2Q57F GDP เติบโตอย่างน้อย 2.9%q-q หลังจาก 1Q57 GDP ครั้งที่สอง ออกมาต่ำกว่าคาด –1%q-q (Vs +0.1%) ลดลงจาก Inventory Investment ลดลงเป็น -1.6pp (Vs เดิม -0.6pp) ส่วนสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา จีนประกาศลด RRR สำหรับธนาคารฯ โดยปรับลดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ สินเชื่อที่ให้ภาคเกษตรหรือ small SMEs (สะท้อน 3-4Q57F GDP จีน ดีขึ้นเป็น 7.4-7.5%y-y (Vs คาด 7.1% ใน 2Q57F)
ทางเทคนิค ระยะสัปดาห์ยังคงเป็นสัญญาณขาขึ้น โดยตลาดมีโอกาสปรับสูงขึ้นทดสอบแนวต้านของ Fibonanci กรอบ 1386-1470 จุด โดยมีแนวต้านต่อไปที่ 1428 จุด(50%) 1439 จุด (61.8%) และ 1470 จุด ตามลำดับ ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1400/1392 จุด

สัปดาห์ที่ผ่านมา :
      +ตลาดหุ้นโลก: มุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวในช่วง 2Q-4Q57F โดยเฉพาะสหรัฐฯ หลังดิ่งลงแรงใน 1Q57 (GDP เหลือ -1%q-q จากครั้งแรก +0.1%) จากรายงานเศรษฐกิจที่ดีขึ้นต่อเนื่องในเดือนเมษายน-พฤษภาคม รวมถึงการคาดการณ์ ECB Meeting จะออกมาตรการผ่อนคลายการเงินรอบใหม่ วันที่ 5 มิย. นี้ ช่วยหนุนตลาดหุ้นโลกพุ่งขึ้นสูงสุดสัปดาห์นี้ นำโดย DAX +1.79%w-w Nasdaq +1.36%q-q ขณะที่ DJIA S&P 500 ทำสถิติปิดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ ขณะที่ตลาดหุ้นไทย SET+1.35%w-w ดีสุดในเอเชียฯ หลังจากแรงซื้อในประเทศ ปรับสูงขึ้นรับข่าวดีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของ ศสช.
       -ตลาดโภคภัณฑ์: ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง 0.93-1.58%w-w จากแรงขายทำกำไร หลังสถานการณ์ยูเครน รัสเซีย เริ่มผ่อนคลาย ขณะที่ราคาทองคำดิ่งลงแรงสุดรายสัปดาห์ปรับขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์ก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากปริมาณสต๊อคน้ำมันดิบที่ลดลง และประเด็นลิเบีย ซีเรีย ขณะที่ราคาทองคำ -3.57%w-w ซึ่งเป็นการลดลงรายสัปดาห์ สูงสุดเป็นอันดับ 2 ของปีนี้ จากการขายทำกำไร หลังรายงานเศรษฐกิจของ DM ออกมาดีกว่าคาด
      -ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน บาทอ่อนจากดอลล์แข็ง : สกุล USD สัปดาห์ก่อนยังคงแข็งค่าต่อเนื่องเทียบตะกร้าสกุลหลัก จากแรงขายสกุล EUR, CHF โดยแรงขายสกุล EUR ในสัปดาห์ก่อน เพิ่มขึ้นอีก -$1.3bn. (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า -$2.1bn.) เป็นสะสมสุทธิ -$2.8bn. เช่นเดียวกันกับสกุล CHF มีแรงขายสุทธิ -$1.6bn. เป็นสะสมสุทธิ -$0.9bn. ซึ่งเป็นระดับ Short สูงสุดนับตั้งแต่ ก.ค. 56 เป็นต้นมาของทั้ง 2 สกุล เพราะคาดการณ์ว่า ECB จะออกมาตรการผ่อนคลายการเงินครั้งใหม่ในการประชุมครั้งหน้า ส่งผลให้สกุล USD มี Net Long สัปดาห์ก่อนประมาณ +$2.5bn. เป็นสะสม Long +$2.7bn. ซึ่งเป็นระดับ Long สูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.
       ส่วนค่าเงินบาท/USD อ่อนค่า 0.74%w-w สูงสุดในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก 1.การแข็งค่าของเงินดอลล์สหรัฐฯ เทียบตะกร้าสกุลหลัก 2.การทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงปลายเดือนของผู้ส่งออก-นำเข้า และ 3.กระแสเงินทุนไหลออกจากต่างชาติ โดยแนวต้านต่อไปอยู่ที่ 33/33.05 บาท/USD :ซึ่งเคยเป็นแนวต้านสำคัญในช่วงต้นเดือนมค. ที่ผ่านมา (ผลกระทบจาก FX อ่อนค่า คาดว่าจะเป็นลบต่อหุ้นกลุ่มพลังงานโรงกลั่น และกลุ่มที่มีหนี้สกุล USD สูง แต่จะเป็นบวกต่อกลุ่มส่งออก ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ เกษตรอาหารส่งออก)
       +/-ดัชนีรายอุตสาหกรรม: แรงขายหุ้นบลูชิพขนาดใหญ่ หลังเกิดการรัฐประหาร ยังคงเป็นปัจจัยฉุดอุตสาหกรรมที่มีขนาด Market Cap ใหญ่สุด ได้แก่ พลังงาน -1.64%w-w ICT -0.96%w-w ส่วนโมเมนตั้มบวก จากคาดว่าจะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ในสัปดาห์หน้า ส่งผลบวกต่อ กลุ่มพาณิชย์ +6.04%w-w อสังหาฯ +3.47%w-w ขนส่ง +2.67%w-w วัสดุก่อสร้าง +2.57%w-w

      Recommendation : แนะนำ หลักทรัพย์ที่มีปันผลสูงกว่า4% รายได้มั่นคง BTS INTUCH ADVANC TTW BECL
ตลาดหลักทรัพย์ฯ รายงานระหว่างสัปดาห์ 26-30 พ.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -1.30 หมื่นล้านบาท และนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ +3.51 พันล้านบาท ส่งผลทั้งเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -3.57 หมื่นลบ. นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อ +1.8 หมื่นลบ. พอร์ตโบรกเกอร์ ซื้อ+1.64 พันลบ. และ YTD นักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ -4.067 หมื่นลบ. นักลงทุนสถาบันในประเทศ +3.509 หมื่นลบพอร์ตโบรกเกอร์ +4.6 พันลบ.
สัปดาห์ที่ผ่านมา 22-28 พ.ค. เอเชียฯ มีแรงซื้อ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ อินเดีย ไต้หวัน อินโดฯลดลงอย่างมีนัย

       สำหรับ 6 ชาติในเอชียไม่รวมญี่ปุ่น พบว่า มีแรงซื้อสุทธิลดลงเหลือเพียง +$843mn. Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +$2.9bn. และ+$1.46bn.) โดยไหลเข้ามากใน ไต้หวัน +$694 mn. (Vs +301mn.) เกาหลีใต้ +$597mn.(Vs+$1.4bn.) ขณะที่อินเดีย ลดลงเหลือเพียง +$19mn. (Vs +$1.0bn.) จากแรงขายทำกำไรหลังสิ้นสุดวันเลือกตั้ง 16 พ.ค. โดยที่ ไทย มีแรงขายสุทธิสูงสุด เพิ่มขึ้นเป็น -$538mn. (Vs สัปดาห์ก่อน -$379mn.) ส่งผล MTD แย่สุดรอบ 5 เดือน ที่ -$1bn. (หรือ -1.2% ของ MSCI Thailand Market Cap) โดยมาจากแรงไถ่ถอนในกองทุนไทยฟันด์ แต่เงินทุนที่ไหลเข้ากองทุน GEM ที่เพิ่มขึ้น และสัดส่วนการลงทุนในไทยที่เพิ่มขึ้นเป็น 2.83% จากเดิม 2.62% หนุนให้เงินที่ไหลออกจากไทยไม่มากนัก
      กองทุนไทยยังถูกไถ่ถอนต่อเนื่อง โดยบางประเทศในเอเชียเริ่มมีแรงซื้อกลับ เช่น อินเดีย และญี่ปุ่น
กองทุนไทยถูกไถ่ถอนต่ออีก -$23mn จากสัปดาห์ก่อนที่ -$31mn ส่งผลยอดสะสมต่ำสุดนับตั้งแต่เก็บข้อมูลต้นปี 2013 ที่ -$160mn ส่วนกองทุนอื่นในภูมิภาคเอเชียมีแรงซื้อกลับในบางกองทุนเช่น อินเดีย (+$130mn) ญี่ปุ่น (+$74mn) และเกาหลี (+$7mn) แต่โดยรวมยังถือว่าเบาบาง ส่วนกองทุนที่แรงขายมากสุดได้แก่จีนที่ -$235mn
ต่างชาติขายหุ้นไทยที่ซื้อมาในปีนี้ จนหมดแล้ว
       การคำนวณของ KTZmico จากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยในปีนี้ (ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.2014) พบว่า ในช่วงสัปดาห์ก่อนที่มีแรงเทขายจากนักลงทุนต่างชาติอย่างหนักทำให้หุ้นที่ซื้อมาในปีนี้ถูกขายจนหมดแล้ว ขณะที่หากนับการซื้อสะสมตั้งแต่ปี 2009 ยังมียอดสะสมอยู่อีกประมาณ 4.2 หมื่นล้านบาท ที่ต้นทุนเฉลี่ย 1,225 จุด

ประเด็นจับตา
-1. ประเด็นการเมือง: จับตานโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการรัฐขนาดใหญ่
ประเด็นการเมือง (Update):
คลังปรับแผนประมูลเงินกู้จำนำข้าว 5 หมื่นลบ.,เปิดประมูลรอบเดียว 3 มิ.ย. กระทรวงการคลัง ปรับแผนการประมูลเงินกู้วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท เพื่อ นำมาจ่ายค่าจำนำข้าวที่ค้างจ่ายให้แก่ชาวนา โดยเปลี่ยนจากเดิมที่จะแบ่งการประมูล เป็น 2 ครั้ง ให้เหลือเพียงครั้งเดียวในวันที่ 3 มิ.ย. และสบน. จะหารือกับสถาบันการเงินที่เข้าประมูล เพื่อให้รวมการส่งมอบเงินกู้ทั้งจำนวน ในวันที่ 6 มิ.ย. เพียงวันเดียว หลังการจ่ายเงินให้แก่ชาวนาในขณะนี้ ทำได้เร็วกว่าที่คาดไว้
กอ.รมน.ตั้งศูนย์ปรองดองฯ-เสนอคสข. 2มิ.ย.,หวังปรับแนวคิด-ไม่เกี่ยวนิรโทษกรรม คสช.ได้มอบหมายให้กอ.รมน.รับผิดชอบจัดตั้งศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป(ศปป.) เพื่อสร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติและ ทุกกลุ่มการเมือง และนำไปสู่การปฏิรูปในเรื่องต่างๆ ขณะที่คาดว่า จะนำเสนอรูปแบบและโครงสร้างของศูนย์แห่งนี้ต่อที่ประชุม คสช.ได้ในวันที่ 2 มิ.ย.นี้ โดยศูนย์นี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรม

      2. Fund flow: เงินทุนยังคงไหลเข้ากองทุน Bonds > Equities และแรงซื้อ GEM ลดลง
Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา (22-28 พ.ค. 57) เงินทุนไหลเข้า Bonds ต่อเนื่อง และกลับมาไหลเข้า Equities Fund
สัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินทุนโลกยังคงไหลเข้าตลาดพันธบัตร อีก +$6.3bn. (Vs สัปดาห์ก่อน +$6.6bn.สะสม YTD +$91.3bn.) แต่กลับมาซื้อ Equities Fund +$1bn. (Vs สัปดาห์ก่อน -$7bn และ $11bn. สะสม YTD +$47bn.). โดยกองทุนยุโรปมีแรงขายออกมาครั้งแรกในรอบ 48 สัปดาห์เล็กน้อยที่ -$184mn (หลังจากซื้อติดต่อกัน 47 สัปดาห์รวม +$90.7bn) ส่วนกองทุนอเมริกา ขายต่อเนื่องอีก -$232mn (จากสัปดาห์ก่อนที่ -$11.1bn)
ส่วนตลาดเกิดใหม่ (GEM) มีแรงซื้อสุทธิเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 8 ในรอบ 9 สัปดาห์ สะสม +$12.7bn. โดยสัปดาห์ก่อน แรงซื้อลดลงเหลือ +$0.8bn. (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +$1.5bn.) ทั้งนี้ แรงซื้อหน่วยลงทุน Global Emerging Market Funds ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 แต่ด้วยปริมาณลดลงเหลือ +$502mn.(Vs +$998mn. และ +$458mn. ตามลำดับ)
กองทุนไทยยังถูกขายเป็นสัปดาห์ที่ 8 ด้วยการสะสมสุทธิต่ำสุดนับตั้งแต่เก็บข้อมูลต้นปี 2556 กองทุนไทยถูกไถ่ถอนต่ออีก -$23mn จากสัปดาห์ก่อนที่ -$31mn ส่งผลยอดสะสมต่ำสุดนับตั้งแต่เก็บข้อมูลต้นปี 2013 ที่ -$160mn (รูปที่ 6) ส่วนกองทุนอื่นในภูมิภาคเอเชียมีแรงซื้อกลับในบางกองทุนเช่น อินเดีย (+$130mn) ญี่ปุ่น (+$74mn) และเกาหลี (+$7mn)

ต่างชาติขายหุ้นไทยที่ซื้อมาในปีนี้จนหมดแล้ว
      การคำนวณของ KTZmico จากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยในปีนี้ (ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.2014) พบว่า ในช่วงสัปดาห์ก่อนที่มีแรงเทขายจากนักลงทุนต่างชาติอย่างหนักทำให้หุ้นที่ซื้อมาในปีนี้ถูกขายจนหมดแล้ว ขณะที่หากนับการซื้อสะสมตั้งแต่ปี 2009 ยังมียอดสะสมอยู่อีกประมาณ 4.2 หมื่นล้านบาท ที่ต้นทุนเฉลี่ย 1,225 จุด

      3.รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : จับตา EU CPI พ.ค. คาด 0.7%q-q, 1Q57 GDP คาด 0.2%q-q, ECB Meeting คาดลด 10 bp refinance rate and 10 bp cut ใน Deposit rate
จันทร์: USA: ISM mfg พ.ค. คาด 55.5 (Vs 54.9) EU: PMI mfg พ.ค. คาด 52.5 ไทย เงินเฟ้อพ.ค.คาด 2.5%y-y 0.3%m-m
      อังคาร: USA คำสั่งซื้อโรงงาน เม.ย. คาด 0.5%m-m (vs 0.9%) EU อัตราว่างงาน เม.ย. 11.8% CPI พ.ค. คาด 0.7%y-y (Vs 0.7%) ผลประชุมธนาคารกลางออสเตรเลีย อินเดีย คาดคงดอกเบี้ยที่ 2.5% และ 8%
พุธ: USA การจ้างงานภาคเอกชน พ.ค. คาด +215k (Vs +220k) ISM non-mfg Index พ.ค. คาด 55.5 (Vs 55.2) รายงาน Fed Beige Book
     พฤหัสบดี: ECB Meeting คาดลดดอกเบี้ยเหลือ 0.1% (Vs 0.25%) UK Meeting คาดคงดอกเบี้ย 0.5% Germany คำสั่งซื้อโรงงาน เม.ย. คาด +1.1%m-m (Vs -2.8%)
ศุกร์ : USA: การจ้างงานนอกภาคเกษตร พ.ค. คาด +218k(Vs +288k) อัตราว่างงาน 6.4% (Vs 6.3%) Germany ดุลการค้า เมย คาด +$14พันล้านยูโร (Vs +16.4 พันล้านยูโร)

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
     ญี่ปุ่น เผยดัชนี CPI พุ่งสูงสุดรอบ 23 ปีใน เม.ย. หลังขึ้น VAT รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานพุ่งขึ้น 3.2% ในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบรายปี โดยดีดตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 1991 เนื่องจากการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทั่วประเทศของญี่ปุ่นทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยรวม ส่วนดัชนี CPI ประเภท core-core ของญี่ปุ่น ซึ่งไม่รวมหมวดอาหารและพลังงาน และสอดคล้องกับดัชนี CPI พื้นฐานของสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.3% ในเดือน เม.ย. จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.1997
       ธปท. เผยดัชนีเชื่อมั่นทางธุรกิจ เม.ย.ที่ 44.3 ลดลงจาก มี.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ในเดือน เม.ย.ที่ 44.3 ลดลงจาก 49.4 ในเดือน มี.ค. โดยดัชนีฯ ยังคงต่ำกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งสำรวจในเดือนเม.ย. อยู่ที่ 52.2 จาก 50.7 ที่สำรวจเมื่อเดือน มี.ค.
เยอรมนี เผยยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.พุ่งสูงสุดรอบ 2 ปี สำนักงานสถิติของเยอรมนีเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกประจำเดือน เม.ย. พุ่งขึ้นในอัตราสูงที่สุดในรอบ 2 ปี ขณะที่เทศกาลอีสเตอร์ปีนี้ช้ากว่าในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 3.4% ในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.2012 ขณะที่เมื่อเทียบรายเดือน ยอดค้าปลีกลดลง 0.9%
อังกฤษ เผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคพุ่งสูงสุดรอบกว่า 9 ปีในเดือน พ.ค. บริษัท GfK เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคพุ่งขึ้นสู่ระดับ 0 ในเดือน พ.ค. จาก -3 ในเดือน เม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2005 และดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ -2

 

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ DJIA, S&P 500 ทำ New High
        วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดทำสถิติสูงสุดใหม่ โดยดัชนี DJIA ปิดทำ New high เพิ่มขึ้น 18.43 จุดหรือ 0.11% สู่ระดับ 16,717.17 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดทำ New High สูงขึ้น 3.54 จุดหรือ 0.18% สู่ระดับ 1,923.57 จุด และ Nasdaq ปิดร่วง 5.32 จุด หรือ -0.13% สู่ระดับ 4,242.61 จุด ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐ ขยับขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ และปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ นอกจากนี้ ดัชนียังปิดตลาดเดือน พ.ค.ในแดนบวกเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ในขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจที่ไร้ทิศทางส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นไม่มากนักในวันศุกร์ ดัชนี S&P 500 ขึ้นไปทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 1,924.03 ในระหว่างวัน และดัชนีปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุดเป็นวันที่ 4 ในรอบ 5 วันทำการ อย่างไรก็ดี เป็นเรื่องยากที่ดัชนีจะพุ่งขึ้นได้อีก จนกว่าทิศทางของตลาดจะมีความชัดเจนมากกว่านี้ โดยในสัปดาห์หน้านักลงทุนจะจับตาดูการประชุมกำ หนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในวันที่ 5 มิ.ย. และจับตาดูตัวเลขจ้างงานประจำเดือน พ.ค. ของสหรัฐ
       ปริมาณการจับจายใช้สอยของผู้บริโภคสหรัฐลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี ในเดือนเม.ย. แต่นักลงทุนยังคงคาดการณ์ตามเดิมว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะพุ่งขึ้นในไตรมาสนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ลดลง 0.1 % ในเดือน เม.ย. หลังจากพุ่งขึ้น 1.0 % ในเดือน มี.ค. ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2009
       มาตรวัดอัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว โดยรายงานการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคระบุว่า ราคาปรับขึ้น 0.2 % ในเดือน เม.ย. และส่งผลให้ราคาพุ่งขึ้น 1.6 % เมื่อเทียบปีต่อปี ซึ่งถือเป็นอัตราที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2012
กิจกรรมทางธุรกิจในภูมิภาคมิดเวสท์ของสหรัฐทะยานขึ้นในเดือน พ.ค. ในอัตราที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2013 โดยสถาบันจัดการอุปทาน (ISM) เขตชิคาโกรายงานว่า ดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจพุ่งขึ้น 2.5 จุด สู่ 65.5 ในเดือน พ.ค

+/- ตลาดหุ้นยุโรป ปิดไร้ทิศทาง รอลุ้น ECB Meeting
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปปิดคละ FTSE ปิดลดลง 26.78 จุด หรือ -0.39% สู่ 6,844.51 จุด ดัชนี CAC40 ปิดลดลง 10.94 จุด หรือ -0.24% สู่ 4,519.57 จุด และ DAX ปิดเพิ่มขึ้น 4.37 จุด หรือ 0.04% สู่ 9,943.27 จุด ดัชนีสำคัญๆในตลาดยุโรป ปิดไร้ทิศทาง ขณะนักลงทุน รอดูผลการประชุมของธนาคารกลางยุโรปสัปดาห์หน้า ว่าจะมีมาตรการต่างๆเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของกลุ่มชาติสมาชิกในยูโรโซนหรือไม่ ขณะที่ หุ้นธนาคารโซซิเอเต เจนเนอราล ร่วงลง 2.1% หลังจากที่หนังสือพิมพ์เลส์ เอโคส์ รายงานว่า สาขาของธนาคารในรัสเซีย ทำ กำ ไรไตรมาสแรกลดลง ส่วนหุ้นบีเอ็นพี พาริบาส์ ร่วง 2.9% เนื่องจากมีข่าวว่า ทางการสหรัฐ กำลังหาทางลงโทษธนาคาร เนื่องมาจากข้อกล่าวหาเรื่องการทำข้อตกลง กับประเทศที่ถูกคว่ำบาตร ขณะที่หุ้นบริษัทริโอ ทินโต ปรับตัวลง

-ราคาน้ำมันดิบ ร่วงจากแรงขายทำกำไร
     วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ ก.ค. ย่อลง 0.56 ดอลลาร์ สู่ 109.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยมีข่าวบวกคือวิตกอุปทาน จากข่าวการต่อสู้ในยูเครนตะวันออก และรัสเซีย ขู่จะตัดอุปทาน หากไม่สามารถดีลเรื่องการชำระหนี้ภายในวันที่ 3 มิย ส่วน Nymex ส่งมอบ ก.ค. ลดลง 0.87 ดอลลาร์ มาปิด ตลาดที่ 102.71 ดอลลาร์ต่อ บาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำ กำ ไรหลังจากสัญญาน้ำ มันดิบพุ่งขึ้นเมื่อวันก่อน นอกจากนี้ การชะลอตัวลงของตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคสหรัฐยังส่งผลให้บรรยากาศการซื้อขายในตลาดซบเซาลงด้วย

-ราคาทองคำ ปิดแตะระดับต่ำสุดรอบ 16 สัปดาห์
       วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือนมิถุนายน ปิดตลาด ร่วงอีก 10.70 ดอลล์ หรือ -0.85% สู่ 1,245.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และดิ่งลงรายสัปดาห์สูงสุดรอบ 2 เดือน -3.57%w-w หลังจากตลาดได้รับข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีเกินคาด และอุปสงค์ที่แท้จริงของทองคำในจีน มีแนวโน้มลดลง

- ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดลดลงเป็นวันที่ 3
     วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดลดลงอีก 6 จุด หรือ – 0.64% เป็น 934 จุด หลังจาก ปี 56 พิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก(แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)
ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 [email protected] 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 [email protected] 02-624-6270

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!