- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 02 June 2014 14:41
- Hits: 2834
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ต่างชาติยังขายหุ้นไทยหนักกว่าคาด เชื่อยังกดดัน SET ซึ่งปัจจุบันมี Expected P/E 14.45 เท่า แนะนำหุ้น Laggard มี P/E ต่ำและเงินปันผล ภายใต้เศรษฐกิจชะลอตัว เลือก TISCO([email protected]) เป็น Top pick โดยยังชื่นชอบ SCC(FV@B 520) และ BTS(FV@B 11.2) เช่นเดิม
เงินทุนไหลเข้าภูมิภาคเริ่มชะลอ ขณะที่ไทยถูกขายต่อเนื่อง
วันศุกร์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคอีกครั้ง แต่เบาบางราว 74 ล้านเหรียญฯ (หลังจากที่ซื้อสุทธิติดต่อกัน 2 วันก่อนหน้า) โดยที่ยังขายสุทธิไทยสูงสุด และติดต่อกันเป็นวันที่ 9 ราว 66 ล้านเหรียญฯ และเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 8% ตามมาด้วยอินโดนีเซียที่สลับมาขายสุทธิราว 55 ล้านเหรียญฯ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 4 วันก่อนหน้า) สวนทางกับประเทศที่เหลือ ยังคงซื้อสุทธิ แต่เบาบาง คือ เกาหลีใต้ ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 13 แต่ลดลงถึง 71% เหลือ ราว 22 ล้านเหรียญฯ และไต้หวัน ที่ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7 แต่ลดลง 90% เหลือราว 14 ล้านเหรียญฯ และสุดท้ายคือฟิลิปปินส์ที่ซื้อสุทธิราว 11 ล้านเหรียญฯ (ใกล้เคียงกับวันก่อนหน้า)
นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นไทยติดต่อกัน 9 วัน รวมกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท ในทิศทางเดียวกับตลาดตราสารหนี้ที่ยังคงถูกเทขายเป็นวันที่ 6 ราว 4.1 พันล้านบาท รวม 6 วันขายสุทธิ 1.9 หมื่นล้านบาท กดดันค่าเงินบาทไทยอ่อนค่าต่อเนื่องใกล้แตะระดับ 32.85 บาทต่อเหรียญฯ ในขณะที่กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคเริ่มชะลอตัวลงอีกครั้ง ทำให้เชื่อว่าต่างชาติจะยังคงขายสุทธิหุ้นไทยต่อไปในระยะสั้นเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมือง และลดปัญหาขาดทุนทางอัตราแลกเปลี่ยน
คสช. ประเมินว่าจะใช้ 2-3 เดือน ก่อนตั้งรัฐบาลใหม่
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แถลงถึงยุทธศาสตร์การบริการประเทศหลังจากนี้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 เป็นช่วงที่ คสช. ควบคุมอำนาจการบริหาร จะให้ความสำคัญกับการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ รวมถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการปฎิรูประเทศ โดยในระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 เดือน
ระยะที่ 2 เป็นการบริหารประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงาน ซึ่งในระยะนี้จะมีการจัดตั้ง สภานิติบัญญัติ, สภาปฎิรูป และ รัฐบาล ขึ้นมาทำหน้าที่ ซึ่งประเมินว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี หรือมากน้อยกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โดยเมื่อมีความปรองดองสมานฉันท์ ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3
ระยะที่ 3 จัดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ โดยจะมีกฎระเบียบกติกาต่างๆ ที่น่าจะเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย
จากกรอบเวลาดังกล่าว เห็นได้ว่าช่วงระยะเวลาก่อนที่จะได้มาซึ่งรัฐบาลเพื่อเข้ามาบริหารหน้าที่ต่อ อาจจะยาวนานกว่าที่คาด เมื่อเทียบกับการทำรัฐประหารครั้งที่ผ่านมา 19 ก.ย.2549 ซึ่งในครั้งนั้นใช้เวลาเพียง 11 วัน หลังรัฐประหาร ก็ได้มาซึ่งรัฐบาลในการบริหารประเทศ อย่างไรก็ตามถือเป็นความจำเป็นที่ต้องใช้ระยะเวลามากขึ้นเพราะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในประเทศที่เกิดขึ้นมายาวนานนับจากปี 2548 เป็นต้นมา และ ภาวะที่ต่างชาติยังขายหุ้นไทย ทำให้เม็ดเงินที่จะขับเคลื่อนตลาดหุ้นไทยจากนี้ไป จะมาจากนักลงทุนในประเทศ ซึ่งอาจจะไม่มีน้ำหนักมากนักในการผลักดัน SET Index เนื่องจากการลงทุนของนักลงทุนไทยน่าจะกระจุกตัวอยู่กับหุ้นที่มี Market Cap ขนาด กลาง - เล็กมาก กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นหุ้นที่ปรับตัวขึ้นช้า (Laggard) กว่าหุ้นตัวอื่นในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน
แผนกระตุ้นเศรษฐกิจยุโรปและจีน อาจจะมีส่วนหนุนตลาดหุ้นเอเซียบ้าง
แม้ความหวังต่อแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจโลกจากฝั่งประเทศพัฒนาแล้วจะลดลง หลังจากที่คาดว่าสหรัฐจะตัดลด QE จนหมดภายในปีนี้ และขึ้นดอกเบี้ยในปี 2558 และล่าสุดญี่ปุ่น รายเงินเฟ้อเดือน เม.ย. ที่สูงมากถึง 3.4%yoy เทียบกับ 1.6% เดือน พ.ค. และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 23 ปี (สูงกว่าเป้าหมาย BoJ ที่ 2%) ทำให้ความคาดหวังว่า BOJ จะมีแผนจะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน QE เพิ่มเติม (เพราะปัจจุบันใช้เม็ดเงินเพียงปีละ 60-70 ล้านล้านเยน จากเป้าหมาย 101 ล้านล้านเยน) ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ยากขึ้น แต่อาจจะมุ่งไปที่การปรับลดอัตราภาษีบริษัท ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ 35.6% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้วที่ 25%
ยกเว้นสหภาพยุโรป ที่อาจจะเห็นแผนกระตุ้นชัดเจนขึ้น เพราะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงในหลายประเทศ สะท้อนจาก อัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย. ยังอยู่ในระดับ 0.7% ต่ำกว่าเป้าหมาย 2% และอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับสูง 11.8% ซึ่งจากการสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์จากบลูมเบิร์ก 44 ราย คาดว่า ECB จะลดดอกเบี้ยนโยบายลงต่ำกว่า 0% จากที่ระดับ 0.25% (นักเศรษฐศาสตร์ 32 รายคาดว่าดอกเบี้ยเงินฝากจะลดลงมาที่ระดับ -0.1% ขณะที่อีก 12 ราย คาดว่าจะอยู่ที่ -0.15%) คงต้องติดตามความชัดเจนจากการประชุม ECB ในวันที่ 5 มิ.ย. ขณะที่บางประเทศได้ทำการกระตุ้นเศรษฐกิจในไปบ้างแล้วคือ
ธนาคารกลางอิตาลี เตรียมเพิ่มสภาพคล่องในระบบ โดยการขยายเพดานกู้ยืมให้สถาบันการเงินสามารถทำการรีไฟแนนซ์ได้เพิ่มมากขึ้น เพื่อปล่อยเงินกู้ให้กับบริษัทและครัวเรือนเพิ่มขึ้น เพราะล่าสุด เดือน เม.ย. ยอดปล่อยสินเชื่ออิตาลีติดลบ 3.1% เทียบกับ สหภาพยุโรป ขยายตัว 0.2%yoy
และธนาคารกลางสเปน ด้วยตระหนักถึงปัญหาอัตราการว่างงานที่อยู่มากแห่งหนึ่งในสหภาพยุโรปคือ สูงถึง 26% จึงเตรียมเพิ่มปริมาณเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ด้วยวงเงิน 6.3 พันล้านยูโร (8.6 พันล้านเหรียญฯ) พร้อมจะ จะลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 25% จากเดิม 30% หลังจากเศรษฐกิจในงวด 1Q57 ขยายตัวต่ำได้ 0.5%yoy แม้ฟื้นตัวจาก ติดลบ 0.2%yoy งวดก่อนหน้า นับว่าสอดคล้องกับก่อนหน้านี้ S&P ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือ 1 ระดับ ที่ระดับ BBB
และเช่นเดียวกับจีนความกังวลต่อเศรษฐกิจชะลอตัวกว่าคาดไว้ที่ 7.5% (ธนาคารกลางจีน และ IMF คาด) แม้ล่าสุด ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจภาคการผลิต คือ PMI (ดัชนีคำสั่งซื้อของผู้จัดการโรงงาน) เดือน พ.ค. 2557 กระเตื้องขึ้นมาเล็กน้อยอยู่ที่ 50.8 เทียบกับ 50.4 ในเดือนก่อนหน้า นับว่าเป็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป และ ต่อเนื่องเป็นเดือน ที่ 3 จากทำระดับต่ำสุดที่ 50.2 จุดเมื่อเดือน ก.พ. 2557 ทำให้ธนาคารจีนเตรียมแผนที่จะปรับลดอัตราการดำรงเงินสดสำรอง (RRR) ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไป หลังจากก่อนหน้านี้ได้ปรับลด RRR ลงราว 2% ให้แก่ ธนาคารพาณิชย์ในชนบท และลดลง 0.5% แก่ธนาคารสหกรณ์ในชนบท (มีผลตั้งแต่ 25 เม.ย. 2557) เนื่องจากต้องการสนับสนุนอุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมต่อเนื่องในชนบท ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ซึ่งถือเป็นประเด็นบวกที่รออยู่ข้างหน้า และอาจจะช่วยหนุนตลาดหุ้นจีนให้ฟื้นตัวต่อเนื่องได้
สต๊อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานน้ำมันดิบคงคลังเพิ่มขึ้นถึง 1.66 ล้านบาร์เรลจากสัปดาห์ก่อนหน้า แตะระดับ 393.0 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเพิ่มเพียง 5 แสนบาร์เรล ขณะที่น้ำมันที่ท่าส่งเมือง Cushing ลดลงต่อเนื่องอีกราว 1.53 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 21.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งต่ำสุดตั้งแต่ พ.ย. 2551 ในส่วนของสต๊อกน้ำมันเบนซินลดลง 1.8 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 211.6 ล้านบาร์เรล เนื่องจากผลของพายุทอนาโดทำให้ต้องปิดโรงกลั่นใน Louisiana บวกกับความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นอีก 1.55 แสนบาร์เรลต่อวัน ขึ้นสู่ 9.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากการเข้าสู่ฤดูกาลขับขี่ ในส่วนของน้ำมันดีเซล และ เชื้อเพลิงอื่น ๆ (heating oil) ลดลง 1.96 แสนบาร์เรล มาอยู่ที่ 116.1 ล้านบาร์เรล
โดยภาพรวมทำให้ราคาน้ำมันในตลาดล่วงหน้า WTI ส่งมอบเดือน ก.ค. ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 103.45 เหรียญฯต่อบาร์เรล และ ราคาน้ำมันดูไบอ่อนตัวลงมาแตะระดับ 105.3 เหรียญฯต่อบาร์เรล แต่เป็นระดับที่สูงกว่าคาดเฉลี่ยที่ 100 เหรีญฯ ต่อบาร์เรล ที่ ASP กำหนดไว้ในประมาณการปี 2557 จึงยังคงแนะนำซื้อ PTT(FV@360), PTTEP(FV@B195)
กลยุทธ์การลงทุน ยังเน้นหุ้นที่ laggards
แม้ว่าจะมีแรงขายของนักลงทุนต่างชาติต่อเนื่อง นับจากการยึดอำนาจ แต่ตลาดหุ้นไทยยังเดินหน้าต่อด้วยความคาดหวังว่าเศรษฐกิจน่าจะกระเตื้องขึ้น ภายหลังจากที่มีการจ่ายเงินค่าจำนำข้าวให้กับชาวนา พร้อมกับจะผลักดันการจัดทำงบประมาณปี 2558 ให้ทันตามกำหนด (ก่อนจะสิ้นงบปี 2557 คือ เดือน ก.ย. 2557) แต่จากนี้ไปคงต้องติดตามดูผลงานว่าจะทำได้ตามตลาดคาดหวังหรือไม่ โดย ASP ยังประเมิน GDP Growth ปี 2557 ไว้ที่ 2% และ EPS Growth ตลาดที่ 7.7% (หุ้นละ 98.14 บาท) แสดงว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยขณะนี้มีค่า Expected P/E ราว 14.4 เท่า หรือมี current P/E 15.1 เท่า ซึ่งนับว่าอยู่ในระดับใกล้เคียง ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตลาดเพื่อนบ้าน และหากพิจารณารายหุ้นพบว่าตลาดเข้ามาเก็งกำไรหุ้นที่มีการพึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศประเทศ (Domestic Play) เป็นหลัก ด้วยความหวังว่าเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวหลังจากนี้ ทั้งนี้หากพิจารณาการเคลื่อนไหวของดัชนี นับจากต้นปีจนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา พบว่า SET Index ปรับขึ้นไปได้ถึง 10% แต่พบว่ามีหลายกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนมากตลาด ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม Domestic ได้แก่
กลุ่มการแพทย์ (CMR 98%, SKR 58%, VIBHA 56%, BGH 43%, BH 32%, BCH 33%, CHG 25%), รับเหมาก่อสร้าง (STEC 67%, SYNTEC 69%, CK49%, STPI 39%) ท่องเที่ยว-โรงแรม (ERW 27%, CENTEL 18%) อสังหาฯ 15.8% (RASA 114%, RML 47%, EVER 46%, PS 40%, SPALI 35%, QH 29%) ชิ้นส่วนฯ (KCE 63%, HANA 35%), ประกันฯ (BKI 28.6%, BLA 21%,) และ สื่อสาร 13.1% (จาก SAMART 35%, DTAC 24%, ADVANC 15.7%)
ตรงข้ามหุ้นที่ให้ผลตอบแทนน้อยกว่าตลาด คือ ปิโตรฯ (หุ้นที่ปรับตัวขึ้นมากกว่าตลาดคือ IVL 24.4%, WG 20.8%, TCB 15.5%), พลังงาน (GUNKUL 52.2%, SPCG 31.2%, LANNA 17.9%) บันเทิง 1.3% (TKS 51%, MATCH 31%, VGI 27.9%, RS 20.3%), วัสดุก่อสร้าง (SUPER 213%, VNG 81%, CCP 33.2%)
ส่วนหุ้นที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงตลาด คือ ค้าปลีก 11.6%, ขนส่ง 11% และยานยนต์ 9.2%
กลยุทธ์จากนี้ไป ให้ผสมผสานระหว่างหุ้น Domestic และ Global โดยแนะนำให้เลือกหุ้นที่ยัง Laggard หรือขึ้นน้อยกว่าตลาด และ น้อยกว่ากลุ่ม และราคาหุ้นยังมี upside สูง คือ
รับเหมาฯ : STPI (FV@B 28.36) แนวโน้มผลประกอบการในงวด 2H57 นั้น น่าจะเห็นกำไรเติบโตแบบอัตราเร่งจากการรับรู้รายได้โครงการ Ichthys หนุนรายได้และ gross margin เพิ่มขึ้น รวมทั้งงานประมูลใหม่ๆ ที่มีโอกาสได้รับเพิ่มเติม ทั้งยังมี Expected P/E ต่ำเพียง 10 เท่า upside สูงถึง 35%
พลังงาน และ ปิโตรฯ : PTT (FV@B 360) ข่าวการเปลี่ยนแปลงกรรมการกรรมการ กดดันราคาหุ้นอย่างมาก แต่หากพิจารณาปัจจัยแล้ว ถือว่ายังแข็งแกร่ง ราคาหุ้นที่ตกต่ำน่าจะเป็นจังหวะของการทยอยสะสม ราคาหุ้นปัจจุบันมี upside 22% ค่า Expected P/E ต่ำเพียง 8.3 เท่า และเงินปันผลที่จ่ายในอัตราเฉลี่ย 4-5% p.a. รวมทั้งหุ้นลูกทั้ง PTTEP (FV@B 195) และ PTTGC (FV@B 87) ก็ยังที่ laggard ตลาดอยู่เช่นกัน
วัสดุก่อสร้าง : SCC (FV@B 520) เป็นหุ้นมีความสมดุลทั้ง Global และ Domestic Play เนื่องจากโครงสร้างรายได้ 50% มาจากธุรกิจปิโตรเคมี ที่เหลือ 40% และ 10% มาจากธุรกิจปูนซีเมนต์ และ ธุรกิจกระดาษ ตามลำดับ ในแง่ของผลการดำเนินงานนั้นคาดว่าจะเติบโตได้ในช่วง 2H57 จากธุรกิจปิโตรเคมี ส่วนธุรกิจปูนซีเมนต์นั้นมีแผนลงทุนระยะยาวต่อเนื่อง ประกอบกับแรงเก็งกำไรจากความคาดหวังในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง น่าจะส่งผลบวกต่อกลุ่มวัสดุก่อสร้างเช่นกัน
ขนส่ง : BTS (FV@B 11.2) ช่วงที่ผ่านมา BTS Underperform SET ไปมาก เกิดจากผลการเมือง ซึ่งทำให้งานส่วนต่อขยายที่ BTS หวังเข้าประมูลล่าช้า แต่ราคาหุ้นปัจจุบันได้ซึมซับข่าวดังกล่าวแล้ว และกำลังรอประเด็นบวกจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งจะเป็น Sentiment เชิงบวกให้ BTS ประกอบกับธุรกิจ
ขณะที่ กลุ่มธ.พ. ให้ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีดีกว่าตลาดเล็กน้อยที่ 13.3% โดยในวันนี้นักวิเคราะห์ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนเป็น เท่ากับตลาด จากเดิม น้อยกว่าตลาด โดยหุ้นเด่นในกลุ่มสำหรับธนาคารขนาดใหญ่ คือ BBL และ KBANK ส่วนธนาคารขนาดกลาง ยังชอบ TISCO, และ TCAP
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
พบชัย ภัทราวิชญ์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล