- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 17 December 2014 15:45
- Hits: 1836
บล.เอเซียพลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
EPS ตลาดปี 2558 หลังตัดลดน้ำมันลงเหลือ 75 เหรียญฯ/บาร์เรล อยู่ที่หุ้นละ 102.96 บาท มีค่า Ex P/E 14 เท่า แนะนำซื้อหุ้น 50% ของเงินลงทุน เลือกหุ้นที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันขาลง (RCL, AAV, NOK, TASCO, SCC) และปันผลสูง (ADVANC, AIT, INTUCH, SPALI) เลือก RCL([email protected]), AAV(FV@B6) เป็น Top picks
วิกฤติรัสเซีย กระทบต่อตลาดหุ้นเกิดใหม่ในวงจำกัด
วันที่ 15 ธ.ค. ที่ผ่านมา รัสเซียได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยอ้างอิงจากเดิม 10.5% เป็น 17% (เป็นการปรับขึ้นรวม 6 ครั้งในปีนี้ รวม 10.9% จากเดิม 6.1% ในเดือน ม.ค.) เพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อที่สูงถึง 9.1% ในเดือน พ.ย. (เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจาก 5.5% เดือน ม.ค. 2557) เนื่องจาก เงินทุนไหลออกอย่างต่อเนื่องตลอด 2 ปีที่ผ่านมา (ปีนี้มีเงินไหลราว 1.4 แสนล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวจากปี 2556) กดดันให้ค่าเงินรูเบิลตกต่ำอย่างรุนแรงกว่า 100% นับจากกลางปี 2557 (จาก 35 รูเบิลต่อเหรียญฯ เป็น 71.7 รูเบิล) หลังจากที่เกิดความขัดแย้งกับยุโรป ในเขตปกครองตนเองไครเมีย ส่งผลให้พันธมิตร คือ สหรัฐ และ ยุโรปตะวันตก ได้ร่วมมือคว่ำบาตรรายบุคคล และ ห้ามโอนย้ายเงินออกจากสถาบันการเงิน (ตั้งแต่ต้นปี 2557) เป็นเหตุผลทำให้รัสเซียเลิกนำเข้าไก่แช่แข็งจากยุโรป และกำลังจะหันมานำเข้าจากไทยแทน
ปัจจุบันยุโรป ถือเป็นคู่ค้าหลักของรัสเซีย (สัดส่วน 25% ของมูลค่าระหว่างประเทศของรัสเซียรวมกันกว่าปีละ 2.14 แสนล้านเหรียญ ฯ) ซึ่งสินค้าหลักที่ยุโรปนำเข้าจากรัสเซียคือ น้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซธรรมชาติ (รัสเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก คือ ราว 10% รองจาก OPEC ซึ่งมีกำลังการผลิตราว 35%) ขณะเดียวกันรัสเซียมีส่วนแบ่งการค้าระหว่างประเทศกับยุโรป ราว 6% ของยอดค้าขายระหว่างประเทศในยุโรป (มูลค่าราวปีละ 1.7 แสนล้านเหรียญฯ) สินค้าหลักที่รัสเซียนำเข้าจากยุโรปคือ เครื่องจักร และ เครื่องมือ ผลิตภัณฑ์ยา น้ำตาล และ โลหะแบบกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งถือเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจยุโรปและ รัสเซีย แต่รัสเซียน่าจะรุนแรงกว่า
การขึ้นดอกเบี้ยที่สูงมากดังกล่าวน่าจะเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นอกจากนี้การที่ราคาน้ำมันดิบโลกตกต่ำกว่า 50% นับจากต้นปี 2557 ลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่า 60 เหรียญฯต่อบาร์เรล ถือว่ากดดันความสามารถในการส่งออกน้ำมันของรัสเซีย ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลัก โดยรวมทำให้เศรษฐกิจของรัสเซียในช่วง 9M57 เผชิญกับภาวะชะลอตัว คือ 0.9% ในงวด 1Q57, 0.8% ในงวด 2Q57 และ 0.7% ในงวด 3Q57) และนักเศรษฐศาสตร์โลกคาดว่าปีนี้ น่าจะชะลอตัวเพียง 0.2% และ 0.57% ในปี 2558
ขณะที่ตลาดหุ้นรัสเซียตกต่ำอย่างมากถึง 12% นับจากวันที่ 12 ธ.ค. เป็นต้นมา จนถึงวานนี้ ซึ่งเชื่อว่าประเด็นนี้น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลก โดยจากการเปิดเผยข้อมูลของ Bloomberg (จากแหล่ง Morning Star) ระบุว่า กองทุนหุ้นที่ลงทุนในประเทศเกิดใหม่ มีสัดส่วนการลงทุนในรัสเซียไม่มากนักคือเฉลี่ยราว 1% ของสินทรัพย์สุทธิ (NAV) ยกตัวอย่างเช่น ดัชนี MSCI Emerging Market (เป็นตัวแทนของกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่) มีน้ำหนักการลงทุนในหุ้นรัสซียที่ราว 3.5% โดยกองทุนที่มีขนาดสินทรัพย์สุทธิใหญ่สุด 2 ลำดับแรก มีมูลค่าลงทุนในรัสเซียราว 3.79 หมื่นล้านเหรียญ และ 1.34 หมื่นล้านเหรียญ หรือคิดเป็นราว 7.3% และ 8.3% ของพอร์ต ฯ ซึ่งประสบภาวะตกต่ำในเดือน ธ.ค. ราว 10.6% และ 9.4% ตามลำดับ และ จากต้นปีจนถึงปัจจุบันตกต่ำเฉลี่ยใกล้เคียงกันคือราว 6.1% แต่ ในระยะเวลา 3 ปี พบว่ายังให้ผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ย 5% ส่วนทางด้านตลาดพันธบัตรรัสเซีย พบว่าผู้ลงทุนหลักคือ ยุโรป ซึ่งเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญ และกองทุนเพื่อวัยเกษียณ แต่มีสัดส่วนน้อยราว อาทิ กองทุน Great-West Templeton Global Bond ลงทุนเพียง 2 พันล้านเหรียญฯ หรือ 0.4% ในพันธบัตรรัสเซีย
ในเบื้องต้น แม้จะเห็นว่าผลกระทบต่อตลาดหุ้นโลกอาจจะจำกัด แต่หากยุโรปยังคงฟื้นตัวล่าช้า และ ได้รับผลกระทบจากรัสเซียเพิ่มมากขึ้น อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในระยะถัดๆ ไป หากธนาคารยุโรป ไม่มีมาตรการที่จะช่วยพยุงหรือผลักดันเศรษฐกิจยุโรป ให้รอดพ้นจากภาวะเงินฝืด ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปัจจุบัน
ติดตามผลการประชุม กนง. vs Fed จะสรุปผลการประชุมพรุ่งนี้
ในการประชุมของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันนี้คาดว่ามีความเป็นไปได้ 50% ที่ กนง. จะลดดอกเบี้ยฯ ลง 0.25% เหลือ 1.75% เนื่องจากเงินเฟ้อที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง เดือน พ.ย.อยู่ที่ 1.26%yoy (เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2557 อยู่ที่ 1.11%ytd) ซึ่งทั้งปี 2557 น่าจะอยู่ที่ระดับ 1% เท่านั้น ซึ่งต่ำคาดมาก การลดดอกเบี้ยจะยังทำให้ดอกเบี้ยรับสุทธิเป็นบวกอยู่ นอกจากนี้หากพิจารณาสภาพคล่องในระบบการเงินโดยรวม (ยอดเงินฝาก + การระดมทุนของ ธพ. - สินเชื่อ) ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง 3-4 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับ 6 แสนล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2556 ถือว่าชะลอตัวลง เกิดการชะลอตัวจากการบริโภคและการลงทุน จากปัญหาทางการเมืองที่ยืดเยื้อ
แต่ในอีกมุมเชื่อว่า กนง. ไม่น่าจะลดดอกเบี้ย โดยให้ความน่าจะเป็น 50% เนื่องจากเชื่อว่าการลดดอกเบี้ยฯ ที่ระดับ 0.25% ไม่น่าจะมีน้ำหนักมากพอที่จะกระตุ้นบริโภค และการลงทุนได้มากนัก เหมือนกับการลดดอกเบี้ยหลายครั้ง 3 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2556 (พ.ค. และ พ.ย. ครั้งละ 0.25% รวม 0.5%) และ มี.ค. 2557 (ลด 0.25%) ประกอบกับในสถานการณ์ปัจจุบันต้นทุนเชื้อเพลิงต่ำในขณะนี้ น่าจะเป็นปัจจัยกระตุ้นการบริโภคได้ดีกว่าการลดดอกเบี้ย และ เมื่อถึงช่วงเวลาที่รัฐต้องการเงินลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนในช่วง 2H58 ก็อาจจะทำให้สภาพคล่องในระบบการเงินกลับมาตึงตัว และ อาจจะทำให้ กนง. ต้องกลับมาขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นเวลาเดียวกับการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ หรือ อังกฤษ จึงทำให้ปัจจัยเรื่องดอกเบี้ยมีผลต่อตลาดน้อย
และเช่นเดียวกับ การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ที่มีขึ้นในระหว่างวันที่ 16-17 ธ.ค. จากการสำรวจนักเศรษฐสาตร์ของบลูมเบิร์ก ส่วนใหญ่ 68% คาดว่า Fed จะใช้ว่า patient แทนคำว่า considerable time หมายถึง การอดทนรอเวลาที่ Fed จะส่งสัญญาณเพื่อขึ้นดอกเบี้ยฯ เพื่อแสดงความคืบหน้าของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะในตลาดแรงงาน ที่อัตราการว่างงาน พ.ย. อยู่ที่ระดับ 5.8% ยังมีแนวโน้มลดลง และเช่นเดียวกับ นาย David Stockton (อดีตผู้อำนวยการ Fed) ที่แสดงความเห็นว่า Fed จะไม่ปัญหาเศรษฐกิจในรัสเซีย มาเป็นข้ออ้างในการชะลอการขึ้นดอกเบี้ยฯ ขณะที่มีนักเศรษฐศาสตร์ส่วนน้อยเพียง 23% คาดว่าจะมีการยืดเวลาขึ้นดอกเบี้ยฯ จากเดิมที่ 2H58 เพราะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาด
ต่างชาติและพอร์ตโบรกเกอร์ยังขายหนัก สวนทางกับแรงซื้อจากสถาบัน
เงินทุนต่างชาติยังไหลออกจากภูมิภาคต่อเนื่อง วานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 6 เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้าถึง 86% อยู่ที่ 1,165 ล้านเหรียญฯ และยังคงเป็นการขายสุทธิในทุกประเทศ สูงสุดคือเกาหลีใต้เช่นเดิม ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ราว 459 ล้านเหรียญฯ และ เพิ่มขึ้น 83% จากวันก่อนหน้า ตามมาด้วยไต้หวัน ขายสุทธิเป็นวันที่ 8 และเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้าเกือบเท่าตัว อยู่ที่ 322 ล้านเหรียญฯ ส่วนไทยขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 5 ราว 254 ล้านเหรียญฯ (8.4 พันล้านบาท, เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากวันก่อนหน้า) ขณะที่อินโดนีเซียขายสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 96 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 50% จากวันก่อนหน้า) และสุดท้ายคือฟิลิปปินส์ที่ขายสุทธิเป็นวันที่ 4 ราว .4 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 50% จากวันก่อนหน้าเช่นกัน)
ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคภาคต่อเนื่อง รวมถึงไทย ที่วานนี้ถูกขายสุทธิอย่างหนักถึง 8.4 พันล้านบาท สูงสุดในรอบเกือบ 7 เดือน เชื่อว่าเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่องได้กดดันตลาดหุ้น อีกทั้งเป็นการขายเพื่อลดความเสี่ยงในช่วงก่อนหยุดยาว นักลงทุนอีกกลุ่มที่มีแรงขายกดดันดัชนีคือพอร์ตโบรกเกอร์ที่ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 7 ราว 2.7 พันล้านบาท (รวม 7 วันขายสุทธิ 1.1 หมื่นล้านบาท) สวนทางกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่มีแรงซื้อสุทธิพยุงดัชนีถึง 5.7 พันล้านบาท (สูงสุดในรอบกว่า 15 เดือน) คาดว่าในระยะสั้นอาจมีแรงซื้อเพิ่มเติมจากนักลงทุนกลุ่มนี้ เนื่องจากการที่ดัชนีร่วงลงกว่า 100 จุดในช่วง 2 สัปดาห์ น่าเป็นปัจจัยเร่งให้มนุษย์เงินเดือนซื้อกองทุน LTF ไว้เพื่อประหยัดภาษีก่อนสิ้นปีนี้
กลยุทธ์การลงทุนเลือกสะสมหุ้นพื้นฐาน 50% ของเงินลงทุน
ดัชนีตลาดหุ้นลดลง 8.5% ในช่วงเวลาเพียง 1 สัปดาห์ (ยังบวก 14.7%Ytd) สะท้อนกำไรตลาดลดลง 3.6% และ 3.4% ตามลำดับ และเมื่อรวมกับที่ปรับลดลงไปแล้วเมื่อเดือน พ.ย. 2557 ลง 1.9% ในปี 2557 และ 1.1% ในปี 2558 เท่ากับปรับลดกำไรตลาดในปีนี้ 2 ครั้ง รวมปรับลดลงทั้งหมด 5.5% ในปี 2557 และลดลง 4.5% ในปี 2558 ซึ่งทั้งหมดเป็นการปรับลดลงสมมติฐานราคาน้ำมันดิบระยะยาว คือตั้งแต่ปี 2558 (เดือน ต.ค. ปรับลดลงจาก 100 เหรียญฯ เหลือ 90 เหรียญฯ และ 75 เหรียญฯ ในเดือน ธ.ค. คือครั้งนี้) ซึ่งทำให้กำไรสุทธิตลาดลดลงมาอยู่ที่ 8.06 แสนล้านบาท และ 9.38 แสนล้านบาท หรือกำไรสุทธิต่อหุ้นราว (EPS) 88.41 บาท และ 102.97 บาท ตามลำดับ ซึ่งเท่ากับตลาดหุ้นไทยปิดวานนี้ที่ 1449 จุด มี Expected P/E ปี 2558 ราว 14.ป เท่า ถือว่าเป็นระดับที่น่าจะสนใจระดับหนึ่ง โดยยังเชื่อว่า Expected P/E 14.25-14 เท่า หรือระดับดัชนี 1,467.32 – 1,441จุด เป็นระดับที่มีนัยสำคัญ และยังแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนจากเดิมให้ 30% ของเงินลงทุน เป็น 50% ของเงินลงทุน โดยให้เลือกหุ้นลงทุนตามกลยุทธ์เลือกหุ้นรายตัวที่มี P/E ต่ำ และเงินปันผลสูง แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้คือ
oได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง : กลุ่มที่ใช้น้ำมันเป็นต้นทุนการผลิต หรือ ต้นทุนการให้บริการ ที่ชัดเจนที่สุดคือกลุ่มขนส่งทางอากาศ และ ขนทางทางเรือ โดยในส่วนของกลุ่มขนส่งทางอากาศเด่นคือ AAV (FV@B 6) ขณะที่กลุ่มขนส่งทางเรือเลือก RCL (FV@B 11.80) และ TASCO (FV@B80)
oหุ้นให้ผลตอบแทนชนะตลาดในเดือน มกราคม : ตามสถิติย้อนหลัง 10 ปีพบว่า มีหุ้นหลายตัวที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกด้วยความน่าจะเป็นเกิน 70% อาทิ STPI (FV@B 30.30) ผลตอบแทนเฉลี่ย 6.63% (ด้วยความน่าจะเป็น 70%) , GFPT (FV@B 27) ผลตอบแทนเฉลี่ย 5.31%, KTB (FV@B 29.16) ผลตอบแทนเฉลี่ย 3.18%, SEAFCO (FV@B 9.43) ผลตอบแทนเฉลี่ย 2.81% ขณะที่ SYNTEC (FV@B 3.37) ผลตอบแทนเฉลี่ย 6.96% ความน่าจะเป็น 60%
oหุ้นปันผลเด่น : เกณฑ์ในการคัดเลือก จะให้น้ำหนักกับหุ้นที่ให้ Dividend Yield สูงกว่า 4% ในงวดปี 2558 และมีราคาหุ้นต่ำกว่า Fair Value โดยหุ้นเด่นที่เลือกประกอบด้วย INTUCH (FV@B 113) STPI (FV@B 30.30), SPALI (FV@B 31.96), AIT (FV@B 53), ADVANC (FV@B 285) BEC (FV@B 57), HANA (FV@B48), KCE (FV@B 46.5)
หุ้นที่แนะนำใน Market talk