- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 29 May 2014 15:49
- Hits: 3390
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีฟื้นตัวจากความคาดหวังในเชิงบวกต่อการเดินหน้าโครงการที่ค้างคา ทำให้เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุด ให้น้ำหนักหุ้นที่อิง Domestic พอๆ กับหุ้น Global เลือก SCC(FV@B 520) และ BTS(FV@B 11.2) Top picks ในฐานะที่เป็นหุ้น Laggard
การค้าระหว่างประเทศยังอ่อนแรง แต่คาดจะดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้
จากการรายงานตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของทรวงพาณิชย์ล่าสุดยังชะลอตัว แต่มีแนวโน้มฟื้นตัวจากหลายเดือนก่อนหน้า กล่าวคือเดือน เม.ย. ส่งออก -0.87%yoy หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 แต่ดีกว่า ที่ -3.12%yoy เดือน มี.ค. ทำให้การส่งออกรวมตลอด 4 เดือนแรกของปี (ม.ค.-เม.ย.) ติดลบ 0.97% (ชะลอตัวลดลงตั้งแต่งวด 2Q56) โดยสินค้าที่ยังขยายตัวได้ดีคือ สิ่งทอ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและกลุ่มวัสดุก่อสร้าง สวนทางกับสินค้าที่ชะลอตัวคือ กลุ่มสินแร่ เชื้อเพลิง และทองคำ ส่วนตลาดส่งออกที่ยังหดตัวได้แก่ อาเซียน 5 (สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน) -10.4%yoy (สิงคโปร์และอินโดนีเซีย หดตัว กว่า 20% ตามมาด้วยจีน -9.5%yoy และญี่ปุ่น -4.5% เนื่องจากอุปสงค์สินค้าที่ลดลงตามการขึ้นภาษีการขาย
ด้านการนำเข้า เดือน เม.ย -14.54%yoy ใกล้เคียงกับที่ -14.19%yoy เดือน มี.ค. โดยเป็นการหดตัวของกลุ่มยานพาหนะ อุปกรณ์การขนส่ง (ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์) -28.1% ตามมาด้วยอุตสาหกรรมวัตุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้า และแผงวงจรไฟฟ้า) -18.1% โดยรวม 4 เดือนแรก (ม.ค. - เม.ย.) นำเข้า -15.2%
ทำให้ดุลการค้าเดือน เม.ย. ขาดดุลการค้า 1,453 ล้านเหรียญฯ (เป็นการขาดดุลครั้งแรกในรอบ 3 เดือน) และ 4 เดือนแรกของปี ขาดดุลการค้า 747.5 ล้านเหรียญฯ อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ยังเป้าหมายส่งออกสินค้า และบริการปี 2557 ไว้ที่ 5% (ใกล้เคียงกับ ASP คาด 5.9%) ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้ GDP Growth ในปีนี้ยังเป็นไปตามเป้าหมายที่ ASP คาดไว้ 2%
แรงขายต่างชาติกดดันบาทอ่อนตัวต่อเนื่อง
วานนี้ นักลงทุนต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคอีกครั้ง ราว 285 ล้านเหรียญฯ เกิดจากการเข้าซื้ออย่างหนักในไต้หวันราว 242 ล้านเหรียญฯ (ซื้อต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ยอดซื้อเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้ากว่า 4 เท่าตัว) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 11 ราว 129 ล้านเหรียญฯ (วันก่อนหน้าซื้อสุทธิเพียง 8 ล้านเหรียญฯ) อินโดนีเซียกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง และซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ราว 10 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้าเกือบเท่าตัว) ยกเว้นไทยที่ยังคงขายเป็นวันที่ 7 ใกล้เคียงกับวันก่อนหน้า ราว 85 ล้านเหรียญฯ (2.8 พันล้านบาท) และ ฟิลิปปินส์ยังขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ราว 12 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว)
ทั้งนี้ ต่างชาติยังคงเทขายหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องถึง 7 วันติดต่อกัน รวม 2.9 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดสุทธิตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. 2557 ซึ่งเป็นรอบการเข้าซื้อครั้งหลังสุด เป็นการขายสุทธิราว 640 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดตราสารหนี้ ที่ยังคงขายสุทธิออกมาอีก 1.8 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการขายติดต่อกันเป็นวันที่ 4 รวม 1.5 หมื่นล้านบาท กดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวต่อเนื่องสู่ 32.69 บาทต่อเหรียญฯ และเชื่อว่าแรงขายจากนักลงทุนกลุ่มนี้จะยังคงกดดันตลาดหุ้นไทยต่อไป
ตลาดหุ้นบวกด้วยความคาดหวังเชิงบวก หลังปัญหาคลี่คลาย
การแถลงแผนงานการลงทุน และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ค้างจากรัฐบาลที่ผ่านมา อย่างเช่นการจ่ายเงินจากโครงการับจำนำข้าว 9 หมื่นล้านบาท ทำให้มีความมั่นใจมากขึ้นว่า GDP Growth 2% ปีนี้น่าจะเกิดขึ้นได้ โดยปัจจุบันเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นในการเดินหน้าลงทุนโครงการลงสาธารณูปโภคสำคัญ โดยเน้นไปที่โครงการลงทุนรถไฟรางคู่ และ รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล เม็ดเงินลงทุนประมาณ 4.6 แสนล้านบาท แม้เม็ดเงินลงทุนไม่สูงนักก็ตาม (23% ของโครงการ 2 ล้านล้านบาท) แต่เมือรวมกับการร่งผลักดันให้มีการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 ซึ่งปัจจุบันมีการเบิกจ่ายเพียง 56% ของงบรวม (งบรายจ่ายประจำเบิกแล้ว 59.6% และ งบลงทุน 40.6%) พร้อมกับจะเร่งจัดทำงบประมาณปี 2558 ก็เชื่อว่าน่าจะมีแรงมากพอในการขับเคลื่อน GDP สู่เป้าหมาย โดยในส่วนของแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน จะเป็นกระแสเชิงบวกสำหรับการเก็งกำไรหุ้นรับเหมาก่อสร้างขนาดเล็ก ซึ่งฝ่ายวิจัยเลือก UNIQ (FV@B 9.05) และ SEAFCO ([email protected])
นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมเสนอให้มีออกใบ รง.4 ที่มีปัญหาสามารถเดินหน้าได้ เช่น โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop ได้ยื่นขอในอนุญาตแต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติจำนวน 870 ราย สามารถดำเนินการได้ภายใน 30-45 วัน) ซึ่งน่าจะดีต่อผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ครั้งที่ 1 อาทิ GUNKUL, BCP, WHA และ DEMCO เป็นต้น รวมถึงโครงการร่วมทุนระหว่าง SPCG (74.99%) และ WHA (25.01%) ที่ได้มีการยกเลิกการร่วมทุนไปเมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2556 (โครงการดังกล่าวได้รวมไว้ในประมาณการปี 2557แล้ว) แต่ถือเป็นการคลายความกังวลต่อแผนการลงทุนในโครงการ Solar Rooftop และยังเป็นสัญญาณบวกต่อแนวโน้มที่กระทรวงพลังงาน จะมีการเดินหน้าประกาศผลการคัดเลือกในครั้งต่อไป เนื่องจากกำลังการผลิตที่ประกาศในครั้งที่ 1 รวมอยู่เพียง 39.34 เมกะวัตต์ คิดเป็น 39.34% ของกำลังการผลิตที่กระทรวงพลังงานได้ประกาศรับซื้อไว้ที่ 100 เมกะวัตต์ ซึ่งทั้ง GUNKUL และ BCP ถือเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพที่มีโอกาสผ่านการคัดเลือกในรอบต่อไปเช่นกัน
ควรปรับพอร์ตอีกครั้งหลังหุ้นรายตัวขึ้นเกินตลาดและหุ้นในกลุ่ม
นับตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. ที่เริ่มมีกระแสเงินต่างชาติเข้ามาในตลาดหุ้นไทย จนกระทั่งปิดตลาดวันที่ 22 พ.ค. (วันเกิดรัฐประหาร) SET Index ปรับขึ้นไปได้ถึง 6% หากพิจารณาเป็นรายกลุ่มฯ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ
1 ให้ผลตอบแทนชนะตลาด นำโดย การแพทย์ ปรับขึ้น 24.5% (มาจาก VIBHA (66%). BCH (33%), BH (26%), BGH (20%), CHG (22%)), ประกันฯ 14.3% % (จาก BKI (25%), BLA (23.2%), THREL (14%)) ตามมาด้วย ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 11.4% (จาก KCE (48%), HANA (34%)), สื่อสาร 9.4% (จาก SAMART (25%), DTAC (21%), ADVANC (11%)), อสังหาฯ 9.2% (EVER (96%), RASA (91%), RML (40%), ANAN (21%), PS (21%), QH(17%)) และ ค้าปลีก 8% (นำโดย OFM 556%, MC 18%, CSS 17%, CPALL 12%, ROBINS 10%, HMPRO 10%, MAKRO 9%)
2. ให้ผลตอบแทนน้อยกว่าตลาด คือ ปิโตรฯ -0.9% (หุ้นที่ปรับตัวขึ้นมากกว่าตลาดคือ IVL 18%, WG 14%, TCB 13.4%), บันเทิง -0.5% (TKS 38%, MATCH 26%, NMG 10%, RS 5%), ขนส่ง 1.8% (BTC 15%, TTA 8%), วัสดุก่อสร้าง 1.9% (SUPER 280%, VNG 50%, SCCC 12%), พลังงาน 5.3% (TCC 34%, SPCG 30%, LANNA 24%) ยานยนต์ 5.6% (HFT 23%, IHL 19%, SAT 6.7%, AH 6%) และเกษตร 5.7% (EE 36%, TWS 36%, STA 5.6%)
3. กลุ่มที่ใกล้เคียงตลาด คือ รับเหมาก่อสร้าง 7.6%, ท่องเที่ยว-โรงแรม 7.5%, ธ.พ. 6.3% และ อาหาร 6.1%
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยแนะนำให้ทยอยขายทำกำไรหุ้นในกลุ่มที่ outperform ตลาด ได้ค่อนข้างมากในช่วงระยะดังกล่าว เช่น กลุ่มการแพทย์ที่ปรับขึ้นมารุนแรง (BCH, BH), กลุ่มชิ้นส่วนฯ (KCE), สื่อสาร (DTAC), อสังหาฯ (แนวโน้มครึ่งปีหลังธุรกิจอสังหาฯ ยังไม่ค่อยสดใสนัก เนื่องจากยอด presale มีแนวโน้มลดลง โครงการใหม่เลื่อนเปิดตัว) อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกบางกลุ่มที่ยังเป็นที่น่าสนใจและเป็นโอกาสให้ซื้อสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว เนื่องจากราคาหุ้น underperform ได้แก่
รับเหมาฯ : STPI (FV@B 28.36) ราคายัง laggard ตลาด ขึ้นมาเพียง 5% เท่านั้น สำหรับแนวโน้มผลประกอบการในงวด 2H57 นั้น น่าจะเห็นกำไรเติบโตแบบอัตราเร่งจากการรับรู้รายได้โครงการ Ichthys หนุนรายได้และ gross margin เพิ่มขึ้น รวมทั้งงานประมูลใหม่ๆ ที่มีโอกาสได้รับเพิ่มเติม ทั้งยังมี Expected P/E ต่ำเพียง 10 เท่า upside สูงถึง 35%
พลังงาน และ ปิโตรฯ : PTT (FV@B 360) เจอประเด็นข่าวปลดประธานกรรมการและคณะกรรมการบริษัทดึงเอาราคาหุ้น ร่วงลงค่อนข้างมาก แต่ถ้ามาดูปัจจัยพื้นฐานแล้วข่าวดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานใดๆ เนื่องจากโครงสร้างราคาพลังงานในปัจจุบันถือว่าทุกอย่างเป็นไปตามกลไกตลาด ทั้งราคาขายปลีกน้ำมันอิงกับราคาก๊าซ LPG การที่ราคาอ่อนตัวลงมาค่อนข้างมากจึงน่าจะเป็นจังหวะของการสะสมหุ้น มี upside 22% ค่า Expected P/E ต่ำเพียง 8.3 เท่า และเงินปันผลที่จ่ายในอัตราเฉลี่ย 4-5% p.a. รวมทั้งหุ้นลูกทั้ง PTTEP (FV@B 195) และ PTTGC (FV@B 87) ก็ยังเป็นหุ้นที่ laggard ตลาดอยู่เช่นกัน
วัสดุก่อสร้าง : SCC (FV@B 520) เป็นหุ้นมีความสมดุลทั้ง Global และ Domestic Play เนื่องจากโครงสร้างรายได้ 50% มาจากธุรกิจปิโตรเคมี ที่เหลือ 40% และ 10% มาจากธุรกิจปูนซีเมนต์ และ ธุรกิจกระดาษ ตามลำดับ ในแง่ของผลการดำเนินงานนั้นคาดว่าจะเติบโตได้ในช่วง 2H57 จากธุรกิจปิโตรเคมี ส่วนธุรกิจปูนซีเมนต์นั้นมีแผนลงทุนระยะยาวต่อเนื่อง ประกอบกับแรงเก็งกำไรจากความคาดหวังในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง น่าจะส่งต่อมายังกลุ่มวัสดุก่อสร้างเป็นลำดับต่อไป จึงเป็นหุ้นที่เหมาะกับการซื้อลงทุนระยะยาว
ขนส่ง : BTS (FV@B 11.2) ช่วงที่ผ่านมา BTS Underperform SET ไปมาก เกิดจากผลการเมือง ซึ่งทำให้งานส่วนต่อขยายที่ BTS หวังเข้าประมูลล่าช้า แต่ราคาหุ้นปัจจุบันได้ซึมซับข่าวดังกล่าวแล้ว และกำลังรอประเด็นบวกจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งจะเป็น Sentiment เชิงบวกให้ BTS ประกอบกับธุรกิจหลักทั้งขนส่งฯ และธุรกิจโฆษณาจะช่วยขับเคลื่อนกำไรในปีหน้า นอกจากนี้ Upside ยังสูงถึง 39% และ Div Yield เกิน 7% ต่อปี
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
พบชัย ภัทราวิชญ์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล