WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 1-12-2021เมย์แบงก์

AT THE OPEN (#ATO)

S T R A T E G Y   R E P O R T / 1 ธันวาคม 2564

INVESTMENT STRATEGY

Sideways:

ส่งสัญาณเร่งลด QE

วันนี้คาด SET แกว่ง Sideways ในกรอบแนวรับ 1,550 จุด และแนวต้าน 1,580 จุด เน้นหุ้นที่อิงค่าเงินบาทอ่อนค่า โดย ATO Picks แนะนำ “HANA, TU”

HANA

ผ่านพ้นประเด็นกดด้นไปแล้ว ทั้ง น้ำท่วมและชิปขาดแคลน ขณะที่ 4Q64 และปี 65 จะกลับมาเติบโตดีจาก ธุรกิจ IC&PCBA ตามอุปสงค์ที่แข็งแรงในกลุ่มยานยนต์,สื่อสารและอุตสาหกรรม ผสาน S-Curve ใหม่สู่การเข้าไปในกลุ่มสินค้า Megatrend จึงเป็นโอกาสดีในการทยอยสะสม

เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 102 บาท

TU

คาดกำไร 4Q64 มีโอกาสกลับมาฟื้นตัวทั้ง QoQ, YoY จากธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงฟื้นตัวหลังจากโรงงานได้กลับมาผลิตตามปกติแล้วซึ่งจะทำให้ยอดขายและอัตรากำไรของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงเพิ่มกลับขึ้นมา ขณะที่ยอดขายทูน่ากระป๋องมีทิศทางฟื้นตัวจากความกังวล COVID ใหม่

เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 24.6 บาท

INVESTMENT THEME

ยังกังวลกับโอไมครอน : ประเด็นการแพร่ระบาดของการกลายพันธุ์ของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ โอไมครอนยังคงกดดันทิศทางการลงทุนในตลาดสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ซึ่งล่าสุดรายงานจากบริษัทโมเดอร์นา ผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่บ่งชี้ว่าวัคซีนที่มีอยู่อาจจะมีประสิทธิภาพต่อต้านเชื้อโอไมครอนได้น้อยลง และอาจต้องรอวัคซีนตัวใหม่อีกราว 2-3 เดือน โดยรวมถือเป็น Downside Risk ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงถัดไปหากการแพร่กระจายออกไปเป็นวงกว้างมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงแรง และมีแรงหนุนเข้าซื้อในสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น พันธบัตรมากขึ้น ล่าสุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 1.5%

โพเวลส่งสัญาณลด QE เร็วกว่าคาด : แม้ว่าตลาดจะมีความกังวลต่อการกลายพันธุ์ของ COVID-19 แต่มุมมองของนายเจอโรม โพเวล ประธาน FED ยังประเมินเศรษฐกิจสหรัฐฯยังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยปัญหาเงินเฟ้อยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตาม ซึ่งมองว่า FED ควรจะยุติโครงการ QE ให้เร็วกว่าเดิม โดยจากแผนล่าสุด FED จะทยอยปรับลดวงเงิน QE ลงเดือนละ 1.5 หมื่นล้านเหรียญ จากวงเงินรวม 1.2 แสนล้านเหรียญต่อเดิม ซึ่งน่าจะมีการหารือในการประชุมเดือน ธ.ค.นี้ จุดนี้อาจเพิ่มความกังวลกับตลาดสินทรัพย์เสี่ยงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงควรเพิ่มความระมัดระวัง และรอซื้อกลับในจังหวะที่สถานการณ์เริ่มนิ่งมากขึ้น

MARKET SUMMARY

วานนี้ SET ยังคงปรับตัวลง จากการรับความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของเชื้อกลายพันธุ์ โดย SET ปิดที่ 1,568.69 (-21.00 จุด) มูลค่าการซื้อขาย 1.59 แสนล้านบาท (เทียบกับวันก่อนหน้า 1.16 แสนล้านบาท)

โดยนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทย 3,535 ลบ. (นักลงทุนสถาบันขาย 2,453 ลบ. ส่วนตลาด TFEX นักลงทุนต่างชาติเปิด Long Future ที่ 32,127 สัญญา)

EYES ON

1 ธ.ค. PMI ภาคการผลิต US และยูโรโซน, ISM ภาคการผลิต US, การจ้างงานภาคเอกชน ADP

2 ธ.ค. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ US

3 ธ.ค. การจ้างงานนอกภาคเกษตร US , PMI ภาคบริการ US และยูโรโซน, ISM ภาคบริการ US, ดัชนี CPI ของ US

GFPT PCL (GFPT)

ฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป

BUY

Share Price                 THB 11.70

12 m Price Target       THB 13.90 (+19%)

Previous Price Target THB 14.60

ประเด็นการลงทุน

แม้เราปรับลดประมาณการกำไรลงเพื่อสะท้อนต้นทุนที่สูงขึ้น แต่คาดว่าผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วใน 3Q64 และจะค่อยๆ ฟื้นตัวใน 4Q64 เนื่องจากการบริโภคและการส่งออกฟื้นตัวจากการคลายล็อกดาวน์ ขณะที่กำลังการผลิตไก่ปรุงสุกส่งออกเพิ่มขึ้น ราคาไก่ฟื้นตัวอย่างมีนัยยะ และต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ไม่เพิ่มขึ้น เราแนะนำ ซื้อ โดยประเมินราคาเป้าหมายใหม่ที่ 13.90 บาท จากเดิมที่ 14.60 บาท โดยประเมินจาก PE 16 เท่า (PE +1SD สะท้อนถึงแนวโน้มฟื้นตัว)

ปรับลดประมาณการสะท้อนต้นทุนสูงขึ้น

เราปรับลดประมาณการกำไรปี 2564-2565 ลง 72% และ 6% ตามลำดับ เพื่อสะท้อนถึงการที่ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์และค่าขนส่งสูงกว่าคาดซึ่งส่งผลกระทบให้ผลประกอบการ 3Q64 ขาดทุน อย่างไรก็ดี ผลประกอบการมีแนวโน้มจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นตั้งแต่ 4Q64 เป็นต้นไป โดยคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญในปี 2565 โดยได้ผลบวกจากการกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นและราคาไก่ปรับตัวสูงขึ้น

ราคาไก่ฟื้นตัวอย่างมีนัยยะ ต้นทุนวัตถุดิบเริ่มทรงตัว

ราคาไก่ฟื้นตัวจาก 30 บาท/กก. ใน 3Q64 มาเป็น 37-38 บาท/กก. ซึ่งเป็นระดับราคาสูงสุดนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิดรอบแรก เนื่องจากการบริโภคเพิ่มขึ้น ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และผู้ประกอบการบางรายลดการผลิตหลังจากราคาไก่ตกต่ำ ขณะที่ราคาโครงไก่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 12-13 บาท/กก. จาก 10-11 บาท/กก. ใน 3Q64 ส่วนราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์เริ่มลดลงโดยเฉพาะราคากากถั่วเหลืองในเดือน พ.ย. ลดลงมาต่ำกว่า 18 บาท/ กก. จากราคาเฉลี่ย 19 บาท/ กก. ใน 3Q64 เราคาดว่าต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์มีแนวโน้มทรงตัวหรือค่อยๆ ลดลงต่อจากนี้เนื่องจากปริมาณผลผลิตเริ่มเพิ่มขึ้น

อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 80%

สายการผลิตใหม่เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ตั้งแต่เดือน ก.ย. ทำให้กำลังการผลิตไก่ปรุงสุกส่งออกเพิ่มขึ้น 25-50% เป็น 2,500-3,000 ตัน/เดือน โดยคาดว่าใน 4Q64 จะมีอัตราการใช้กำลังการผลิต 80% ส่งผลให้ปริมาณไก่ส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณ 20% QoQ เป็น 6,500 ตัน ทั้งนี้ กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลบวกชัดเจนในปีหน้าจากการผลิตเป็นเวลาเต็มทั้งปีทำให้ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น และช่วยประหยัดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยจากปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น

ความเสี่ยง: Oversupply ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ปริมาณส่งออกลดลง

Suttatip Peerasub

[email protected]

(66) 2658 6300 ext 1430

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!