- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 17 November 2014 16:24
- Hits: 1400
บล.ยูโอบีเคย์เฮียน : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
UOBKH แนวโน้มตลาดวันนี้ โดย ยศพณ แสงนิล, CFA : ผันผวนเชิงลบ
เราคาดว่า ตลาดไทยวันนี้จะผันผวนเชิงลบ เนื่องจากตัวเลข GDP ล่าสุดของญี่ปุ่นออกมาต่ำกว่านักวิเคราะห์คาด ประกอบกับปัญหาหนี้เสียในประเทศจีนมีความรุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ตามตลาดไทยจะยังปรับลงไม่มาก เนื่องจากนักลงทุนกำลังรอดูตัวเลข GDP ของไทย
แนวรับ/แนวต้าน : 1560/1590
กลยุทธ์ : ทยอยสะสมหุ้นเพิ่มขึ้น หากดัชนีย่อตัวลงแรง เนื่องจาก Target ปลายปียังคงอยู่ที่ 1600 จุด
สัดส่วนการลงทุน : เงินสด 60% : พอร์ตหุ้น 40%
นักลงทุนระยะสั้น : KTB(26), ITD(7)
นักลงทุนระยะยาว : IFEC(18), AJD(5)
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุน
ปัจจัยภายในประเทศ
- สศช.ชี้เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ยังไม่ฟื้น คาดทั้งปีโตไม่เกิน 1.5% เหตุเบิกจ่ายงบ-มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าช้ากว่าคาด หวังเห็นผลเต็มที่ปีหน้า ขณะบริโภค-ลงทุนยังไม่ฟื้นตัว ด้านนักเศรษฐศาสตร์ประเมินปีหน้ายังมีความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก ชี้ยังต้องมีมาตรการใหม่มากระตุ้นหนุน ธปท.ลดดอกเบี้ยทางด้านบริษัทจดทะเบียน กำไรงวด 9 เดือนปีนี้ทรุด รับแรงกดดันเศรษฐกิจในประเทศชะลอยาวตั้งแต่ปลายปีก่อน เผยกลุ่มการเงิน-อุปโภคบริโภคมีกำไรงวด 9 เดือนลดลงมากกว่า 50%
ปัจจัยต่างประเทศ
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ดลง 18.05 จุด หรือ 0.10% ปิดที่ 17,634.74 จุด
ดัชนีหุ้นนิวยอร์กค่อนข้างทรงตัวเมื่อวันศุกร์ (14 พ.ย.) โดยดาวโจนส์ปิดขยับลงเล็กน้อย ขณะที่ดัชนี S&P 500 ขยับขึ้นปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งหนึ่ง โดยเป็นครั้งที่หกในรอบเจ็ดวันทำการที่ผ่านมา ท่ามกลางภาวะซื้อขายที่ค่อนข้างเงียบเหงา เนื่องจากนักลงทุนส่วนหนึ่งชะลอการเข้าลงทุน หลังจากที่ตลาดเคลื่อนไหวแดนบวกเป็นส่วนใหญ่ และทำสถิติใหม่หลายครั้งในรอบสัปดาห์
- สัญญาน้ำมันดิบ ส่งมอบเดือนธ.ค.ปรับตัวขึ้น 1.61 ดอลลาร์ หรือ 2.2% ปิดที่ 75.82 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 3 ก.ย. สำหรับตลอดสัปดาห์ ราคาร่วงลง 3.6%
สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (14 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไร หลังจากที่ราคาน้ำมันร่วงลงอย่างหนักแตะระดับต่ำสุดในรอบสี่ปีเมื่อวันก่อน นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายได้แรงหนุนจากกระแสคาดการณ์ที่ว่ากลุ่มโอเปคอาจตัดสินใจลดกำลังการผลิตเพื่อหนุนราคาน้ำมันที่ร่วงลงต่ำกว่า 80 ดอลลาร์/บาร์เรลเป็นครั้งแรกในรอบสี่ปี