- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 13 November 2014 16:39
- Hits: 2092
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์วันนี้ Sideways
ประเด็นสำคัญวันนี้ ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลง 9.17 จุด มาอยู่ที่ 1,562.03 จุด มูลค่าการซื้อขาย 51,390 ล้านบาท หลังสมาคมโบรกเกอร์ เตรียมหารือมาตรการควบคุมหุ้นร้อนวันที่ 19 พ.ย.
ขณะที่ต่างชาติกลับมาสะสมหุ้นไทย 505 ล้านบาท คง Long สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 3 อีก 560 สัญญา แม้ว่า S50Z14 ปิดสูงกว่า SET50 Index ราว 0.08 จุดก็ตาม ขณะที่ลดน้ำหนักตราสารหนี้ไทยเป็นวันที่ 2 เล็กน้อย 227 ล้านบาท ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะผลตอบแทนจากพันธบัตรไทยอายุ 10 ปีลดลงตลอด 3 วันรวม 8.69bps สะท้อนตลาดประเมินโอกาสที่ กนง.จะพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ย RP1 วันจากปัจจุบัน 2.00% เป็น 1.75% ภายในปีนี้ได้
ภาวะการลงทุนในช่วงปลายสัปดาห์นี้ เราประเมิน SET INDEXยังคงแกว่งในกรอบแคบ แนวรับ 1,550-1,560 จุด เชื่อว่าจะยังทำงานได้อย่างแข็งแกร่ง แม้ปัจจัยเสี่ยงในต้นสัปดาห์หน้า คือการประกาศ GDP ใน 3Q57 ของไทย อาจออกมาชะลอตัวจาก 2Q57 แต่เราคาดการณ์ว่า การประชุม ครม.ในวันถัดไปจะมีการพิจารณาและประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นออกมา เพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ นอกเหนือไปจากโอกาสที่ กนง.จะลดอัตราดอกเบี้ยดูจะมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนภายในประเทศ เริ่มระมัดระวังต่อการลงทุนในช่วงสั้นมากขึ้น หลัง สมาคมโบรกเกอร์ เตรียมหารือเพื่อออกมาตรการควบคุมการซื้อขายหุ้นร้อนในวันที่ 19 พ.ย. ซึ่งจะประกาศใช้ในทันที หลังเสร็จสิ้นการประชุม ทำให้หุ้นขนาดเล็กที่เคลื่อนไหวร้อนแรงก่อนหน้านี้ อาจชะลอตัวมากขึ้น แต่เราเชื่อว่าหุ้นขนาดใหญ่ Big Cap จะทรงตัวได้ดี จากการเก็งกำไรต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
อีกทั้งกระแสเงินทุนต่างชาติที่ทยอยสะสมหุ้นหลัก และ Long ใน SET50 Index Futures อย่างต่อเนื่อง ย่อมเป็นสัญญาณกลางถึงบวก ต่อภาพรวมตลาดหุ้นไทย
กลยุทธ์การลงทุน เราแนะนำ "เก็งกำไรกลุ่ม Domestic Play ที่ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือ หุ้นที่ผลการดำเนินงานเติบโตโดดเด่นใน 3Q57"
กลยุทธ์การลงทุนช่วงสั้น MBKET แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" BLAND และ "สะสม" SAMART
Portfolio
Top Pick in 4Q14: BEAUTY / IFEC/ LPN/ PTT/ VGI
HOLD: SAMART/ SPCG/ IFEC/ BTS/ SIM/ CK/ LPN/ VGI/ PTT/ KTB
Speculative Buy: BLAND
Accumulative Buy: SAMART
Action and Stock of the Day
SET INDEX ปรับตัวลงแรง กังวลมาตรการควบคุม
ตลาดหุ้นเอเชียทั่วเอเชียวานนี้ ปิดบวก - ลบ สลับกันไป โดยตลาดหุ้นจีนปิดบวกเด่นสุด 1.00% ขณะที่ TAIEX -1.28%
ด้านตลาดหุ้นไทย แกว่งระหว่าง 1,565-1,575 จุด โดยหุ้นหลัก PTT และกลุ่ม ธนาคาร เริ่มทรงตัวถึงบวกได้อย่างแข็งแกร่ง ขณะที่หุ้นขนาดเล็กๆ เริ่มเห็นการปรับฐานลงบางส่วน หลัง สมาคมโบรกเกอร์ เตรียมหารือวันที่ 19 พ.ย. เพื่อหามาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรหุ้นร้อน รวมถึง SVI ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ในเช้าวานนี้ ปิด ณ สิ้นวัน SET INDEX ปิดที่ 1,562.03 จุด ลบ 9.17 จุด มูลค่าการซื้อขาย 51,390 ล้านบาท
กลุ่มที่ยังปิดลบมากสุด ได้แก่ กลุ่ม Professional -7.38%, กลุ่ม Home -4.54% และกลุ่มกระดาษ -3.61% ส่วนกลุ่มหลักกลุ่มธนาคาร -0.60%, กลุ่มพลังงาน -0.22% และกลุ่ม ICT -0.29%
แนวรับหลัก SET INDEX ในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ 1,550-1,560 จุด มูลค่าการซื้อขายจะชะลอตัว เพื่อรอดูมาตรการควบคุมหุ้นร้อนในสัปดาห์หน้า
ขณะที่กระแสเงินทุนต่างชาติ ทยอยสะสมหุ้นไทยต่อเนื่อง เป็นสัญญาณที่ดี
หุ้นที่คาดผลการดำเนินงาน 3Q57 เติบโตเด่น ได้แก่ IFEC/ MFEC
กลยุทธ์การลงทุน เก็งกำไรรายตัว ช่วงสั้น พร้อมทยอยสะสมหุ้นหลักสำหรับการลงทุนระยะกลางถึงยาว
ภาพตลาดหุ้นไทยวันนี้
ตลาดหุ้นเอเชีย (7.26 น.) เช้านี้ Nikkei เปิดลบเล็กน้อย เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่เข้าหนุนการลงทุน
แม้ว่า SET INDEX วานนี้จะปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,570 จุดอีกครั้ง และทำให้ช่วงที่เหลือของสัปดาห์นี้ต่อเนื่องถึงต้นสัปดาห์หน้า แนวรับหลัก 1,550-1,560 จุด จะยังทำงานได้อย่างแข็งแกร่ง เพราะ
เงินทุนต่างชาติทยอยสะสมหุ้นหลักของไทย ต่อเนื่อง ผ่านตลาดหุ้น และการ Long สุทธิใน SET50 Index Futures ตลอด 3 วันทำการที่ผ่านมา รวม 7,934 สัญญา สะท้อนมุมมองที่เป็นกลางถึงบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย
ราคาพันธบัตรรัฐบาลไทย เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนได้จากผลตอบแทนจากพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี ลดลงตลอด 3 วัน รวม 8.69bps ปิดวานนี้ที่ 3.023% หรือหากคำนวณตั้งแต่วันประชุมกนง. 5 พ.ย. ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลงแล้วทั้งสิ้น 12.10bps สะท้อนมุมมองของนักลงทุนต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสปรับตัวลง ในช่วงสั้นนี้ ซึ่ง ก็มีความเป็นไปได้ที่การประชุม กนง.นัดสุดท้ายของปี วันที่ 17 ธ.ค. อาจพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน เป็น 1.75% จากปัจจุบันที่ 2.00%
คาดกองทุนภายในประเทศ ปรับพอร์ตการลงทุนช่วงสั้นเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่เอื้อต่อการเก็งกำไรในตลาดหุ้นไทย เราให้น้ำหนักกับตัวเลข GDP ใน 3Q57 ที่สศค.จะประกาศในช่วงเช้าวันจันทร์ที่ 17 พ.ย.นี้ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน Bloomberg consensus ยังไม่มีการประมาณการ หากเทียบกับ GDP ใน 2Q57 เติบโต 0.4% qoq และ 0.9% yoy หาก
หาก GDP ใน 3Q57 ออกมาขยายตัว qoq และ yoy ในระดับใกล้เคียงกับ 2Q57 อาจสร้างกระแสต่อการเก็งกำไรในเชิงบวกว่า
รัฐบาล อาจมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 2 ตามมาภายในเดือนพ.ย. เพื่อเริ่มใช้ในเดือนธ.ค.
และ/หรือ กนง.พิจารณาลดอัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน เป็น 1.75% จากปัจจุบัน 2.00% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้านหนึ่ง ซึ่งการประชุมนัดสุดท้าย วันที่ 17 ธ.ค.
MBKET ให้น้ำหนักกับโอกาสที่จะเกิดขึ้นในกรณีนี้ ซึ่งเท่ากับว่า หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค / การลงทุนภายในประเทศจะได้อานิสงค์เชิงบวกต่อการเก็งกำไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มอสังหาฯ / กลุ่ม ICT
แต่หาก GDP ใน 3Q57 ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นจาก 2Q57 ย่อมเป็นการยืนยันต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัว และมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นใน 4Q57
MBKET ประเมินว่า หากเกิดในกรณีนี้ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ จะกลับมาเป็นบวก และพร้อมกระจายเงินลงทุนเข้าสู่หุ้นหลักของตลาดหุ้นไทย
จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเกิดกรณีที่ดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจ หรือ กรณีที่ออกมาส่งสัญญาณเชิงลบ เราเชื่อว่าเงินทุนจากสถาบันทั้งในและต่างประเทศ รอทยอยสะสมหุ้นหลักของตลาดหุ้นไทย ผลักดันให้ SET INDEX ไต่ระดับขึ้นทดสอบ 1,600 จุด และให้น้ำหนักที่จะทะลุแนวดังกล่าวได้ภายในสิ้นปีนี้
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในรอบสัปดาห์นี้ เราแนะนำ "เน้นเก็งกำไรเป็นรายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผลการดำเนินงานใน 3Q57" เพราะภาพการลงทุนช่วงสั้นขาดความชัดเจน แต่หากนักลงทุนต้องการเก็งกำไรต่อแนวโน้มกระแสเงินทุนต่างชาติต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์หน้า เราแนะนำให้ นักลงทุน "เข้าเก็งกำไรหุ้น Big Cap ในกลุ่ม ธนาคาร, กลุ่ม ICT, กลุ่มอสังหาฯ
ปัจจัยสำคัญวันนี้
1. MSCI ปรับสมาชิกในรอบนี้ : โดยมีผลบังคับใช้ ณ ราคาปิดวันที่ 25 พ.ย.นี้
ดัชนี MSCI Thailand:
i. เพิ่ม: DELTA / EA / TUF
ii. ออก: ไม่มี
ดัชนี MSCI Global Small Cap
i. เพิ่ม: AIRA / EFORL / ICHI / KTIS / PCS / SAWAD / SUPER
ii. ออก: CENTEL / DELTA / DRT / EA / MCOT / M / PS/ TFD
กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ "ทยอยสะสม" ได้แก่
1. SAMART : ราคาปิด 30.50 บาท ราคาเหมาะสม 36.00 บาท
a) SAMART จะรายงานผลประกอบการ 3Q57 ในวันนี้ โดยคาดว่าสุทธิ 3Q57 จะชะลอตัวลง -10% yoy และ -11% qoq ตามผลประกอบการของ SIM และ SAMTEL ที่อ่อนตัวลง เนื่องเพราะเป็น Low Season ของธุรกิจ
b) อย่างไรก็ตาม MBKET ประเมินว่าราคาหุ้น SAMART ที่ปรับตัวลง -12.3% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาได้ตอบรับผลประกอบการที่ชะลอตัวลงแล้ว และเปิดโอกาสให้เข้าสะสมสำหรับการลงทุนระยะกลางขึ้นไป
c) เนื่องจากคาดว่ากำไรสุทธิ 4Q57 จะเติบโตสูง yoy และ qoq พร้อมทำระดับสูงสุดใหม่ จากการรับรู้รายได้จัดจำหน่าย Set top box และผลประกอบการของ SIM จะกลับมาโดดเด่นเช่นกัน เนื่องจากจะมีการรับรู้รายได้จำหน่ายมือถือ Lot ใหญ่ให้กับ DTAC
d) และคาดว่าความคืบหน้าในการลงทุนธุรกิจพลังงานจะมีรายละเอียดมากขึ้นใน 4Q57 และเป็น Catalyst ให้กับราคาหุ้น รวมทั้ง Upside Risk ต่อประมาณการกำไรของเรา
e) Valuation ยังน่าสนใจ โดยซื้อขายระดับ PER 2558 ที่ 13.5 เท่า และให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลราว 4% ต่อปีและ "ซื้อเก็งกำไร" ได้แก่
2. BLAND : ราคาปิด 1.99 บาท ราคาเหมาะสม 2.80 บาท
a) BLAND จะรายงานผลประกอบการ 2Q57/58 ในวันพฤหัสหรือศุกร์นี้ โดยคาดว่ามีโอกาสที่บริษัทจะประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล เนื่องจากฐานะการเงินแข็งแกร่ง และมีเงินสดในมือสูง หลังจัดตั้งกองทุน REIT ในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา
b) MBKET ประเมินเงินปันผล 1H57/58 หุ้นละ 0.03-0.04 บาท คิดเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผลราว 2%
c) และทิศทางกำไร 2H57/58 คาดว่าจะเติบโตสูง เนื่องจากมีโอกาสที่ BLAND จะบันทึกรายการพิเศษ คือ กำไรจากการหมดอายุของหุ้นกู้ราว 3 พันล้านบาท ซึ่งเป็น Upside ที่ยังไม่รวมไว้ในประมาณการของเรา
d) ราคาหุ้นซื้อขายระดับ PBV 2557/2558 เพียง 0.87 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่ 1.83 เท่า จึงเชื่อว่ามี Downside Risk ที่ค่อนข้างจำกัด
What will DJIA move tonight?
คืนนี้มีรายงานตัวเลขยอดขอสวัสดิการว่างงาน
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets
เงินทุนต่างชาติวานนี้ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 12 เหลือเพียง 38 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$388 ล้าน
Foreign Investors Action วานนี้
กระแสเงินทุนต่างชาติน่าสนใจต่อเนื่อง
นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง 505 ล้านบาท ส่งผลให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิลดลงเล็กน้อยเหลือ 15,680 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้คงการ Long สุทธิเป็นวันที่ 3 อีก 560 สัญญา รวม 3 วันทำการ Long สุทธิ 7,934 สัญญา คาดว่าจะเป็นการทยอยเปิดสถานะ Long ต่อเนื่อง แม้ว่า S50Z14 ปิดสูงกว่า Set50 Index เป็นวันที่ 9 แคบลงเหลือ 0.02 จุด ก็ตาม จากวันก่อนหน้า ปิด Premium กว้างถึง 2.09 จุด
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิเป็นวันที่ 2 อีกเล็กน้อย 227 ล้านบาท รวม 2 วันทำการขายสุทธิ 3,387 ล้านบาท ราคาพันธบัตรรัฐบาลไทยขยับขึ้นต่อเนื่อง พันธบัตรอายุ 10 ปี ผลตอบแทนลดลงแรง 4.83bps ปิดที่ 3.023% สะท้อนโอกาสที่ กนง.จะพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนัดสุดท้ายของปี มีความเป็นไปได้มากขึ้น
Short-Selling วานนี้
มูลค่า Short-selling ลดลงอีกเหลือ 309 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 393 ล้านบาท
NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิ เป็นวันที่ 10 เน้นสะสมกลุ่มธนาคาร และ พลังงาน
การซื้อขายผ่าน NVDR วานนี้ซื้อสุทธิอีก 1,238 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 523 ล้านบาท รวม 11 วันทำการซื้อสุทธิ 13,410 ล้านบาท เน้นสะสมกลุ่มธนาคาร และพลังงาน เป็นสำคัญ ภาพการลงทุน NVDR สรุปได้ดังต่อไปนี้
1. กลุ่มธนาคาร ซื้อสุทธิ สูงสุดเป็นวันที่ 3 อีก 566 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 421 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มพลังงาน ซื้อสุทธิ 309 ล้านบาท กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ ซื้อสุทธิ 90 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 169 ล้านบาท
2. ส่วนกลุ่มประกันภัย ถูกขายสุทธิสูงสุด 59 ล้านบาท
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
สภาคองเกรส ต้องเร่งพิจารณาการเพิ่มทุนใน IMF: หลังพรรคฝ่ายค้าน Republican ครองเสียงข้างมากในสภา ทำให้รัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดีโอบามา ต้องเสนอบางอย่าง เพื่อแลกเปลี่ยนกับการลงคะแนนเสียงใส่เงินเพิ่มใน IMF ซึ่งจะต้องพิจารณาภายในเดือนธ.ค.นี้ และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ จีน เพิ่มบทบาทในระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่ ผ่านการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย อย่างไรก็ตาม IMF เตรียมพิจารณาหาทางเลือกใหม่ หากสภาคองเกรสไม่อนุมัติภายในเดือนธ.ค.นี้
ยุโรป
อัตราการว่างงานอังกฤษทรงตัวที่ 6.0%: ทรงตัวเป็นเดือนที่ 3 และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี ขณะที่ค่าจ้าง เพิ่มขึ้น 1.0% yoy เร่งขึ้นกว่าที่ Bloomberg consensus คาด 0.8% yoy
BoE ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจ: เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วต่างมี Downside risk ต่อการเติบโตที่ต่ำกว่าประมาณการในช่วงก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะเศรษฐกิจในยุโรปที่เข้าสู่ช่วงภาวะชะงักงัน อีกทั้งภาคการส่งออกของอังกฤษเริ่มเห็นการชะลอตัว ประเมินเศรษฐกิจอังกฤษในปีหน้าจะเติบโต 1.25% ลดลงจากการประมาณการครั้งก่อนหน้าที่ 1.75% ด้านอัตราเงินเฟ้อในอังกฤษจะลดลงต่ำกว่า 1.0% ในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ก่อนที่จะฟื้นตัวและแตะระดับ 2.0% ตามเป้าหมายภายใน 3 ปี
รมว.คลังสหรัฐฯ เรียกร้องให้ อียูออกมาตรการเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระตุ้นเศรษฐกิจ: เพราะมีความเป็นไปได้สูงที่ อียู จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของ G-20 ในแง่ของการรักษาเสถียรภาพและความสมดุลย์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประเทศสมาชิกควรร่วมมือในการลดความเสี่ยงในภาพรวมของอียู เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวมากขึ้น
จีน
ฮ่องกงยกเลิกวงเงินการแปลงเงินหยวน-ดอลลาร์ฮ่องกง: ตั้งแต่ปี 2547 ได้กำหนดเพดานการแปลงเงินหยวน - ดอลลาร์ฮ่องกง ต่อคนไว้ที่ 20,000 หยวนต่อวัน โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย.
เอเชียแปซิฟิก
ยอดหนี้สินภาคครัวเรือนเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 10 ปี: ณ สิ้นเดือนต.ค. ระดับหนี้สินภาคครัวเรือน เท่ากับ 507.7 ล้านล้านวอน หรือ US$4.62 แสนล้าน เป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่จัดเก็บข้อมูลในปี 2546 โดยสินเชื่อเพื่อภาคอสังหาฯ และการกู้ยืมระยะยาว เพิ่มขึ้น 5.5 ล้านล้านวอน เป็น 355.1 ล้านล้านวอน
ที่ปรึกษา BoJ เสนอให้เลื่อนการขึ้นภาษี VAT: นาย Masahiro Kawai ที่ปรึกษา BoJ เสนอให้ BoJ ทยอยซื้อสินทรัพย์ เพื่อลดผลตอบแทนจากพันธบัตร / หุ้นกู้ สร้างอัตราเงินเฟ้อ พร้อมเสนอให้ รัฐบาล ชะลอการขึ้นภาษี VAT แม้ว่า รัฐบาลจะต้องขาดวินัยทางการคลัง สร้างความเสี่ยงที่มากขึ้น ซึ่งจะเป็นภาระที่หนักของ BoJ ในการแก้ไขปัญหาส่วนนี้
ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรเดือน ก.ย.ของญี่ปุ่นขยายตัวเด่น: +7.3% yoy ฟื้นตัวจากเดือน ส.ค. ที่หดตัว 3.3% yoy และดีกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดหดตัว 0.3% yoy รวมถึงเป็นการขยายตัว 2.9% mom ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการใช้จ่ายลงทุนในอนาคต ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวจะกลับมาหดตัวอีกครั้งใน 4Q57 อยู่ที่ 0.3% qoq
อัตราเงินเฟ้อในอินเดียชะลอตัว: อัตราเงินเฟ้อเดือนต.ค. เท่ากับ 5.52% yoy ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 6.46% yoy ถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เริ่มจัดเก็บข้อมูลนี้ เดือนม.ค. 2555 และเป็นระดับต่ำกว่า Bloomberg consensus คาด 5.69% yoy ทั้งนี้เป็นผลจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
ผลผลิตภาคอุตฯ ของอินเดีย เพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง: เดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 2.5% yoy เร่งขึ้นจากเดือนส.ค.ที่ 0.5% yoy และดีกว่า Bloomberg consensus คาด 0.8% yoy
ไทย
ไม่มี
การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย
ราคาพันธบัตรไทยเพิ่มขึ้นเด่น
ราคาพันธบัตรรัฐบาลไทย เพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 4
อายุ 5 ปี: ผลตอบแทนลดลง 5.98bps ปิดที่ 2.499%
อายุ 10 ปี: ผลตอบแทนลดลง 4.83bps ปิดที่ 3.023%
ราคาพันธบัตรสหรัฐฯ ลดลงอีกครั้ง
อายุ 2 ปี: ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 0.43bps ปิดที่ 0.5392%
อายุ 10 ปี: ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1.08bps ปิดที่ 2.3712%
ภาวะตลาดหุ้นที่สำคัญ
ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวลงเล็กน้อยในรอบ 7 วัน
ตลาดต่างประเทศ:
DJIA ปรับตัวลงเล็กน้อยในรอบ 7 วัน : ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปิดที่ 17,612.20 จุด ลดลง 2.70 จุด หรือ -0.02% ปรับตัวลงเล็กน้อยในรอบ 7 วัน จากแรงขายทำกำไร และกลุ่มธนาคารปรับตัวลง หลังคณะกรรมการดูแลสั่งปรับเงิน 5 ธนาคารใหญ่ ได้แก่ UBS, RBS, JP Morgan, Citigroup และ Bank of America โทษฐานพยายามปั่นตลาดเงิน อย่างไรก็ตาม ช่วงลบของตลาดค่อนข้างจำกัดเนื่องจากยังอยู่ในช่วงรายงานผลประกอบการ 3Q57 ขณะที่ VIX Index ทรงตัว +0.7% dod ที่ 13.02 จุด
SET INDEX ลงสู่แนว 1,560 จุด
ตลาดในประเทศ
SET INDEX ลงสู่แนว 1,560 จุด: ตลาดแกว่งตัวกรอบแคบเนื่องจากขาดปัจจัยบวก-ลบใหม่ โดยเกิดแรงขายหุ้นในกลุ่มธนาคารและ ICT อย่าง SCB/ ADVANC รวมถึงหุ้น SVI หลังเกิดเหตุไฟไหม้โรงงาน อีกทั้งหุ้นขนาดเล็กที่เริ่มปรับตัวลง ปิดตลาดดัชนีอยู่ที่ระดับ 1,562.03 จุด ลดลง 9.17 จุด หรือ -0.58% มูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 5.86 หมื่นลบ.
นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ: คิดเป็นมูลค่า 580 ลบ. จากวันก่อนหน้าที่ขายสุทธิคิดเป็นมูลค่า 601 ลบ. ส่งผลให้ YTD เป็นขายสุทธิอยู่ที่ระดับ 1.41 หมื่นลบ.
นักลงทุนสถาบันขายสุทธิเป็นวันที่ 3 ในรอบ 4 วัน: คิดเป็นมูลค่า 1.20 พันลบ. จากวันก่อนหน้าที่ซื้อสุทธิคิดเป็น 19 ลบ. ส่งผลให้ YTD เป็นซื้อสุทธิอยู่ที่ระดับ 4.47 หมื่นลบ. นักลงทุนบริษัทหลักทรัพย์(Prop Trade) ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 11 ติดต่อกัน คิดเป็นมูลค่า 168 ลบ.
หุ้นหลักกลุ่มธนาคารและ ICT ถูกแรงขาย:
1. กลุ่มอสังหาฯ -1.2%: PS -3.9%, AP -3.0%, QH -2.4%
2. กลุ่มธนาคาร -0.6%: KTB -1.3%, SCB -0.8%, BBL -0.3%
3. กลุ่มปิโตรเคมี -0.4%: PTTGC -0.4%, IVL -0.4%
4. กลุ่ม ICT -0.3%: ADVANC -1.3%, INTUCH -0.3%
5. กลุ่มพลังงาน -0.2%: BCP -2.1%, IRPC -1.2%, PTTEP -1.0% ส่วน PTT +0.5%
ภาวะราคาสินค้าโภคภัณฑ์
ราคาน้ำมันดิบ NYMEX, BRENT และ DUBAI ปรับตัวลง
ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ปรับตัวลง : ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.2557 ปิดที่ US$77.18/barrel ลดลง US$0.76/barrel หรือ -0.98% dod จากวันก่อนหน้าที่ US$77.94/barrel และลดลงเช้านี้เหลือ US$76.97/barrel จากปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบได้แก่
1. คาดว่าโอเปคจะไม่ปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันลง
2. Dollar Index แข็งค่าขึ้น +0.3% dod
ราคาน้ำมันดิบ BRENT ปรับตัวลงวันที่ 3 ติดต่อกัน : ปิดที่ US$81.12/barrel ลดลง US$0.55/barrel หรือ -0.67% dod จากวันก่อนหน้าที่ US$81.67/barrel
ราคาน้ำมันดิบ DUBAI ปรับตัวลงวันที่ 2 ติดต่อกัน : ปิดที่ US$78.79/barrel ลดลง US$1.27/barrel หรือ -1.59% dod จากวันก่อนหน้าที่ US$80.06/barrel
ราคาทองคำปรับตัวลงเล็กน้อย
ราคาทองคำ COMEX ปรับตัวลงเล็กน้อย : ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค. 2557 ปิดที่ US$1,159.10/ounce ลดลง US$3.90/ounce หรือ -0.34% จากวันก่อนหน้าที่ US$1,163.00/ounce
BDI ปรับตัวลงวันที่ 3 ติดต่อกัน
BDI ปรับตัวลงวันที่ 3 ติดต่อกัน : ปิดที่ 1,327 จุด ลดลง 43 จุด จากวันก่อนหน้าที่ 1,370 จุด
WTI Crack ปรับตัวขึ้น : ปิดที่ US$16.07/barrel เพิ่มขึ้น +3.54% dod
Soft Commodities ปรับตัวลง ได้แก่ ฝ้าย และถั่วเหลือง
ราคายางตลาด TOCOM ปรับตัวขึ้นวันที่ 2 ติดต่อกัน : ราคายางตลาดญี่ปุ่น ปิดที่ 204.80 เยน / กิโลกรัม เพิ่มขึ้น +2.25% dod จากวันก่อนหน้าที่ 200.30 เยน / กิโลกรัม
ราคาฝ้าย ปรับตัวลง : ราคาฝ้ายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ค ปิดที่ US$0.60/ปอนด์ ลดลง -1.93% dod จากวันก่อนหน้าที่ US$0.61/ปอนด์
ราคาถั่วเหลืองตลาด CBOT ปรับตัวลง : ราคาถั่วเหลือง ตลาด CBOT ปิดที่ US$10.47/bushel ลดลง -1.5% dod จากวันก่อนหน้าที่ US$10.64/bushel
ราคาน้ำตาล NYMEX ปรับตัวขึ้นวันที่ 2 ติดต่อกัน : ราคาน้ำตาลตลาด NYMEX ปิดที่ US$16.36 เซนต์/ปอนด์ เพิ่มขึ้น +0.80% dod จากวันก่อนหน้าที่ US$16.23 เซนต์/ปอนด์
ราคาถ่านหินล่วงหน้าปรับตัวลง 2 ตลาด
ราคาถ่านหินล่วงหน้าปรับตัวลง 2 ตลาด
1. ราคาถ่านหินล่วงหน้าตลาด Rotterdam ปิดที่ US$71.70/ตัน ลดลง -0.14% dod จากวันก่อนหน้าที่ US$71.80/ตัน
2. ราคาถ่านหินล่วงหน้าตลาด Richard Bay ปิดที่ US$64.85/ตัน ลดลง -0.15% dod จากวันก่อนหน้าที่ US$64.95/ตัน
3. ราคาถ่านหินล่วงหน้าตลาด Newcastle ปิดที่ US$63.70/ตัน เพิ่มขึ้น +0.24% dod จากวันก่อนหน้าที่ US$63.55/ตัน
การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนที่สำคัญ
เงินปอร์นอังกฤษอ่อนค่าเด่นสุดในสกุลเงินหลักอื่นๆ
เงินปอร์นอังกฤษอ่อนค่าสุดในรอบ 1 ปี เทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ: หลัง BoE ปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อลดลง อาจทำให้ BoE ลดโอกาสของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ส่งผลให้ค่าเงินปอร์นอังกฤษอ่อนค่าลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2556 ปิดที่ US$1.5765/GBP อ่อนค่ามากถึง 0.99% dod
1. Yen/US$: ค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ แตะระดับ Yen115/US$ เป็นวันที่ 2 ปิดที่ Yen115.553/US$ แข็งค่าเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ 0.29% dod ล่าสุดเช้านี้ ค่าเงินเยนแข็งค่าเล็กน้อย ซื้อขายที่ Yen115.470/US$
2. US$/Euro: เงินยูโรเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ แตะ US$1.24/euro เป็นวันที่ 4 ปิดที่ US$1.2433/euro อ่อนค่า 0.34% dod ล่าสุดเช้าวันนี้ ค่าเงินยูโรฟื้นตัวเล็กน้อย ซื้อขายที่ US$1.2438/euro
3. US$/GBP: เงินปอนด์อังกฤษเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ แตะระดับ US$1.57/GBP ครั้งแรกในรอบ 1 ปี ปิดที่ US$1.5765/GBP อ่อนค่า 0.99% dod ล่าสุดเช้าวันนี้ ค่าเงิน GBP ฟื้นตัวเล็กน้อย ซื้อขายที่ US$1.5777/GBP
4. THB/US$: ค่าเงินบาท on shore วานนี้ อ่อนค่าแตะระดับ 32.00 บาท/US$ เป็นวันที่ 47 ปิดที่ 32.83 บาท/US$ แข็งค่าเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ 0.06% dod ล่าสุดเช้าวันนี้ ค่าเงินบาททรงตัว ซื้อขายที่ 32.835 บาท/US$
(เวลา 7.30 น.)
Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530