- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 26 January 2021 15:12
- Hits: 10418
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 26-1-2021
กลยุทธ์การลงทุนรายวัน
SET
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์
1,497.88 -15.63
สรุปมูลค่าการซื้อขาย
นักลงทุน สุทธิ
สถาบัน -2,041.52
บัญชี บล. -1,134.58
ต่างชาติ -1,052.72
ในประเทศ 4,228.52
กลยุทย์การลงทุน
MARKET SUMMARY
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET ปรับฐานตามตลาดภูมิภาค หลังขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆ โดยSET ปิดที่ 1,497.88 (-15.63 จุด) มูลค่าการซื้อขาย 9.7 หมื่นล้านบาท (เทียบกับวันก่อนหน้า 9.9 หมื่นล้านบาท)
โดยนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทย 1,053 ลบ. (นักลงทุนสถาบันขาย 2,042 ลบ.) ส่วนตลาด TFEX นักลงทุนต่างชาติเปิด Short Futures ที่ 1,249 สัญญา)
STOCK PICKS & TRADING IDEA
NRF (ราคาเป้าหมาย 8.3 บาท) คาดกำไรปกติ 4Q63 ทำ All Time High ที่ 82 ลบ.(+486%YoY, +11%QoQ) จากทั้งธุรกิจ Ethnic food และ Plant-based food ที่แข็งแกร่ง และคาดโมเมนตัมกำไรจะทำ ATH ต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 2 ไตรมาสใน 1Q64-2Q64 ด้วยดีลการซื้อและร่วมทุนในบริษัทที่ได้ทำสัญญาไว้แล้ว และประเมินการเติบโต 3 ปีข้างหน้าที่ 44% CAGR ในขณะที่ปัจจุบันเทรดเพียง PEG 0.7 เท่า
INVESTMENT THEME
ส่งออกปี 63 ดีกว่าคาด และจะดียิ่งขึ้นในปี 64 : วันศุกร์ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าการส่งออกไทยเดือนธันวาคม 63 รวม 20,082 ล้านเหรียญ ขยายตัว +4.71%YoY สวนทางกับที่ตลาดคาดว่าจะหดตัว -1.35%YoY โดยพบว่าหลายกลุ่มอุตสาหกรรมมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เช่น รถยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, สินค้าเกษตร, อาหาร&เครื่องปรุง และบางกลุ่มอุตสาหกรรมก็กลับมาขยายตัวโดดเด่นอีกครั้ง เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการส่งออกเดือน ธันวาคมเติบโตในแทบทุกประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย เช่น สหรัฐฯ (+15.7%YoY), ญี่ปุ่น (+14.8%), อินเดีย (+14.5%) และจีน (+7.2%) ส่งผลให้ปี 2563 ไทยมีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 231,468 ล้านเหรียญ (-6.01% ดีกว่าที่กระทรวงพาณิชย์คาดที่ -7.0%) ผสานกับดัชนีชี้นำต่างๆ ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง เช่น PMI ภาคการผลิตและบริการของสหรัฐฯ (ม.ค) ขึ้นสู่ระดับ 59.1 (ขยายตัว 9 เดือนติดต่อกัน) และ 57.5 จุด ตามลำดับ สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ หนุนส่งออกไทยในปีนี้ขยายตัวได้ราว 4%YoY บวกต่อกลุ่มหุ้นส่งออก ทั้งกลุ่มอาหารและเครื่องปรุง, อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์
Investment Strategy : วันนี้คาด SET แกว่ง sideway แนวรับ 1,480 จุด และแนวต้าน 1,510 จุด เน้นหุ้นส่งออกที่คาดกำไรโตเด่น โดย ATO Picks วันนี้แนะนำ “NRF, STGT”
Kiatnakin Bank (KKP TB)
รายได้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง
BUY
Share Price THB 56.50
12m Price Target THB 65.00 (+15%)
Previous Price Target THB 65.00
NII ที่โตแกร่งจะหนุน EPS ปี 64 ขยายตัว
เราคาดว่าผลกระทบเชิงบวกจากการเติบโตของสินเชื่อที่แข็งแกร่งและรายได้ค่าธรรมเนียมจากตลาดทุนจะช่วยหนุนให้กำไรเติบโต 13% ในปี 64 นอกจากนี้ KKP ยังได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยต่ำเนื่องจากการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ HP (47% ของบัญชีเงินกู้) เป็นอัตราคงที่ คงคำแนะนำ ซื้อ ด้วยราคาเป้าหมายที่ 65 บาท (P / BV ปี 64 ที่ 1.1 เท่า, ROE 11.8%) หุ้น KKP จ่ายเงินปันผล 5.3% ความเสี่ยงที่สำคัญคือ คุณภาพสินทรัพย์อ่อนแอและการขาดทุนที่สูงเกินคาดจากการขายรถยนต์ที่ยึดคืน
มุ่งเน้นพอร์ตสินเชื่อที่ความเสี่ยงต่ำ
ในการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา CEO ได้ประกาศเป้าหมายทางการเงินปี 64 ตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อ 5% อัตราส่วน NPL <4.5%, loan spread 5.2-5.4% และต้นทุนสินเชื่อ <2.5% โดยยังคงมุมมองที่เป็นบวกอย่างระมัดระวังในปี 2564 ทั้งนี้ ธนาคารจะลดความเสี่ยงจากพอร์ตสินเชื่อโดยมุ่งเน้นสินเชื่อที่มีคุณภาพดี โดยจะเน้นปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อให้แก่แบรนด์ชั้นนำ เช่น Toyota, Honda และ Isuzu ซึ่งจะนำไปสู่พอร์ตสินเชื่อที่มีอัตราความเสี่ยงต่ำ / ผลตอบแทนต่ำ แต่เราเชื่อว่าธนาคารจะยังคงรักษา NIM ให้อยู่ในระดับสูงได้เนื่องจากต้นทุนเงินที่ต่ำกว่า
ไร้ห่วงเรื่องคุณภาพสินทรัพย์
แม้ว่าความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าจะดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ในปี 63 แต่ผู้บริหารคาดว่าต้นทุนสินเชื่อจะอยู่ในระดับสูงเนื่องจากลูกค้าบางรายที่ออกจากโครงการบรรเทาหนี้อาจกลายเป็น NPL ในปี 64 CEO ระบุว่าจำนวนลูกค้าที่ร้องขอมาตรการบรรเทาหนี้ในระยะที่สองนั้นต่ำกว่าระยะแรกมาก ในบรรดาทั้งหมด คุณภาพสินเชื่อของเช่าซื้อ HP มีประสิทธิภาพดีที่สุดในขณะนี้
หนี้ในโครงการบรรเทาหนี้ดีขึ้นในไตรมาส 4/63
สินเชื่อภายใต้โครงการบรรเทาหนี้ลดลงเหลือ 11% ของสินเชื่อรวมใน 4Q63 จาก 34% ในไตรมาส 3/63 สินเชื่อรายย่อยทั้งหมดได้ออกจากโครงการบรรเทาหนี้หมดแล้ว และ 75% ของทั้งหมดสามารถกลับมาชำระเงินเต็มจำนวนได้โดย 20% สามารถชำระเงินบางส่วนและ 5% ขอเลื่อนการชำระเงิน ลูกค้าทั้งหมดที่อยู่ในโครงการบรรเทาหนี้เป็น SMEs ส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจโรงแรมและอพาร์ตเมนต์ เราคาดว่าลูกค้าเหล่านี้จะต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวนานขึ้นและอาจกลายเป็น NPL หลังจากที่ออกจากโครงการบรรเทาหนี้ในปี 64
Jesada Techahusdin, CFA
(66) 2658 6300 ext 1395
Siam Commercial Bank (SCB TB)
ต้นทุนสินเชื่อลดลง หนุน EPS โต
BUY
Share Price THB 94.50
12m Price Target THB 115.00 (+22%)
Previous Price Target THB 105.00
ซื้อ เพิ่ม TP เป็น 115 บาท
เราชอบ SCB เนื่องจากมีระดับเงินกองทุนที่สูงเพียงพอสำหรับความเสี่ยงด้านเครดิตที่อาจเกิดขึ้น คาดต้นทุนสินเชื่อที่ลดลงและการควบคุมต้นทุนที่ดี (ได้รับประโยชน์จากโครงการ SCB Transformation) จะหนุนการเติบโตของกำไรในปีนี้ คงคำแนะนำซื้อ และปรับเพิ่ม TP ขึ้นมาเป็น 115 บาท (P / BV ปี 64 ที่ 0.9 เท่า, ROE 9.6%) หลังเพิ่มคาดการณ์กำไรปี 64-65 ขึ้น 3-5% เพื่อสะท้อนเป้าหมายทางการเงินใหม่ ความเสี่ยงหลักคือ NIM และเงื่อนไขคุณภาพสินทรัพย์ที่อ่อนแอกว่าคาด
ตั้งเป้าสินเชื่อปี 2564 โต 3-5% non-NII ทรงตัว
ผู้บริหารยังคงระมัดระวังต่อสภาวะเศรษฐกิจในปี 64 และประกาศเป้าหมายทางการเงินปี 64 โดยตั้งเป้าสินเชื่อขยายตัว 3-5% non-NII ทรงตัว ขณะที่ NIM ขยายตัว 3.0-3.2% และอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่ 41-45% (C / I) ผบห. ยังคงเห็นสัญญาณความต้องการสินเชื่อในกลุ่มลูกค้าองค์กร (ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน) และรายย่อย คาด NIM น่าจะค่อย ๆ ลดลงเนื่องจากการลดอัตราดอกเบี้ยและมาตรการผ่อนปรนเพื่อช่วยเหลือลูกค้า ธนาคารคาดว่าจะมีค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นจากธุรกิจประกันและบริหารความมั่งคั่ง CFO ระบุว่าธนาคารจะทำให้รายได้ค่าธรรมเนียมเป็นไปอย่างราบรื่นด้วยการบันทึกค่าธรรมเนียมที่เชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานของ bancassurance ในทุกไตรมาสของปีนี้ จากที่บันทึกเฉพาะในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว
สัดส่วนหนี้ภายใต้โครงการบรรเทาหนี้ลดลง
CFO เผยว่าเงินกู้ภายใต้โครงการบรรเทาหนี้อยู่ที่ 18% ของสินเชื่อรวมหรือ 4.02 แสนล้านบาทในไตรมาส 4/63 เทียบกับ 39% หรือ 8.39 แสนล้านบาทใน 2Q63 ในจำนวนนี้ 70% เป็นธุรกิจองค์กรและ SMEs (2.83 แสนล้านบาท) โดยประมาณ 28% เป็นธุรกิจโรงแรม อีก 30% เป็นรายย่อย (1.19 แสนล้านบาท) และ 80% เป็นสินเชื่อเช่าซื้อ HP และสินเชื่อที่อยู่อาศัย ในขณะที่อีก 20% เป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน สำหรับผู้ที่ออกจากโปรแกรม 2 ใน 3 สามารถชำระหนี้ได้ในระดับก่อนโควิด และอีก 1 ใน 3 กลับมาชำระหนี้ได้โดยมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ธนาคารช่วยเหลือลูกค้าโดยลดจำนวนเงินที่ต้องชำระและขยายระยะเวลาการชำระเงิน แต่ไม่ลดอัตราดอกเบี้ย
ต้นทุนเครดิตสูงสุดในปี 63 NPL ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น
SCB ชี้ต้นทุนสินเชื่อต่ำกว่า 200bp โดยมี NPL Ratio สูงกว่า 4.0-4.5% และ NPL coverage อย่างน้อย 130% เราคาดว่าผลประกอบการจะเติบโต 9-11% เนื่องจากต้นทุนสินเชื่อที่ลดลงและการควบคุมต้นทุนที่ดี แม้ว่า NPLs จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น แต่เราเชื่อว่าต้นทุนสินเชื่อได้พุ่งสูงสุดแล้วในปี 63 และคาดจะอยู่ที่ 185bp ในปี 64 เทียบกับ 214bp ในปี 63
Jesada Techahusdin, CFA
(66) 2658 6300 ext 1395
Thai Union Group (TU)
อาหารทะเลแปรรูปชะลอการเติบโต
T-BUY
Share Price THB 14.20
12m Price Target THB 16.50 (+16%)
Previous Price Target THB 16.50
Rating Change
ประเด็นการลงทุน
แนวโน้มกำไร 4Q63 อยู่ในเกณฑ์ดีจากยอดขายอาหารทะเลแปรรูปเติบโต อย่างไรก็ดี อัตราการเติบโตน้อยลงกว่าช่วงที่ผ่านมา และคาดว่าจะชะลอลงในปี 2564 จากการคลายล็อกดาวน์ เราจึงคาดว่ากำไรปี 2564 จะลดลง 5% YoY จากอัตรากำไรขั้นต้นลดลง และผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า เราปรับลดคำแนะนำจาก ซื้อ เป็น Trading Buy ราคาเป้าหมาย (PER 13 เท่า) 16.50 บาท
ปรับเพิ่มประมาณการปี 63 แต่ปี 64 ยังคงเดิม
จากการที่อัตรากำไรขั้นต้นสูงกว่าที่คาดจากยอดขายอาหารทะเลแปรรูปเติบโตสูงในช่วงล็อกดาวน์ เราจึงปรับประมาณการกำไรปกติปี 2563 ขึ้น 8% แต่เรายังคงประมาณการกำไรปี 2564 ใกล้เคียงเดิม โดยคาดว่ากำไรปี 2564 จะลดลง 5% YoY เนื่องจากแนวโน้มอัตรากำไรขั้นต้นลดลงจากฐานสูงและคาดว่าจะมีการผ่อนคลายล็อกดาวน์ในช่วง 2H64 จากการใช้วัคซีนโควิด-19 ทำให้ยอดขายอาหารแปรรูปชะลอ ประกอบกับเงินบาทแข็งค่าและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการตรวจโควิด-19
ยอดขายอาหารทะเลแปรรูปยังเติบโต แต่ในอัตราที่ลดลง
แม้ใน 4Q63 ยอดขายอาหารทะเลแปรรูป และอาหารสัตว์เลี้ยงมีอัตราเติบโตไม่มากเหมือนช่วง 2Q63-3Q63 แต่ก็ยังเติบโตได้ในเกณฑ์ดี เนื่องจากยุโรปและสหรัฐฯ มีการระบาดของโควิด-19 มากขึ้น อีกทั้งยอดขายที่ยุโรปฟื้นตัวจาก 2Q63-3Q63 ซึ่งประสบปัญหา Logistics จากการขาดแคลนคอนเทนเนอร์ ขณะที่ยอดขายอาหารทะเลแช่แข็งชะลอตัวจากการล็อกดาวน์ซึ่งกระทบต่อลูกค้ากลุ่มร้านอาหาร ส่วนการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ในไทย มีผลกระทบจำกัดแม้บริษัทมีฐานการผลิตหลักที่สมุทรสาคร เนื่องจากโรงงานยังมีการผลิตและส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตามปกติ โดยพนักงานติดเชื้อน้อยกว่า 1% เราประเมินว่ายอดขายของ TU ใน 4Q63 เพิ่มขึ้น 5% YoY
คาดกำไร 4Q63 เพิ่มขึ้น 18% YoY
คาดอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่ม 123 bps YoY เป็น 17.3% จากการที่อาหารทะเลแปรรูปซึ่งอัตรากำไรสูง ขายได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี ส่วนแบ่งขาดทุนจากบริษัทร่วมคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจาก Red Lobster ต้องกลับมาปิดร้านอีกครั้ง (เปิดเฉพาะซื้อกลับบ้าน) จากการระบาดของโควิด-19 ในสหรัฐฯ โดยรวมแล้วเราคาดว่ากำไรปกติ 4Q63 ของ TU ลดลง 35% QoQ เนื่องจากเป็นโลว์ซีซั่น แต่ยังเพิ่มขึ้น 18% YoY เป็น 1,420 ล้านบาท คาดเงินปันผล 2H63 เท่ากับ 0.30 บาท/หุ้น คิดเป็นอัตราผลตอบแทนครึ่งปี 2.1%
ความเสี่ยง: Red Lobster ขาดทุนมากขึ้น ราคาปลาทูน่าผันผวน เงินบาทแข็งค่าอย่างมีนัยยะ ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น
Suttatip Peerasub
(66) 2658 6300 ext 1430
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web