WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
     ตลาดหุ้นโลกน่าจะแกว่งตัวรอดูผลการประชุม FED ในวันพรุ่งนี้ ขณะที่ผลประกอบการงวด 3Q57 ของตลาดหุ้นไทยไม่สดใส ทำให้มีโอกาสปรับลดประมาณการกำไรตลาดปีนี้และปีหน้า แนะนำขายหุ้นที่เต็มมูลค่าเช่น PTT และยังถือเงินสดเป็นส่วนใหญ่ โดยยังเลือก DEMCO(FV@B18) เป็น Top pick

ตลาดน่าจะรอผลการประชุม FED 28-29 ต.ค.นี้
        ตลาดบ้านสหรัฐยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง ล่าสุด ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือน ก.ย. ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย 0.3%mom (จากเดือนก่อนหน้าที่ติดลบ) หรือ 3%yoy (กลับมาเป็นระดับสูงสุดอีกครั้งในรอบ 14 เดือน) สอดคล้องกับที่รายงานไปก่อนหน้าคือ ยอดขายบ้านใหม่ (10%ของยอดซื้อบ้านทั้งหมด) เดือน ก.ย. เพิ่มขึ้น 0.2%mom (เป็นระดับสูงที่สุดตั้งแต่เดือน ก.ค.2551) หรือเพิ่มขึ้น 17%yoy เป็นการเพิ่มอย่างมากจากการจ้างงานในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา สะท้อนจากอัตราการว่างงานที่ลดลงเหลือ 5.9% และดอกเบี้ยในตลาดที่อยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องมาเป็นเวลานานกว่า 7 ปี และน่าจะยืนยันการใช้มาตรการการเงินที่เข้มงวดต่อไป
ทั้งนี้คาดว่าตลาดน่าจะรอความชัดเจนในการการประชุม FOMC ที่กำลังมีขึ้นระหว่าง 28-29 ต.ค. นี้ ซึ่งคาดว่า FED น่าจะเดินหน้าตัดลด QE ที่เหลือ 1.5 หมื่นล้านเหรียญฯ ตามแผนเดิม ยกเว้นแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ จากเดิมที่เคยคาดไว้ว่าจะมีการปรับขึ้นในช่วง 2Q58 เนื่องจากความกังวลต่อต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมีน้ำหนักกดดันเพิ่มมากขึ้น สะท้อนจาก ล่าสุด องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) ปรับลด GDP Growth โปรตุเกส ในปี 2557 เหลือ 0.8% (จากเดิม 1.1% และต่ำกว่า IMF คาดไว้ที่ 1%) และในปี 2558 เหลือ 1.3% (จากเดิม 1.5% ต่ำกว่า IMF คาดที่ 1.5%) ทั้งนี้ล่าสุด IMF ได้ปรับลด GDP Growth โลก ในปี 2557 เป็นครั้งที่ 4 และ World Bank ปรับลดเป็นครั้งที่ 3 เหลือ 3.3% และ 2.6% ตามลำดับ ส่วนปี 2558 ประเมิน GDP Growth โลกไว้ที่ 3.8% และ 3.3% ตามลำดับ
       ความคาดหวังว่าจะมีการยืดระยะเวลาของการขึ้นดอกเบี้ย ได้ช่วยผ่อนคลายให้ค่าเงินดอลลาร์ชะลอการแข็งค่า สะท้อนจากล่าสุด Dollar Index แกว่งตัวในกรอบ 85.5-86 จุด ตลอด 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ค่าเงินประเทศคู่ค้าชะลอการอ่อนตัว โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเซีย ขณะเดียวกันความคืบหน้าในการเข้าแก้ไขวิกฤติการเงินในยุโรป ทั้งการเข้าไปซื้อ covered bond และแผนซื้อ ABS ใน 4Q57 ล้วนเป็นปัจจัยหนุนให้ตลาดหุ้นโลกฟื้นตัวในระยะสั้น ๆ โดยเฉพาะสหรัฐ พบว่าตลาดหุ้น NASDAQ และ Dow Jones ฟื้นตัว 6.4% และ 4.2% จากจุดต่ำสุดเมื่อกลางเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามถือว่ายังฟื้นตัวน้อยกว่าในฝั่งยุโรป กล่าวคือ ตลาดอิตาลีเพิ่มขึ้นสูงสุด 9.3% สเปน 8.2% ฝรั่งเศส 6.4% เยอรมัน 5.8% และ อังกฤษ 5.6% เป็นต้น หลังจากนี้คาดว่าตลาดหุ้นกลุ่มหลัง น่าจะขายทำกำไร หลังการทำ Stress Test เสร็จสิ้นและมิได้แตกต่างไปจากที่ตลาดคาดมากนัก ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐน่าจะแกว่งตัว เพื่อรอผลการประชุมของ FED ในช่วง 2 วันนี้

ต่างชาติชะลอขายหุ้นภูมิภาค แต่ยังขายไทย
      วานนี้ นักลงทุนต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคอีกครั้งราว 238 ล้านเหรียญฯ (หลังจากที่ขายสุทธิติดต่อกัน 2 วันก่อนหน้า โดย ซื้อสุทธิ 3 จาก 6 วันหลังสุด) ทั้งนี้เป็นการซื้อสุทธิสูงสุดในไต้หวัน โดยเป็นการสลับมาซื้อสุทธิราว 216 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสลับขาย 3 วันหลังสุด) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย ที่สลับมาซื้อสุทธิเช่นกัน ราว 56 ล้านเหรียญฯ (ขายสุทธิติดต่อกัน 2 วันก่อนหน้า) และ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 แต่ลดลง 95% เหลือราว 14 ล้านเหรียญฯ สวนทางกับไทยที่ยังคงขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ราว 41 ล้านเหรียญฯ (1.3 พันล้านบาท, ลดลง 51% จากวันก่อนหน้า) และ สุดท้ายคือฟิลิปปินส์ที่สลับมาขายสุทธิราว 7 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 3 วันก่อนหน้า)
        แรงขายจากต่างชาติในตลาดหุ้นภูมิภาคมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงสัปดาห์หลังสุด หลังจากที่นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิต่อเนื่องกันถึง 6 สัปดาห์ก่อนหน้า คือ ตั้งแต่ 10 ก.ย. 57 เป็นต้นมา ในขณะที่ตลาดหุ้นไทยนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 6 ก.ย. 57 รวมกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท สวนทางกับแรงซื้อจากฝั่งสถาบันที่วานนี้ซื้อสุทธิอีกราว 2.2 พันล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิถึง 11 จาก 14 วันหลังสุด รวมกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท และ เชื่อว่าจะยังมีแรงซื้อเพิ่มเติมจากนักลงทุนสถาบันอีกจากกองทุน LTF ที่มักมีแรงซื้อเข้ามาอย่างหนักในช่วงปลายปี

งวด 3Q57 พลังงานและสื่อสาร ไม่สดใส
      ในระหว่างที่รอการประกาศงบไตรมาส 3 ของกลุ่มที่มิใช่สถาบันการเงิน (Real sector) ซึ่งกำหนดให้รายงานไม่เกิน 45 วันหลังจากสิ้นงวด หรือไม่เกิน 15 พ.ย. 2557 นักวิเคราะห์ ASP ได้ทยอยทำการประเมินผลกำไรในงวด 3Q57 ในหลายกลุ่มฯ ซึ่งคาดว่าจะไม่ค่อยสดใสนัก และทำให้มีการปรับลดประมาณการบางแห่งในปี 2557 และ 2558 โดยเริ่มจากกลุ่มพลังงาน
TOP(FV@B50) งวด 3Q57 คาดเผชิญกับผลขาดทุนสุทธิเท่ากับ 2.1 พันล้านบาท (เทียบกับกำไรสุทธิ 2.1 พันล้านบาท งวด 2Q57) หลัก ๆ เกิดจากบันทึกขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน รวม LCM สูงถึง 6 เหรียญฯต่อบาร์เรล หรือคิดเป็นมูลค่าราว 3.8 พันล้านบาท (ตามราคาน้ำมันดิบอ้างอิงดูไบที่ปรับลดลงราว 11.5 เหรียญฯต่อบาร์เรล จากสิ้นงวด 2Q57) และธุรกิจอื่น ๆ เช่น โรงกลั่น อะโรเมติกส์ และ น้ำมันหล่อลื่น ชะลอตัวลงตามความต้องการ และการหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมบำรุง โรงงานในช่วงปลายงวด 3Q57 โดยรวม กำไรงวด 9M57 เท่ากับ 2.5 พันล้านบาท ลดลง 75.8%yoy และคิดเป็น 32% ของประมาณการทั้งปี 2557 จึงปรับลดประมาณการกำไรในปี 2557 และ 2558 ลงจากเดิม 59.12% และ 32.71% ตามลำดับ พร้อมทั้งปรับลดมูลค่าพื้นฐาน ณ สิ้นปี 2557 (DCF) จากเดิม 56 บาทต่อหุ้น เหลือ 50 บาทต่อหุ้น ติดตามอ่านรายละเอียด Preview Earnings เช้าวันนี้
       BCP(FV@B36) คาดว่าผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันขาดทุน 4.5 เหรียญฯต่อบาร์เรล จะทำให้กำไรสุทธิงวด 3Q57 หดตัว 70%qoq แต่อย่างไรก็ตาม ได้รับการชดเชยด้วยธุรกิจโรงไฟฟ้าโซลาร์ที่คาดว่ามีระดับกำไรทรงตัวจากงวดก่อนหน้า ขณะที่คาดว่า 4Q57 คาดว่าอาจจะยังมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันหากสิ้นปี 2557 ลดลงต่ำกว่า 93 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นราคา ณ สิ้น 3Q57 ขณะที่คาดว่าธุรกิจโรงกลั่นน่าจะมีแนวโน้มฟื้นตัวจากงวดที่ผ่านมา เนื่องจากอุปสงค์ที่มากขึ้นตามฤดูกาล ทำให้ค่าการกลั่นปรับเพิ่มขึ้น และยังรับรู้กำไรจากธุรกิจโซลาร์ รวมทั้งอาจจะบันทึกรายการพิเศษ จากการได้รับค่าเคลมประกันภัย ราว 200 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมในประมาณการ จึงยังคงประมาณการกำไรทั้งปี 2557 และ 2558 ที่เดิม
PTTEP (FV@B170) คาดว่ากำไรงวด 3Q57 จะหดตัว 31.8%qoq เนื่องจากราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปี (ต่ำกว่าสิ้นงวด 2Q57 15 เหรียญฯต่อบาร์เรล) เป็นผลจากอุปทานส่วนเกิน และอุปสงค์ที่ชะลอ ตามภาวะเศรษฐกิจโลก แต่อย่างไรก็ตากหากพิจารณางวด 4Q57 คาดว่าจะดีขึ้นเล็กน้อยจากงวด 3Q57 ตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น และการทำ Hedging น้ำมัน ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบดูไบที่ลดลงมาอยู่ในระดับ 83 เหรียญฯต่อบาร์เรล ถือว่าต่ำสมมติฐานของ ASP ที่กำหนดไว้ 90 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่เพิ่งปรับลดลงจากเดิม 100 เหรียญฯต่อบาเรล เมื่อ 14 ต.ค. ที่ผ่านมา จึงทำให้มีการปรับลดประมาณการปี 2557 ลง 12.8% และปรับลดปี 2558 ลงจากเดิม 15.3% พร้อมกับปรับลด Fair Value เหลือ 170 บาทต่อหุ้น จากเดิม 195 บาทต่อหุ้น

ตามมาด้วยกลุ่มสื่อสาร
      DTAC(FV@B114) ประกาศงบงวด 3Q57 พบว่ากำไรสุทธิลดลง 13%qoq ต่ำกว่าคาด 8.5%qoq จากรายได้ค่าบริการลดลงอย่างมาก 4.1%qoq ทั้งนี้เป็นผลจากเครือข่ายที่ด้อยกว่าคู่แข่งขัน และแม้ค่าใช้จ่ายจะลดลง 3%qoq แต่ไม่สามารถชดเชยรายได้ที่ลดลงในอัตราที่มากกว่าได้ แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่า 3Q57 จะเป็นจุดต่ำสุด และคาดว่ากำไรจะน่าค่อยๆ ฟื้นตัวในงวด 4Q57 แต่กำไรสุทธิงวด 9M57 ต่ำกว่าคาด จึงทำให้ฝ่ายวิจัยปรับลดประมาณการกำไรปี 2557-2558 ลง เฉลี่ย 13-14% และปรับลด Fair Value ปี 2558 ลงจากเดิม 6.5%
      ADVANC (FV@B250) คาดว่ากำไรงวด 3Q57 กระเตื้องขึ้นจากงวด 2Q57 เล็กน้อยราว 1.4%qoq แม้รายได้ค่าบริการชะลอตัว ตามภาวะอุตสาหกรรม แต่พบว่าค่าใช้จ่ายโฆษณาได้ลดลงเช่นกัน แต่อย่างไรคาดว่าในงวด 4q57 กำไรสุทธิน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ผลจากฤดูกาล โดยรวมทำให้กำไรปี 2557 ยังทรงตัว และยังเป็นไปตามประมาณการเดิม
       ทั้งนี้ผลกำไรสุทธิงวด 3Q57 ที่ต่ำกว่าคาด และทำให้มีกาปรับลดประมาณการกำไรสุทธิของตลาดจากปัจจุบัน ทั้งกลุ่มพลังงาน (PTTEP, PTT, BANPU, TOP) และสื่อสาร ลงจากเดิมไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาทในปี 2557 และลดลงอีกราว 2.5 หมื่นล้านบาทในปี 2558 คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ของส่วนที่จะถูกปรับลดลงอยู่ที่ 2.45 บาท/หุ้น และ 2.81 บาท/หุ้น ในปี 2557 และ 2558 ตามลำดับ เทียบกับ ประมาณการที่ฝ่ายวิจัยนำเสนอยู่ในปัจจุบัน (ก่อนปรับ) จะอยู่ที่ระดับ 98.14 บาทต่อหุ้น และ 110.47 บาทต่อหุ้น ในปี 2557 และ 2558 หรือคาดว่าจะต้องปรับลดลงราว 2.5% ต่อปี ซึ่ง ASP จะทำการปรับลด EPS ตลาดหลังจากที่มีการประกาศงบงวด 3Q57 เสร็จสิ้น อย่างไรก็ตามหากอิง EPS ตลาดใหม่ ณ ดัชนีตลาดมีค่า Expected P/E สิ้นปี 2557 16 เท่า ถือว่ายังแพง แนะนำปรับพอร์ต และ เลือกขายเป็นรายหุ้นเช่นเดิม

หุ้น PTT แพง แนะให้ขาย และสลับมาซื้อ PTTEP แทน
       เป็นที่สังเกตว่าแรงซื้อสถาบันในประเทศ กระจุกตัวในหุ้นขนาดใหญ่ 2-3 กลุ่ม เริ่มจาก กลุ่มสื่อสารบวก 1.27% นำโดยหุ้นใหญ่ในกลุ่มคือ ADVANC +1.75%, INTUCH +1.73%, THCOM( 0.63%) ตามมาด้วยหุ้นกลาง-เล็กคือ JAS +4.3% SAMTEL 2.8% ทั้งนี้แม้คาดว่าผลประกอบการงวด 3Q57 ทรงตัวเมื่อเทียบกับงวด 2Q57 ยกเว้น DTAC ที่ติดลบ 0.5% ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลจากผลประกอบการงวด 3Q57 อ่อนตัวจากงวดก่อนหน้าและมีผลทำให้นักวิเคราะห์ต้องปรับลดประมาณการลงจากเดิม ตามด้วยพลังงาน 0.65% โดยเป็นการนำของ PTT(FV@B254) +0.85% และ PTTEP(FVB170) 0.65% ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลจากที่ราคาน้ำมันดิบน่าจะใกล้จุดต่ำสุด เนื่องจาก ณ ระดับราคาตลาด 84 เหรียญฯ ต่อ บาร์เรล เป็นระดับที่ใกล้เคียงกับต้นทุนผู้ประกอบการขุดเจาะน้ำมันในตลาดโลก

       แต่อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้น PTT ที่ปัจจุบันสะท้อนสมมติฐานราคาน้ำมันดิบโลกที่ 90 เหรียญฯ แต่หากใช้ราคาน้ำมันดิบที่ราคาตลาดคาดว่าราคาหุ้นของ PTT ควรจะลดลงไปอยู่ที่ 246 บาท ซึ่งสะท้อนว่าราคาตลาดของ PTT ปัจจุบันค่อนข้างแพงแล้ว ส่วน PTTEP(FVB170) มูลค่าหุ้นดังกล่าวสะท้อนราคาน้ำมันดิบที่ 90 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ณ ราคาน้ำมันดิบที่ 84 เหรียญฯ คาดว่ามูลค่าหุ้นของ PTTEP ควรจะอยู่ที่ 158.7 บาท ซึ่งถือว่ายังมี upside 10.5% เทียบกับราคาตลาด อยู่ที่ 143.5 บาท จึงแนะนำสลับมาลงทุนใน PTTEP และให้ขายทำกำไรหุ้น PTT ซึ่งถือว่าราคาหุ้นได้สะท้อนมูลค่าที่เหมาะสมปี 2557 ไปแล้ว ขณะที่ PTT ยังจะถูกกดดันจากบริษัทย่อยในกลุ่มโรงกลั่น และ ปิโตรเคมีที่คาดว่าจะเผชิญกับภาวะขาดทุนหรือผลประกอบการขาดทุนในงวด 3Q57 ดังกล่าวข้างต้น 

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!