- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 24 August 2020 14:31
- Hits: 5573
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 24-8-2020
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index รีบาวด์ขึ้นตามตลาดหุ้นภูมิภาคทดสอบแนวต้านบริเวณ 1,306 จุดแต่ยังไม่สามารถยืนได้ และเริ่มย้อนลงมาปิดบวกเหลือ 2.47 จุด ณ สิ้นวันต่ำกว่าระดับ 1,300 จุดเล็กน้อย สถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นบางๆ 289 ลบ.และ 233 ลบ. ตามลำดับ (ต่างชาติพลิกมา Long Index Futures 5.2 พันสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะแกว่งตัว Sideways ในกรอบ 1,290-1,308 จุดหลังยังคงไร้ปัจจัยบวกใหม่เข้ามากระตุ้น โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามวันนี้คือตัวเลขส่งออกเดือน ก.ค. (ตลาดคาด -17.8% Y-Y) ส่วนสัปดาห์นี้ติดตามการกำหนดวันพูดคุยข้อตกลงทางการค้าเฟส 1 ระหว่างสหรัฐฯ-จีนหลังครบ 6 เดือน และติดตามมุมมองและสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินของ FED ในงานสัมมนาประจำปีที่ Jackson Hole วันที่ 27-28 ส.ค.นี้ เราจึงยังเน้นเลือกลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวและยัง Laggard โดยเน้น Domestic Play และเกี่ยวข้องกับสินค้าบริการจำเป็น ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม อสังหาฯแนวราบ สื่อสารฯ โรงพยาบาล โรงไฟฟ้า ส่วนประเด็นวัคซีน COVID-19 ให้ติดตามผลการทดลองเฟสที่ 3 จากฝั่งสหรัฐฯ-ยุโรปช่วง 1-2 เดือนนี้ ซึ่งหากออกมาในเชิงบวกเราแนะนำให้เก็งกำไร Global Play
กลยุทธ์ : เลือกเก็งกำไรหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว//ทยอยสะสมในช่วงตลาดปรับฐาน
หุ้นเด่นเดือน ส.ค. : CPALL, GULF, PTG, SC, STGT
หุ้นเด่นวันนี้: TU
- แนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 18 บาท
- แนวโน้มกำไร 2H20 คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องจากธุรกิจทูน่ากระป๋องที่ยังแข็งแกร่ง ขณะที่การ Reopen ทำให้ร้านอาหาร Red Lobster ขาดทุนลดลง และมี Tax Credit ช่วย
- เราคาดกำไรปกติปี 2020-2021 เติบโตเฉลี่ยราว +10% ต่อปี และเป็นสินค้าจำเป็นซึ่งถือว่ามีความ Defensive ส่วนด้านเทคนิคยืนเหนือแนวต้าน 14 บาทได้เป็น Sentiment เชิงบวก
Fund Flow กระแสเงินทุนพลิกมาไหลเข้าภูมิภาค US$375 ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าไต้หวันและเกาหลีไต้ US$214 ล้านและ US$180 ล้าน ตามลำดับ หลังไหลออกแรงในวันก่อนหน้า ส่วนไทยยังไหลออกบางๆ US$7 ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่ายังผันผวนไหลเข้าสลับไหลออก โดยยังคงจับตาดูสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ซึ่งกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงพัฒนาการของวัคซีน
ประเด็นสำคัญวันนี้
(+) กลุ่มอสังหาฯ เรามีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มผลการดำเนินงาน 2H20 จากยอดโอนคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นจาก Presales 1H20 ที่ดีกว่าคาดและการโอนโครงการคอนโดใหม่ๆ ส่วน Margin ที่ขยายตัวจากการชะลอการทำโปรโมชั่น ส่วน 2H20 จะเปิดโครงการใหม่มากกว่า 2 เท่าตัวจาก 1H20 หนุนการเติบโตในระยะถัดไป เราคาดกำไรปกติปี 2020 -17% Y-Y ก่อนฟื้นตัว 18% Y-Y ในปี 2021 ราคาหุ้นซื้อขาย 2021PER เฉลี่ย 7.7 เท่าและให้ Dividend Yield 6-7% คงน้ำหนักการลงทุน "Overweight" Top Pick เป็น ORI LH
(+) CK คาดกำไร 2H20 ฟื้นตัวจากบริษัทลูกอย่าง BEM CKP และ TTW ที่ฟื้น ขณะที่ธุรกิจรับเหมาคาดว่าจะได้อานิสงส์เชิงบวกจากงานประมูลภาครัฐที่คาดว่าจะออกมาหน่าแน่นในช่วงที่เหลือของปีรวม 3 แสนลบ. (รถไฟฟ้าสายสีส้มและม่วง รถไฟทางคู่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำมนลาว) ซึ่งคาดว่า CK จะได้งานและหนุน Backlog ให้แตะ 1 แสนฃล.อีกครั้ง เราแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 22 บาท
(+) TOP ขาย GPSC ให้ PTT 3.5% โดยขายผ่านการถือทางตรง 8.9% และถือเพิ่ม 5.4% ผ่านการซื้อ TP จาก PTT เรามองเป็นบวกต่อ TOP ทั้งด้านการเงินและเชิงกลยุทธ์จากสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น 5.9 พันลบ. และคาดจะสามารถจ่ายปันผลได้ 2-4 บาทต่อหุ้นในปีนี้ ส่วนการเข้าถือหุ้นเพิ่มของ PTT ทำให้บรรลุเป้าหมายการขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าได้เร็วขึ้น เราแนะนำ "ซื้อ" TOP ราคาเป้าหมาย 62 บาท และ GPSC ราคาเป้าหมาย 112 บาท
(0) BCPG เพิ่มทุน 65% ทั้ง RO PP Warrant และ ESOP โดยคาดจะได้เงินทั้งสิ้น 1.45 หมื่นลบ. เพื่อลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลม SWAN Project ในลาว และคืนหนี้จากการซื้อโรงไฟฟ้าในช่วงที่ผ่านมา เราประเมิน EPS Dilution ราว 12% ในปี 2020 และ 39% ในปี 2021 โดยชดเชยได้บางส่วนจากกำไรที่คาดเติบโต 1.2 พันลบ.ต่อปีในปี 2021 เป็นต้นไป ยังแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 24 บาท
(+) ตลาดดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 190.60 จุด ปิดที่ 27,930.33 จุด หนุนจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับขึ้นเป็นระดับ 54.7 ในเดือนส.ค. สูงสุดในรอบ 18 เดือน จาก 50.3 ในเดือนก.ค.
(-) ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ จากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ หลังดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของยูโรโซน อยู่ที่ 51.6 ในเดือนส.ค. จาก 54.9 ในเดือนก.ค. รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในยุโรป
(+) ตลาดเอเชียปรับขึ้น ตามทิศทางของตลาดดาวโจนส์ จากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐออกมาแข็งแกร่ง
(-) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 31.56 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 48 เซนต์ หรือ 1.1% ปิดที่ 42.34 ดอลลาร์/บาร์เรล จากข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศยุโรปที่อ่อนแอ รวมถึงกดดันจากเบเกอร์ ฮิวจ์ ผู้ให้บริการขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐเผยว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11 แท่น สู่ระดับ 183 แท่นในสัปดาห์ที่ผ่านมา
(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 0.5 ดอลลาร์ หรือ 0.1% ปิดที่ 1,947 ดอลลาร์/ออนซ์ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปีนี้ และแนวโน้มเศรษฐกิจ
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 1252.38 / +-
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
24 ส.ค. - ไทย: นำเข้า-ส่งออก (ก.ค.)
25 ส.ค. - เยอรมนี: GDP 2Q20 Final, IfoBusiness Climate (ส.ค.)
- สหรัฐฯ: ยอดขายบ้านใหม่ (ก.ค.)
26 ส.ค. - ไทย: ผลผลิตอุตสาหกรรม (ก.ค.)
- สหรัฐฯ: ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน (ก.ค.)
27 ส.ค. - เกาหลีใต้: ประชุมธนาคารกลาง
- สหรัฐฯ: GDP 2Q20 คาดการณ์ครั้งที่ 2
Contact person : Jitra Amornthum Register : 014530
Contact person : Veeravat Virochpoka Register : 047077
www.fnsyrus.com
FB: FINNANSIA SYRUS SECURITIES
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web