- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 31 July 2020 19:57
- Hits: 5268
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 31-7-2020
MARKET TALK
กลยุทธ์การลงทุน
ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์ข้างหน้า จะเห็นบทสรุปเรื่องผลกระทบจาก Covid-19 ในยกที่ 1 ผ่านการประกาศตัวเลขผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน และ GDP Growth ในงวด 2Q63 ซึ่งคาดหมายว่าจะหดตัวรุนแรง น่าจะทำให้ SET Index ในช่วงเวลาดังกกล่าวมีการปรับฐาน แนะนำให้จัดพอร์ตโดยเน้นที่หุ้นปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง Top Pick เลือก CPALL และ SCCC
สัญญาณร้ายทางเศรษฐกิจ ปรากฎชัดเจนขึ้น
การประกาศตัวเลข GDP งวด 2Q63 ของสหรัฐฯ ที่ติดลบมากถึง 32.9% QoQ แม้จะไม่ต่างจากความคาดหมายมากนัก แต่ก็สร้างความกังวลในวงกว้าง ขณะที่สถานการณ์ที่กำลังดำเนินไปในงวด 3Q63 ก็ยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัว ภาวะดังกล่าวสร้างแรงกดดันต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยก็น่ากังวลไม่แพ้กัน โดยฝ่ายวิจัยคาดการณ์ว่า GDP ในงวด 2Q63 จะติดลบราว 15% YoY และมีโอกาสที่จะเกิด Downside ต่อประมาณการ GDP Growth ปี 2563 โดยล่าสุดกระทรวงการคลังออกมาปรับประมาณการ GDP Growth เป็นติดลบ 8.5% (ธปท. คาด -8.1%) อีกสัญญาณหนึ่งคือประกาศของ KBANK ที่ปิดโครงการซื้อคืนหุ้น โดยขายหุ้นที่ซื้อคืนในช่วงที่ผ่านมาออก ฝ่ายวิจัยตีความว่าเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดความคล่องตัวในการปรับโครงสร้างทุนเพื่อรองรับภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้ายในอนาคต และน่าจะสร้างแรงกดดันให้เกิดการขายในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ได้อีกรอบหนึ่ง สถานการณ์แวดล้อมดังกล่าวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจอยู่ในภาวะที่ต้องการมาตการฟื้นฟูที่รุนแรง และเร่งด่วน ซึ่งต้องฝากความหวังไว้กับรัฐมนตรีที่กำลังจะเข้ามาดูแลเศรษฐกิจ วันนี้ไม่มีการปรับพอร์ต Top Pick เลือก CPALL, SCCC
GDP 2Q63 ในสหรัฐฯ, ยุโรป หดตัวแรง เพิ่มความกังวลให้นักลงทุน
สินทรัพย์ทั่วโลก(Risk Asset) ปรับลดลงวานนี้ ทั้งโดยตลาดหุ้น, ราคาน้ำมันดิบปรับลง 3% หลักๆถูกกดดันจากรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ GDP งวด 2Q63 ของทั่วโลกที่ประกาศเมื่อวานนี้หดตัวแรง อาทิ
เยอรมันนี GDP หดตัว -10.1%qoq (ตลาดคาด -9%qoq) หรือ -11.7%yoy (ตลาดคาด -11.7%yoy)
สหรัฐ GDP 2Q63 เมื่อคิดเป็นงวดเต็มปี (Annualized Rate) หดตัว -32.9%qoq (ตลาดคาด -34.1%qoq) แต่หากเทียบ %yoy จะหดตัว -9.5%yoy (ตลาดคาด -10.3%yoy)
ASPS ตั้งข้อสังเกตว่าตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมามักจะปรับฐานลงแรง เมื่อมีการประกาศ GDP 2Q63 แม้ตลาดจะรับรู้ก่อนหน้าอยู่แล้วว่าออกมาหดตัว และเป็น Bottom ของปี หรือบางประเทศที่ออกมาดีกว่าตลาดคาด อาทิ จีน ก็ถูก Take Profit เช่นกัน (ดังรูป)
% เปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นทั่วโลก วันที่ประกาศ GDP 2Q63
คาด GDP ไทยงวด 2Q63 ติดลบ 15%yoy
ในประเทศนอกจากสถานการณ์ Covid-19 ที่ตลาดสบายใจช่วงสั้น หลังผ่านพ้น Case ทหารอียิปต์และปัจจุบันไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศ ซึ่งยังต้องติดตามและระวังหากเกิดขึ้น คาด SET index อาจเผชิญ Sentiment - อย่างไรก็ตาม ASPS เชื่อว่าตลาดจะเริ่มให้น้ำหนักการรายงาน GDP 2Q63 คือ สภาพัฒน์จะประกาศ วันที่ 17 ส.ค. ASPS คาดหดตัว 15%yoy หรือ หดตัว 18.9%qoq อยู่ที่ 2.26 ล้านล้านบาท โดยประเมินไตรมาส 2Q63 เป็น Bottom ของปีนี้ และคาดงวด 3Q-4Q63 คาดหดตัวลดลง –8%yoy และ -6.5%yoy ตามลำดับผลจากการ Reopen ธุรกิจและผ่อนคลายกิจกรรมเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตามในช่วง 2H63 ASPS ประเมินจะยังมี Downside ต่อฟันเฟืองเศรษฐกิจที่อาจหดตัวมากกว่าคาด คือ
ภาคส่งออก แม้ส่งออก 6M2563 เฉลี่ยหดตัว 7.1%yoy (เทียบกับสมมติฐาน ASPS ที่คาด การส่งออก ทั้งปี 2563 หดตัว -10%) อย่างไรก็ตามส่งออก 1H63 ส่งออกที่หดตัวน้อย เป็นผลจากการส่งออกอาวุธไปสหรัฐ และทองคำเพิ่มขึ้น ฯลฯ โดยเชื่อว่า 2H63 เมื่อไม่มีปัจจัยเหล่านี้คาดส่งออกจะหดตัว (เริ่มเห็นจาก ส่งออกทองคำ เดือน มิ.ย. กลับมาหดตัว 131%yoy) เช่นเดียวกับ สินค้าส่งออกสำคัญของไทย อาทิ รถยนต์, ข้าว ฯลฯ เชื่อว่า 2H63 ยังเห็นสัญญาณชะลอตัว
การบริโภคครัวเรือน ในช่วง 2H63 คาดจะได้รับผลกระทบหลักจากกำลังซื้อที่หายไป จากแนวโน้มผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นจากผลกระทบ Covid-19 ขณะที่เม็ดเงินเยียวยาจากมาตรการภาครัฐ จาก พรก. 1 ล้านล้านบาท อาทิ มาตรการแจกเงิน 5 พันบาท 3 เดือนให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ซึ่งจะหมดลง ในเดือน ก.ค.63 ทำให้การบริโภคมีโอกาสชะลอลง
การเบิกจ่ายงบประมาณรัฐ (G) : คาด 3Q63 จะได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยน ครม. ที่ล่าช้า และรอผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสำคัญๆ โดย ASPS ประเมินว่าในช่วงสั้นเกิดสุญญากาศในผลักดันเม้ดเงินขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
COVID-19 ยังกระทบต่อกลุ่มการบินเพิ่ม
ภาพรวมนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปแทบทั้งหมดนับจากช่วง เม.ย. 63 จากมาตรการจำกัดการเดินทางเข้าออกนอกประเทศ เพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบชัดเจนต่อผู้ประกอบการในธุรกิจการบิน ไม่ว่าจะเป็น AOT ที่รับผลกระทบต่อธุรกิจการบิน (ค่าธรรมเนียมเที่ยวบินขึ้น ลงจอด และค่าธรรมเนียมภาษีสนามบิน) ซึ่งกระทบทั้งในแง่ปริมาณผู้ใช้บริการและรายได้ค่าธรรมเนียมที่เฉลี่ยลดลง จากมาตรการช่วยเหลือต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบเรื่องมาตรการช่วยผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์ที่เปลี่ยนไปอิงเกณฑ์ส่วนแบ่งรายได้ แทนเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งที่สูงกว่าระหว่างส่วนแบ่งรายได้และรายได้ขั้นต่ำ
แม้ฝ่ายวิจัยได้รวมผลกระทบข้างต้นทั้งหมดในประมาณการแล้ว ล่าสุดวานนี้ยังมีประเด็นสร้าง Downside เพิ่มเติมในส่วนของการปรับเงื่อนไขสัญญาเชิงพาณิชย์ฉบับใหม่ที่มีกับ คิง เพาเวอร์ ที่จะมีผลนับจาก 1 เม.ย. 65 จากเดิมอิง เกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งที่สูงกว่าระหว่างส่วนแบ่งรายได้หรือรายได้ขั้นต่ำปีละ 2.3 หมื่นล้านบาท มีการปรับวิธีคิดรายได้ขั้นต่ำเป็นอิงบนจำนวนผู้ใช้บริการจริง เทียบกับ สมมติฐานจำนวนผู้ใช้บริการที่คิงเพาเวอร์คาดในปีแรกของสัญญา ทำให้มีความเสี่ยงต่อกำไรในช่วง 2-3 ปีแรกๆของสัญญา คือ ปีบัญชี 2565-67 ราวปีละ 8%-9% ซึ่งคาดการณ์ผู้ใช้บริการสนามบิน ASPS ยังต่ำกว่าสมมติฐานที่คิง เพาเวอร์ใช้ AOT จะได้รายได้ต่ำลงกว่าประมาณการที่อิงรายได้ขั้นต่ำต่อปีเดิม และกระทบมูลค่าพื้นฐานราว 3 บาท ภาพรวมอาจกดดันภาพการฟื้นตัว AOT ระยะกลางไม่ดีดังเช่นที่คาดหวังไว้เดิม แม้อาจไม่เห็นความเสี่ยงที่อาจสร้าง Downside เพิ่มเติมจากนี้ที่มีนัยฯแล้ว แต่ฝ่ายวิจัยยังไม่เห็นประเด็นที่สามารถขับเคลื่อนหุ้น Outperform ได้ และหากใช้มูลค่าพื้นฐานที่รวมผลกระทบดังกล่าวที่ราว 50 บาท จะยังมี Downside จากราคาปัจจุบัน จึงยังคงคำแนะนำ Switch
ส่วนความคืบหน้าของผู้ได้รับผลกระทบอีกด้านหนึ่ง คือ วานนี้ NOK ได้ยื่นคำร้องและการเสนอผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลาย เชื่อว่าน่าจะเกิดขึ้นจากปัญหาสภาพคล่องที่หมดไป จากปริมาณธุรกิจที่ลดลงตามผลกระทบ COVID-19 ต่อการท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งภายใต้กระบวนการดังกล่าว แม้ NOK ยังสามารถดำเนินกิจการได้อยู่ แต่ ASPS ประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่ขนาดธุรกิจของ NOK ในระยะถัดไปจะเล็กลงมีนัยฯ ซึ่งกรณีดังกล่าวจะเท่ากับว่า ช่วยบรรเทาปัญหากำลังให้บริการที่ล้นในอุตสาหกรรม และอาจส่งผลดีในแง่คู่แข่งลดลงต่อผู้ที่มีโอกาสอยู่รอดมากสุด คือ AAV ที่มีเงินสดในมือ สิ้นสุด 1Q63 ที่เหลือสูง 4.85 พันล้านบาท เพียงพอรองรับรายจ่ายที่มีการควบคุมเข้มงวดตั้งแต่ช่วง Lockdown งวด 2Q63 นอกจากนี้ การกลับมาเริ่มให้บริการราว 70% ของเที่ยวบินในประเทศ หรือ คิดเป็นราว 35%-40% ของกำลังให้บริการรวมในปัจจุบัน ยังเป็นอีกตัวช่วยหนึ่ง แม้ไม่ครอบคลุมรายจ่ายทั้งหมด แต่จากการตรวจสอบกับ AAV ล่าสุด สภาพคล่องที่เหลืออยู่ยังคาดช่วยประคองถึงสิ้นปี และหากปริมาณธุรกิจยังไม่ฟื้นตัว AAV ยังสามารถงัดมาตรการเข้มงวดรายจ่ายเพิ่มเติมที่ยังไม่ใช้ได้อีก เช่น การปลดระวางฝูงบิน รวมถึงการลดจำนวนพนักงาน ให้อยู่ในระดับเหมาะสมกับปริมาณธุรกิจที่มีระยะสั้นสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง เชื่อว่าสามารถเก็งกำไร สั้นๆจากกระแสข่าวดังกล่าวได้ ทั้งนี้ คำแนะนำทางพื้นฐาน ยังคงให้ Switch จากความเสี่ยงการฟื้นตัวล่าช้ากว่าคาด โดยเฉพาะการเดินทางระหว่างประเทศ
ปิดโครงการซื้อหุ้นคืน แบบไม่สวยงาม
วานนี้ KBANK แจ้ง SET เกี่ยวกับการจำหน่ายหุ้นทุนซื้อคืน หลังพ้นกำหนด 6 เดือน นับตั้งแต่สิ้นสุดโครงการซื้อคืน (27 ก.พ. 63) จำนวน 23,932,600 หุ้น (1% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว) โดยขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ระหว่างวันที่ 31 ส.ค. 63 – 16 ก.ย. 63 ซึ่งราคาที่ขายต้องไม่ต่ำกว่าราคาเฉลี่ย 5 วันทำการ หัก 15% ของราคาปิดเฉลี่ย (ราคาขายคืน ≥ 85%)
โดยปกติการจำหน่ายหุ้นทุนซื้อคืน (Treasury Stock) จะทำได้หลังพ้นกำหนดสิ้นสุดการซื้อหุ้นคืน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี ซึ่งในทางบัญชีไม่ว่าจะเกิดเป็นกำไรหรือขาดทุน จะไม่มีการบันทึกผ่านงบกำไรขาดทุน แต่ส่งผลต่อส่วนของผู้ถือหุ้นแทน ซึ่งในครั้งนี้ KBANK ประกาศจำหน่ายราคาหุ้นทุนซื้อคืน เมื่อเทียบกับราคาหุ้นปัจจุบันที่ 82.5 บาท ถือว่าต่ำกว่าราคาทุนเฉลี่ยราว 134 บาทต่อหุ้น (มูลค่าหุ้นซื้อคืนทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 3,208 ล้านบาท) อย่างไรก็ดีมูลค่าการซื้อคืนที่คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.8% ของส่วนของผู้ถือหุ้น (โดยปกติส่วนที่ซื้อหุ้นคืน นับเป็นรายการหักจาก CET-1 อยู่แล้ว อีกทั้งการซื้อหุ้นคืนมีการจัดสรรกำไรสะสมในจำนวนเดียวกัน) ทำให้ผลต่อเงินกองทุนตามกฎหมายจำกัด โดย ณ สิ้นงวด 2Q63 ธนาคารฯ มีเงินกองทุนตามกฎหมาย (ตามงบการเงินรวม) จำนวน 3.83 แสนล้านบาท แบ่งเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Tier - 1) ประมาณ 3.19 แสนล้านบาท เทียบกับสินทรัพย์เสี่ยง (RWA) ที่ 2.25 ล้านล้านบาท คิดเป็น CAR ที่ 18.1% (เกณฑ์ขั้นต่ำ ธปท. ที่ 12%) และ Tier – 1 ที่ 15.4% (ขั้นต่ำ 9.5%)
ทั้งนี้ การจำหน่ายหุ้นซื้อคืนในระยะเวลาที่รวดเร็ว มองว่าหลังสิ้นสุดโครงการฯ ช่วยทำให้ธนาคารเกิดความคล่องตัวในการบริหารโครงสร้างเงินกองทุนในอนาคต หากเกิดกรณีเลวร้าย ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันที่ GDP มีแนวโน้มหดตัวราว 8% - 10% จากปีก่อน มากกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต้องใช้เวลา สร้างแรงกดดันต่อคุณภาพสินทรัพย์ ซึ่งมองว่าทั้งกลุ่มฯ เผชิญกับความท้าทายไม่แตกต่างกันมาก โดยอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Tier -1 ) ณ สิ้นงวด 2Q63 พบว่า TISCO สูงสุดในกลุ่มฯ ที่ 17.6% (ขั้นต่ำ 8.5%) รายละเอียดตามตารางหน้าถัดไป
อิง GGM (ROE ระยะยาว 6%) ได้ PBV ที่ 0.53 เท่า ให้ FV ปี 2563 ที่ 93 บาท แทบไม่เห็นปัจจัยบวกระยะสั้น แนะนำ SWITCH ย้ายไปพักในหุ้นปันผลกลุ่มอื่นแทน
RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web