- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 24 July 2020 17:02
- Hits: 6173
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 24-7-2020
กลยุทธ์การลงทุนรายวัน
วานนี้ SET แกว่ง sideways มีแรงขายมากในกลุ่มโรงไฟฟ้า เนื่องจากมี Big lot ต่ำกว่าราคาตลาด และมีการประกาศการเพิ่มทุนของ GULF โดย ณ. สิ้นวัน SET ปิดที่ 1,359.65 (+2.61 จุด) มูลค่าการซื้อขาย 7.0 หมื่นล้านบาท (เทียบกับวันก่อนหน้า 6.4 หมื่นล้านบาท)
โดยนักลงทุนต่างชาติ ขายหุ้นไทย 2,054 ลบ. (นักลงทุนสถาบันขาย 2,090 ลบ.) ส่วนตลาด TFEX นักลงทุนต่างชาติเปิด Short Futures ที่ 5,156 สัญญา)
OSP (ราคาเป้าหมาย 50 บาท) คาดยอดขาย C-vitt สูงเป็นประวัติการณ์ และจะดียิ่งขึ้นใน 2H63 จากการขยายกำลังการผลิต OSP เร่งโครงการ Fit Fast Firm ช่วยให้ลดต้นทุนได้มากกว่าเป้าหมายเดิม คาดว่าจะทำให้กำไรของบริษัทกลับมาเติบโตได้ดีใน 3Q63-4Q63
แนะจับตาภาคแรงงานสหรัฐฯอย่างใกล้ชิด : วานนี้กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ที่ระดับ 1.416 ล้านราย มากกว่าที่ตลาดประเมินไว้ที่ 1.3 ล้านราย และถือเป็นครั้งแรกในรอบ 16 สัปดาห์ที่ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกปรับตัวเพิ่มขึ้นเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า (WoW) ซึ่งอาจสะท้อนถึงภาวะการแพร่ระบาด COVID-19 ในสหรัฐฯ ขยายวงกว้างมากขึ้นกลับมากระทบต่อภาคแรงงาน ดังนั้นอาจต้องจับตาอย่างใกล้ชิดว่าในช่วงถัดไปจะปรับตัวขึ้นอีกหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดีตลาดยังคงมีความคาดหวังเชิงบวกในระยะสั้นที่คาดช่วยพยุงตลาด คือ การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของสหรัฐฯ วงเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งคาดจะออกมาเร็วๆนี้ เพื่อมาช่วยเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 หลังจากโครงการช่วยเหลือเดิมจะสิ้นสุดลงในสิ้นเดือน ก.ค. นี้ ส่วนปัจจัยในประเทศ วันนี้แนะติดตามการรายงานยอดการส่งออกไทย เดือน มิ.ย. (ที่เลื่อนการรายงานมาจากวันพุธ) ซึ่งตลาดคาด -15%YoY โดยเดือน พ.ค. หดตัว มากถึง -22.5%YoY
Investment Strategy : วันนี้คาด SET แกว่ง Sideways กรอบแนวรับ 1,340 ต้าน 1,365 จุด เน้นหุ้นที่มีอัตรากำไรขยายตัวขึ้น โดย ATO Picks วันนี้แนะนำ “OSP, CBG, GLOBAL”
กลยุทธ์การลงทุน
มีหุ้น : ทยอยลดพอร์ตการลงทุน รอจนกว่าจะเกิดสัญญาณการฟื้นตัวอีกครั้ง
ไม่มีหุ้น : รอเข้าซื้อที่บริเวณแนวรับ 1350 จุด เน้นเป็นการเก็งกำไรระยะสั้น
ส.อ.ท. เผยยอดขายรถยนต์เดือนมิ.ย.ร่วง 58% (กรุงเทพธุรกิจ)
ความเห็น : ตัวเลขอุตสาหกรรมรถยนต์เดือน มิ.ย. โดยรวมฟื้นตัวจากเดือน พ.ค. แต่ยังทรุดหนักจากช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมแล้วใน 2Q63 ตัวเลขยอดผลิตรถยนต์ทรุดหนักเหลือ 152,450คัน(-66%QoQ,-70%YoY) ซึ่งจะทำให้ผลประกอบการหุ้นในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ขาดทุน แนวโน้ม 2563 เราปรับลดคาดการยอดผลิตรถยนต์ลงเหลือ 1.3 ล้านคัน ลดลง 35%YoY เราให้น้ำหนักการลงทุนต่ำกว่าตลาด (NEGATIVE)
CK เติมแบ็กล็อก 5 หมื่นล.ลุยรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน (ทันหุ้น)
ความเห็น : Backlog ปัจจุบันต่ำจะกดดันผลประกอบการปีนี้ไม่เด่น แต่คาดหวังงานประมูลซึ่งกลุ่ม CK มีความได้เปรียบ จะหนุน Backlog เข้าสู่ New S-Curve ในปี 2564 CK มีเงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานชั้นนำของประเทศ คือ BEM, CKP และ TTW มีมูลค่าถึง 7 หมื่นล้านบาท หรือ คิดเป็น 41 บาทต่อหุ้น คงแนะนำ TRADING BUY เป้าหมาย 24 บาท
NWR คว้างานใหม่ สร้างสะพาน 267ล. เติมแบ็กล็อกในมือ (ทันหุ้น)
ความเห็น : NWR มีงานในมือสูงประมาณ 3 หมื่นล้านบาท แต่เรายังกังวลประเด็นความสามารถทำกำไร เพราะ งานที่ประมูลได้หลายโครงการจะประมูลต่ำกว่าราคากลางมาก ผลประกอบการในไตรมาสสองจะยังไม่สดใส ช่วงนี้แนะนำให้ชะลอการลงทุนก่อน
Thailand Automotive
ตัวเลขรถยนต์ มิ.ย. ฟื้นตัวต่อจากเดือนก่อน แต่ยังทรุดหนักจากปีก่อน
ประเด็นการลงทุน
ตัวเลขอุตสาหกรรมรถยนต์เดือน มิ.ย. โดยรวมฟื้นตัวจากเดือน พ.ค. แต่ยังทรุดหนักจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น ยอดผลิตรถยนต์ 71,704 คัน (+28%MoM, -59%YoY) ตลาดรถยนต์ในประเทศ 58,013 คัน (+44%MoM, -33%YoY) และ ยอดส่งออกง 50,049 คัน (+67%MoM, -49%YoY) รวมแล้วใน 2Q63 ตัวเลขยอดผลิตรถยนต์ทรุดหนักเหลือ 152,450คัน(-66%QoQ,-70%YoY) ซึ่งจะทำให้ผลประกอบการหุ้นในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ขาดทุน แนวโน้ม 2563 เราปรับลดคาดการยอดผลิตรถยนต์ลงเหลือ 1.3 ล้านคัน ลดลง 35%YoY ลดลงจากจากคาดการณ์ครั้งก่อนเท่ากับ 1.4 ล้านคัน ลดลง 30% เราให้น้ำหนักการลงทุนต่ำกว่าตลาด (NEGATIVE)
ยอดผลิตรถยนต์ มิ.ย. 71,704 คัน (+28%MoM, -59%YoY)
กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยตัวเลขยอดผลิตรถยนต์ประจำเดือน มิ.ย. ฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปีก่อน เท่ากับ 71,704 คัน (+28%MoM, -59%YoY) ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ส่วนใหญ่กลับมาเปิดทำการ และโรงงานเริ่มเปิดสายการผลิตรถยนต์ แต่ยังไม่เต็มที่ และ ยังห่างจากระดับปกติ 1.5-1.9 แสนคัน รวม 6 เดือนแรกของปี 2563 มียอดผลิตรถยนต์รวม 606,132 คัน ลดลงจากปีก่อน 43%
ตลาดรถยนต์ในประเทศ มิ.ย. 58,013 คัน (+44%MoM, -33%YoY)
ยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือน มิ.ย. ฟื้นตัวต่อ แต่ยังทรุดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 58,013 คัน (+44%MoM, -33%YoY) แม้รัฐบาลรัฐบาลจะผ่อนคลายการล็อกดาวน์ แต่ยอดขายในประเทศยังต่ำกว่าระดับปกติประมาณ 7-8 หมื่นคัน รวม 6 เดือนแรกของปี 2563 ตลาดรถยนต์ในประเทศมียอดขายรวม 328,604 คัน ลดลง 37%YoY
การส่งออกรถยนต์ มิ.ย. 50,049 คัน (+67%MoM, -49%YoY)
ยอดส่งออกรถยนต์เดือน มิ.ย 50,049 คัน (+67%MoM, -49%YoY) โดยส่งออกลดลงทุกตลาด เนื่องจากประเทศคู่ค้ายังคงได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 รวม 6 เดือนแรกปี 2563 การส่งออกรถยนต์ 350,550 คัน ลดลง 37%YoY
แนวโน้มเดือน ก.ค. คาดจะฟื้นตัวต่อ แต่ยังติดลบหนักจากปีก่อน
ตัวเลขผลิตรถยนต์เดือน มิ.ย. 71,704 คัน ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับ ยอดขายในประเทศ และส่งออกรวมกันเท่ากับ 108,062 คัน สะท้อนถึงค่ายรถยนต์ต่างๆยังมีการระบายรถในสต็อกในเดือน มิ.ย. แนวโน้มเดือน ก.ค. ค่ายรถยนต์หลักๆจะผลิตเพื่อสะสมสต็อกมากขึ้น รองรับงานมอเตอร์โชว์ และ ประเทศต่างๆมีการคลายล็อกดาวน์ คาดยอดผลิตรถยนต์เดือน ก.ค. จะฟื้นตัวดีขึ้นต่อประมาณ 100,000 คัน ซึ่งยังติดลบสูงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดผลิตรถยนต์ 170,847 คัน สภาอุตสาหกรรมประเมิน ยอดผลิตรถยนต์ในปีนี้จะลดลง 30% เหลือ 1.4 ล้านคัน แบ่งเป็น ขายในประเทศ 7 แสนคัน และ ส่งออก 7 แสนคัน ถ้าไม่มีการระบาดรอบสอง แต่ถ้ามีการระบาดรอบสองยอดผลิตรถยนต์จะลดลง 50% เหลือ 1 ล้านคัน
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web