- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 24 July 2020 16:21
- Hits: 5984
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 24-7-2020
MARKET TALK
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET Index ยังปรับฐานต่อ ประเมินจากปัจจัยแวดล้อมทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่มีน้ำหนักในทางลบ โดยในประเทศมีเรื่องการปรับ ครม. ที่ช้ากว่าคาด อาจทำให้เกิดสูญญากาศของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่กำไร 2Q63 มีโอกาสหดตัวแรงกว่าที่คิด กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ไม่มีการปรับพอร์ต เลือก AP, BDMS และ CRC เป็น Top Pick
ปรับ ครม. ยิ่งช้า ... ยิ่งทำให้เกิดสูญญากาศของมาตรการเศรษฐกิจ
ภาพของตลาดหุ้นวันนี้มีแรงกดดันจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ โดยในต่างประเทศมีความกังวลเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีน ซึ่งส่งสัญญาณลบต่อการเจรจาการค้าในช่วงต่อไป รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจในสหรัฐฯที่อ่อนแอ นอกจากนี้ยังมีเรื่อง Covid-19 ซึ่งการแพร่ระบาดยังรุนแรง ขณะที่พัฒนาการของวัคซีนแม้เป็นข่าวดีแต่ยังไม่เห็นความชัดเจนว่าจะสามารถฉีดให้กับคนในวงกว้างได้สำเร็จก่อน 1H64 สำหรับในประเทศ ดูเหมือนการปรับ ครม. จะใช้เวลานานกว่าที่คาด ทำให้เกิดสูญญากาศในการออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ส่วนเรื่องที่น่าเป็นหว่งที่สุดสำหรับตลาดหุ้นไทย ได้แก่ ผลประกอบการงวด 2Q63 ของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งในเบื้องต้นเริ่มเห็นความเป็นไปได้ที่จะออกมาต่ำกวา 1 แสนล้านบาท หลังจากที่ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ประกาศตัวเลขกำไรสุทธิออกมาต่ำกว่าที่คาด ขณะที่ภาค Real sector อี่นๆ ที่จะทยอยประกาศออกมาก็เห็นสัญญาณหดตัวในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นการปรับลดประมาณการไม่น้อยกว่า 10% จากฐานเดิม ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิรวม 6.88 แสนล้านบาทหรือ 64 บาท/หุ้น วันนี้ไม่มีการปรับพอร์ต เลือก AP, BDMS และ CRC เป็น Top Pick
ตัวเลขเศรษฐกิจ + ความสัมพันธ์สหรัฐฯ - จีน กดดันตลาดหุ้นสำคัญปรับลดลง
ตลาดหุ้นทั่วโลกกลับมาถูก Take Profit อีกครั้ง หลังจากตอบรับประเด็นความหวัง พัฒนาการของ Vaccine และเกิดการคาดการณ์ว่าจะสามารถผลิตออกมาใช้ภายในสิ้นปี 2563 – กลางปี 2564 ASPS ประเมินว่าอยู่ในกรอบ Timeline ก่อนหน้าอยู่แล้ว โดยตลาดกลับมาถูกกดดันจากความกังวลทั้ง Covid-19 ประเด็นเดิม และปัจจัยใหม่ๆที่เข้ามา อาทิ
ความตึงเครียดสหรัฐ-จีนร้อนแรงกลับมาร้อนแรงขึ้นตลอดสัปดาห์ ทั้งประเด็น 1.)ฝั่งสหรัฐให้จีนปิดสถานกงสุลที่เมือง Houston ภายใน 3 วัน ขณะที่จีนเตรียมตอบโต้คืน คือสั่งให้ปิดสถานกงสุลสหรัฐ 2.) Tech war หลังจากสหรัฐเดินหน้าสร้างพันธมิตรกับประเทศต่างๆ เริ่มจากอังกฤษ เริ่มแบนและยกเลิกอุดหนุนซื้อสินค้า Technology 5G ของ Huawei มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค.2564 : ASPS ประเมินเป็นความเสี่ยงต่อบริษัทที่มีทำการค้ากับ Huawei เพราะมีโอกาสสูงที่สหรัฐจะหาพันธมิตรประเทศอื่นๆ อาทิ ไทย ?? และแบน Huawei ดังเช่นอังกฤษ โดยยังเชื่อประเด็น Trade war จะยังวนเวียนและสร้างความผันผวนไปจนถึงการเลือกตั้งสหรัฐวันที่ 3 พ.ย.
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่เริ่มสะท้อนโลกความเป็นจริง หลังจากมาตรการการคลังทั่วโลกที่เป็นปัจจัยหนุนในช่วงก่อนหน้าเริ่มทยอยหมดลง สิ้นเดือน ก.ค.63 และ การ Reopen ธุรกิจในหลายประเทศเริ่มเห็นภาพแล้วว่า เศรษฐกิจไม่ได้ฟื้นตัวดีเหมือนเดิม ล่าสุด ในสหรัฐ เมื่อวานนี้ ตัวเลขยอดขอรับสวัสดิการการว่างงาน(Initial Jobless claims) สัปดาห์ล่าสุด เพิ่มขึ้น 1.4 ล้านราย มากกว่าตลาดคาดราว 7% คือ คาดเพิ่มเพียง 1.3 ล้านราย โดยในช่วงนี้จะมีรายงานตัวเลข PMI และ GDP Growth งวด 2Q63 หลายประเทศที่จะออกมา อาทิ ยุโรป ฯลฯ ASPS
ปัจจัยต่างประเทศสัปดาห์หน้า (Week Ahead) ประเด็นที่ให้น้ำหนักๆ คือ ประชุมธนาคารกลาง(Fed) วันที่ 28-29 ก.ค. ขณะที่ไทยจะรู้ผล คือ ตี 1 วันที่ 30 ก.ค.รอบนี้ตลาดคาดจะยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คือ คงอัตราดอกเบี้ยฯนโยบาย 0.25% และมาตรการ QE คาดไม่เปลี่ยนแปลง แต่ ASPS ให้น้ำหนักในรอบนี้จะมีการส่งสัญญาณการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำ QE เป็น Yield Curve Control หรือไม่ (หลังจากปลายอาทิตย์ที่แล้ว อดีตประธาน Fed 2 ท่าน คือ นาย Ben Bernanke และ นาง Janet Yellen ให้ความเห็นตรงกันว่ามีโอกาสเกิดขึ้นในช่วง 3Q-4Q63)
การปรับ ครม. ที่ล่าช้า ทำให้เกิดสูญญากาศในการขับเคลื่อน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ในประเทศวันนี้ ASPS ให้น้ำหนัก เวลา 10.30 น. กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดส่งออกและนำเข้า (X&M) ของไทยเดือน มิ.ย. อิงผลสำรวจจาก Reuters พบว่าตลาดคาดการส่งออกหดตัวเฉลี่ย –6.4%yoy ขณะที่ Bloomberg คาดเฉลี่ย -15%yoy ส่วนการนำเข้าReuters คาดเฉลี่ย – 18%yoy, Bloomberg คาดเฉลี่ย -17%yoy
อย่างไรก็ตาม ASPS ประเมินว่าการส่งออกเดือน มิ.ย. อาจต่ำกว่าที่ตลาดคาดได้โดยประเมินว่าอาจหดตัวไม่ต่ำกว่า –10%yoy (หลังจาก ส่งออกเฉลี่ย 5M2563 -3.7% และ ASPS คาดส่งออกทั้งปี 2563 -10%) โดยพิจารณาจาก
การนำเข้าในเดือน มิ.ย. 2563 ของประเทศคู่ค้าสำคัญที่รายงานออกมาก่อนหน้าหดตัวแรง เช่น อินเดีย -47.6%, เกาหลีใต้ -11.2% อินโดนีเซีย -6.4% ญี่ปุ่น -0.8% (ดังรูป)
การส่งออกสินค้าสำคัญของไทยเดือน มิ.ย. 2563 ยังหดตัวแรง ได้แก่
o รถยนต์ (11% ของการส่งออกรวม): หดตัว -43.1%yoy ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัว -64%yoy
o ข้าว (1.7% ของการส่งออกรวม): หดตัว -17%yoy ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัว -4%yoy
แนวโน้มภาคส่งออกที่ยังหดตัวอยู่ ประกอบกับมาตรากรกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของรัฐที่เคยออกมาในช่วงเดือน เม.ย. – พ.ค. 2563 ใกล้จะสิ้นสุดแล้ว (ดังตาราง)
ประกอบกับปัจจุบัน ยังมีอีกปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ คือ การปรับเปลี่ยน ครม. ที่ล่าช้า และรอผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสำคัญๆ อาทิ กระทรวงการคลัง ฯลฯ ASPS เชื่อว่าจะทำให้เกิดสูญญากาศในการขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะผลักดันในช่วง 2H63
ออมสินเตรียมรุกสินเชื่อบุคคลดอกเบี้ยต่ำ...sentiment ลบต่อ MTC SAWAD AEONTS และ KTC
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่าธนาคารออมสินเตรียมรุกตลาดสินเชื่อส่วนบุคคล โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 8-10% จากปัจจุบัน เพื่อกดอัตราดอกเบี้ยในตลาดให้ต่ำลง พร้อมเปิดทางให้มารีไฟแนนซ์กับธนาคารออมสินได้ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำลง ถือเป็นการลดภาระประชาชนในยามเศรษฐกิจชะลอตัว โดยในเบื้องต้นธนาคารออมสินประเมินหากมีลูกค้ารีไฟแนนซ์ได้ 3-4 หมื่นราย จะช่วยกดดันอัตราดอกเบี้ยในตลาดลงได้
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินว่ามาตรการดังกล่าวเป็น sentiment ลบต่อผู้ให้บริการสินเชื่อบุคคล สินเชื่อจำนำทะเบียนและสินเชื่อบัตรเครดิต ได้แก่ MTC SAWAD AEONTS และ KTC เพราะอาจเสียลูกค้าชั้นดีบางส่วนไปให้ธนาคารออมสินได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยประเมินว่าลูกค้าชั้นดีที่จะผ่านเกณฑ์การคัดเลือกของธนาคารออมสินอาจมีไม่มาก เพราะสินเชื่อบุคคลเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง หากธนาคารออมสินจะคิดอัตราดอกเบี้ยลูกค้าต่ำกว่าตลาดมาก จะต้องใช้ความระมัดระวังในการคัดเลือกลูกค้ามาก อีกทั้ง ลูกค้าของกลุ่มนอนแบงก์ปัจจุบันเป็นกลุ่มลูกค้าที่เข้าถึงสินเชื่อจากแบงก์ได้ค่อนข้างยากอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังต้องติดตามว่าธนาคารออมสินจะมีมาตการในการคัดเลือกลูกค้าอย่างไรบ้าง และมีวงเงินและกำหนดจำนวนลูกค้าที่จะเข้าร่วมโครงการสินเชื่อบุคคลดอกเบี้ยต่ำเท่าไรด้วยเช่นกัน โดยปัจจุบันลูกหนี้กลุ่มนอนแบงทั่วประเทศมีอยู่ถึง 25.4 ล้านราย คิดเป็นมูลหนี้ 4.8 แสนล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อบุคคล บัตรกดเงินสด 48% สินเชื่อบัตรเครดิต 31% และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ 21% ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยยังให้น้ำหนักความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งจะกดดันความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า อีกทั้ง ราคาหุ้นในกลุ่มส่วนใหญ่ก็สะท้อนมูลค่าพื้นฐานไปแล้ว จึงยังแนะนำ Switch ทั้ง MTC (FV@B>53) SAWAD (FV@B>54) และ AEONTS (FV@B>110)
ราคา GULF BGRIM ถูกสะท้อน ADB ลดการถือหุ้นไปแล้ว
GULF (Switch: FV@B>32.4) : ADB ลดสัดส่วนการถือหุ้น GULF ลง 176 ล้านหุ้น คิดเป็น 1.65% ของหุ้น GULF (จากเดิมที่ถือทั้งหมด 320 ล้านหุ้น หรือ 3% ของหุ้น GULF) นอกจากนี้ GULF ยังประกาศเพิ่มทุน RO อัตรา 10:1 ที่ 30 บาท/หุ้น (XR: 6 ส.ค. 2563) ในช่วงบ่ายวานนี้ มุมมองของฝ่ายวิจัย: ประเมินว่าราคาหุ้น GULF ได้สะท้อนประเด็นการขายหุ้นของ ADB และการเพิ่มทุนไประดับหนึ่งแล้ว โดยมีมุมมองบวกต่อภาพระยะยาวจากฐานทุนของ GULF ที่จะแข็งแกร่งขึ้น จากอัตราส่วน D/E ลดลงเหลือ 1.74 เท่า (จาก 3.5 เท่า ในช่วง 1Q63) และพร้อมจะขยายการลงทุนในเชิงรุกเช่นที่เคยเกิดขึ้นที่ผ่านมา แม้ฝ่ายวิจัยกำลังทบทวนประมาณการสะท้อนการปรับโครงสร้างเงินทุนและโครงการใหม่ที่ยังไม่ได้รวมในประมาณการ แต่เบื้องต้นคาดว่า FV ใหม่ที่ได้ก็ยังต่ำกว่าราคาหุ้นปัจจุบันจึงยังคงแนะนำ “Switch” ไป BGRIM (FV@B>62)
BGRIM (Buy: FV@B>62) : ADB ลดสัดส่วนการถือหุ้น BGRIM ลง 68 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 2.61% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด (จากเดิมที่ถือทั้งหมด 123 ล้านหุ้น หรือ 4.72% ของหุ้นทั้งหมด) มุมมองของฝ่ายวิจัย: BGRIM ยังคงเป็นหุ้นหนึ่งใน Top Pick ของกลุ่มฯ ซึ่งยังมีความน่าสนใจมาก หลังราคาหุ้นได้ย่อตัวลงแรง จากความกังวลว่าอาจเพิ่มทุนเช่นเดียวกันกับ GULF แต่ทางผู้บริหาร BGRIM ยืนยันว่าไม่มีแผนเพิ่มทุน นอกจากนี้ BGRIM ยังมีทิศทางกำไรที่ดีต่อเนื่องทั้งในระยะสั้น ที่ได้ประโยชชน์จากต้นทุนก๊าชธรรมชาติที่ลดลง หนุนคาดทิศทางกำไร 2H63 โดดเด่นกว่า 1H63 ขณะที่ระยะยาว คาดการเติบโตของกำไรจะทำ New High ต่อเนื่อง ในอีก 4 ปีข้างหน้า (2563-66)
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web