WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 22-7-2020May

กลยุทธ์การลงทุนรายวัน

วานนี้ SET แกว่งขึ้น แรงหนุนจากพัฒนาการเชิงบวกของวัคซีน ผสาน EU อนุมัติวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ โดย ณ. สิ้นวัน SET ปิดที่ 1,377.00 (+18.71 จุด) มูลค่าการซื้อขาย 6.4 หมื่นล้านบาท (เทียบกับวันก่อนหน้า 5.2 หมื่นล้านบาท)

โดยนักลงทุนต่างชาติ ซื้อหุ้นไทย 688 ลบ. (นักลงทุนสถาบันซื้อ 541 ลบ.) ส่วนตลาด TFEX นักลงทุนต่างชาติเปิด Short Futures ที่ 2,622 สัญญา)

PTG (ราคาเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 22 บาท) คาดกำไร 2Q63 ฟื้นตัวแรง QoQ จากค่าการตลาดที่ปรับตัวขึ้น ผสานปริมาณการขายที่เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวตั้งแต่เดือน พ.ค. และคาดแนวโน้มผลประกอบการยังปรับขึ้นได้ต่อเนื่องทั้ง QoQ และ YoY ใน 3Q63

EU อนุมัติวงเงินเยียวยาเศรษฐกิจรอบใหม่ : ตลาดหุ้นทั่วโลกได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากพัฒนาการเชิงบวกของวัคซีนที่มีความคืบหน้ามากยิ่งขึ้น ผสานกับการประชุม Special European Council ที่จัดขึ้นที่กรุงบรัสเซล ซึ่งได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับมาตรการการช่วยเหลือแก่ชาติสมาชิกในกลุ่มยูโร โดยที่ประชุมอนุมัติวงเงินช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ผ่านกองทุน Coronavirus Recovery Fund จำนวน 7.5 แสนล้านยูโร โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ เงินช่วยเหลือให้เปล่า (grants) วงเงิน 3.9 แสนล้านยูโร และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 3.6 แสนล้านยูโร ทั้งนี้ ประเทศที่คาดว่าจะได้รับวงเงินช่วยเหลือสูงที่สุดคืออิตาลี (grants 8.2 หมื่นล้านยูโร + Loan 1.27 แสนล้านยูโร) ถือเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนภาพรวมเศรษฐกิจของยูโรโซนให้กลับมาฟื้นตัวในช่วงถัดไป ส่วนด้านสหรัฐฯนั้น ตลาดก็กำลังรอคอยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเช่นกัน ซึ่งคาดจะออกมาในเร็วๆนี้ เนื่องจากโครงการช่วยเหลือคนว่างงานจะหมดอายุลงในวันที่ 31 กรกฎาคม เป็นอีกปัจจัยที่อาจช่วยเพิ่มแรงเก็งกำไรในช่วงถัดไป

Investment Strategy : วันนี้คาด SET แกว่ง Sideways กรอบแนวรับ 1,365 ต้าน 1,392 จุด เน้นหุ้นมีปัจจัยหนุนเชิงบวก โดย ATO Picks วันนี้แนะนำ “PTG, CPF, CKP”

กลยุทธ์การลงทุน

มีหุ้น : สามารถถือต่อ รอทยอยทำกำไรบางส่วนเมื่อดัชนีเข้าใกล้แนวต้าน 1390 จุด

ไม่มีหุ้น : รอเก็งกำไรในจังหวะที่ดัชนีย่อตัวที่มาที่บริเวณแนวรับ 1365 / 1350 จุด

CPF แจ้ง CPP คาดครึ่งปีกำไรพุ่ง (ข่าวหุ้น)

ความเห็น : กำไรของ CPP 2Q63 ที่ 177-197 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นับว่าดีกว่าที่เราคาด เป็นผลมาจากการบันทึกกำไรจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของหมู และแนวโน้มอัตรากำไรสูงขึ้นจากราคาหมูในเวียดนามที่เพิ่มขึ้น 108% YoY 80,540 VND/กก. อย่างไรก็ดี ส่วนแบ่งกำไรจาก CPALL อาจน้อยกว่าคาด เราจึงยังประเมินว่า CPF มีกำไรปกติ 2Q63 เพิ่มขึ้น 13% YoY เป็น 4,410 ล้านบาท แนวโน้มกำไรแข็งแกร่งยิ่งขึ้นใน 3Q63 จากราคาเนื้อสัตว์ในไทยฟื้นตัว และราคาหมูเวียดนามยังยืนในระดับสูงต่อเนื่อง แนะนำ ซื้อ CPF ราคาเป้าหมาย (SOTP) 39.20 บาท

CK : รฟท.เร่งเคลียร์พื้นที่สร้างไฮสปีดฯ มั่นใจส่งมอบให้กลุ่มซีพี ก.พ.ปีหน้า (ข่าวหุ้น)

ความเห็น : โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน 2.2 แสนล้านบาท ซึ่งกลุ่ม CP และ พันธมิตร (CP Holding 70%, ITD 5%, CRCC 10%, CK 5%, BEM 10%) เสนอราคาต่ำสุดตั้งแต่ปลายปี 2561 มีความล่าช้าในการส่งมอบพื้นที่มานาน จากความล่าช้าในการส่งมอบพื้นที่ โครงการนี้จะมีงานโยธาทั้งก่อสร้างรถไฟฟ้า และ อาคาร ประมาณ 1.5 แสนล้านบาท คาดจะแบ่งงานระหว่าง CK, ITD และ CRCC เราแนะนำ TRADING BUY ใน CK เป้าหมาย 24 บาท

ความเห็น : เรามองกลุ่มอิเล็คทรอนิคส์ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า +2%QTD ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของยอดขายสกุลดอลลาร์ และทำให้กำไรฟื้นตัวแรง QoQ ใน 3Q63 อย่างไรก็ดี เรามอง DELTA จะโดดเด่นสุดในช่วงรายงานงบ 2Q63 ที่คาดยังเติบโตได้ทั้งเทียบ QoQ,YoY อุปสงค์ Data center สำหรับกลุ่ม Cloud service provider ยังแข็งแกร่ง

ซิงเกอร์ รุกฆาตสินค้าเงินผ่อน (ประชาชาติธุรกิจ)

ความเห็น : เราประเมินกำไร 2Q63 จะทำสถิติใหม่ที่ 120 ลบ. +38%QoQ , +128%YoY โดยในช่วง 6 เดือนแรกจะมากกว่าปีที่แล้วทั้งปี ยอดขายสินค้า SINGER ไม่ได้รับผลกระทบในช่วง lockdown ขณะสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยังเติบโตไตรมาส-ไตรมาส แนวโน้ม 2H63 จะไปต่อเนื่องเทียบ QoQ เราแนะนำ ซื้อ ราคาเหมาะสม 17.70 บาท

STEC : BGSR คว้างานมอเตอร์เวย์ ติดตั้งระบบวงเงิน 4 หมื่นล. (ผู้จัดการรายวัน 360 องศา)

ความเห็น : กลุ่ม BTS-GULF-STEC-RATCH ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอต่ำสุดในงาน O&M มอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน นครราชสีมา มูลค่า 21,329 ล้านบาท และ สายบางใหญ่ กาญจนบุรี มูลค่า 17,809 ล้านบาท ในเดือน ส.ค. ปี 2562 โดยต่ำกว่าราคากลางถึง 36%   โครงการนี้มีงานก่อสร้างประมาณ 5-6 พันล้านบาท คาด STEC จะได้งาน เราคงแนะนำ TRADING BUY ใน STEC เป้าหมาย 20 บาท

TMB Bank (TMB TB)

เตรียมพร้อมรับมรสุมเป็นอย่างดี

ประกาศเป้าหมายทางการเงินใหม่

TMB ปรับลดเป้าหมายการเติบโตของ NIM และ non-NII ลง พร้อมเพิ่มอัตราส่วน NPL และต้นทุนสินเชื่อเพื่อสะท้อนภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน (รูปที่ 2) เราเชื่อว่าคาดการณ์กำไรสุทธิปี 63 ของเราค่อนข้างอนุรักษ์นิยมเนื่องจากผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกคิดเป็น 64% ของประมาณการเต็มปีของเรา คงคำแนะนำ ถือ ราคาเป้าหมาย 1 บาท (P / BV ปี 63 ที่ 0.5 เท่า ROE 7.6%) เราชอบ BBL (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 130 บาท) มากกว่า TMB จากงบดุลแข็งแกร่งกว่าและความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์น้อยกว่า

คาดรายได้ลดลงและตั้งสำรองเพิ่มขึ้นในครึ่งปีหลัง

เป้าหมายทางการเงินใหม่ของ TMB สะท้อนว่าต้นทุนเครดิตจะเพิ่มขึ้นและรายได้ดอกเบี้ยสุทธิน่าจะลดลงในครึ่งปีหลัง ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของเรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระบุว่าเป็นเรื่องยากที่จะประเมินความน่าจะเป็นของการผิดนัดชำระหนี้ภายใต้โครงการบรรเทาหนี้ แต่คาดอัตราส่วน NPL อาจสูงถึง 3.0% ในไตรมาส 4Q20 (จาก 2.3% ในไตรมาส 2Q20) เนื่องจากมาตรการบรรเทาหนี้สิ้นสุด ในประเด็นการบินไทย TMB ไม่มีสินเชื่อ แต่ได้ตั้งสำรอง 1.6 พันล้านบาทสำหรับหุ้นกู้มูลค่า 3.15 พันล้านบาท (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการฟื้นฟู) ในไตรมาส 2Q20

เคลียร์งบดุลรองรับ NPL ที่จะเกิดขึ้นในครึ่งปีหลัง 63-64

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารย้ำว่าอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ของ TMB ต่ำกว่าธนาคารอื่นเนื่องจากพอร์ตสินเชื่อมีมูลค่าหลักประกันที่สูงและสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันในระดับต่ำ TMB ได้ตัดหนี้ NPLs 7.8 พันล้านบาทและขายที่ 4.1 พันล้านบาทในครึ่งแรกของปี 63 เพื่อรักษางบดุลให้พร้อมรองรับ NPL ที่จะเกิดขึ้นหลังจากมาตรการผ่อนปรนหมดอายุในไตรมาส 4Q20 ธนาคารได้ปรับเพิ่มต้นทุนเครดิตเป็น 160-170bp จาก 125-130bp ในปีนี้ ซึ่งแปลว่าต้นทุนเครดิตจะสูงถึง 180-200bp ในครึ่งปีหลังเทียบกับ 141bp ในครึ่งปีแรก

สินเชื่อ 40% อยู่ภายใต้โครงการบรรเทาหนี้

TMB ระบุว่า 40% ของสินเชื่อหรือ 5.53 แสนล้านบาทอยู่ภายใต้โครงการบรรเทาหนี้ ใกล้เคียงกับ KBANK (ขาย, ราคาเป้าหมาย 80 บาท) และ SCB (ถือ, ราคาเป้าหมาย 70 บาท) จากทั้งหมด 60% เป็นรายย่อย (ส่วนใหญ่จำนองและ HP) และ 40% เป็นสินเชื่อธุรกิจ (ส่วนใหญ่เป็น SME) TMB ได้พักชำระคืนเงินกู้จากสินเชื่อเช่าซื้อ และยกเว้นอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนสินเชื่อ 50bp เราคาดว่า NPL จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีหน้า เนื่องจากธนาคารได้ระงับการจัดชั้นสินเชื่อในปีนี้ ทั้งนี้ ธนาคารสามารถให้การปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มเติมและจำแนกเป็น non-NPLs

ผลประกอบการ 2Q20 ดีกว่าคาด จาก OPEX ที่ลดลง

TMB รายงานกำไรสุทธิ 3 พันล้านบาทในไตรมาส 2Q20 ลดลง 26% QoQ เนื่องจาก NII และรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลง ผลประกอบการดีกว่าที่เราคาดการณ์จาก OPEX ที่ต่ำกว่าคาด ในแง่ YoY มองว่าเปรียบเทียบยากเนื่องจาก TMB ได้ควบรวมกิจการกับ TBANK เมื่อปลายปี 2562

                สินเชื่อลดลง 2% QoQ จากสินเชื่อเช่าซื้อ HP (-1.2%) และสินเชื่อ SME หดตัว (-2.2%)

                NIM ลดลง 23bp QoQ เป็น 2.90% ซึ่งต่ำกว่าที่เราคาดการณ์ 3bp เนื่องจากการลดอัตราดอกเบี้ยและรายได้ดอกเบี้ยที่ลดลงจากการคำนวณอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) สำหรับโครงการช่วยเหลือลูกค้า

                Non-NII ลดลง 16% QoQ จากรายได้ค่าธรรมเนียมที่อ่อนแอจาก bancassurance และกองทุนรวม รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิลดลง 23% QoQ ใน 2Q20

                OPEX ลดลง 7% QoQ เนื่องจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดลดลงจากการควบรวมธนาคารและค่าเช่าซอฟต์แวร์ อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 46.9% ในไตรมาส 2Q20 จาก 45.8% ในไตรมาส 1Q20

                การก่อตัวของ NPL ลดลงเหลือเพียง 0.6% จาก 2.9% ใน 1Q20 ในขณะที่ NPL ลดลง 125 QoQ เป็น 3.9 หมื่นล้าน บาทหรือ 2.8% ของสินเชื่อจาก 3.15% ใน 1Q20 เราเชื่อว่า TMB ได้ชะลอการปรับลดการจัดชั้นสินเชื่อภายใต้โครงการบรรเทาหนี้ แต่ธนาคารไม่ได้เปิดเผยข้อมูลจำนวนลูกหนี้ที่เข้าโครงการฯ เหมือน KBANK และ TISCO

                ในไตรมาส 2Q20 TMB ได้ตัดหนี้เสีย 5.4 พันล้านบาท และขาย NPLs 1.3 พันล้านบาทเพื่อเตรียมรับมือกับ NPL ที่จะเกิดขึ้นหลังจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สิ้นสุดลงใน 4Q20

Siam Commercial Bank (SCB TB)

ความไม่แน่นอนยังคงสูง

ลดเป้าเติบโตของ Non-NII คาดต้นทุนสินเชื่อเพิ่มขึ้น

SCB ได้ปรับเป้าหมายทางการเงิน โดยลดเป้าการเติบโตของ Non-NII เป็นทรงตัวจากการเติบโตที่ 7-10% และเพิ่มต้นทุนเครดิตเป็น 'อย่างน้อย 165bp' จาก 120-130bp เพื่อสะท้อนถึงเศรษฐกิจที่อ่อนแอ เรายังคงประมาณการกำไรของเราหลังจากปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ OPEX และเพิ่มต้นทุนเครดิต คงคำแนะนำ ถือ ด้วยราคาเป้าหมาย 70 บาท (P / BV ปี 63 ที่ 0.57 เท่า ROE 8.2%) เราชอบ BBL (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 130 บาท) มากกว่า SCB เนื่องจากงบดุลแข็งแกร่งกว่าและความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์น้อยกว่า

งบ 2Q20 ดีกว่าคาด จากกำไรจากการลงทุนบันทึกครั้งเดียว

SCB รายงานกำไรสุทธิ 8.4 พันล้านบาทในไตรมาส 2Q20 ลดลง 24% YoY จากการตั้งสำรองที่สูงขึ้นและ 10% QoQ จาก NII ที่ลดลง สินเชื่อลดลง 1% YoY แต่เพิ่มขึ้น 2% QoQ เนื่องจากความต้องการสินเชื่อองค์กรที่เพิ่มขึ้นและการขยายสินเชื่อ SME ที่อ่อนตัว ขณะที่ NIM ลดลง 33bp QoQ จากการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หลายครั้ง ส่วน Non-NII เพิ่มขึ้น 19% YoY เนื่องจากกำไรจากการลงทุนครั้งเดียวและกำไรจากการขาย NPL (ประมาณ 4 พันล้านบาท) OPEX ลดลง 3% YoY จากค่าเช่าและค่าการตลาดที่ลดลง อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ 44.5% ใน 2Q20 จาก 46.2% ใน 2Q19

ประเด็นคุณภาพสินทรัพย์มีความไม่แน่นอนสูง  

ผู้บริหารระบุว่าสินเชื่อภายใต้โครงการช่วยเหลือลูกหนี้คิดเป็น 39% ของสินเชื่อรวมหรือ 8.4 แสนล้านบาทจากลูกค้า 1.1 ล้านราย 48% เป็นรายย่อยและ 26% เป็นลูกค้าองค์กรและ SME สำหรับสินเชื่อรายย่อย 50% เป็นสินเชื่อจำนองที่มีอัตราส่วนการให้สินเชื่อเทียบกับมูลค่าหลักประกัน 75% ขณะที่อีก 40% เป็นสินเชื่อเช่าซื้อและ 10% ที่เหลือเป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน ธนาคารคาดว่า 60-70% จะสามารถชำระหนี้ได้ ในขณะที่อีก 30-40% อาจต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมหลังจากสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือฯ ผู้บริหารยังคงจับตาสินเชื่อปกติ 1.3 ล้านล้านบาทซึ่งอาจกลายเป็นหนี้เสียอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเศรษฐกิจอ่อนแอ อย่างไรก็ตาม ธนาคารคาดว่า NPL ไม่น่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในอีก 2 ปีข้างหน้าเนื่องจากมาตรการช่วยเหลือ

ข้อมูลไม่สะท้อนผลกระทบ COVID-19 สินเชื่อ SME เช่าซื้อ น่าห่วง

แม้ว่า NPL จะลดลง 5% QoQ มาอยู่ที่ 8 หมื่นล้านบาทเนื่องจากธนาคารได้ขายและตัดหนี้สูญจำนวน 6.2 พันล้านบาทในไตรมาส 2Q20 เรามองว่ายังไม่สะท้อนผลกระทบที่แท้จริงจาก Covid-19 เนื่องจากธนาคารสามารถจำแนกสินเชื่อที่ไม่ได้รับการชำระเป็นสินเชื่อที่ดี ในบรรดาสินเชื่อธุรกิจ เรากังวลเกี่ยวกับลูกค้า SME มากกว่าธุรกิจ เพราะ SME มีกระแสเงินสดที่สั้นกว่ามากเมื่อเทียบกับบริษัท สำหรับสินเชื่อรายย่อย เราห่วงสินเชื่อเช่าซื้อ เนื่องจากมูลค่าหลักประกันที่เสื่อมค่าซึ่งอาจนำไปสู่ผลขาดทุนที่เพิ่มขึ้นจากการขายรถยนต์ยึดคืนหลังจากสิ้นสุดมาตรการบรรเทาหนี้ในไตรมาส 4Q20

กำไรไตรมาส 2Q20 ดีกว่าคาด จากกำไรการลงทุน คุณภาพสินทรัพย์ไม่สะท้อนสถานการณ์ปัจจุบัน

SCB รายงานกำไรสุทธิ 8.4 พันล้านบาทในไตรมาส 2Q20 ลดลง 24% YoY จากการตั้งสำรองที่สูงขึ้นและ 10% QoQ จาก NII ที่ลดลง ผลประกอบการครึ่งปีแรกคิดเป็น 66% ของประมาณการทั้งปีของเรา สำหรับเป้าหมายทางการเงินใหม่ของปี 63 SCB ตั้งเป้า non-NII ทรงตัวจากการเติบโต 7-10% และเพิ่มต้นทุนเครดิตเป็น 'อย่างน้อย 165bp' จาก 120-130bp และไม่เปลี่ยนแปลงเป้าหมายอื่น ๆ

คุณภาพสินทรัพย์

  • สินเชื่อภายใต้โครงการช่วยเหลือลูกหนี้อยู่ที่ 8.4 แสนล้านบาทหรือ 40% ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 โดยรวมแล้ว SCB คาดว่า 60-70% จะกลับเป็นสินเชื่อปกติหลังสิ้นสุดโครงการฯ ในขณะที่ 30-40% ที่เหลืออาจต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ธนาคารระบุ NPL ไม่น่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในอีก 2 ปีข้างหน้าเนื่องจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้
  • ยอดคงค้างของเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Gross NPLs) ลดลง 5% QoQ เป็น 8 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 2Q20 ขณะที่อัตราส่วน NPL เพิ่มขึ้นเป็น 3.7% จาก 4.0% ในไตรมาส 1Q20 เนื่องจากธนาคารได้ขายและตัดหนี้สูญรวมจำนวน 6.2 พันล้านบาทในไตรมาส 2Q20
  • • SCB บันทึกตั้งสำรอง 9.7 พันล้านบาท (ต้นทุนเครดิต 184bp) เพิ่มขึ้น 65% YoY และทรงตัว QoQ ซึ่งรวมถึง management overlay ภายใต้แนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอ

รายได้และ OPEX

  • สินเชื่อลดลง 1% YoY แต่เพิ่มขึ้น 2% QoQ เนื่องจากความต้องการสินเชื่อองค์กรที่สูงขึ้นและการขยายตัวของสินเชื่อ SME ที่อ่อนตัว ขณะที่ NIM ลดลง 33bp QoQ จากการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หลายครั้ง
  • • Non-NII เพิ่มขึ้น 19% YoY เนื่องจากกำไรจากการลงทุนครั้งเดียวและกำไรจากการขาย NPL (รวม 4 พันล้านบาท)
  • • OPEX ลดลง 3% YoY เนื่องจากค่าเช่าและค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่ลดลง อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ 44.5% ใน 2Q20 เทียบกับ 46.2% ใน 2Q19

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!