WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง: บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 21-7-2020May

กลยุทธ์การลงทุนรายวัน

วานนี้ SET แกว่ง sideways โดยมีแรงขายมากในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ หลังรายงานงบ 2Q63 ที่อ่อนแอกว่าคาด โดย ณ. สิ้นวัน SET ปิดที่ 1,358.29 (-1.29 จุด) มูลค่าการซื้อขาย 5.2 หมื่นล้านบาท (เทียบกับวันก่อนหน้า 4.1 หมื่นล้านบาท)

โดยนักลงทุนต่างชาติ ขายหุ้นไทย 266 ลบ. (นักลงทุนสถาบันขาย 888 ลบ.) ส่วนตลาด TFEX นักลงทุนต่างชาติเปิด Short Futures ที่ 4,060 สัญญา)

BAM (ปรับราคาเป้าหมายขึ้นสู่ 31.5 บาท) ประเมินยอดจัดเก็บเงินสด 2Q63 ที่ 3,000 ลบ. ทรงตัว QoQ จะดีกว่าที่ตลาดประเมินว่าจะหดตัว 15-20%QoQ ส่วนยอดขาย NPAs ทำได้ดี ช่วยชดเชยลูกหนี้ NPLs ที่พักหนี้ซึ่งกระทบยอดจัดเก็บเงินสดเพียง 5%

การพัฒนาวัคซีนมีความคืบหน้าเชิงบวกมากขึ้น : ข่าวความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุด Pfizer ผู้นำด้านเวชภัณฑ์ของสหรัฐฯ และ BioNTech ของเยอรมนี ได้รายงานความคืบหน้าในการร่วมกันทดสอบวัคซีนต้าน COVID-19 มีความปลอดภัย และมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน อีกทั้งทางด้าน AstraZeneca บริษัทยาของอังกฤษ ที่ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัย Oxford ได้มีการรายงานถึงการทดสอบวัคซีนที่สามารถสร้างภูมิต้านทานเชื้อไวรัสโควิด-19 ในการทดลองเฟสแรก ซึ่งคาดว่าท้ายที่สุดอาจจะได้ใช้ภายในปีนี้ ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง ถือเป็นข่าวที่ดีที่ทั่วโลกรอคอย แน่นอนว่าจะเป็นแรงกระตุ้นเชิงบวกต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากชึ้นเช่นกัน ซึ่งควรจับตาอย่างใกล้ชิด ส่วนปัจจัยในระยะสั้นคาดตลาดจะยังคงจับตาการรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน โดยวานนี้หลายธนาคารรายงานงบที่ค่อนข้างต่ำกว่าคาด จากการตั้งสำรองที่สูง ดังนั้นอาจเห็นสัญญาณของการปรับลดประมาณการของกลุ่มธนาคารอีกครั้งได้ในช่วงถัดไป ดังนั้นในระยะสั้นเรายังคงแนะรอให้ตลาดปรับประมาณการ และให้แรงขายของกลุ่มธนาคารให้เบาบางลงก่อน เพื่อเตรียมกำหนดกลยุทธ์การลงทุนกลุ่มนี้ในช่วงถัดไป

Investment Strategy : วันนี้คาด SET แกว่งขึ้น กรอบแนวรับ 1,340 ต้าน 1,365 จุด เน้นหุ้นมีปัจจัยหนุนเชิงบวก โดย ATO Picks วันนี้แนะนำ “BAM, PTTGC, DELTA”

กลยุทธ์การลงทุน

มีหุ้น : สามารถถือต่อ ยก Trailing stop ขึ้นมาที่บริเวณ 1350 จุด หรือ สำหรับนักลงทุนระยะกลางที่ 1343 จุด

ไม่มีหุ้น : เน้นเล่นรอบการแกว่งตัว ย่อซื้อตามแนวรับ หาจังหวะขายทำกำไรเมื่อดัชนีดีดตัวกลับ

ข่าว เด่น พร้อมคำแนะนำ

ชี้ครึ่งทางมอเตอร์โชว์ แห่เข้าวันละ 2 หมื่นคน (เดลินิวส์)

ความเห็น : งานบางกอกอินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2020 ครั้งที่ 41 คาดหมายจะมียอดจองรถกว่า 20,000 คัน ต่ำกว่าเป้าหมาย 30,000 คัน และต่ำกว่างานมอเตอร์โชว์ในอดีตที่มียอดจองรถประมาณ 37,000 คัน หลังจากที่ถูกผลกระทบอย่างหนักจาก Covid-19 ปีนี้ยอดขายรถยนต์ในประเทศจะประมาณ 6.5 แสนคัน ลดลงประมาณ 35% จากปีก่อนที่มียอดขายรถยนต์ 1 ล้านคัน เราคงให้น้ำหนักกลุ่มยานยนต์น้อยกว่าตลาด

Bangkok Cml. Asset Mgmt. (BAM)

หุ้นปันผลที่เติบโต

TP Revision

ประเด็นการลงทุน

BAM เป็นหุ้นคุณค่าที่มีส่วนผสมของหุ้นอสังหาฯ-ไฟแนนซ์ ในภาวะตลาดที่เริ่มมีความเชื่อมั่นด้วยอุปสงค์ที่แท้จริงยังแข็งแรงในภาวะดอกเบี้ยต่ำ บริษัทสามารถจากการแปลง NPL/NPA เป็นกระแสเงินสดเพื่อนำมาจ่ายปันผลที่เราคาดไว้ 1 บ./หุ้นในปีนี้ และมีโอกาสเพิ่มขึ้นถึง 10% เป็น 1.1 บ/หุ้น ใน 3 ปีข้างหน้าจากฐานสินทรัพย์ที่โตมากกว่าคาด   ระยะสั้นได้ปัจจัยบวกจากการปลดล็อคเครดิตเรตติ้ง และแนวโน้มผลประกอบการ 2Q63 ที่จะออกมาดีกว่าตลาดคาด เป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้นที่ยัง Laggard กลุ่ม แนะนำ ซื้อ บนราคาเหมาะสมใหม่ 31.50 บาท

การเติบโตของฐานสินทรัพย์ หนุนปันผลเติบโต

ใน 6 เดือนแรกบริษัทได้ซื้อหนี้ฯแล้วราว 7.8 พันลบ. หรือ 60% จากเป้าหมาย 1.2 หมื่นลบ. ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยในอดีต เราเริ่มเห็นโอกาสการเติบโตของ BAM หลังผลประกอบการกลุ่มธนาคารใน 2Q63 ที่แนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ที่ลดลง เราเชื่อว่าหลังผ่านมาตรการพักหนี้จะมี NPLs กว่าแสนล้านบาทถูกประมูลขายภายใน 4Q63 ซึ่ง BAM ที่มีฐานสินทรัพย์ถึง 49% ของอุตสาหกรรม มีความพร้อมมากสุดที่จะรองรับได้ หลังจากขออนุมัติออกหุ้นกู้วงเงิน 25,000 ลบ. ในช่วง 2 ปีข้างหน้า เบื้องต้นเราประเมินจะบริษัทจะได้สินทรัพย์ใหม่ 5 หมื่นลบ. หรือคิดเป็น 25% ของพอร์ตปัจจุบัน ที่จะเป็น Upside risk ต่อเงินปันผลจากที่ตลาดประเมินไว้เฉลี่ย 10% ต่อปี หรือเท่ากับ 1.1 บาท/หุ้น ในปี 2564-2566 มากกว่าที่ตลาดประเมินไว้ที่ 1 บ./หุ้น  

2Q63 อาจไม่แย่อย่างที่คิด

เราประเมินยอดจัดเก็บเงินสด 3,000 ลบ. ทรงตัว QoQ จะดีกว่าที่ตลาดประเมินว่าจะหดตัว 15-20%QoQ เนื่องจากลูกหนี้ NPLs ผ่อนชำระที่เข้าพักหนี้ 500 ราย กระทบต่อยอดเก็บเงินสดรวมเพียง 5% ถูกชดเชยด้วยการขาย NPAs ที่ทำได้ดี ด้วยสัญญาณบวกจาก i) Presales กลุ่มอสังหาฯ ออกมาดีกว่าคาดเติบโตทั้ง QoQ,YoY โดยเฉพาะแนวราบที่สูงทำสถิติใหม่หลายบริษัท ii) กรมบังคับคดีกลับมาขายทอดตลาดในต้นเดือนมิ.ย. พบว่าราคาขายคิดเป็น 140% ของราคาประเมิน ใกล้เคียงกับช่วงก่อนมีการระบาด สะท้อนอุปสงค์แท้จริงในอสังหาฯ ยังแข็งแกร่ง ด้วยโครงสร้างต้นทุนที่ใกล้เคียงไตรมาสก่อน คาดกำไรปกติงวด 2Q63 เท่ากับ 650 ลบ. -7%QoQ ,-14%YoY ยังไม่รวมกำไรพิเศษ (DTA) 5.8 พันลบ. ที่จะทยอยบันทึกในปีนี้

คงคำแนะนำ ซื้อ ปรับราคาเหมาะสมขึ้นเป็น 31.50 บาท

ประเมินยอดเก็บเงินสดงวด 1H63 เท่ากับ 6,269 ลบ. คิดเป็น 50% จากเป้าของบริษัทที่ 1.2-1.5 หมื่นลบ. สถานการณ์ครึ่งปีหลังแนวโน้มดีกว่าครึ่งปีแรก จะทำให้ตลาดจะมีความเชื่อมั่นต่อความสามารถในการจ่ายปันผลของบริษัทใน 6 เดือนข้างหน้า เราปรับใช้ราคาเหมาะสม เป็น 31.5 บาท อิงวิธี DDM สะท้อนเงินปันผลคาดหวังปี 64 ที่ 1.1 บาท/หุ้น เทียบเท่า Div.yield 3.5% เท่ากับ 3-Yr Historical SET Div. yield

Kasikornbank (KBANK TB)

ต้นทุนเครดิตสูงทุบกำไรทรุด

Credit cost จะสูงไปอีกอย่างน้อย 3 ปี แนะนำ ขาย

KBANK ไม่ได้เผยเป้าหมายทางการเงินใหม่ แต่ระบุว่าอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อเฉลี่ย (Credit cost) อาจสูงกว่า 240bp ในปี 2563 และจะสูงกว่า 200bp ในปี 2564-2565 คงคำแนะนำ ขาย ราคาเป้าหมาย 80 บาท (P / BV ปี 63 ที่ 0.46 เท่า และ ROE 7.6%) เราเชื่อว่าเป้าหมาย P / BV ของเราที่ระดับต่ำกว่า 0.5 เท่านั้นเหมาะสมเนื่องจาก ROE ของแบงก์จะยังคงต่ำกว่า 5.0% ในปี 63-65 เราชอบ BBL (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 130 บาท) มากกว่า KBANK เนื่องจากงบดุลแข็งแกร่งกว่าและความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์น้อยกว่า  

กำไร 2Q20 ทรุด 78% YoY และ 71% QoQ เหลือ 2.2 พันล้านบาท

KBANK รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 2Q20 ที่ 2.2 พันล้านบาท ต่ำกว่าที่เราและตลาดคาด 46% และ 66% ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนสินเชื่อที่สูงขึ้น ผลประกอบการครึ่งปีแรกคิดเป็น 57% ของประมาณการปี 63 ของเรา สินเชื่อขยายตัว 10% YoY และ 4% QoQ ในขณะที่ NIM ลดลง 24bps QoQ เนื่องจากอัตราผลตอบแทนสินเชื่อลดลงจากการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ขณะที่ Non-NII เพิ่มขึ้น 41% QoQ และ 3% YoY เนื่องจากกำไรจากการ Mark to Market 4.7 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิลดลง 9% QoQ และ 12% YoY จากค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตและค่าธรรมเนียมการบริหารสินทรัพย์ Opex ลดลง 11% YoY เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพนักงานและการตลาดลดลง เป็นผลให้อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ลดลงเหลือ 38.4% ในไตรมาส 2Q20 จาก 45.0% ในไตรมาส 2Q19

คุณภาพสินทรัพย์อ่อนแอ มาตรการช่วยลูกหนี้กระทบ NIM

KBANK บันทึกการตั้งสำรองในไตรมาส 2Q20 ไว้ที่ 2.02 หมื่นล้านบาท (15% ของเงินตั้งสำรองเป็น management overlays) ส่งผลให้ต้นทุนสินเชื่อเพิ่มขึ้น 3.1% ในครึ่งแรกของปี 63 โดย NPL เพิ่มขึ้น 4% QoQ เป็น 9.4 หมื่นล้านบาทหรือ 4.4% ของสินเชื่อ ผู้บริหารระบุว่าธนาคารต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปีในการประเมินภาพรวมกลับสู่ระดับก่อนโควิด -19 ระบาด เราคาดการณ์ต้นทุนเครดิตจะอยู่ที่ 2.0-2.1% ในปี 2563-2565 ในแง่ของกำไร เราคาดว่า NIM จะลดลง QoQ ในครึ่งปีหลังเนื่องจากการลดอัตราดอกเบี้ยและรายได้ดอกเบี้ยที่ลดลงจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้

คาด NPL เพิ่มขึ้นหลังจบมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในไตรมาส 4

KBANK ระบุสินเชื่อในโครงการช่วยเหลือลูกหนี้คิดเป็น 40% ของสินเชื่อรวมหรือ 8.28 แสนล้านบาท จากทั้งหมด 90% เป็นลูกหนี้ธุรกิจและ 10% เป็นรายย่อย สำหรับสินเชื่อธุรกิจ 60% ยังคงชำระหนี้ต่อ ส่วนอีก 30% มีแนวโน้มที่จะชำระหลังจากสิ้นสุดมาตรการฯ และ 10% (หรือ 7.8 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่ SMEs) เป็นกลุ่มเสี่ยงและต้องการปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มเติมหลังจากสิ้นสุดมาตรการฯ ประเด็นนี้จะนำไปสู่ต้นทุนเครดิตที่สูงขึ้นหากกลุ่มนี้กลายเป็น NPL

TISCO Financial Group (TISCO TB)

กำไรไตรมาส 2Q20 – สะดุดระยะสั้น

คงคำแนะนำ ซื้อ ลดราคาเป้าหมายเป็น 80 บาท

เราปรับลดประมาณการกำไรปี 63-64 ลง 1-8% หลังจากปรับต้นทุนสินเชื่อที่สูงขึ้นเพื่อสะท้อนถึงการก่อตัวของ NPL ที่สูงขึ้นในไตรมาส 2Q20 เราเชื่อว่ามาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อที่ระมัดระวังมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจะนำไปสู่ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ที่ลดลงเทียบกับคู่แข่ง คงคำแนะนำ ซื้อ และลดราคาเป้าหมายเป็น 80 บาทจาก 84 บาท (P / BV ปี 63 ที่ 1.65 เท่า ROE 15.9%) งบดุลที่แข็งแกร่งงและผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ดีส่งผลดาวน์ไซด์จำกัด

คุณภาพสินทรัพย์ 2Q20 แย่กว่าคาดจาก NPL ที่เพิ่มขึ้น

กำไรลดลง 26% YoY และ 10% QoQ เป็น 1.33 พันล้านบาท แต่ PPoP เพิ่มขึ้น 8% YoY ในไตรมาส 2Q20 สินเชื่อลดลง 4.1% QoQ โดย TISCO รายงานตัวเลขสินเชื่อทะเบียนรถยนต์หดตัวเป็นครั้งแรก (-2.9% QoQ) หลังจากที่ปรับลดอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันลงเพื่อควบคุมความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ ขณะที่ NIM ลดลง 22bp QoQ เป็น 4.34% เนื่องจากธนาคารไทยทุกแห่งจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการลด FIDF ให้กับลูกค้า ทั้งนี้ Non-NII ลดลง 20% YoY เนื่องจากค่าธรรมเนียมการทำประกันผ่านธนาคารที่อ่อนแอ ด้านคุณภาพสินทรัพย์ NPL เพิ่มขึ้น 23% QoQ นำโดยสินเชื่อเช่าซื้อ HP และสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ อัตราส่วน NPL เพิ่มขึ้นเป็น 3.28% จาก 2.56% ในไตรมาส 1Q20

NIM ค่อยๆ ฟื้นตัว ตั้งเป้าขยายสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์

แม้ว่า TISCO จำเป็นต้องคำนวณอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในอัตราที่ลดลงจากโครงการบรรเทาหนี้ แต่เราคาดว่า NIM จะปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากต้นทุนเงินทุนที่ลดลงและการเติบโตของสินเชื่อรถยนต์ในระยะยาว ผู้บริหารตั้งเป้าหมายที่จะผลักดันธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ โดยเฉพาะสินเชื่อทะเบียนรถจักรยานยนต์ เนื่องจากผลตอบแทนที่ปรับความเสี่ยงสูงกว่าสินเชื่ออื่น ๆ มากเนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงและ ticket size ต่ำ

3% ของสินเชื่อรวมขอพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย

TISCO ระบุว่าลูกค้าภายใต้โครงการช่วยเหลือลูกหนี้ของ ธปท. คิดเป็น 20% ของสินเชื่อรวม จากทั้งหมด ลูกค้าขอให้ระงับการชำระเงินต้น 6 เดือน (ยังคงจ่ายดอกเบี้ย) คิดเป็น 17-18% ของสินเชื่อรวม และอีก 3% หรือ 700 ล้านบาทขอพักชำระหนี้ทั้งหมด ซึ่งธนาคารมีการชะลอการปรับลดการจัดชั้นสินเชื่อ และจัดชั้นเป็นประเภท 1 -หนี้ปกติ (580 ล้านบาท) และประเภท 2 –มีความเสี่ยง ต้องเฝ้าระวัง (140 ล้านบาท)

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!