- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 21 July 2020 16:23
- Hits: 4939
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 21-7-2020
MARKET TALK
กลยุทธ์การลงทุน
เงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า ทำให้ Fund Flow จากนักลงทุนต่างชาติไม่ไหลเข้า ในทางตรงข้ามอาจเห็นการไหลออกแทน ทำให้หุ้น Market Cap กลาง-เล็ก มีโอกาสที่จะ Perform มากกว่า ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่เด่นคือการส่งออก สินค้าเกษตร-อาหาร กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ไม่มีการปรับพอร์ต จำลอง หุ้น Top Pick เลือก MCS, DCC และ CPF
บาทอ่อนหลบเข้าหุ้น ส่งออก และ หุ้น กลางเล็ก CPF, MCS, DCC
ประเด็น Covid-19 น้ำหนักของข่าวมีการหักล้างกันระหว่าง พัฒนาการเชิงบวกของวัคซีน กับ จำนวนผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ผลกระทบที่มีต่อทิศทางตลาดหุ้นจำกัด ส่วนปัจจัยที่ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักวันนี้เป็นเรื่องของเงินบาทที่อ่อนค่า ซึ่งพบว่าในช่วงจากต้นเดือน ก.ค.63 จนถึงปัจจุบันอ่อนค่าลง 2.93% มากเป็นอันดับ 1 ตามด้วยอินโดฯ ซึ่งเงินอ่อนค่าลง 2.55% สาเหตุหลักนอกจากเรื่องเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 รุนแรงแล้วยังน่าจะเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความร้อนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ผลจากการที่เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า ในเชิงกลไกแล้วทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (FX risk) สูงขึ้น โอกาสที่จะเห็น Fund Flow ไหลกลับเข้ามาจึงเป็นไปได้น้อย แต่ในทางตรงข้ามอาจทำให้เงินไหลออกจากลาดหุ้นได้ ภาวะดังกล่าวทำให้หุ้น Market Cap ใหญ่ไม่น่าจะ Outperform ตลาด ขณะที่หุ้น Market Cap เล็กมีโอกาสที่ดีกว่า นอกจากนี้หุ้นอีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจคือ หุ้นในกลุ่มส่งออกเฉพาะอย่างยิ่งอาหาร-สินค้าเกษตร กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ไม่มีการปรับพอร์ตเนื่องจากโครงสร้างมีหุ้นที่เหมาะสมกับสถานการณ์เช่นนี้อยู่แล้ว Top Pick เลือก CPF, MCS และ DCC
Covid-19 มีข่าวดีเรื่องวัคซีน แต่ก็มีข่าวร้ายเรื่องจำนวนผู้ติดเชื้อ
ตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา ผันผวนสูงมาก ซึ่งตอบรับข่าวดีเรื่องวัคซีน แต่ก็มีข่าวร้ายเรื่องจำนวนผู้ติดเชื้อที่พุ่งขึ้น สลับไปมารายวัน คือ
(+) ข่าวดีเรื่องวัคซีน ล่าสุด วานนี้ความคืบหน้าพัฒนาการวัคซีนของ บางบริษัท คือ มหาวิทยาลัย Oxford ซึ่งร่วมมือกับบริษัท AstraZeneca (บริษัทวิจัยและพัฒนายาสัญชาติอังกฤษ) รายงานผลการทดลองวัคซีนเฟสที่ 3 พบว่าร่างกายของอาสาสมัครสามารถสร้าง Antibody สำหรับไวรัส Covid-19 ได้ และคาดว่าวัคซีนจะสามารถพร้อมใช้งานได้ภายช่วงสิ้นปี 2563 นี้
(-)ข่าวร้าย จำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 รายใหม่ ทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มอยู่ สะท้อนจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลก ล่าสุดเพิ่มขึ้นอีก 248,290 ราย ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 7 วัน ที่เพิ่มขึ้นวันละ 221,167 ราย สะท้อนถึงแนวโน้มผู้ติดเชื้อยังเป็นขาขึ้น
โดยรวม ASPS ประเมินว่าสถานการณ์ทั่วโลกเสมือนเป็นการแข่งขันกันระหว่างการความเร็วของการพัฒนาวัคซีน กับจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ (ดังรูป) แต่ทว่าในช่วงสั้น จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจนำหน้าความเร็วของการพัฒนาวัคซีนไปก่อน และอาจจะเป็นปัจจัยกดดันการลงทุนในตลาดหุ้น
ธปท. เชื่อ 2Q63 เป็นจุดต่ำสุดของเศรษฐกิจ แต่ต้องใช้เวลาฟื้นตัวยาวนาน
ปัจจัยในประเทศช่วงนี้ ASPS ให้น้ำหนักประเด็นสำคัญ 3 ประเด็น คือ
1.) สถานการณ์ Covid-19 หลังจาก พบผู้ติดเชื้อที่เป็น “ทหารอียิปต์” ที่ระยองในช่วง 11 ก.ค.63 หมายความว่าหากต้องการมั่นใจว่าไทยปลอดผู้ติดเชื้อในประเทศชัว คือ ให้น้ำหนักภายในวันที่ 26 ก.ค. จะเป็นวันที่ครบกำหนด 14 วัน
2.) วันพรุ่งนี้กระทรวงพาณิชย์รายงาน ยอดส่งออก (X) เดือน มิ.ย. ตลาดคาด -6.4%yoy จากเดือน พ.ค. -22.5% และนำเข้า(M) คาด –18% yoy จากเดือน พ.ค. -22.5% ASPS ประเมินว่ามีโอกาสที่เดือน มิ.ย. ยอดส่งออกและนำเข้าจะหดตัว เพราะหากพิจารณา ยอดนำเข้า ในเดือน มิ.ย. ของประเทศคู่ค้าหลักของไทย ที่รายงานออกมาแล้วใน 1-2 อาทิตย์ที่ผ่านมา พบว่ายังหดตัวแรงในทิศทางเดียวกัน อาทิ อินเดีย -47.6%yoy, เกาหลีใต้ -11.2% อินโดนีเซีย -6.4% ญี่ปุ่น -0.8% ยกเว้น จีน และ เวียดนาม ที่นำเข้าเดือน มิ.ย. พลิกกลับมา +2.7% และ 5.3%ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ASPS ประเมินจะมีบางสินค้าที่ ASPS คาดยังส่งออกไปได้อาทิ อาหาร เช่น หมู ไก่ เป็นต้น
3.) การผลักดันเม็ดเงินขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และฟื้นฟูในช่วง 2H63 ทั้ง พรก. 1 ล้านล้านบาท (ปัจจุบัน มีการเบิกจ่ายเงินไปทั้งหมด 12.3% ของวงเงินทั้งหมด) จะเป็นอย่างไร มาตรการใหม่ และการเบิกจ่ายเม็ดเงินจะมีการเร่งได้หรือไม่ เพื่อเป็นแรงส่งกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วง 2H63 ที่ยังมีความเสี่ยงชะลอตัว โดยเป็นที่ชัดว่าทุกสำนักเศรษฐกิจเห็นตรงกัน คือ คาด GDP ปี 2563 จะหดตัว -8-10% สอดคล้องกับเมื่อวานนี้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กล่าวในงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ความเห็นสำคัญ คือ
เศรษฐกิจ 2Q63 จะเป็นจุดต่ำสุด Bottom ของปี 2563 สอดคล้องกับ ASPS คาด GDP 2Q63 จะหดตัว 15%yoy และ ธปท. ประเมินว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวคือปลายปี 2564 หรือ มีลักษณะ Nike Shape (/)
กังวลความเสี่ยง การบริโภคครัวเรือน อาจะชะลอตัวสูง ผลจากแนวโน้มการว่างงานที่ยังเพิ่มขึ้น
พรก.Soft loan ปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำของ ธปท.วงเงิน 5 แสนล้านบาท ที่ออกมาในช่วง 1H63 โดยปัจจุบัน อนุมัติไปแล้ว 21%ของวงเงินทั้งหมด ซึ่งมาตรการจะสิ้นสุด ธ.ค.2563 โดย ธปท. กำลังพิจารณาจะขยายต่อมาตรการไปอีก 1ปี คือ ธ.ค.2564
บาทอ่อน ถือเป็นอุปสรรคต่อ Fund Flow ชอบ CPF, MCS, DCC
เดือน ก.ค. 63 นี้ ประเทศไทยเผชิญกับแรงกดดันเฉพาะตัว 3 เรื่อง
• การพบผู้ติดเชื้อโควิด ในจังหวัดระยองและกรุงเทพ (หลังจากไม่พบผู้ติดเชื้อมานานกว่า 2 เดือน)
• การเมืองที่ร้อนแรง จากการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษาพร้อมข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล
• ยังอยู่ในช่วงรอยต่อการปรับ ครม. ที่ดูเหมือนว่าจะมีการปรับในหลายตำแหน่ง
ประเด็นกดดันเฉพาะตัวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทในเดือน ก.ค. พลิกกลับมาอ่อนค่า 2.9%mtd ซึ่งอ่อนค่าแรงเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาค
การกลับมาอ่อนค่าของเงินบาท ส่งผลให้ต่างชาติอาจลังเลในการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้น เพราะนักลงทุนต่างชาติมีโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และยังสอดคล้องกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 5 ปี คือ ทุกๆค่าเงินบาทอ่อนค่าเฉลี่ย 1% จะส่งผลให้เงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นเฉลี่ยราว 7.8 พันล้านบาท (ดังภาพทางด้านล่าง)
Fund Flow ต่างชาติอาจลดน้อยลง ส่งผลให้การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นไทยต่อจากนี้ค่อนข้างจะจำกัด และต้องหวังพึ่งแรงผลักดันจากนักลงทุนในประเทศเป็นหลัก
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนแบ่งออกเป็น 2 ธีม
1. เน้นหุ้นส่งออกพื้นฐานแข็งแกร่ง แถมยังได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าแรง จากสมมุติฐานของฝ่ายวิจัยฯ ค่าเงินบาททุกๆ 1 บาท ที่อ่อนค่า จะหนุนกำไรหุ้นในกลุ่มส่งออกเพิ่มขึ้นราว 2 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็น กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 500 ล้านบาท (แต่หุ้นส่วนใหญ่เต็มมูลค่าพื้นฐานแล้ว) , กลุ่มเกษตรและอาหาร 1.5 พันล้านบาท แนะนำ CPF (รายได้จากต่างประเทศ 70%), STA (ส่งออกสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 80%), STGT (ส่งออกสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 90%)
2. หุ้นขนาดกลาง-เล็กพื้นฐานแข็งแกร่ง ถือเป็นเป้าหมายอันดับต้นของการนักลงทุนในประเทศ และน่าจะ Outperform ตลาดต่อเหมือนช่วงที่ผ่านๆ มา แนะนำ MCS, DCC, SCCC และ INSET
RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web