- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 17 July 2020 16:07
- Hits: 7461
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 17-7-2020
MARKET TALK
กลยุทธ์การลงทุน
ประเด็นที่ต้องติดตาม คือ Covid-19, Trade war ยังกดดันตลาดหุ้นโลกอยู่ ส่วนภาพรวมตลาดฝ่ายวิจัยเชื่อว่ายังมีแรงหนุนจากเม็ดเงินสภาพคล่องส่วนเกินที่คงค้างอยู่ในระบบ ช่วงพยุงไม่ให้ปรับฐานแรง ประเมินกรอบการเคลื่อนไหววันนี้ 1240 – 1357 จุด Top Pick เลือก MCS, INTUCH และ INSET (วานนี้ Stop Profit หุ้น STGT และได้กำไรกว่า 15.6%)
สภาพคล่องส่วนเกิน ความหวังพยุงตลาด
ประเด็นที่ตลาดยังต้องให้น้ำหนัก คือ สถานการณ์ไวรัส COVID-19 ยังลุกลามอย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ล่าสุดเพิ่มขึ้น 217,862 ราย ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 7 วัน รวมถึงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนทวีความร้อนแรงเพิ่มขึ้นต่อ ภายหลังนาย Mike Pompeo รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเตรียมระงับการให้ VISA สหรัฐ แก่พนักงานบริษัท IT ของจีน ที่เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษย์ชนในเขตซินเจียงอุยกูร์ (คาดว่ามุ่งเน้นไปที่บริษัท Huawei) ขณะที่สัปดาห์หน้าให้น้ำหนัก ตัวเลขเศรษฐกิจ PMI สหรัฐ และตัวเลขนำเข้าส่งออกไทย ส่วนภาพรวมตลาดฝ่ายวิจัยเชื่อว่ายังมีแรงหนุนจากเม็ดเงินสดภาพคล่องส่วนเกินที่คงค้างอยู่ในระบบ คือ ในสหรัฐ เม็ดเงินในตลาดเงิน (Money Market Fund) ล่าสุดปรับขึ้นทำจุดสูงสุด อยู่ที่ 5.32 Trillion$ ขณะที่ไทย พิจารณา เงินฝากออมทรัพย์และฝากประจำในระบบ ล่าสุด ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 15.52 ล้านล้านบาท ทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ดังนั้นฝ่ายวิจัยทำการค้นหาและคัดเลือกหุ้นที่จะเป็นเป้าหมายสภาพคล่องส่วนเกินในระยะถัดไป ดังภาพทางด้านล่าง ขณะที่พอร์ตจำลองวานนี้ได้ Stop Profit หุ้น STGT และได้กำไรกว่า 15.6% โดยแนะนำให้จัดสรรเงินเข้า INSET และ BTSGIF อย่างละ 5% ส่วน Toppicks ในวันนี้เลือก MCS, INTUCH และ INSET
หุ้นเด่นเป้าหมายสภาพคล่องส่วนเกิน
ที่มา: Bloomberg
Covid-19, Trade war ยังกดดันตลาดหุ้นโลกอยู่ สัปดาห์หน้าให้น้ำหนักตัวเลขเศรษฐกิจ
ตลาดหุ้นโลกแกว่งตัวผันผวน โดยตลาดหุ้นสหรัฐ ดัชนี Dow Jones ลดลง 0.5%, S&P 500 ลดลง 0.3%, NASDAQ ลดลง 0.7% จากความกังวล 1.) สถานการณ์ไวรัส COVID-19 ยังลุกลามอย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ล่าสุดเพิ่มขึ้น 217,862 ราย ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 7 วัน ที่เพิ่มขึ้นวันละ 213,499 ราย 2.) สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนทวีความร้อนแรงเพิ่มขึ้นต่อ ภายหลังนาย Mike Pompeo รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเตรียมระงับการให้ VISA สหรัฐ แก่พนักงานบริษัท IT ของจีน ที่เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษย์ชนในเขตซินเจียงอุยกูร์ (คาดว่ามุ่งเน้นไปที่บริษัท Huawei) ความกังวลต่างๆข้างต้น เชื่อว่าจะยังเป็นประเด็นที่ต้องให้น้ำหนักต่อไป
โดยปัจจัยที่ให้น้ำหนักในสัปดาห์หน้า ให้น้ำหนักการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐประจำเดือน มิ.ย. 2563 ช่วงครึ่งท้ายของสัปดาห์ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสอง (Exiting Home Sale), ยอดขายบ้านใหม่ (New Home Sale), และดัชนี PMI ภาคการผลิต (Manufacturing PMI) โดยตลาดคาดว่าดัชนีต่างมีแนวโน้มฟื้นตัว %mom สอดคล้องกับยอดค้าปลีก (Retail Sale) ที่รายงานวานนี้ พบว่าเพิ่มขึ้น 7.5%mom ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการคลาย Lockdown ส่วนในประเทศให้น้ำหนักการรายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือน มิ.ย. 2563 ในวันที่ 22 ก.ค. 2563 เบื้องต้นตลาดคาดว่าการส่งออกจะหดตัว -6.4%yoy ต่อเนื่องจากเดือน พ.ค. 2563 ที่หดตัว -22.5% ส่วนการนำเข้าคาดหดตัว -18%yoy จากเดือน พ.ค. 2563 ที่หดตัว -33.4% เนื่องจากแม้หลายประเทศเริ่มคลาย Lockdown แล้ว แต่ยังคงเข้มงวดด้านการค้าระหว่างประเทศ
เศรษฐกิจไทยคล้ายๆ “คู่แฝด” ท่องเที่ยวไม่ดี แต่กลุ่ม Home Improvement ยังโตสวนกระแส
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2563 ณ.ปัจจุบัน ASPS ประเมินว่ามีลักษณะคล้ายกับ “คู่แฝดแต่เป็นแฝดคนละฝา” กล่าวคือ
แฝดคนที่ 1 คือ ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง เห็นตรงกันคือ แนวโน้มหดตัวชัดเจน จากผลกระทบ Covid-19 (ASPS คาด GDP ปี 2563 หดตัว 8.4%yoy) หลักๆ ภาคส่งออก (ราว 68%GDP) สำนักเศรษฐกิจส่วนใหญ่คาดเฉลี่ยหดตัว 10%yoy, ภาคท่องเที่ยวราว(ราว 20%GDP) อิงทั้งปี 2562 นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยราว 40 ล้านคน (รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ราว 3 ล้านล้านบาท หรือ คิดราว 2 ใน 3 ของรายได้นักท่องเที่ยวทั้งระบบ) แต่ปีนี้เจอ Covid-19 การ Lockdown และการจำกัดการเข้าประเทศทำให้นักท่องเที่ยวลดลงแรง โดยล่าสุด กระทรวงท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คาดการณ์ทั้งปี 2563 เหลือเพียง 8 ล้านคน และปี 2564 คาดจะเพิ่มมาอยู่ที่ 20 ล้านคน (ระดับเดียวกับเมื่อ 10 ปีที่แล้ว) ซึ่งใช้เวลากว่าจะฟื้นตัว โดยรวมจะกดดันการบริโภคครัวเรือน (C ) 50%ของ GDP เชื่อว่าแนวโน้มผู้ว่างงานใน 2 H63 จะเพิ่มขึ้น สอท.คาดทั้งปี 2563 จะมีผู้ว่างงาน 3 ล้านคน
แต่อย่างไรก็ตาม ASPS เห็นมีธุรกิจบางประเภทที่อดขายยังปรับเพิ่มขึ้น สวนกระแสเศรษฐกิจที่ชะลอตัว คือ ประเภท Home Improvement อาทิ DCC, DRT, DOHOME
แฝดคนที่ 2 คือ ความมั่งคั่งของผู้มั่งคงสูงมิได้ลดลง ทั้งนี้ในช่วง 1H63 ASPS เห็นว่าเม็ดเงินของผู้ที่มั่งคั่งสูงมีการโยกย้ายไปอยู่สินทรัพย์ที่ปลอดภัย และทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งสินทรัพย์เหล่านี้ให้ผลตอบแทนที่ต่ำมาก อาทิ Money Market ซึ่งให้ผลตอบแทนราว 1.3% ,เงินฝากออมทรัพย์และฝากประจำ ให้ผลตอบแทนราว 0.7% (รายละเอียดดังรูป) หรือ ทองคำ นับตั้งแต่ต้นปี-ปัจจุบัน(Ytd) ปรับขึ้นมาราว 19 % ซึ่งนักลงทุนมองว่าเป็นเป็นที่พักเงินในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวน SET Index -14.7% ytd สะท้อนได้จาก ตัวอย่าง คือ
ในสหรัฐ เม็ดเงินในตลาดเงิน (Money Market Fund) ล่าสุด ปรับขึ้นทำจุดสูงสุด อยู่ที่ 5.32 Trillion$ ขณะที่ไทย พิจารณา เงินฝากออมทรัพย์และฝากประจำในระบบ ล่าสุด ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 15.52 ล้านล้านบาท ทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์
โดยรวม ASPS ประเมินว่าเม็ดเงินที่ถูกโยกไปสินทรัพย์ปลอดภัย ทั้ง Money Market Fund) และเงินฝากออมทรัพย์และฝากประจำในระบบ ดังกล่าว หากความชัดเจนพัฒนาการวัคซีน Covid-19 มีความคืบหน้ามากขึ้น ในช่วง 4Q63-1Q64 เชื่อว่า Fund Flow บางส่วนจะถูกย้ายกลับมาหุ้นอีกครั้ง และน่าจะจำกัด Down side ตลาดหุ้นในอนาคต
เข้าสู่ฤดูกาลประกาศกำไรกลุ่มธนาคาร เริ่มด้วย TISCO
เข้าสู่ฤดูกาลประกาศผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคาร โดยฝ่ายวิจัยคาดกำไรกลุ่มฯ งวด 2Q63 อยู่ที่ 37,744 ล้านบาท ลดลง 15% QoQ (-25% yoy) เนื่องจากคาดการณ์รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลง 6% QoQ ผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งไม่สามารถชดเชยได้กับสินเชื่อกลุ่มฯ ที่มีแนวโน้มขยายตัว 4.7% QoQ (+6.4% YTD) อยู่ที่ 12.7 ล้านล้านบาท จากความต้องการใช้สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงมาตรการพักชำระหนี้ (Loan payment holiday) ที่มีลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการราว 40% ของสินเชื่อทั้งระบบ ภาพรวมส่งผลให้ NIM ลงมาที่ 2.92% จาก 3.23% ในงวดก่อน ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมฯ ประเมินอ่อนตัว 11% QoQ จากธุรกรรมทางการเงินที่ชะลอตัวลง สืบเนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดลงในช่วง เม.ย. – พ.ค. หลังรัฐบาลประกาศ Lock down ประเทศ ประกอบกับมองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss : ECL) เร่งตัวขึ้น 7% QoQ มาอยู่ที่ 54,360 ล้านบาท คิดเป็น Credit Cost ที่ 1.75% จาก 1.69% ในงวด 1Q63 แม้มี Loan payment holiday (ลูกหนี้ไม่ตกชั้น) แต่เชื่อ ธ.พ. ยังไม่ผ่อนการตั้งสำรองจากระดับ 1Q63 ผ่านการตั้ง ECL ในส่วนของ Management Overlay องค์ประกอบรวมข้างต้นไม่สามารถหักล้างได้กับรายการกำไร (ขาดทุน) สุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดด้วยมูลค่ายุติธรรม (FVTPL) ประเมินไว้ 9,619 ล้านบาท สูงขึ้นจาก 644 ล้านบาท ในงวด 1Q63 หลังงวดก่อนทั้ง KBANK และ BBL มีผลขาดทุนจากรายการดังกล่าว 2,898 ล้านบาท และ 1,689 ล้านบาท ซึ่งในงวดนี้มีแรงหนุนจากเงินลงทุนในหุ้น น่าจะได้รับอานิสงค์จากการที่ SET Index ฟื้นตัวราว 19% จากระดับดัชนี ณ สิ้นงวด 1Q63
วันนี้ช่วงเย็น ติดตาม TISCO ซึ่งประกาศงบเป็นธนาคารแรก ฝ่ายวิจัยคาดกำไรสุทธิที่ 1,330 ล้านบาท ลดลง 11% QoQ (-26% yoy) และที่เหลือในวันที่ 20 (KBANK, SCB, TMBB และ KKP) – 21 ก.ค. 63 โดยประเด็นที่ต้องให้น้ำหนัก ประกอบด้วย ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ตามด้วยมูลหนี้ที่เข้าร่วม Loan payment holiday ของแต่ละธนาคาร, เป้าหมายทางการเงินแต่ละธนาคารปี 2563 รวมถึงผลกระทบต่ออัตราส่วนเงินกองทุน (CAR) และการจ่ายเงินปันผลในปี 2563
คงน้ำหนักน้อยกว่าตลาด ยังชอบ BBL (FV@B>154) จากฐานสินเชื่อรายใหญ่กว่า 41% ของพอร์ต น่าจะรับแรงปะทะจากสภาวะเศรษฐกิจได้มากกว่าลูกหนี้ SME และ บุคคล ขณะที่ PBV ซื้อขายที่ 0.46 เท่า
ค้นฟ้าคว้าดาว หาหุ้นเป้าหมายสภาพคล่องส่วนเกิน
Top pick ในวันนี้เลือก MCS, INTUCH และ INSET
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web