- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 07 July 2020 11:25
- Hits: 5341
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 7-7-2020
กลยุทธ์การลงทุนรายวัน
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET แกว่ง sideway โดยยังขาดปัจจัยใหม่ๆที่เข้ามาขับเคลื่อนตลาด โดย ณ. สิ้นวัน SET ปิดที่ 1,372.27 (-1.86จุด) มูลค่าการซื้อขาย 7.1 หมื่นล้านบาท (เทียบกับวันก่อนหน้า 8.4 หมื่นล้านบาท)
โดยนักลงทุนต่างชาติ ซื้อหุ้นไทย 384 ลบ. (นักลงทุนสถาบันซื้อ 1,788 ลบ.) ส่วนตลาด TFEX นักลงทุนต่างชาติเปิด Short Futures ที่ 7,124 สัญญา)
PTTGC (ราคาเป้าหมาย 57.0 บาท) รับอานิสงส์เชิงบวกจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ตอบรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่เร่งขึ้น ผสานกับอุปทานน้ำมันที่กลุ่ม OPEC+ ยังพยายามควบคุมกำลังการผลิตให้อยู่ในระดับที่สมดุลมากยิ่งขึ้น ส่งผลดีต่อราคาน้ำมัน และราคาปิโตรเคมีปรับตัวสูงขึ้น
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจกระตุ้นการลงทุนมากยิ่งขึ้น : ในระยะสั้นตลาดสินทรัพย์เสี่ยงยังคงมีความหวังเชิงบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกที่ลุ้นฟื้นตัวขึ้น สอดคล้องกับตัวเลขในช่วงที่ผ่านมาทั้งภาคการผลิตในจีน ยูโรโซน รวมถึงสหรัฐฯปรับตัวขึ้นได้โดดเด่นเกินคาด และตัวเลขล่าสุดในด้านภาคบริการของสหรัฐฯ ก็พบว่าดัชนี ISM ภาคบริการเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 57.1 จุด จาก 45.4 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขนี้ถือว่าดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 50.2 จุด ถือเป็นตัวบ่งชี้ถึงพัฒนาการเชิงบวกของเศรษฐกิจสหรัฐฯมากยิ่งขึ้น เป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนการลงทุนในตลาดสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มเติม และคาดจะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นเอเชียวันนี้ปรับตัวขึ้น โดยสำหรับกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสม ณ ปัจจุบัน เราแนะให้นักลงทุนทยอยสะสมหุ้นที่มีพัฒนาการเชิงบวกของผลประกอบการ รวมถึงมีสตอรี่เด่นมาขับเคลื่อนการลงทุนเพิ่มเติม โดยหุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ PTTGC, PTT, PTG, ESSO, STGT, AP, SPALI, KCE, CKP, TU เป็นต้น
Investment Strategy : วันนี้คาด SET ปรับตัวขึ้น ในกรอบแนวรับ 1,360 ต้าน 1,400 จุด เน้นหุ้นที่พื้นฐานดี สตอรี่เด่น โดย ATO Picks วันนี้แนะนำ “PTTGC, AP, STGT”
ปัจจัยในประเทศ :
จับตาสถานการณ์ COVID-19
SET Index รอผ่าน 1380 จุด
SET Index ปิดที่ระดับ 1372.27 จุด
(-1.86 จุด)
เรายังรอการยืนยันรอบการขึ้นใหม่อีกครั้ง หากดัชนีสามารถขึ้นผ่านระดับแนวต้านสำคัญบริเวณ 1380 จุดได้
หากยังไม่ผ่านระดับดังกล่าว จะเป็นการย่อตัวสะสมกำลังเพื่อรอขึ้นทดสอบใหม่อีกครั้ง
มีหุ้น : ทยอยทำกำไรบางส่วน หากทะลุแนวต้าน 1380 จุดได้ ให้สะสมเพิ่มแล้วถือรันเทรน
ไม่มีหุ้น : รอ Follow buy ตาม กรณีดัชนีสามารถทะลุแนวต้านสำคัญที่ 1380 จุด หรือ รอซื้อที่บริเวณแนวรับ 1365 จุด ในกรณีย่อตัว
BAM เพิ่มดีลขายตรง เจาะกลุ่มเศรษฐี (ทันหุ้น)
ความเห็น : แม้แนวโน้มยอดจัดเก็บเงินสดจะชะลอตัว 15-20%QoQ เช่นเดียวกับทิศทางของกำไรจากที่ทำได้ 700 ลบ. ใน1Q63 แต่เรายังเชื่อว่าอุปสงค์การซื้อบ้านมือสอง และที่ดิน จาก NPA ของ BAM มีโอกาสฟื้นตัวได้ หนุนภาพทั้งปีจะมียอดจัดเก็บเงินสดไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท และเพียงพอต่อการจ่ายปันผลใกล้เคียงกับปีก่อน ซึ่งราคาปัจจุบันคาดมีปันผลใกล้เคียง 4% เราคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเหมาะสม 25 บาท
เปิดฉากซื้อซองสีส้ม แม่ทัพ CK ล็อกเป้าลุย (ทันหุ้น)
ความเห็น : โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์ – มีนบุรี มูลค่าโครงการรวม 127,000 ล้านบาท จะเปิดขายซอง วันที่ 10-24 ก.ค. 2563 ในมุมมองของเรา กลุ่ม BEM+CK จะมีความได้เปรียบกลุ่ม BTS+STEC เนื่องจาก ลักษณะโครงสร้างที่จะมีการใช้สถานีร่วมกัน และการใช้ศูนย์ซ่อมบำรุง ทำให้สามารถทำต้นทุนได้ต่ำกว่า เราคงแนะนำ TRADING BUY เป้าหมาย 24 บาท
TU กำไร Q2 ผงาด 836% อยู่บ้านกินทูน่า-เป้า 16.20 บาท (ทันหุ้น)
ความเห็น : แนวโน้มกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ YoY เนื่องจากฐานต่ำใน 2Q62 ที่มีการตั้งสำรองค่าใช้จ่ายพิเศษทางกฎหมายสุทธิ 1.4 พันล้านบาท หากไม่รวมรายการพิเศษดังกล่าว เบื้องต้นเราคาดกำไร 2Q63 ลดลง YoY เนื่องจาก แม้ยอดขายอาหารทะเลแปรรูปเพิ่มขึ้น แต่ยอดขายอาหารทะเลแช่แข็งลดลง และ Red Lobster ยังขาดทุน แนะนำ ถือ เป้าหมาย 14.10 บาท
AP และ SPALI: Sector Winners กลุ่มผู้พัฒนาอสังหาฯ
ผู้ที่เด่นแนวราบและสามารถต่อยอดแนวดิ่ง จะเป็น The Winner พฤติกรรมผุ้บริโภคในตลาดอสังหาฯเปลี่ยนไปและจะคงอยู่ในระยะสั้น
พฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดอสังหาฯเปลี่ยนหันไปซื้อบ้านแนวราบมากขึ้น หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 เทียบเคียงได้กับช่วงน้ำท่วมใหญ่ปี 2011 ซึ่งในขณะนั้นผู้บริโภคซื้อคอนโดฯมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนจากดัชนีราคาอสังหาฯ (รูปที่ 1) ที่ราคาคอนโดและที่ดินปรับตัวขึ้นตั้งแต่ ส.ค. 2011 (1 เดือนหลังเกิดน้ำท่วม) และทำจุดสูงสุดหลังเหตุการณ์จบลง (ก.พ. 2012) เช่นเดียวกับช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค. ที่ผ่านมา ที่กระแสตอบรับยอดจองบ้านแนวราบปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น แม้จะอยู่ในช่วง Lock Down และอยู่ท่ามกลางความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย
โครงสร้างเงินทุนแข็งแกร่งปัจจัยสำคัญสู่การเติบโต
การปล่อยสินเชื่อในภาคอสังหาฯเป็นไปอย่างระมัดระวังมากขึ้น สะท้อนจากยอดสินเชื่อที่ให้แก่ผู้ประกอบการชะลอลงตั้งแต่ช่วง 4Q19 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดเริ่มซบเซา ต่อเนื่องถึง ก.พ. 2020 เฉลี่ย -0.35% MoM แต่ในทางกลับกันยอดสินเชื่ออสังหาฯลูกค้าบุคคลขยายตัว 0.34% MoM (รูปที่ 3) บ่งชี้ว่าตลาดอสังหาฯยังมีอุปสงค์เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ และลูกค้าที่ซื้ออสังหาฯในช่วงดังกล่าวน่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังทรัพย์และ Credit ดี ทำให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อไม่ยากแม้จะอยู่ในช่วงที่เข้มงวด ภาพดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าบริษัทที่มีโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่ง พึ่งพาแหล่งเงินทุนภายนอกต่ำจะได้เปรียบเป็นอย่างมากในการเติบโตไปพร้อมกับตลาดอสังหาฯที่ฟื้นตัว
AP และ SPALI โดดเด่นที่สุดในกลุ่มผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
เราประเมินแนวโน้มตลาดอสังหาฯหลังจากนี้จะแบ่งเป็น 2 ช่วงหลักๆ ได้แก่ 1) ภาวะปัจจุบันที่ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมไปซื้อบ้านแนวราบมากกว่าคอนโดฯ ซึ่งสินค้าในกลุ่มนี้มีความยืดหยุ่นของอุปทานต่ำ กล่าวคือการเปิดโครงการใหม่ต้องมีขั้นตอนในการขออนุญาตจากภาครัฐฯ และเป็นสินค้าที่ต้องสร้างเสร็จก่อนขาย ดังนั้น ผู้พัฒนาฯที่จะเก็บเกี่ยวประโยชน์ได้มากที่สุดคือกลุ่มที่มี Inventory และโครงการที่พร้อมเปิดตัวตุนอยู่แล้วในมือเยอะ 2) ในระยะถัดไปพฤติกรรมผู้บริโภคจะค่อยๆปรับตัวกลับสู่ภาวะปกติหลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย (จุดเปลี่ยนสำคัญคือความคืบหน้าคิดค้นวัคซีน ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2021) ตลาดคอนโด กทม. จะกลับมาคึกคักอีกครั้งผสานกับแนวโน้มการแข่งขันที่จะลดลงหลังสต็อกคงค้างคอนโดถูกระบายไปเยอะจากการอัดโปรโมชั่นของผู้ขายแทบทุกรายในช่วง เม.ย.-พ.ค. จะช่วยเร่งให้อัตรากำไรขยายตัว ดังนั้น บริษัทที่มีศักยภาพต่อยอดในตลาดคอนโดฯจะเป็นผู้ที่ได้เปรียบ
o “Enjoy Current Market Situation”
AP เป็นผู้พัฒนาฯที่โดดเด่นที่สุดจาก Backlog ที่ตุนไว้เยอะและมีโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่ง อัตราส่วนหนิ้สินต่อทุนต่ำ (1Q20: 0.78) (รูปที่ 5) นอกจากนี้ยังมีความพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในตลาดบ้านแนวราบที่กำลังขยายตัวในปัจจุบันจากสินค้าในมือที่มีบ้านและคอนโดฯพร้อมขาย (Available for Sales) ทั้งจากโครงการเดิมและโครงการใหม่ที่จะเปิดตัวในปี 2020 เทียบกับฐานรายได้ปี 2019 สูงที่สุดในกลุ่มบ้านแนวราบ (รูปที่ 6) และถือเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ถูกที่ นั่นคืออยู่ในตลาดที่กำลังขยายตัว คือ Medium-High End
o “Capability for Growth”
SPALI ได้เปรียบจากโครงสร้างเงินทุนที่มีหนี้สินต่อทุนต่ำ (1Q20: 0.48) และมีสัดส่วนโครงการในมือพร้อมขายสูงที่สุดประมาณ 4 เท่าของฐานรายได้ทั้งปี อีกซึ่งมีสัดส่วน stock คอนโดฯอยู่ราว 4.1 หมื่นล้านบาท พร้อมที่จะกลับมาเติบโตได้ในช่วง 1-2 ปี ข้างหน้า หลังตลาดคอนโดฯกลับสู่ภาวะปกติ
Thailand Banks
ภาพกำไรไตรมาส 2Q20 ไม่ชัด
เน้นธนาคารที่งบดุลแกร่ง เลี่ยงธนาคารที่เน้น SME
เราเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะยังคงอ่อนแอแม้ว่าบางธุรกิจจะกลับมาเปิดดำเนินการแล้ว ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงให้เห็นว่ามูลค่าของเงินให้สินเชื่อรอการตัดบัญชีอยู่ที่ระดับ 6.8 ล้านล้านบาทในกลางเดือนมิถุนายน คิดเป็น 35% ของสินเชื่อรวมของระบบ แม้จะมองว่ามีความเสี่ยงต่ำในประเด็นเพิ่มทุน แต่แนวโน้มการผิดนัดชำระหนี้ที่เลื่อนออกไปจะนำไปสู่การลดทุนและมูลค่าทางบัญชี หุ้นปลอดภัยของเรายังคงเป็น BBL และ TISCO เนื่องจากมีบัฟเฟอร์ที่แข็งแกร่งทนทานต่อการเสื่อมคุณภาพของสินทรัพย์ดีกว่าคู่แข่ง ขณะที่แนะนำ ขาย KBANK เนื่องจากผลประกอบการที่อ่อนแอจากการหดตัวของรายได้ค่าธรรมเนียมและต้นทุนสินเชื่อที่สูงขึ้นจาก SMEs
รายได้ค่าธรรมเนียมที่อ่อนตัว NIM ที่ลดลงและต้นทุนสินเชื่อที่สูงขึ้นจะกดดันกำไรไตรมาส 2Q20
เราคาดว่าธนาคารทั้งเจ็ดแห่งที่เราศึกษาจะรายงานผลประกอบการไตรมาส 2Q20 ที่ 2.62 หมื่นล้านบาท ลดลง 36% YoY และ 29% QoQ เนื่องจากการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้น การลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมและ NIM ที่ลดลง สินเชื่อจะเติบโต YoY เนื่องจากการชำระคืนหนี้ที่ลดลง เราคาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมจะหดตัวจากการขายกองทุนรวมและ Bancassurance ที่อ่อนแอ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อ การตั้งสำรองของทั้งกลุ่มคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 39% YoY เป็น 3.86 หมื่นล้านบาทในไตรรมาส 2Q20 เนื่องจากคุณภาพสินทรัพย์ด้อยลงในทุกกลุ่ม
NIM จะลดลงในไตรมาส 2 คาดว่าไม่ดีขึ้นในครึ่งปีหลัง
แม้ว่าธนาคารขนาดใหญ่จะสามารถลดต้นทุนทางการเงินได้จากค่าธรรมเนียมกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ที่ลดลงและดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลง เราคาดว่า NIM จะลดลง QoQ ในไตรมาส 2-4Q20 อันเป็นผลจากการลดดอกเบี้ยหลายครั้ง การเพิ่มขึ้นของเงินให้สินเชื่อรอการตัดบัญชีจะนำไปสู่การลดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงเหลือ 50bps จาก 125bps ณ สิ้นปี 2562
ข้อมูลรายได้และคุณภาพสินทรัพย์ปัจจุบันไม่สะท้อนผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจาก Covid-19 และการล็อคดาวน์
KBANK ระบุมูลค่าสินเชื่อภายใต้สัญญาพักชำระหนี้อยู่ที่ 8.28 แสนล้านบาทหรือ 40% ของสินเชื่อรวม เทียบกับ SCB และ KKP ที่ 35%, KTB 20% และ TISCO 10% ขณะที่ BBL และ TMB ไม่เปิดเผยตัวเลข จากข้อมูลเหล่านี้ เราเชื่อว่าอัตราส่วน NPL ปัจจุบันและต้นทุนสินเชื่อไม่สะท้อนผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากธนาคารสามารถเลื่อนการปรับลดการจัดชั้นของสินเชื่อในช่วงปี 2563-2564 เนื่องจากมาตรการบรรเทาหนี้ นอกจากนี้ ธนาคารอาจบันทึกกำไรเกินจริงเนื่องจากสามารถบันทึกรายได้ดอกเบี้ยตามเกณฑ์คงค้างจากสินเชื่อที่ยังไม่ได้ชำระได้ เรามองว่าการที่ ธปท.สั่งระงับการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลและซื้อคืนหุ้นเนื่องจากไม่ต้องการให้ธนาคารจ่ายเงินปันผลจากผลกำไรที่สูงเกินจริง
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web