- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 02 July 2020 16:49
- Hits: 4969
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 2-7-2020
MARKET TALK กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET Index อยู่ในภาวะตึงตัว จากการที่ไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ รวมถึง Fund Flow เข้ามาขับเคลื่อน ทำให้ผันผวนภายใต้ Upside จำกัด วานนี้พอร์ตจำลอง Cut Loss หุ้น TTW แนะนำให้แบ่งเงินเข้าลงทุนใน SPVI และ BTSGIF เท่าๆ กัน ส่วนหุ้น Top Pick เลือก BGRIM, INSET และ SPVI สำหรับหุ้น STGT ที่เข้าซื้อขายวันนี้ ฝ่ายวิจัยกำหนด Fair Value ที่ 45 บาท
การคลาย Lock เป็น Sentiment บวก แต่อาจไม่สร้างกำไร
แม้มีประเด็นความคืบหน้าในเรื่องของการพัฒนาวัคซีน Covid-19 รวมถึง ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในส่วนของการ PMI และการจ้างงานในเชิงบวก แต่ดูเหมือนการตอบสนองของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งอาจสะท้อนให้เห็นถึงภาวะตึงตัวของตลาด ส่วนปัจจัยในประเทศวันนี้ให้ความสนใจแนวโน้ม NPL ในระบบธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น และอาจเป็นแรงกดดันผลประกอบการในอนาคต แม้จะยังไม่เห็นในช่วง 2 ไตรมาสข้างหน้า จากการที่ธนาคารพาณชิย์หยุดพักขำระหนี้ให้ลูกหนี้ ทำให้ชะลอการตกชั้นของพอร์ตสินเชื่อ แต่เมื่อหมดช่วงเวลาดังกล่าว หรือเศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ก็จะทำให้ปัญหาเรื่อง NPL ถูกสะท้อนออกมา ซึ่งฝ่ายวิจัยให้การลงทุนน้ำหนักน้อยกว่าตลาด ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ สำหรับวันนี้จะเป็นวันเริ่มซื้อขายวันแรกของ STGT ซึ่งน่าจะเห็น Performance ราคาที่ร้อนแรง โดยฝ่ายวิจัยทำ Fair Value ไว้ที่ 45 บาท ภาพรวมคาดว่า SET Index น่าจะผันผวนภายใต้ Upside จำกัด และต้องระวังแรงขายทำกำไรออกมา พอร์ตจำลองวานนี้ได้ Cut Loss หุ้น TTW รับผลขาดทุน 7% ให้นำเงินที่ได้เข้าแบ่งลงทุนใน BTSGIF และ SPVI อย่างละครึ่ง หุ้น Top Pick เลือก SPVI, BGRIM และ INSET
พัฒนาการเชิงบวก วัคซีน Covid-19 หนุน Sentiment แต่ไม่มาก
ตลาดหุ้นทั่วโลกยังทรงตัวสูงในระยะสั้นยังมีปัจจัยหนุนจาก
1.) ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมารายงานตัวเลขเศรษฐกิจทั่วโลกภาคผลิตและภาคบริการทั่วโลก (โดยเฉพาะสหรัฐ) ในเดือน มิ.ย.ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดและพลิกกลับมาขยายตัวดีกว่าที่ Consensus คาด (ดังตาราง)
2.) ความคืบหน้ารายงานพัฒนาการ Vaccine Covid-19 ล่าสุด บริษัท Pfizer (บริษัทยารายใหญ่สัญชาติสหรัฐ) และบริษัท BionTech รายงานผลการทดสอบวัคซีนระยะที่ 2 (ทดลองในอาสาสมัครที่สุขภาพแข็งแรง ผ่านจำนวนอาสาสมัครที่เข้าร่วม 45 ราย พบว่า เมื่อฉีด 2 เข็มร่างกายผลิตภูมิคุ้มกัน (Antibody) 28 วัน ซึ่งมีประสิทธิภาพ (ทั้งนี้การทดสอบวัคซีนมีทั้งหมด 4 เฟส โดย ASPS ให้น้ำหนักระยะเวลา หรือความเร็วการพัฒนา ตลาดคาดเร็วสุดคือ ปลายปี 2563 หรือ 2Q64 รวมถึงระยะเวลาที่ Vaccine ใกล้ผลิตและประชาชนทั่วโลกจะสามารได้รับบริการอย่างทั้วถึง)
การพัฒนาวัคซีน COVID-19 ในปัจจุบัน
ที่มา: ฝ่ายวิจัย ASPS รวบรวม ถึงวันที่ 1 ก.ค.2563
อย่างไรก็ตาม ASPS ตั้งข้อสังเกตุว่า ทั้ง 2 ประเด็นแม้จะหนุน Sentiment บวกต่อการลงทุน แต่แรงผลักให้ดัชนีขึ้นต่อเริ่มลดลง หรือไม่มากเหมือนในอดีต โดยเชื่อว่าตลาดหุ้นทั่วโลกยังถูกแรงกดดันจากความเสี่ยงเก่า แต่ถูกปัดกลับมาเป็นประเด็นใหม่ อาทิ
ความตึงเครียดฮ่องกง-จีน หลังจากจีนผ่านร่างกฎหมาย Hongkong ACT ล่าสุด การประท้วงช่าวฮ่องยังมีอยู่และทางการจีนเข้มงวด อาทิ จับกุม ฉีดแก็สน้ำตาผู้ประท้วง ล่าสุดยังคงทำให้ฝั่งสหรัฐ ไม่พอใจ และเมื่อคืนทางสภาล่างของสหรัฐได้ออกกฎหมาย Sanction ธนาคารพาณิชยที่ให้บริการทำธุรกรรมกับเจ้าหน้าที่จีนที่เกี่ยวข้องกับ Hongkong ACT (สภาบนจะพิจาณา และวันนี้ตลาดคาดว่าประธานาธิบดีทรัมป์จะเซ็นอนุมัติ) โดยรวมเชื่อว่าจะสร้างแรงตึงเครียดระหว่าง สหรัฐ-จีน-ฮ่องกง
Trade warและTech war ระหว่างสหรัฐ–จีนที่ยังมีอยู่ ดังที่นำเสนอใน Market talk เมื่อวานนี้ สหรัฐฯ ยกระดับกีดกัน Huawei +ZTE โดยเหลือเวลาเพียง 4 เดือน ก่อนจะเกิดการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐวันที่ 3 พ.ย. ASPS ให้น้ำหนักนโยบายของทั้ง 2 พรรคที่จะทยอยรณรงค์หาเสียงในช่วงนี้ โดนเฉพาะ ประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งยึด American First และจะมีการสร้างการกีดกันการค้ากับประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะจีนอีกหรือไม่ หลังจาก Poll สำรวจประธานาธิบดีทรัมป์) มีคะแนนเพียง 32% น้อยกว่าJoe Biden ผู้) คะแนนนำอยู่ที่ 68%
ขณะที่ไทย ในช่วงนี้ยังไม่มีประเด็นอะไรเป็นพิเศษ นอกจากสถานการณ์ Covid-19 ไทยดีขึ้นมาก สวนทางกับต่างชาติ คือ ไทยไร้ผู้ติดเชื้อในประเทศติดต่อกัน 36 วัน (ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเฉพาะในสถานกักกันของรัฐ รวมถึงช่วงเปิดเทอม และการ Reopen ธุรกิจ 5 เฟส น่าจะหนุนให้เศรษฐกิจไทย 3Q63 ค่อยๆฟื้นตัว
อย่างไรก็ตาม ASPS เชื่อว่า ไม่ควรประมาท Covid-19 เพราะหากในอนาคตจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ โดยเฉพาะในประเทศพลิกกลับมาเพิ่มขึ้นครั้งแรก และรัฐบาลสั่ง Lockdown ธุรกิจอีกครั้ง เชื่อว่าทำให้ตลาดหุ้นตกใจและมีโอกาสโดน Take Profit ดังเช่นในหลายประเทศ อาทิ เกาหลีใต้, จีน
Loan payment holiday VS การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
ข้อมูล ณ 15 มิ.ย. 63 พบว่าจำนวนลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ (ไม่ต้องจัดชั้นลูกหนี้เป็น NPL หรือ Stage 2) หรือ loan payment holiday เฟส 1 (สิ้นสุด 30 ก.ย. 63) ของแต่ละธนาคาร อยู่ที่ราว 6.7 ล้านล้านบาท (สัดส่วน 40% ของสินเชื่อทั้งระบบ) เพิ่มขึ้น 12% จากข้อมูล ณ 15 พ.ค. 63 แบ่งเป็นสินเชื่อรายย่อยราว 3.77 ล้านล้านบาท เพิ่ม 6.5% Mom (สินเชื่อบ้านสัดส่วน 41% ของสินเชื่อรายย่อย, สินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนชำระเป็นงวด 35% และเช่าซื้อ 17% ฯลฯ) ตามด้วยสินเชื่อ SME ราว 2.21 ล้านบาท สูงขึ้น 20% MoM และ 0.77 ล้านล้านบาท เพิ่ม 22% MoM ทั้งนี้ เพื่อรองรับสภาวะทางเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอน ทำให้ ธปท. ได้เปิดมาตรการช่วยเหลือระยะ 2 ให้กับลูกหนี้รายย่อย เริ่มลงทะเบียนตั้งแต่ 1 ก.ค. 63 – 31 ธ.ค. 63
ภาพรวมถือเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามหลังผ่อนปรน lock down ถึงอัตราการกลับมาชำระหนี้ของลูกหนี้กลุ่มที่เข้าร่วมมาตรการ จะอยู่ในอัตราเท่าใด ในกรณีที่การฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือนหรือภาคธุรกิจฟื้นตัวช้า อาจทำให้ปัญหา NPL กลับมาหลังช่วงหมดมาตรการช่วยเหลือ (ตั้งแต่ 1Q64) จากระดับ NPL ณ สิ้นงวด 1Q63 ที่ 3.4% ทำให้ในช่วงที่เหลือของปีในระหว่างที่ยังไม่เห็นตัวเลข NPL หากธนาคารยังไม่มีการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ทำให้งบการเงินของกลุ่มฯ ยังไม่สะท้อนความจริงที่มีโอกาสเกิดขึ้น อย่างไรก็ดีระบบ ธ.พ. ในไทย ปัจจุบันถือว่าแข็งแกร่งกว่าช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่ระดับ NPL เคยขึ้นทำจุดสูงสุดราว 47% ในช่วง มิ.ย. 42 ก่อนจะเริ่มลดลงอย่างมีนัยฯ ตั้งแต่ ธ.ค. 42 พิจารณาจากเงินกองทุนทั้งระบบช่วง เม.ย. ที่ราว 2.9 ล้านล้านบาท (CAR ที่ 19%) เทียบกับช่วงวิกฤติที่เงินกองทุนเฉลี่ยอยู่ที่ราว 5.4 แสนล้านบาท (CAR 12%)
คงน้ำหนัก น้อยกว่าตลาด มอง NPL ยังไม่ผ่านจุดสูงสุดและความเสียหายยังไม่ชัดเจน สาเหตุจาก Loan payment holiday ที่จำนวนผู้เข้าร่วมยังมีสัญญาณของการเพิ่มขึ้น
STGT หุ้นถุงมือยางไทย.... ซื้อขายวันแรก Fair Value 45 บาท
STGT เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายถุงมือยางรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพการเติบโตในระยะยาว ตามการเข้าสู่สังคมสูงอายุ การเกิดโรคระบาดและไม่ระบาดมากขึ้น โดยเฉพาะการระบาดของ COVID-19 หนุนความต้องการใช้ถุงมือยางเติบโตโดดเด่น ส่งผลบวกโดยตรงต่อ STGT ที่ได้ขยายกำลังการผลิตไว้แล้วในปี 2563 อีกทั้ง ยังสามารถปรับเพิ่มราคาขายถุงมือยางตาม Demand ที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย หนุนแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2563-64 จะเติบโตถึง 363.0% yoy และ 7.6% yoy ทั้งนี้ ยังต้องติดตามหากสถานการณ์ COVID-19 สามารถควบคุมได้ดีขึ้น อาจทำให้ความต้องการใช้ถุงมือยางลดลง และจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มราคาขายถุงมือยางในปี 2564 ให้ลดลงได้จากปี 2563 ด้วยเช่นกัน
คำแนะนำลงทุน “ซื้อ” ฝ่ายวิจัยประเมิน Fair Value ปี 2563 ของ STGT เท่ากับ 45 บาท อิงวิธี DCF (WACC 6.8% และ Terminal Growth 3%) ราคาหุ้น IPO มีค่า PER ปี 2563 ที่ 16.5 เท่า และ PBV ปี 2563 ที่ 2.5 เท่า ซึ่งมี Valuation น่าสนใจกว่าหุ้นที่ผลิตถุงมือยางในมาเลเซียมากที่ปัจจุบันซื้อขายที่ค่า PER เฉลี่ยราว 30 เท่า
ขณะที่ราคาหุ้น STA(FV@B20) บริษัทแม่ของ STGT ปรับเพิ่มขึ้นถึง 125% ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากความคาดหวังว่าแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2563 ของบริษัทย่อย STGT (STA ถือหุ้น 56% หลัง IPO) จะเติบโตโดดเด่น จากธุรกิจถุงมือยางเติบโตชัดเจน ในช่วงการระบาดของ COVID-19 โดยราคาหุ้น STA ปัจจุบันสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานมากแล้ว คำแนะนำ STGT มีความน่าสนใจมากกว่าในการเข้าลงทุน
** บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ STGT ในครั้งนี้ โดยการจัดทำเอกสารฉบับนี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อมูลและบทวิเคราะห์เท่านั้น การตัดสินใจลงทุนขึ้นกับดุลยพินิจของนักลงทุน ผู้ลงทุนควรอ่านรายละเอียดในหนังสือชี้ชวน ก่อนตัดสินใจลงทุน
Asset Allocation หนึ่งกลเม็ดเคล็ดลับสำหรับตลาดที่ผันผวน
Asset Allocation หรือ การจัดสรรสินทรัพย์ เป็นการเพิ่มความหลากหลายในการลงทุน พร้อมกับสร้างสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน โดยการปรับสัดส่วนของสินทรัพย์ในพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม ตามการยอมรับความเสี่ยง ทั้งในมุมกรอบเวลาการลงทุน รวมถึงสภาวะตลาดในเวลานั้นๆ ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ เล็งเห็นความสำคัญตรงนี้ จึงได้มีการจัดสรรสินทรัพย์มาแล้วกว่า 2 ปี ซึ่งผลตอบแทนโดยรวมเป็นที่น่าพอใจ หากพิจารณาตั้งแต่ต้นปีทำผลตอบแทนได้กว่า 3.72% ขณะที่ตลาดอ้างอิงทำผลตอบแทนติดลบ 0.54% ดังรูปด้านล่าง
ปัจจุบัน กลยุทธ์ประจำเดือน ก.ค. 63 ฝ่ายวิจัยยังคงให้น้ำหนักสินทรัพย์เสี่ยงน้อยกว่าตลาด ด้วยเหตุผลที่ว่า การระบาดของไวรัส COVID-19 ยังคงมีอยู่ แม้จะเริ่มเห็นพัฒนาการวัคซีนที่ดีขึ้น แต่ภาพรวมยังกดดันต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงการเข้าสู่ Technical Recession ของแต่ละประเทศ อีกทั้งสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอนสูง จึงทำให้มีโอกาสสร้าง Downside ต่อตลาดหุ้นทั่วโลกที่อยู่ในระดับที่แพง มีรายละเอียดดังนี้
- • หุ้นต่างประเทศ 15% (Underweight) โดยเน้นหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่งมีปัจจัยบวกเฉพาะตัวอย่าง Sunny Optical Technology Group(2382 HK) ซึ่งทำธุรกิจออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสายตาและพลาสติกที่เกี่ยวกล้องโทรศัพท์มือถือ และ Hengan International Group(1044 HK) ซึ่งเป็นผู้ผลิตผ้าอ้อมและผ้าอนามัยรายใหญ่ที่สุดในจีน
- • หุ้นไทย 30%(Underweight) Valuation เริ่มตึง โดยมี PER20F สูงสุดในภูมิภาค บวกกับความไม่แน่นอนจากประเด็นสงครามทางการค้า ทำให้เห็น Downside ตลาดชัดขึ้น กลยุทธ์ลดความเสี่ยง เน้นหุ้นผ่านบททดสอบ COVID-19 อย่าง BGRIM CPF CPALL INTUCH INSET และ SEAFCO
- • ตราสารหนี้ 25% (Overweight) เนื่องจากเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ปลอดภัยที่ได้ผลตอบแทนแน่นอน และมีโอกาสสูงที่ กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกในปีนี้ โดยเลือกเฉพาะตราสารหนี้ในระดับ Investment Grade เท่านั้น เช่น BJC233A และ SCC23NA
- • ตลาดเงิน 15%(Neutral) ไว้เป็นแหล่งพักเงินอีกแห่งเพิ่มเติม
- • ตราสารทางเลือกอื่นๆ 15% (Overweight) โดยแบ่งน้ำหนักให้ FCN ที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศ และ ELN ที่ลงทุนในหุ้นไทยอย่างละ 7.5% ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากสภาวะตลาดหุ้นเก็งกำไรได้เป็นอย่างดี ดี และยังสร้างผลตอบแทนคงที่กว่า 10-20% ต่อปี (ขึ้นอยู่กับหลักทรัพย์อ้างอิง)
ซึ่ง Asset Allocation ของฝ่ายวิจัยฯ จะนำเสนอผ่าน 2 Product หลัก คือ
- Invest+ ออกบทวิเคราะห์ทุกเดือน(ช่วงต้นสัปดาห์ของเดือนแรก) โดยถือเป็นบทวิเคราะห์หลักในการเปลี่ยนสัดส่วนของพอร์ต รวมถึงคัดสรรค์หุ้นรายตัวและตราสารอื่นๆ ที่เหมาะสมในเดือนนั้นๆ
- Investment Gallery ออกบทวิเคราะห์ทุกสัปดาห์(วันแรกของสัปดาห์นั้นๆ) จะใช้สัดส่วนเดียวกับ Invest+ แต่มีการอัตเดตหุ้นรายตัวและตราสารอื่นๆ ที่ฝ่ายวิจัยฯเสนอใน Invest+ และมีโอกาสเปลี่ยนรายชื่อเหล่านั้น หากได้รับผลตอบแทนตามคาดไว้ หรือมีอะไรปิดปกติ จะช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ต และทำผลตอบแทนได้ดีขึ้น
สุดท้ายนักลงทุนสามารถติดตาม และจัดสัดส่วนตามพอร์ต Asset Allocation ของฝ่ายวิจัยฯ ได้ คาดว่าน่าจะสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจแก่ทุกคน
หากพิจารณาเฉพาะหุ้นไทย ฝ่ายวิจัยฯ อ้างอิงจากพอร์ตจำลองหุ้นไทย ASPS โดยมีนโยบายว่า ต้องมีหุ้นอยู่ในพอร์ตไม่เกิน 10 บริษัท และมีการปรับเปลี่ยนหุ้นในพอร์ตให้เหมาะสม ในภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตามกลยุทธ์การลงทุนในแบบฉบับของฝ่ายวิจัย ASPS ควบคู่กับการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม ส่งผลให้ผลตอบแทนพอร์ต Outperform ตลาดฯ อย่างสม่ำเสมอตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยในเดือน มิ.ย.63 ที่ผ่านมาทำผลตอบแทนได้ 3.40% และยังชนะ SET Index ที่ปรับตัวลง 0.28% เท่านั้น ซึ่งเสนอผ่านบทวิเคราะห์ Market Talk ทุกวันทำการอยู่แล้ว
โดยกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ เน้นหุ้นกำไรเด่นกว่าตลาดฯ และมีแรงผลักดันเฉพาะตัว ยังคงชอบ INSET, BGRIM และวันนี้เพิ่ม SPVI ที่ฝ่ายวิจัยฯเคยนำเข้าพอร์ตวันที่ 19 มิ.ย. และขายวันที่ 25 มิ.ย. สร้างผลตอบแทนกว่า 9.5% เป็น Top Picks โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
SPVI (FV @ 3.06) ราคาหุ้นวานนี้ ปรับขึ้นแรงเชื่อว่าสะท้อนประเด็นบวกที่ฝ่ายวิจัยเคยนำเสนอ ทั้งแรงหนุนพฤติกรรม Work from home (WFH) รวมถึงกระแสเปิดเทอม จากจุดเด่นจับตลาด Niche market การศึกษา ซึ่งปัจจุบัน SPVI มีสาขา U-Store (ร้านจำหน่ายสินค้า Apple ในมหาลัย) 11 จากสาขารวม 48 แห่ง รับกระแสบวก Learn from home (LFH) ต่อยอดขายคอมพิวเตอร์ และ iPad + อุปกรณ์เสริม หนุน SSSG ฟื้นตัวลบเล็กน้อย ในช่วงหลังคลาย Lockdown
ราคาหุ้น ณ ปัจจุบันยังค่อนข้าง Undervalue กลุ่มฯ โดยซื้อขาย PER’63 ที่ 15.7 เท่า เทียบกลุ่มจำหน่ายมือถือ + ไอที (COM7 และ JMART) ที่เฉลี่ย 32.7 เท่า และยังพอมี Upside ลงทุนได้อีกราว 14.2% ถือป็นโอกาสสะสม
RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web