- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 22 June 2020 11:11
- Hits: 4310
บล.เคจีไอ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 22-6-2020
ทิศทางตลาดหุ้นวันนี้ ( รักพงศ์ ไชยศุภรากุล เลขทะเบียนฯ: 19838)
ปรับลดลง ตามปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น
KGI ประเมิน SET Index วันจันทร์ปรับลดลง... หลังจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีฯ เทรดไซด์เวย์ตลอดทั้งวัน (ตามคาด) รอปัจจัยเพิ่มเติมในสัปดาห์นี้... และจนถึงเช้านี้พบว่าปัจจัยแวดล้อมเป็นลบมากขึ้น ได้แก่ i) การติดเชื้อ Covid-19 รุนแรงขึ้น หลังเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ทั่วโลกขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ และในฝั่งสหรัฐฯ มีผู้ติดเชื้อรายวันทะลุ 3 หมื่นรายเป็นครั้งแรกรอบ 7 สัปดาห์ และส่งผลให้ บ.แอปเปิล อิงก์ ปิดร้านใน 4 รัฐใหญ่ที่มีการติดเชื้อมาก ii) ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนน่าจะเป็นลบมากขึ้น หลังเมื่อวานนี้ทางการจีนแถลงว่ากฎหมายความมั่นคง (national security law) ที่ออกมานั้นมีอำนาจสูงกว่าระบบกฎหมายในฮ่องกง น่าจะทำให้สหรัฐฯ ตอบโต้จีนในเร็วๆ นี้และอาจเป็นจิตวิทยาเชิงลบต่อตลาด และ iii) หุ้นกลุ่มธนาคารน่าจะเผชิญแรงขาย หลัง ธปท. ออกประกาศห้ามธนาคารพาณิชย์จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลและห้ามซื้อหุ้นคืน ในช่วงที่ธนาคารต่างๆ จัดทำแผนบริหารจัดงานเงินทุน... ภาพรวมดัชนีฯ ยังอยู่ในช่วงปรับฐานต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว และในเชิงของความเสี่ยงทางลงของตลาดหุ้นนั้น ฝ่ายวิจัยฯ ยังประเมินจาก valuations model, แนวโน้ม EPS ของ บจ. ปี 2564 และอิงค่า forward PE ที่ 16.5 เท่า เรามองความเสี่ยงทางลงที่ 1,320-1,330 จุด
หุ้นเด่นวันนี้ ตามปัจจัยพื้นฐาน ( สุโชติ ถิรวรรณรัตน์ เลขทะเบียนฯ: 28668)
เก็งกำไร INTUCH*, SPRC*, VGI*
INTUCH* (เป้าพื้นฐาน 59 บาท) 1) ประเมินแนวรับ 55.5 บาท / แนวต้าน 58 - 60 บาท (Stop loss 54 บาท) 2) เราประเมินแรงซื้อจากการ Switching หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่มีความเสี่ยงด้านการงดจ่ายปันผลระหว่างกาล (และมีความเสี่ยงของ Regulatory risk เพิ่มเติม ที่จะต่ออายุมาตรการฯ หากสถานการณ์เศรษฐกิจยังชะลอตัวลงต่อเนื่อง) มายังหุ้นปันผลดี + ราคายังมี Upside เช่น INTUCH* 3) ประเมินปันผลปี 2563 เท่ากับ 2.38 บาท/หุ้น (Dividend yield 4.2%)
SPRC* (เป้าพื้นฐาน 10 บาท) 1) ประเมินแนวรับ 6.95 บาท และ 6.8 บาท / แนวต้าน 7.5 - 7.8 บาท (Stop loss 6.5 บาท) 2) ฝ่ายวิจัยฯประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงาน 2Q63 Turnaround จาก i) จะไม่มีขาดทุนสต๊อก เช่นใน 1Q63 อิงราคาน้ำมันดิบปัจจุบัน (ลุ้นพลิกกำไรจากสต๊อกใน 2Q63) ii) ค่าการกลั่นเฉลี่ย 2Q63 ฟื้นตัว QoQ 3) PBV 1.16 เท่า ยังอยู่ในระดับต่ำ -1.0 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในอดีต
VGI* (เป้า Consensus 7.88 บาท) 1) ประเมินแนวรับ 7.7 บาท / แนวต้าน 7.90 - 8.15 บาท (Stop loss 7.1 บาท) 2) ประเมินรับ Sentiment บวกจากการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ (รถไฟฟ้า, ห้างค้าปลีก กลับมาดำเนินกิจกรรมตามปกติ) 3) ราคาหุ้น Laggard PLANB* ที่เราแนะนำมาก่อนหน้า นักลงทุนอาจพิจารณาใช้กลยุทธ์ Pair trading เพื่อลดความเสี่ยงตลาดฯ โดย Long VGI* / Short PLANB* พร้อมๆกัน (กำไรรวม 2.1% เริ่มแนะนำวันที่ 19 มิ.ย.)
หุ้นมีข่าว
(- กลุ่มธนาคารพาณิชย์) 'แบงค์ชาติ'ทุบตลาดหุ้น สั่งธนาคารห้ามปันผล!! ลดดบ.บัตรเครดิตเหลือ 16%/จำนำทะเบียนรถ 24% (ข่าวหุ้น) ธปท.สั่งแบงก์พาณิชย์ “งดจ่ายปันผลระหว่างกาล” – “ซื้อหุ้นคืน” หวังรักษาระดับเงินกองทุนให้เข้มแข็ง พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยจากผลกระทบจากโควิด-19 ลดดอกเบี้ยบัตรเครดิตเหลือ 16% สินเชื่อบุคคล 25% จำนำทะเบียนรถ 24% ดีเดย์ 1 ส.ค.นี้ ด้านสมาคมแบงก์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ หนุนแบงก์ชาติ มั่นใจส่งผลดีระยะยาว พร้อมย้ำเงินปันผลรายปียังจ่ายอยู่ โบรกฯ ชี้วันนี้หุ้นแบงก์ถูกถล่ม มีผลต่อดัชนี 7-10 จุด จับตาเงินถูกโยกซื้อ JASIF DIF และ INTUCH* ที่จ่ายเงินปันผลสูง และสม่ำเสมอ
(+ กลุ่มอาหาร CPF*, GFPT*, TFG) ไก่ไทยยอดทะลัก 'ญี่ปุ่น-จีน' รุมซื้อ อานิสงส์เบอร์ 1 บราซิลซมพิษโควิด (ประชาชาติธุรกิจ) โควิดพ่นพิษหนัก บราซิลผู้ส่งออกไก่เบอร์หนึ่งของโลกต้องสั่งปิดโรงเชือด CPF* มั่นใจส้มหล่นยอดส่งออกไก่ไทยครึ่งปีหลังสดใส สมาคมส่งออกไก่ชี้ทิศทางส่งออกหลังบราซิลชะลอผลิต ออร์เดอร์ญี่ปุ่น-จีนทะลักเข้าไทย ลุ้นยอดส่งออกทั้งปีเข้าเป้า 9.08 แสนตัน
(+ กลุ่มค้าปลีก) ค้าปลีกอ้อนปลุกจับจ่าย SME โอดเข้าไม่ถึงสินเชื่อ (ไทยโพสต์) "อุตตม" รับข้อ เสนอเอกชนเข็นช้อปช่วยชาติกระตุ้นใช้จ่ายอีกรอบ แจงพร้อมพิจารณาความจำเป็นและเหมาะสม เอสเอ็มอียื่น สสว.ช่วยเหลือการเข้าถึงสินเชื่อ ธพว.ร้องติดปัญหาเยอะ
(+) FPT จ่อขายทรัพย์ เข้ารีท 3,879 ล้าน (ข่าวหุ้น) บอร์ด FPT ไฟเขียวให้บริษัทย่อยขายสินทรัพย์เข้ากองทุน FTREIT มูลค่า 3,879 ล้านบาท ภายในวันที่ 28 ก.พ. 64 พร้อมตั้ง “ธนพล ศิริธนชัย” นั่ง CEO คนใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่ 17 ส.ค. 63 เป็นต้นไป นำทัพเดินหน้าลงทุนขยายธุรกิจ
(+) BA-BTS*-STEC* เซ็นสัญญาแล้ว รับงานอู่ตะเภา-เมืองการบิน 2.9 แสนล้าน (ข่าวหุ้น) BA นำทีม BTS*-STEC* เซ็นสัญญารับงานโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่า 2.9 แสนล้านบาท “คณิศ” โชว์เป็นการเซ็นสัญญา PPP ใหญ่สุดในเอเชียแปซิฟิกของปีนี้ ขณะที่อีก 18 เดือนเอกชนเริ่มเข้าพื้นที่ได้ ด้าน BA คาดถึงจุดคุ้มทุนช่วงเฟส 2 ฟาก BTS* มั่นใจการเงินของกลุ่มแข็งแกร่งมีแบงก์พร้อมปล่อยกู้
หุ้นที่เคยแนะนำก่อนหน้า
หุ้นที่แนะนำ "Let profit run" โดยกำหนดจุดล็อกกำไร Trailing stop: RS* (Trailing stop 13.5 บาท), JMART (Trailing stop 9.5 บาท)
AMATA* (เป้าพื้นฐาน 18.5 บาท) แนวรับ 16.0 บาท / แนวต้าน 17.0 - 17.6 บาท (Stop loss 15.0 บาท)
WHA* (เป้าพื้นฐาน 3.5 บาท) แนวรับ 3.56 / แนวต้าน 4.0 บาท (Trailing stop 3.4 บาท)
STEC* (เป้าพื้นฐาน 19.2 บาท) แนวรับ 15.8 บาท / แนวต้าน 16.6 - 17.0 บาท (Stop loss 15.0 บาท)
PLANB* (เป้าพื้นฐาน 7.8 บาท) แนวรับ 6.15 บาท / แนวต้าน 6.7 บาท (Trailing stop 6.0 บาท)
CENTEL* (เป้าพื้นฐาน 26 บาท) แนวรับ 24.6 บาท / แนวต้าน 26 - 27 บาท (Stop loss 24.6 บาท)
AMA (เป้าพื้นฐาน 6.3 บาท) แนวรับ 5.5 บาท / แนวต้าน 6.0 บาท (Trailing stop 5.4 บาท)
EP (เป้าพื้นฐาน 5.1 บาท) แนวรับ 3.70 บาท / แนวต้าน 3.84 - 4.0 บาท (Trailing stop 3.54 บาท)
Report ตามปัจจัยพื้นฐานวันนี้
STEC* แนะนำ "ซื้อ" เป้าพื้นฐาน 19.2 บาท จากการลงนามสัญญาโครงการสนามบินอู่ตะเภา STEC* รับงานก่อสร้างเฟสแรกมูลค่า 2 หมื่นล้านบาท และคาดจะเริ่มก่อสร้างได้ใน 2H64 สำหรับประเด็นอื่นๆ i) เตรียมเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีส้มตะวันตกในเดือน ก.ค.63 คาด (คาดประมูลแข่งกับกลุ่ม CK*+BEM*) .. ฝ่ายวิจัยฯประเมินกลุ่ม BSGR (BTS*, GULF*, STEC*, RATCH*) เหนือกว่าเล็กน้อย ii) ความล่าช้าของขบานรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลือง เนื่องจาก STEC* ถือหุ้นโครงการนี้ราว 15% ในภาพรวมยังเลือก STEC* เป็นหุ้นเด่นของกลุ่มรับเหมาฯ
กลุ่มสถาบันการเงิน "Under Review" ฝ่ายวิจัยฯประเมินผลจากมาตรการของ ธปท. ในช่วงวิกฤตโควิด-19 (ลดดอกเบี้ยช่วยเหลือลูกหนี้ และให้ธนาคารพาณิชย์งดปันผลระหว่างกาล) จะกระทบต่อทั้งธนาคารพาณิชย์และผู้ประกอบการ Non-Bank แม้มาตรการนี้จะกำหนดระยะเวลาเพียง 2H63 แต่มีความเสี่ยงที่จะต่ออายุมาตรการได้ หากสถานการณ์เศรษฐกิจยังชะลอตัวลงต่อเนื่อง จากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มฯ ฝ่ายวิจัยฯจึงขอ Under review และประเมินมีความเสี่ยงที่จะถูกปรับลดประมาณการฯและคำแนะนำการลงทุนลง
Financial Sector
แบงก์และนอนแบงก์ร่วมรับผลกระทบกับการที่ ธปท.ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รอบ 2
Event
ธปท. ใช้อำนาจสั่งการให้ 1.) ธนาคาร และนอนแบงก์ลดเพดานดอกเบี้ยเงินกู้ที่คิดจากสินเชื่อผู้บริโภคลง และ 2.) ธนาคารระงับการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้กับผู้ถือหุ้น และระงับการซื้อหุ้นคืนเพื่อรักษาระดับเงินกองทุนเอาไว้ในภาวะที่เศรษฐกิจถูกกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์โรคระบาด
lmpact
ธนาคารไม่ถูกกระทบมากนักจากการลดเพดานดอกเบี้ยเงินกู้
การลดเพดานดอกเบี้ยเงินกู้ที่คิดจากสินเชื่อผู้บริโภคจะส่งผลกระทบกับธนาคารน้อยมาก เพราะสินเชื่อผู้บริโภคในส่วนของบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลคิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 8% ของ KBANK เท่านั้น ในขณะที่ของ SCB และ KTB คิดเป็นแค่ 6% และการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ก็จะจะต่ำกว่าเพดานอยู่แล้ว ในขณะเดียวกัน สินเชื่อจำนำทะเบียนของ TISCO และ KKP ก็คิดที่อัตราต่ำกว่า 15% ดังนั้นทั้งสองธนาคารจึงไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากการปรับอัตราดอกเบี้ยของ ธปท. ทั้งนี้ เพื่อความอนุรักษ์นิยม เราได้ทดลองปรับลด yield ลง 1% จะทำให้กำไรของ KBANK และ TISCO ลดลงเกือบ 3% ในขณะที่กำไรของ KTB และ SCB จะลดลง 2% ในขณะที่กำไรของ BBL จะลดลงไม่ถึง 1%
นอนแบงก์จะถูกกระทบหนักกว่า
ในบรรดาหุ้นกลุ่มนอนแบงก์ เรามองว่า MTC จะถูกกระทบเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ KTC จะถูกกระทบปานกลาง แต่ SAWAD จะถูกกระทบหนัก โดย MTC กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อจำนำทะเบียนไว้ที่ 20 -21% และสินเชื่อ Nanao ไว้ที่ประมาณ 25-26% ซึ่งเมื่อใช้อัตราดอกเบี้ยใหม่แล้ว yield ที่ลดลงจากสินเชื่อ Nano จะส่งผลกระทบกับกำไรของ MTC ประมาณ 1-3% ส่วนในกรณีของ KTC ต้องลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตลง 2% และลดอัตราดอกเบี้ย P-Loan ลง 1% (จากปัจจุบันคิดที่ 26%) ซึ่ง yield ที่ลดลงจะส่งผลกระทบกับกำไร 5-6% แต่อย่างไรก็ตาม เราคาดว่ากำไรของ SAWAD จะถูกกระทบหนักกว่าที่ 7-8% หากไม่รวมสินเชื่อที่ดิน หรือประมาณ >14% หากรวม yield ที่ลดลงจากสินเชื่อที่ดิน
ไม่มีการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อลิสซิ่ง และเช่าซื้อ
แม้ตลาดจะมีความกังวลว่าจะลดดอกเบี้ยสินเชื่อซื้อมาก่อนหน้านี้ แต่ ธปท. ก็ไม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลิสซิ่ง และเช่าซื้อ ดังนั้น จึงช่วยคลายกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันต่อมาร์จิ้น ของธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อ H/P สูง อย่างเช่น TISCO, KKP, TMB และ TCAP
ธนาคารถูกสั่งระงับการจ่ายปันผลระหว่างกาล -ส่งสัญญาณคุณภาพสินทรัพย์มีแนวโน้มแย่ลง
เพื่อรักษาฐานเงินทุนเอาไว้สำหรับรองรับ NPL ใหม่ที่ตามความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น และเพื่อรองรับการปล่อยสินเชื่อใหม่ในวัฏจักรการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ธปท. จึงสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลของธนาคาร และเตรียมความพร้อมของทุนรองรับแผน 1-3 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นการแสดงถึงมุมมองที่เป็นลบจากความกังวลเรื่อง NPL และการกันสำรอง เรามองว่าธนาคารที่จ่ายปันผลสูงอย่างเช่น BBL TISCO และ KKP จะเผชิญแรงขาย ในขณะที่ธนาคารที่มีเงินกองทุนขั้นที่ 1 และความกังกวหนี้จะกดดัน TMB SCB KBANK
Valuation and action
มาตรการช่วยเหลือรอบสองของ ธปท. ส่งผลลบต่อธนาคาร และนอนแบงก์ทุกแห่ง ซึ่งถูกบีบให้ช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มขึ้น และสถาบันทุกแห่งก็ต้องเตรียมตัวรับสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ หากสถานการณ์โรคระบาดยืดเยื้อนานขึ้น ก็อาจจะมีการขยายมาตรการให้ความช่วยเหลือระยะสั้นอีก ซึ่งเท่ากับว่าประมาณการกำไรของทั้งกลุ่มธนาคาร และ non-bank ยังมี downside เพิ่มอีก
Risks
ธปท. บังคับให้ลดอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากลูกหนี้ NPL เกิดใหม่ ความเสี่ยงด้านการกันสำรอง.
Sino-Thai Engineering & Construction
ปีแห่งการสะสมงานในมือเพิ่ม
Event
อัพเดตข้อมูลของบริษัท
lmpact
เซ็นสัญญา backlog เฟสแรกของโครงการเมืองสนามบินอู่ตะเภา 2 หมื่นล้านบาทไปแล้ว
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาได้มีการลงนามในสัญญา PPP net cost ไปเรียบร้อยแล้ว โดยเฟสแรกของ backlog มูลค่า 2 หมื่นล้านบาทสำหรับ terminal ที่สาม ซึ่งจะรอบรับผู้โดยสารได้ปีละ 16 ล้านคน โครงการนี้แบ่งออกเป็น 4 เฟสซึ่งจะรองรับผู้โดยสารได้ถึงปีละ 60 ล้านคน เราคาดว่า STEC จะได้ backlog จากโครงการนี้รวม 6 หมื่นล้านบาท (รวม 4 เฟส) โดยในขั้นตอนต่อไป BBS จะเตรียมจัดทำ master plan ในเสร็จภายใน 60 วัน และเราคาดว่างานก่อสร้างจะเริ่มต้นได้ใน 2H64 เนื่องจาก consortium ยังต้องจัดทำแบบก็สร้างอย่างละเอียด (detailed design) อีก ทั้งนี้ โครงการนี้ไม่น่าจะมีอุปสรรคในการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นของกองทัพเรือ โดยเราได้รวมโครงการนี้เข้าไว้ในการประมาณการกำไรของเราเรียบร้อยแล้ว
คาดว่าจะออก TOR โครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีส้มตะวันตก (PPP Net Cost) ได้ในเดือน ก.ค.
การรถไฟฟ้าขนส่งมวบชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตั้งเป้าจะออก TOR โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกในเดือนกรกฎาคม 2563 (แบ่งเป็นงานโยธา ~9 หมื่นล้านบาท และงาน M&E ระบบราง ~3 หมื่นล้านบาท) เราคาดว่าจะมี consortium สองกลุ่มเข้าร่วมประมูลโครงการนี้ ได้แก่ i) Ch. Karnchang (CK.BK/CK TB)* ร่วมกับ Bangkok Expressway and Metro (BEM.BK//BEM TB)* และ ii) BGSR consortium ซึ่งประกอบด้วย BTS Group Holdings (BTS.BK/BTS TB)*, Gulf Energy Development (GULF.BK/GULF TB)*, Sino-Thai Engineering & Construction (STEC.BK/STEC TB)*, Ratch Group (RATCH.BK/RATCH TB)* และ China Harbour Engineering ซึ่งจากการที่เราได้ทำการวิเคราะห์แต่ละ consortium (Figure 1) เรามองว่า BGSR มีโอกาสชนะประมูลโครงการนี้สูงกว่า (60:40)
ไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากความล่าช้าของขบวนรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลือง
เนื่องจาก STEC รับผิดชอบเฉพาะการก่อสร้างงานโยธา ดังนั้น เราจึงคาดว่าความล่าช้าที่เกิดขึ้นจะไม่กระทบกับ STEC เพราะงานด้านระบบราง และการเปิดดำเนินการเป็นความรับผิดชอบของ BTS แต่อย่างไรก็ตาม เราคิดว่าประเด็นนี้จะส่งผลลบเล็กน้อยในแง่ที่ทำให้การเปิดดำเนินการบางส่วน (คาดว่าจะเปิดในเดือนตุลาคม 2564) ต้องล่าช้าออกไปอย่างน้อยสามเดือนเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศจีน
Valuation & Action
เรายังคงคำแนะนำซื้อ และให้ราคาเป้าหมาย 1H64 ที่ 19.20 บาท อิงจาก PER ที่ 26.5x (PER เฉลี่ยระยะยาว +1 S.D.) เราเลือก STEC เป็นหุ้นเด่นของเราในกลุ่มรับเหมาก่อสร้างเนื่องจาก i) backlog ฟื้นตัวได้ดีอยู่ที่ 9.3 หมื่นล้านบาท (รวม 2 หมื่นล้านบาทจากโครงการเมืองสนามบินอู่ตะเภาแล้ว) และ ii) จะมี backlog ใหม่เพิ่มเข้ามาอีกจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย (2 พันล้านบาท) และงาน O&M มอเตอร์เวย์ (5-6 พันล้านบาท) ในขณะที่อาจจะมี backlog ก้อนใหญ่ (~1.20 แสนล้านบาท) อีกจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกซึ่งถือเป็น upside ของ backlog ถ้าหากว่า BGSR ชนะประมูล
Risks
งานก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนด ขาดแคลนแรงงาน และต้นทุนค่าวัสดุแพงขึ้น
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web