- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 19 June 2020 15:17
- Hits: 923
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 19-6-2020
กลยุทธ์การลงทุนรายวัน
วานนี้ SET ย่อก่อนฟื้นตัว ท่ามกลางความกังวลต่อการระบาดระลอกสองในหลายประเทศ โดย ณ. สิ้นวัน SET ปิดที่ 1,372.98 (-3.20จุด) มูลค่าการซื้อขาย 7.0 หมื่นล้านบาท (เทียบกับวันก่อนหน้า 7.2 หมื่นล้านบาท)
โดยนักลงทุนต่างชาติ ขายหุ้นไทย 4,463 ลบ. (นักลงทุนสถาบันขาย 542 ลบ.) ส่วนตลาด TFEX นักลงทุนต่างชาติเปิด Long Futures ที่ 8,822 สัญญา)
SINGER (ปรับราคาเป้าหมายขึ้นสู่ 14 บาท) พัฒนาการบวกทั้งในแง่ยอดขายและคุณภาพ NPL คาดกำไรจะสร้างสถิติใหม่ทั้งรายไตรมาสและรายปี เนื่องจากธุรกิจเช่าซื้ออิงกับลูกค้าชุมชนในต่างจังหวัดได้รับผลกระทบน้อยกว่าในเมือง ขณะธุรกิจ C4C ลูกค้ามีกระทบจำกัดและมีความสามารถชำระหนี้ที่ดี ทั้งนี้มาตรการช่วยเหลือจากธปท.ล่าสุด ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ SINGER
BOE ปรับเพิ่ม QE / FTSE Rebalancing ผันผวนท้ายตลาด : การประชุมธนาคารกลางอังกฤษวานนี้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.1% ตามคาด และมีการปรับเพิ่มวงเงิน QE ขึ้นสู่ระดับ 7.45 แสนล้านปอนด์ จากเดิมที่ 6.45 แสนล้านปอนด์ เพื่อช่วยหนุนสภาพคล่องของระบบตามคาด ส่วนสำหรับไทย สัปดาห์หน้าจะมีการประชุม กนง. เราคาดคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.5% ตามเดิม เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาไทยมีการใช้มาตรการการคลังเป็นส่วนหนุนเศรษฐกิจด้วยปริมาณสูง รวมถึงอาจเก็บการลดดอกไว้ใช้ในยามจำเป็นหากเศรษฐกิจฟื้นช้ากว่าคาด (policy space) ส่วนวันนี้ช่วงท้ายตลาดอาจมีปริมาณการซื้อขายสูงขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากจะมีการปรับดัชนี FTSE ซึ่งรอบนี้ไทยถูกปรับลดน้ำหนักเล็กน้อย โดยสำหรับหุ้นที่เข้าออกมีดังนี้ :ดัชนี FTSE SET Large-Cap Index หุ้นเข้าคือ CRC, DIF (ย้ายจาก Mid มา Large) หุ้นออกคือ LH, MINT ส่วนดัชนี FTSE SET Mid-Cap Index หุ้นเข้าคือ ACE, BAM, TQM, IMPACT, LH (ปรับลงมาจาก Large), MINT (ปรับลงมาจาก Large) หุ้นออกคือ DIF (ย้ายขึ้นไป Large)
Investment Strategy : วันนี้คาด SET แกว่ง ผันผวน ในกรอบแนวรับ 1,360 ต้าน 1,385 จุด แนะหุ้นที่แนวโน้มกำไรฟื้นตัว โดย ATO Picks วันนี้แนะนำ “SINGER, PTTGC, WHA”
SET Index ช่วงนี้ยังคง แกว่ง Sideway
- • SET Index ปิดที่ระดับ 1376.18 จุด
(-3.20 จุด) - • ทิศทางช่วงนี้ยังคงเป็นลักษณะ Sideway ออกด้านข้าง ในกรอบสี่เหลี่ยมช่วงบริเวณ 1360-1377 จุด
- • การประเมินยังคงเดิม ถ้าดัชนีเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 1385 จุด ยังคงอยู่ในรอบการพักตัวสะสมกำลัง
กลยุทธ์การลงทุน
มีหุ้น : รอดัชนีกลับมายืนเหนือระดับ 1385 จุด ค่อยสะสมเพิ่มใหม่อีกครั้ง
ไม่มีหุ้น : รอซื้อตามกรณีดัชนีทะลุ 1385 จุด หรือ Trading ในกรอบ 1360-1377 จุด
ตลาดรถ พ.ค. กระเตื้อง (ข่าวสด)
ความเห็น : เดือน มิ.ย. ค่ายรถยนต์กลับมาเดินสายการผลิต คาด มิ.ย. จะฟื้นตัวต่อ แต่ยังติดลบหนักจากปีก่อน 50% สำหรับปี 2563 เราประเมินยอดผลิตรถยนต์เท่ากับ 1.4 ล้านคัน ลดลง 30% เราให้น้ำหนักการลงทุนต่ำกว่าตลาด (NEGATIVE)
จีนแบนนำเข้าเนื้อหมูจากบริษัทเยอรมนี หลังพบคนงานกว่า 600 ติดเชื้อโควิด (อินโฟเควสท์)
ความเห็น : คาดว่าไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจหมูของไทย เนื่องจากโดยปกติไม่ค่อยมีการส่งออกหมู ยกเว้นการส่งออกหมูแปรรูปและการขายตามชายแดน ขณะที่ CPP ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ CPF ในจีน ทำธุรกิจอาหารสัตว์เป็นหลัก แต่แม้ได้ไม่ผลบวกจากข่าวดังกล่าว เราคาดว่า CPF ยังเติบโตได้ดีจากราคาหมูเวียดนามสูง และราคาเนื้อสัตว์ในไทยฟื้นตัวใน 2H63 แนะนำ ซื้อ เป้า 40.20
DRT บริหารต้นทุน รักษากำไรขั้นต้น เดินแผนอัพผลิต (ทันหุ้น)
ความเห็น : เราประเมินยอดขายเท่ากับ 4,292 ล้านบาท ลดลง 10% และ มีกำไรปกติเท่ากับ 463 ล้านบาท ลดลง 11% DRT เป็นหุ้นปันผลดี อัตราเงินปันผลตอบแทนประมาณ 7% แนะนำ ซื้อลงทุน เป้าหมาย 6.2 บาท
Singer Thailand (SINGER)
Better New Normal : สถิติใหม่ในทศวรรษ
TP Revision
ประเด็นการลงทุน
ขณะในช่วง 2Q63 หลายบริษัทกำลังอ่อนแอจาก COVID-19 แต่เราเห็นพัฒนาการบวกที่สวนทางตลาดทั้งในแง่ยอดขายและคุณภาพ NPL บริษัทกำลังสร้างสถิติกำไรใหม่ทั้งรายไตรมาสและรายปี เนื่องจากธุรกิจเช่าซื้ออิงกับลูกค้าชุมชนในต่างจังหวัดได้รับผลกระทบน้อยกว่าในเมือง ขณะธุรกิจ C4C ลูกค้ามีกระทบจำกัดและมีความสามารถชำระหนี้ที่ดี ทั้งนี้มาตรการช่วยเหลือจากธปท.ล่าสุด ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ SINGER แนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 14 บาท
2Q63 จะเป็นไตรมาสที่น่าจดจำ เรื่องดีมากกว่าร้าย
เราเห็นพัฒนาการบวกของบริษัทที่ i) การขายสินค้า SINGER กำลังทำเซอร์ไพรซ์ นอกจากจะไม่ถูกกระทบจากการปิดสาขา ช่วงปิดเมืองและคนอยู่บ้านมากขึ้น เครื่องปรับอากาศ (1/3 ของ รายได้) เข้าไฮซีซันมียอดขายดีมากจากปกติ 4,000 เป็น 7,000 ตัว ii) สัญญาณ NPL ดีกว่าคาด แนวโน้มลดลงเทียบ QoQ ทั้งธุรกิจเช่าซื้อที่กำลังจะต่ำกว่า 10% ขณะ C4C ยังทรงตัวระดับต่ำที่ 0.5% ลูกค้าองค์กรในธุรกิจ logistics (46%) รับผลกระทบจำกัด หนุนภาพรวม NPL ลดลงจาก 8.1% ในไตรมาสก่อนลงเหลือ 7% iii) สินเชื่อใหม่ C4C ยังปล่อยได้ใกล้เคียงเป้าหมายที่ 4-500 ลบ./ไตรมาส เบื้องต้นเราคาดกำไรสุทธิ 100-110 ลบ. ยืนเหนือร้อยล้านเป็นครั้งแรกที่ JMART เข้าบริหาร ทำให้ 1H63 มีกำไรสุทธิ 190-200 ลบ. สูงกว่าปีที่แล้วทั้งปี
ปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2563/64 ขึ้น 50% จะทำสถิติใหม่รอบ 10ปี
ธุรกิจเช่าซื้อจะมีโมเมนตัมที่ดีต่อในช่วงที่เหลือของปี จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตาม New normal จะทำให้ i) การเติบโตของธุรกิจภาคชุมชนจะช่วยหนุนสินค้ากลุ่ม Commercial (ตู้แช่,ตู้เติมน้ำมัน) ii) การเติบโตของทีมขายแฟรนไชส์จาก 1.3 เป็น 2 พันคนภายในสิ้นปี เมื่อรวมกับ ซึ่งจะทำให้กำไรสุทธิใน 3Q-4Q63 สามารถเติบโตได้เทียบ YoY จากปีก่อน 30-40 เป็น 50-60 ลบ./ไตรมาส เราปรับยอดขาย/กำไรสุทธิ +7/50% เป็น 2,938/325 ลบ. +24/96%YoY จะทำลายสถิติเดิมในปี 2556 ที่ 321 ลบ. ขณะปี 2564-65 ธุรกิจ C4C จะโตได้ต่อจากทั้งจากพอร์ตและอัตราดอกเบี้ยเรียกเก็บที่ปรับขึ้น หนุนกำไรโตเฉลี่ย 3Yr-CAGR 2562-65F = 34%
คงคำแนะนำ ซื้อ ปรับเป้าราคาเหมาะสมใหม่เป็น 14.00 บาท
เพื่อให้สอดคล้องกับประมาณการกำไรที่กำลังยกฐาน เราปรับราคาเหมาะสมปี 63 ขึ้นเป็น 14.00 บาท/หุ้น โดยอิงกับ Fwd P/E’63F = 17.5X หรือคิดเป็น PEG 0.5x บนค่าเฉลี่ย 3 ปีข้างหน้า โดยยังมีส่วนลด 10-25% จากหุ้นในกลุ่มผู้นำอย่าง MTC-SAWAD ที่ปัจจุบันเทรดบน P/E’63F 20-22x และ P/BV 3-4x ขณะที่กำไรขยายตัวเฉลี่ย 10-15%YoY โดยความเสี่ยง คือ การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ . ความเสี่ยงด้านบัญชีลูกหนี้เช่าซื้อ , กฏเกณฑ์นโยบายของภาครัฐ (มาตรการล่าสุดของ ธปท. ไม่กระทบเพราะ i) เช่าซื้อสินค้า/เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ภายใต้ สคบ. ดูแล ii) ดอกเบี้ยเรียกเก็บ C4C เฉลี่ยอยู่ที่ 15% ยังต่ำกว่าเพดาน 24%)
CP All (CPALL)
พร้อมฟื้นตัวหลังคลายล็อกดาวน์
TP Revision
ประเด็นการลงทุน
เราเชื่อว่า CPALL เป็นหนึ่งในบริษัทที่พร้อมฟื้นตัวหลังจากการคลายล็อกดาวน์ เนื่องจากฐานธุรกิจที่แข็งแกร่งด้วยเครือข่ายสาขาจำนวนมาก และมีประสิทธิภาพการดำเนินงานสูง ได้ประโยชน์จากการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น อีกทั้ง MAKRO ได้ผลบวกจากลูกค้า HORECA กลับมาเปิดธุรกิจ แม้เราปรับลดประมาณการกำไรลงสะท้อนผลกระทบจากการล็อกดาวน์ แต่ CPALL ยังซื้อขายที่ PE -1 SD ของค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง เราคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย (DCF) 83 บาท จากเดิม 87 บาท
ปรับลดประมาณการสะท้อนผลกระทบจากล็อกดาวน์
เราปรับลดประมาณการกำไรปี 2563-2564 ลง 15% และ 13% ตามลำดับ สะท้อนถึงยอดขายที่ได้รับผลกระทบมากกว่าคาด เนื่องจากการล็อกดาวน์ การยกเลิกวันหยุดสงกรานต์ การ Work from home การงดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง และ เคอร์ฟิว ซึ่งทำให้ SSSG ในเดือน เม.ย.- พ.ค. ติดลบประมาณ 25% แต่ติดลบน้อยลงในเดือน มิ.ย. หลังจากการคลายล็อกดาวน์ และยกเลิกเคอร์ฟิวตั้งแต่ 15 มิ.ย. โดยรวมแล้วเราคาดว่า SSSG ใน 2Q63 ติดลบไม่ต่ำกว่า 15%
หลายปัจจัยสนับสนุนยอดขายฟื้นตัว
แม้เศรษฐกิจและกำลังซื้อลดลง แต่คาดว่าธุรกิจร้านเซเว่นฯ ได้รับผลกระทบจำกัด เนื่องจากยอดการใช้จ่ายต่อใบเสร็จ (Spending per ticket) ไม่สูงโดยอยู่ที่ 70 บาท ขณะที่การคลายล็อกดาวน์ การ Work from home ลดลง และการเปิดเทอม จะสนับสนุนให้ SSSG ฟื้นตัวขึ้นใน 3Q63 นอกจากนั้น มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศในช่วง 1 ก.ค. – 31 ต.ค. (กำลังใจ-เราไปเที่ยวกัน-เที่ยวปันสุข) งบประมาณ 2.24 หมื่นล้านบาท ซึ่งทำให้มีการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น ส่งผลบวกต่อยอดขายร้านเซเว่นฯ อัตรากำไรขั้นต้นมีแนวโน้มฟื้นตัวจากยอดขายเพิ่มขึ้น และการขายสินค้าพร้อมรับประทานมากขึ้นหลังจากยกเลิกเคอร์ฟิว และการกลับมาทำงานมากขึ้น นอกจากนั้น MAKRO ได้กลับมาเปิดพื้นที่ขายสินค้าที่ไม่จำเป็นตั้งแต่ 17 พ.ค. และคาดว่าจะได้ผลบวกจากลูกค้า HORECA กลับมาเปิดดำเนินงานหลังคลายล็อกดาวน์
ปีนี้ยังไม่กลับสู่ปกติ แต่กลับมาเติบโตได้ในปีหน้า
เราคาดว่าผลประกอบการปีนี้จะลดลงโดย SSSG ร้านเซเว่นฯ ติดลบ 7% แต่ฟื้นตัวเป็นบวก 5% ในปี 2564 ขณะที่การขยายสาขายังคงเป็นไปตามแผน 700 สาขาต่อปี ทำให้คาดว่ากำไรปีนี้ลดลง 8% เป็น 21,099 ล้านบาท แต่จะกลับมาเติบโต 13% เป็น 23,942 ล้านบาทในปีหน้า
ความเสี่ยง: การระบาดของโควิด-19 รอบ 2 ผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอย อากาศเย็นหรือฝนตกมากกว่าปกติ รายได้เคาน์เตอร์เซอร์วิสชะลอ
Thailand Automotive
ตัวเลขรถยนต์ พ.ค. ฟื้นตัวจากเดือนก่อน แต่ยังทรุดหนักจากปีก่อน
ประเด็นการลงทุน
ตัวเลขอุตสาหกรรมรถยนต์เดือน พ.ค. โดยรวมฟื้นตัวจากเดือน เม.ย. แต่ยังทรุดหนักจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น ยอดผลิตรถยนต์ 56,035 คัน (+127%MoM, -69%YoY) ตลาดรถยนต์ในประเทศ 40,418 คัน (+34%MoM, -54%YoY) และ ยอดส่งออกลดลง 29,894 คัน (+47%MoM, -69%YoY) เดือน พ.ค. ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่ยังหยุดผลิต ต่อเนื่องจากเดือน เม.ย. จากการแพร่ระบาดของ Covid-19 กระทบยอดขายในประเทศ และ ต่างประเทศลดลง ตัวเลขผลิตรถยนต์เดือน พ.ค. 56,035 คัน ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับ ยอดขายในประเทศ และส่งออกรวมกันเท่ากับ 70,312 คัน สะท้อนถึงค่ายรถยนต์ต่างๆมีการระบายรถในสต็อกในเดือน พ.ค. เดือน มิ.ย. ค่ายรถยนต์หลักๆจะเริ่มกลับมาผลิตเพื่อสะสมสต็อก และ หลายประเทศมีการคลายล็อกดาวน์ คาดยอดผลิตรถยนต์เดือน มิ.ย. จะประมาณ 80,000-90,000 คัน เราคาดตัวเลข 2Q63 จะใกล้เคียงกับตัวเลขไตรมาส 4Q54 ในช่วงที่เกิดน้ำท่วม คือ ประมาณ 170,000 คัน (-62%QoQ, -66%YoY) ซึ่งจะทำให้ผลประกอบการหุ้นในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ขาดทุน สำหรับปี 2563 เราประเมินยอดผลิตรถยนต์เท่ากับ 1.4 ล้านคัน ลดลง 30% เราให้น้ำหนักการลงทุนต่ำกว่าตลาด (NEGATIVE)
ยอดผลิตรถยนต์ พ.ค. 56,035 คัน (+127%MoM, -69%YoY)
กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยตัวเลขยอดผลิตรถยนต์ประจำเดือน พ.ค. ฟื้นตัวจากเดือน เม.ย. แต่ยังอยู่ในระดับต่ำเท่ากับ 56,035 คัน (+127%MoM, -69%YoY) เนื่องจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้โรงงานผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ยังหยุดผลิตชั่วคราวใน 1-2 สัปดาห์แรกของเดือน พ.ค. รวม 5 เดือนแรกของปี 2563 มียอดผลิตรถยนต์รวม 534,428 คัน ลดลงจากปีก่อน 40%
ตลาดรถยนต์ในประเทศ พ.ค. 40,418 คัน (+34%MoM, -54%YoY)
ยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือน พ.ค. ฟื้นตัวจากเดือน เม.ย. แต่ยังทรุดหนักจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 40,418 คัน (+34%MoM, -54%YoY) รวม 5 เดือนแรกของปี 2563 ตลาดรถยนต์ในประเทศมียอดขายรวม 270,591 คัน ลดลง 38%YoY
การส่งออกรถยนต์ พ.ค. 29,894 คัน (+47%MoM, -69%YoY)
ยอดส่งออกรถยนต์เดือน พ.ค 29,894 คัน (+47%MoM, -69%YoY) โดยส่งออกลดลงเกือบทุกตลาด ยกเว้นตลาดตะวันออกกลาง เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวลงจากผลกระทบโควิด-19 รวม 5 เดือนแรกปี 2563 การส่งออกรถยนต์ 300,501 คัน ลดลง 35%YoY
ยอดผลิตรถยนต์ปีนี้มีแนวโน้มติดลบ 30-50%
ค่ายรถยนต์หลักของประเทศได้หยุดสายการผลิตชั่วคราวในเดือน เม.ย. และ ต่อเนื่องถึง 1-2 สัปดาห์แรกของเดือน พ.ค. ปัจจุบันได้กลับมาผลิตส่วนใหญ่ แต่ยังใช้กำลังการผลิตต่ำ สภาอุตสาหกรรมประเมิน ยอดผลิตรถยนต์ในปีนี้จะลดลง 30%-50% เหลือ 1-1.4 ล้านคัน แบ่งเป็นผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 5-7 แสนคัน และส่งออก 5-7 แสนคัน
Analyst
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web