- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 05 June 2020 11:15
- Hits: 7324
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 5-6-2020
กลยุทธ์การลงทุน
ระดับ PER กว่า 21 เท่า Market Earning Yield Gap ลงมาต่ำกว่า 4% มีโอกาสที่ทำให้ SET Index ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยสภาพคล่อง ถูกขายทำกำไรได้ตลอดเวลา วันนี้ไม่มีการปรับพอร์ต แต่ให้เข้มงวดกับการตั้ง Stop Profit สำหรับหุ้นในพอร์ต เพี่อ Lock กำไรไว้ในระดับที่น่าพอใจ สำหรับหุ้น Top Pick เลือก AMATA, CPALL และ STEC
Liquidity Driven รอบนี้มีข้อจำกัดภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน
การปรับตัวขึ้นของ SET Index รอบนี้มีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากเม็ดเงินที่เป็นสภาพคล่องในระบบการเงิน (Liquidity Driven) ซึ่งวิ่งหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นภายใต้ภาวะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดต่ำเป็นประวัติการณ์ แต่หากประเมินจากสถานการณ์แวดล้อมที่เป็นอยู่ ฝ่ายวิจัยเห็นว่าแรงขับเคลื่อนดังกล่าวก็มีข้อจำกัดอยู่มากภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากระดับอัตราผลตอบแทนที่คาดหมาย(Expected Return) สำหรับตลาดหุ้นไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ โดยที่ค่า PER สำหรับปี 2563 ปรับขึ้นไปสูงกว่า 21 เท่า ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์สำหรับ Forward PER ส่งผลทำให้ Market Earning Yield Gap ปรับลดลงมาต่ำกว่า 4% เทียบกับค่าเฉลี่ย 10 ปีซึ่งอยู่ที่ราว 4.25% นอกจากนี้หากเทียบเคียงค่า PER ของตลาดหุ้นไทยเทียบกับตลาดหุ้นโลก หรือ ภูมิภาค ก็ถือว่าอยู่ในระดับ Top 3 องค์ประกอบดังกล่าวทำให้ความน่าสนใจสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นไทยปรับลดลง และมีความเป็นไปได้ที่ SET Index จะถูกขายทำกำไรออกมาได้ตลอดเวลา กลยุทธ์วันนี้ไม่มีการปรับพอร์ต ปล่อยให้กำไรเดินหน้าเพิ่มขึ้นต่อไป แต่ให้ตั้ง Stop Profit สูงขึ้น เพื่อ Lock กำไรที่น่าพอใจส่วนหุ้น Top Pick เลือก AMATA, CPALL และ STEC
ตลาดแพง แต่ถูกขับเคลื่อนจากสภาพคล่องเป็นหลัก เน้นหุ้นดีดี ผสมหุ้นเก็งกำไร ชอบ CPALL, AMATA, STEC
ช่วงนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวถูกขับเคลื่อนด้วยสภาพคล่องในระบบการเงิน (Liquidity Driven) เป็นหลัก โดยต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 4 วันติดต่อกัน มูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท แต่ตลาดยังขาดปัจจัยพื้นฐานที่หนักแน่นเพียงพอ สนับสนุน อยู่
ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการวิเคราะห์หาความต่อเนื่องของ Fund Flow ที่จะคอยหนุนตลาด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
- Fund Flow จากนักลงทุนต่างชาติ แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน
1.1. ค่าเงินบาทแข็งค่าเช่นเดียวกับประเทศอื่นในภูมิภาค แสดงให้เห็นว่าความน่าสนใจในการลงทุนจากถูกกระจายตัวไปในหลายๆ ประเทศทั่วทั้งภูมิภาคไม่ใช่เฉพาะตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียว ขณะที่ค่าเงินบาทไทย ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นมาแรงถึง 4.66% สูงกว่าประเทศอื่นๆ (น้อยกว่าอินโดนีเซียเพียงแห่งเดียวเท่านั้น) โดยฝ่ายวิจัยฯประเมินว่าการแข็งค่าอาจเหลือน้อยลง ทำให้ Fx Gain ที่ได้ลดน้อยลงตามไปด้วย
1.2. Valuation (PER63F) ตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับที่แพงสุดในภูมิภาค ตลาดหุ้นไทยฟื้นจากจุดต่ำสุดช่วงกลางเดือน มี.ค. แบบไม่พักหายใจกว่า 442 จุด หรือ 45.6% จนมีค่า PER63F ที่ฝ่ายวิจัยประเมินสูงถึง 22 เท่า สูงสุดในภูมิภาค
- Fund Flow จากนักลงทุนในประเทศ การวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน
2.1. Valuation (PER63F) ล่าสุดที่ระดับ 22 เท่า ตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับสูงสุดเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา ขณะที่ PER63F เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี อยู่ที่ 16.87 เท่า เท่านั้น
2.2. Market Earning Yield Gap ตลาดหุ้นไทยล่าสุด แคบลงมาเร็วเหลือเพียง 3.98% (จาก 5.5% ในเดือน มี.ค.) และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 4.25% เนื่องจาก
ดัชนีที่ปรับตัวขึ้นมาแรง บวกกับ Bond Yield ที่เริ่มทยอยขยับขึ้น ทำให้ความน่าสนใจในการ Search for yield เริ่มลดน้อยลงกว่าในอดีตมาก
สรุปตลาดหุ้นไทยแพงมากทั้ง 2 มิติ คือ เมื่อเทียบกับในอดีตและในภูมิภาค ขณะที่แรงขับเคลื่อนจากสภาพคล่องส่วนเกิน ทั้งจากนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนสถาบัน มีโอกาสลดน้อยถอยลง จาก Market Earning Yield ที่ไม่ค่อยจูงใจ ดังนั้นกลยุทธ์เน้นหุ้นดีดี (Dividend & Defensive) คือ หุ้นปันผล ชอบ TTW, BBL, LH หุ้นผันผวนต่ำ ADVANC, BDMS, CPALL, BCPG ผสมหุ้นที่มีกระแสเก็งกำไร ชอบ AMATA, STEC
Toppick วันนี้เลือก CPALL, STEC, AMATA
ECB อัดฉีดเงิน QE เพิ่ม, สัปดาห์หน้าติดตาม ประชุม Fed, ประชุม OPEC
ต่างประเทศเมื่อวานนี้มี 2 ประเด็นสำคัญ คือ 1.)ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB)มีมติเพิ่มวงเงินซื้อพันธบัตร (QE) เพื่อรองรับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 (Pandemic Emergency Purchase Program: PEPP) โดยเพิ่มวงเงินอีก 6 แสนล้านยูโร (มากกว่าที่ตลาดคาดจะเพิ่ม 5 แสนล้านยูโร) ส่งผลให้มาตรการ PEPP มีวงเงินรวม 1.35 ล้านล้านยูโร และ ECB ยังได้ขยายระยะเวลามาตรการ PEPP ออกไปอีก จนถึงเดือน มิ.ย. 2564 จากเดิมที่มาตรการจะสิ้นสุดปลายปี 2563 (ดังรูป) ทั้งนี้ ECB ปรับลดประมาณการ GDP ยุโรปปี 2563 ลงเหลือ -8.7%yoy จากเดิมที่คาดไว้ 0.8%yoy ส่วนอัตราเงินเฟ้อปีเดียวกันปรับลงเหลือ 0.3%yoy จากเดิมที่คาด 1.1%yoy
ผลต่อตลาดการเงิน คือ ค่าเงินยูโรแข็งค่า 0.9% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของประเทศสมาชิกยุโรปปรับลดลง อาทิเช่น Bond Yield 10 ปี สเปนลดลง 0.011%, Bond Yield 10 ปี อิตาลี และฝรั่งเศส ลดลงเฉลี่ยเท่ากัน 0.01%
2.) ฝั่งสหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการกรณีว่างงาน (Initial Jobless Claims) สัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นอีก 1.88 ล้านราย สูงกว่าตลาดคาดเพิ่มขึ้น 1.8 ล้านราย ส่งผลให้นับตั้งแต่ COVID-19 ผู้ขอสวัสดิการว่างงานรวมกัน 42.65 ล้านราย โดยให้น้ำหนักคืนนี้รายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน พ.ค. 2563 ตลาดคาดจะลดลง 8 แสนราย หนุนอัตราการว่างงาน ในเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้นเป็น 19.8% จาก 14.7% ในเดือนก่อน
ประเด็นต่างประเทศที่ให้น้ำหนักสัปดาห์หน้าหลักๆ คือ
8 มิ.ย.ธนาคารโลก(World bank)จะออกรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจโลก (World GDP) คาดว่ามีโอกาสที่จะปรับลด GDP ลงจากรอบ ม.ค. ที่ยังคงคาดเศรษฐกิจโลกขยายตัว 2.5%yoy (ยังไม่รวมผลกระทบ COVID-19) เป็นมาหดตัว เทียบกับ IMF ล่าสุดคาด World GDP ปี 2563 หดตัว 3%yoy
9 -10 มิ.ย. ประชุมประเทศผู้ผลิตน้ำมัน OPEC+ ผ่าน Conference หลักๆ ให้น้ำหนักซาอุดิอาระเบีย และรัสเซียจะตกลงขยายระยะเวลาตัดลดการผลิต 9.7 ล้านบาร์เรล/วันต่อไป อีก 1-3 เดือนตามที่คาดหรือไม่ (ปัจจุบันข้อตกลงคือ ตัดลการผลิตน้ำมทัน 9.7 ล้านบาร์เรล/วัน พ.ค.-มิ.ย.63 และ 7.7 ล้านบาร์เรล dก.ค.- ธ.ค.63
10-11 มิ.ย.ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) Consensus คาดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%(ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์) ในรอบนี้ให้น้ำหนักประมาณการ (Economic Projection) และ Statement ของคณะกรรมการ Fed จะเป็นอย่างไร และให้น้ำหนักรายละเอียดที่ Fed จะปรับเปลี่ยนการเข้าซื้อพันธบัตรในรูปแบบ Yield Curve Control (คาดคล้ายธนาคารกลางญี่ปุ่น BOJ)
วันนี้ให้น้ำหนักการผ่อนคลายธุรกิจเฟส 4 คาดหนุนดัชนีความเชื่อมั่น CCI ดีต่อ CPALL
หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ COVID-19 ของไทยที่ยังรักษาระดับต่ำต่อเนื่อง (แม้รายงานผู้ติดเชื้อแต่ละวันที่เพิ่มขึ้น ล่าสุดวานนี้ 17 ราย แต่มาจากต่างประเทศและสถานกักกันของรัฐทั้งหมด) โดยเชื่อว่ารัฐบาลจะยังคงเดินหน้าผ่อนคลายการเปิดธุรกิจต่อเนื่อง
ASPS ให้น้ำหนักในวันนี้ที่ประชุม ศบค.จะพิจารณาการผ่อนปรนระยะที่ 4 คาดก่อนจะเปิด12 ธุรกิจ (ดังรูป) ในช่วงกลางเดือน มิ.ย.
ผลจาการที่รัฐบาลทยอยผ่อนคลายธุรกิจตั้งแต่ระยะที่ 1-3 เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในช่วง 2Q-3Q63 และหนุนให้ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเห็นสัญญาณฟื้นตัว คือ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค(CCI) เดือน พ.ค. 63 เพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน และเพิ่ม 2.1%momอยู่ที่ 48.2 จุด ถือเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นค้าปลีก โดยวันนี้เลือก CPALL (FV@B>78) เป็น Top pick ที่ได้ประโยชน์การบริโภคฟื้นตัวมากสุด จากสาขาครอบคลุม และยังมี Upside เข้าลงทุน
เงินเฟ้อไทย ติดลบเป็นเดือนที่ 3 ถือเป็นสัญญาณลบต่อเศรษฐกิจ
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web