WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 21-5-2020May

กลยุทธ์การลงทุนรายวัน

วานนี้ SET ปรับตัวขึ้น ขานรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ส่งผลบวกต่อหุ้นที่อานิสงส์จากดอกเบี้ยต่ำ โดย ณ. สิ้นวัน SET ปิดที่ 1,322.20 (+12.25 จุด) มูลค่าการซื้อขาย 6.8 หมื่นล้านบาท (เทียบกับวันก่อนหน้า 7.9 หมื่นล้านบาท) โดยนักลงทุนต่างชาติ ขายหุ้นไทย 2,649 ลบ. (นักลงทุนสถาบันซื้อ 2,815 ลบ.) ส่วนตลาด TFEX นักลงทุนต่างชาติเปิด Long Futures ที่ 4,709 สัญญา)

M (เริ่มต้นคำแนะนำ ซื้อด้วยราคาเป้าหมาย 60 บาท) แม้ภาพรวมธุรกิจในระยะสั้นจะเผชิญกับสถานการณ์ COVID-19 ที่รุนแรง แต่เราเชื่อว่า M จะผ่านไปได้จากสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง (Net cash), สภาพคล่องสูง ซึ่งทำให้ยังคงสามารถจ่ายปันผลคาดในอัตราที่สูงราว 5% ต่อปีเมื่อเทียบกับราคาหุ้นปัจจุบันได้

กนง. ลดอัตราดอกเบี้ย เพิ่มแรงเก็งกำไรในตลาดหุ้นมากขึ้น : วานนี้ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 4 : 3 เสียง ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สู่ระดับ 0.5% ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจาก ณ ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยหดตัวมากกว่าที่เคยประเมินไว้ โดยเห็นว่าการดำเนินนโยบายที่ผ่อนคลายมากขึ้นจะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวคาดจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเช่นกัน ส่วนในด้านของตลาดพันธบัตร คาดจะส่งผลให้ทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลง ซึ่งหากเรามาพิจารณาส่วนต่างของผลตอบแทนในการลงทุนในหุ้น กับผลตอบแทนพันธบัตร หรือที่เรียกว่า Earnings Yield Gap (EYG) ก็จะพบว่า EYG มีแนวโน้มที่จะกว้างมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะเพิ่มความน่าสนใจต่อการลงทุนในตลาดหุ้นเมื่อเทียบกับตลาดพันธบัตรมากยิ่งขึ้น หนุนโอกาสของ SET ยังมีแนวโน้มแกว่งขึ้นต่อ โดยหากพิจารณามุมมองในเชิงเทคนิคเพิ่มเติม การปรับตัวขึ้นของ SET รอบนี้อาจเล็งเป้าหมายถัดไปที่บริเวณ 1350-1360 จุด ซึ่งเป็นบริเวณปิด gap พอดี

Investment Strategy :

วันนี้คาด SET แกว่งขึ้น ประเมิน แนวรับ 1,310 ต้าน 1,340 จุด แนะเก็งกำไรหุ้นที่ยังคงมีสตอรี่บวก โดยวันนี้แนะนำ “M, TOP, CPN, WICE”

โดยวันนี้แนะนำ “M, TOP, CPN, WICE”

ปัจจัยในประเทศ :

ติดตามตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19

22 พ.ค. การส่งออกไทย (เม.ย.)

แนวรับ : 1317/1300

แนวต้าน : 1336/1360

BBL ปิดดีลเพอร์มาตาฯ จ่ายเบ็ดเสร็จ 7.37 หมื่นล. (ข่าวหุ้น)

ความเห็น : แม้ว่า BBL จะซื้อ Permata Bank ที่ราคาถูกลงประมาณ 8-9 พันล้านบาทเนื่องจากมีการปรับ P/BV ลงเหลือ 1.63x P/BV จาก 1.77x และ BV ของ Permata ลดลงหลังใช้ IFRS9 เรายังมองว่า BBL ซื้อ Permata Bank ในราคาที่ค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับ ROE ที่ต่ำของ Permata Bank เรายังชอบ BBL จากเรื่องคุณภาพสินทรัพย์และสินเชื่อที่ดูแข็งแกร่งกว่าคู่แข่ง แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 130 บาท

บีอีเอ็มพร้อมประมูลสายสีส้ม (ข่าวสด)

ความเห็น : หลังจาก BEM ต่อขยาย S-curve ของตนเองด้วยการ ต่อสัมปทานทางด่วนไปแล้ว 15 ปี 8 เดือน การเข้าประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ถือเป็นอีก 1 โอกาสในการสร้างอีก 1 S-curve ใหม่ให้กับธุรกิจ เราให้ BEM เป็นหุ้น top pick กลุ่มขนส่งขณะนี้ แนะนำ ซื้อ 13 บาท

(ผู้จัดการรายวัน360 องศา)

ความเห็น : ประเด็นนี้ส่งผลลบต่อ valuation ของ BTS เล็กน้อย แต่เชื่อว่าตลาดจะไม่ได้ให้น้ำหนักนัก อย่างไรก็ดีหุ้นปรับตัวขึ้นมาใกล้ราคาเหมาะสมแล้ว แต่ทว่าปริมาณผู้โดยสารยังไม่ได้ฟื้นขึ้นมาเป็นปกติ ติดลบอยู่ 81% YoY ในเดือน เมย. คาดว่า พค. จะฟื้นขึ้น แต่เชื่อว่ายังกว่าระดับปกติ 7 แสนเที่ยว/ วัน เราจึงยังคงคำแนะนำ ถือ 11.30 บาท/ หุ้น

TU เดินเครื่องโรงงานกานา ผลกระทบ 1% (ทันหุ้น)

ความเห็น : การปิดโรงงานชั่วคราวไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลประกอบการของ TU เนื่องจากยังมีสต็อคสินค้าคงเหลือประมาณ 4-6 เดือน และมีโรงงานอื่นผลิตแทนได้ อย่างไรก็ดี เราแนะนำ ถือ ราคาเป้าหมาย 14.10 บาท โดยคาดว่าผลประกอบการอาจถูกกดดันจากการปิดสาขา Red Lobster

พิษโควิดเชื่อมั่นอุตฯ เม.ย. ลบสาหัส (ข่าวสด)

ความเห็น : ตัวเลขยอดผลิตรถยนต์เคยต่ำสุดเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในเดือน พ.ย. 2554 เท่ากับ 23,695 คัน ตัวเลขผลิตรถยนต์ 24,711 คัน ต่ำกว่ามากกว่า 50% เมื่อเทียบกับ ยอดขายในประเทศ และส่งออกรวมกันเท่ากับ 50,435 คัน คาดเดือน เม.ย. คาดจะเป็นจุดต่ำสุดของปี สำหรับปี 2563 เราประเมินยอดผลิตรถยนต์เท่ากับ 1.4 ล้านคัน ลดลง 30% เราให้น้ำหนักการลงทุนต่ำกว่าตลาด (NEGATIVE)

Wice Logistics (WICE)

ปีแห่งการเก็บเกี่ยว กำไรคาดโตเท่าตัว

TP Revision

ปรับประมาณการกำไรขึ้น และ เพิ่มคำแนะนำจาก ซื้อเก็งกำไร เป็น ซื้อ

จากงบไตรมาส 1/63 ทำได้ดีเกินคาด เพราะ การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ ดีต่อธุรกิจ Air Freight ซึ่งมีสัดส่วนรายได้สูงสุด 47%, ความสามารถของบริษัทในการเก็บเกี่ยวลูกค้าใหม่ที่ จีน/ฮ่องกง ในช่วงวิกฤติ COVID-19 และ การปรับกลยุทธ์ธุรกิจ Cross boarder ที่ทำได้ดีและเร็วเกินคาด จึงทำให้คาดการณ์กำไรปี 2563 ถูกปรับขึ้น 47% เป็น 125 ลบ. +101% YoY กลายเป็นหุ้นที่มีการเติบโตชนะอุตสาหกรรมที่หดตัวรุนแรงจาก COVID-19 และเมื่ออิง P/E เฉลี่ย 3 ปี 20 เท่า ตามเดิม ราคาเหมาะสมปี 2563 จะอยู่ที่ 3.84 บาท/ หุ้น  

กำไรที่ยอดเยี่ยมไตรมาส 1 จะดำเนินต่อในช่วงที่เหลือของปี

ผู้บริหารเผยกำไรไตรมาส 1/63 ที่ 30 ลบ. ขยายตัว +161% YoY และคิดเป็น 35% ของประมาณการทั้งปีของเรา ผลักดันมาจาก (1) ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ฟื้นตัว หลังสงครามการค้าจีน-สหรัฐคลี่คลาย กอปรกับหน่วยงานที่จีน/ฮ่องกง ให้บริการลูกค้าได้อย่างดีในช่วงเกิด COVID-19 จึงได้ลูกค้าใหม่จำนวนหนึ่งในราคาบริการที่สูงขึ้น ทำให้ปริมาณขนส่งทางอากาศ (Air Freight) ฟื้นตัวได้แรง +18% QoQ +87% YoY (2) การปรับกลยุทธ์เลือกชนิดสินค้า ขาไป-ขากลับ ให้สอดคล้องกับตู้คอนเทนเนอร์ให้บริการของธุรกิจขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน (Cross boarder โดย ETL) ผนวกกับการฟื้นตัวของจีนในเดือน มี.ค. ทำให้ ETL พลิกมีกำไรครั้งแรก +10 ลบ. ในไตรมาสเดียว (ก่อนหน้านี้ เราคาดทั้งปี 2563 จะมีกำไรเพียง +7.7 ลบ.) หลังเริ่มต้นธุรกิจนี้ในปลายปี 61 และ ขาดทุน -48 ลบ. ในปี 2562 โดยผู้บริหารเผยโมเมนตัมเหล่านี้ จะยังคงอยู่ในไตรมาส 2/63 จึงคงเป้ารายได้ 2.7 พัน ลบ. +23% YoY ขณะที่การใช้สิทธิซื้อหุ้นส่วนที่เหลือ 30% ของ WICE (SG) ก็เสร็จสิ้นไปแล้วในเดือน พ.ค. (แผนเดิม ภายใน ส.ค.) ทำให้ WICE จะได้กำไรส่วนเพิ่มอีก +18 ลบ./ ปี อีกด้วย

ปรับประมาณการกำไรขึ้น 47% และเพิ่มน้ำหนักเป็น ซื้อ

ด้วยกำไรไตรมาส 1/63 ที่ดีกว่าคาด, ETL พลิกมีกำไรเร็วกว่าคาด, การซื้อ WICE (SG) เร็วกว่าแผน 3 เดือน เราจึงต้องปรับประมาณการกำไรขึ้น 47% เป็น 125 ลบ. ขยายตัว +101% หลักๆจากการปรับรายรวมขึ้น 7% เป็น 2.65 พัน ลบ. +20% YoY เพิ่มกำไรจาก ETL +30 ลบ. จากประมาณการเดิม และเมื่ออิงกับ P/E เฉลี่ย 3 ปีที่ 20 เท่าตามเดิม ได้ราคาเหมาะสมใหม่ 3.84 บาท/ หุ้น (เดิม 2.60) เปิด upside อีก 32%

ความเสี่ยง

หาก COVID-19 ยืดเยื้อยาวนานกว่าคาด อาจทำให้การเติบโตในปี 2564 เริ่มจำกัดได้

Thailand Automotive

ตัวเลขรถยนต์เดือน เม.ย. ทรุดหนัก Covid-19 ส่งผลกระทบรุนแรง

ประเด็นการลงทุน

ตัวเลขอุตสาหกรรมรถยนต์เดือน เม.ย. ทรุดหนัก แบ่งเป็น ยอดผลิตรถยนต์ 24,711 คัน (-83%MoM, -84%YoY) ตลาดรถยนต์ในประเทศ 30,109 คัน (-50%MoM, -65%YoY) และ ยอดส่งออกลดลง 20,326 คัน (-77%MoM, -70%YoY) เนื่องจากเดือน เม.ย. ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่ได้หยุดผลิต จากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ประเทศส่วนใหญ่มีการล็อกดาวน์ ทำให้ยอดขายในประเทศ และ ต่างประเทศลดลงหนัก ตัวเลขยอดผลิตรถยนต์เคยต่ำสุดเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในเดือน พ.ย. 2554 เท่ากับ 23,695 คัน ตัวเลขผลิตรถยนต์ 24,711 คัน ต่ำกว่ามากกว่า 50% เมื่อเทียบกับ ยอดขายในประเทศ และส่งออกรวมกันเท่ากับ 50,435 คัน สะท้อนถึงค่ายรถยนต์ต่างๆมีการระบายรถในสต็อกในเดือน เม.ย. ใน เดือน พ.ค. ค่ายรถยนต์หลักๆเริ่มกลับมาผลิตเพื่อสะสมสต็อก คาดจะมียอดผลิตมากกว่า 50,000 คัน ดังนั้น เดือน เม.ย. คาดจะเป็นจุดต่ำสุดของปี เราคาดตัวเลข 2Q63 จะใกล้เคียงกับตัวเลขไตรมาส 4Q54 ในช่วงที่เกิดน้ำท่วม คือ ประมาณ 172,000 คัน (-62%QoQ, -66%YoY) สำหรับปี 2563 เราประเมินยอดผลิตรถยนต์เท่ากับ 1.4 ล้านคัน ลดลง 30% เราให้น้ำหนักการลงทุนต่ำกว่าตลาด (NEGATIVE)

ยอดผลิตรถยนต์ เม.ย. ทรุดหนัก 24,711 คัน (-83%MoM, -84%YoY)

กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยตัวเลขยอดผลิตรถยนต์ประจำเดือน เม.ย. ทรุดลงหนักเหลือ 24,711 คัน (-83%MoM, -84%YoY) เนื่องจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้โรงงานผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่หยุดผลิตชั่วคราวในเดือน เม.ย. รวมสี่เดือนแรกของปี 2563 มียอดผลิตรถยนต์รวม 478,393 คัน ลดลงจากปีก่อน 33%

ตลาดรถยนต์ในประเทศ เม.ย. ดิ่งลง 30,109 คัน (-50%MoM, -65%YoY)

ยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือน เม.ย. ดิ่งลงเหลือ 30,109 คัน (-50%MoM, -65%YoY) จากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 รวมสี่เดือนแรกของปี 2563 ตลาดรถยนต์ในประเทศมียอดขายรวม 230,173 คัน ลดลง 35%YoY

การส่งออกรถยนต์ เม.ย. ลดลง 20,326 คัน (-77%MoM, -70%YoY)

ยอดส่งออกรถยนต์เดือน เม.ย ลดลงจากปีก่อนเหลือ 20,326 คัน (-77%MoM, -70%YoY) โดยส่งออกลดลงในทุกตลาด เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวลง รวมถึงผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของ Covid-19 รวมสี่เดือนแรกปี 2563 การส่งออกรถยนต์ 270,607 คัน ลดลง 26%YoY

ยอดผลิตรถยนต์ปีนี้มีแนวโน้มติดลบ 30-50%

ค่ายรถยนต์หลักของประเทศได้หยุดสายการผลิตชั่วคราวในเดือน เม.ย. และ ต่อเนื่องถึง 1-2 สัปดาห์แรกของเดือน พ.ค. ปัจจุบันได้กลับมาผลิตส่วนใหญ่ แต่ยังใช้กำลังการผลิตต่ำ สภาอุตสาหกรรมประเมิน ถ้าหากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ยืดเยื้อถึงเดือน มิ.ย. 2563 ยอดผลิตรถยนต์จะติดลบ 30% เหลือ 1.4 ล้านคัน แต่หากยืดเยื้อไปถึงเดือน ก.ย. 2563 ยอดผลิตรถยนต์จะติดลบ 50% เหลือ 1 ล้านคัน

Analyst

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!