WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอชีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 18-5-2020ASP

กลยุทธ์การลงทุน                       

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

           คาด GDP Growth งวด 1Q63 ที่จะประกาศเช้านี้น่าจะติดลบ เพิ่มโอกาสที่ กนง. จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมสัปดาห์นี้ ส่วนกำไรบริษัทจดทะเบียนประกาศออกมาแล้ว 94.6% พบว่าหดตัว 58%YoY ทำให้ต้องปรับลดประมาณการ สถานการณ์แวดล้อมดังกล่าวน่าจะทำให้ SET Index ปรับฐาน แนะนำปรับพอร์ตโดย สลับจากหุ้น KBANK เป็น DIF ส่วน หุ้น Top Picks วันนี้เลือก COM7 (FV@B 23.50), CPN (FV@B 66) และ PTT (FV@B 42)

SET Index 1,280.76 เปลี่ยนแปลง (จุด) 0.36 มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 50,660

                                                                               

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย จับสัญญาณวันนี้

           วันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยปิดตัวแบบไร้น้ำหนัก หลังจากขาดประเด็นบวกใหม่ อีกทั้งนักลงทุนยังมีประเด็นที่ต้องติดตามอย่าง การรายงาน GDP Growth ไทยและ การประชุม กนง.ว่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ย หรือไม่ จึงทำให้ตลาดหุ้นผันผวนและปิดตัวที่ระดับ 1280.76 จุด เพิ่มขึ้น 0.36 จุด หรือ +0.03% มูลค่าการซื้อขาย 5.06 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่หนุนตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงาน ได้แก่ PTTEP(+2.14%) SPRC(+9.30%) GPSC(+0.35%) TOP(+4.24%) กลุ่มปิโตรเคมีอย่าง IVL(+0.89%) PTTGC(+3.73%) แต่โดนกดดันจากกลุ่มค้าปลีกเช่น CPALL(-1.07%) CRC(-4.86%) RS(-6.25%) และกลุ่มธ.พ.อาทิ AWC(-2.85%) CPN(-1.57%) LH(-2.27%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น AOT(-1.26%) SCC(-1.47%) และ SCB(-1.12%) เป็นต้น

           เช้านี้จะมีการประกาศตัวเลข GDP Growth ในงวด 1Q63 ซึ่งถูกคาดหมายว่าด้วยผลกระทบจาก Covid-19 น่าจะทำให้เห็นการหดตัวเฉลี่ยราว 4% YoY ขณะที่คาดว่าจะเห็นทิศทางในงวด 2Q63 อ่อนตัวในอัตราที่แรงกว่าและน่าจะเป็นจุดต่ำสุดของปี ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยจะทำการปรับประมาณการ GDP Growht สำหรับปี 2563 ซึ่งเดิมคาดว่าจะหดตัว 1.4% ลงอีกครั้งหนึ่ง หลังพบว่าผลกระทบจาก Covid-19 แรงกว่าที่ประเมินไว้ตอนต้น อีกทั้งน้ำหนักของมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่าน พ.ร.ก. 3 ฉบับฯ ก็ยังไม่เห็นผลที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ชัดเจน โดยที่ผ่านมาทำหน้าที่เป็นแรงพยุงเป็นหลัก สำหรับการประชุม กนง. ที่จะเกิดขึ้นในวันพุธที่ 20 นี้ เชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะเห็นการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 0.75% มาอยู่ที่ 0.50% ทั้งนี้ความคาดหวังดังกล่าวได้ถูกสะท้อนผ่านตัวเลข Bond Yield 1 ปี ที่ล่าสุดปรับลดลงไปอยู่ที่ 0.567% รอล่วงหน้า ซึ่งบนความคาดหวังดังกล่าวอาจสร้างแรงกดดันต่อหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เป็นเหตุผลทำให้ฝ่ายวิจัยปรับลดหุ้น KBANK ออกจากพอร์ต จำลองเช้านี้ โดยให้เข้าไปพักเงินอยู่ใน DIF แทน ส่วนอีกประเด็นที่สำคัญคือผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน ซึ่งล่าสุดได้ประกาศออกมาแล้ว 94.6% ของ Market Cap. พบว่า ฐานกำไรสุทธิงวด 1Q63 อยู่ที่ระดับต่ำเพียง 1.11 แสนล้านบาท ลดลง 49% QoQ และ ลดลง 58% YoY นับเป็นฐานกำไรที่ต่ำกว่าคาดมาก ทำให้ประมาณการ EPS ของบริษัทจดทะเบียน น่าจะต้องถูกปรับบลดลงจาก 72.6 บาท/หุ้น มาอยู่ที่บริเวณ 66.2 บาท/หุ้น สถานการณ์แวดล้อมดังกล่าว น่าจะสร้างแรงกดดันต่อ SET Index ให้ปรับฐานลงต่อ ส่วนหุ้นที่มีโอกาสที่จะ Outperform ตลาดฯ ได้น่าจะเป็นกลุ่มพลังงาน-ปิโตรเคมี โดยมีราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นเป็นแรงผลักดัน ซึ่งในพอร์ตจำลองของฝ่ายวิจัยได้มีหุ้น PTT รวมถึ่ง SCC ซึ่งมีฐานธุรกิจในปิโตรเคมีเป็นองค์ประกอบหลักอยู่แล้ว สำหรับ Top Pick วันนี้เลือก CPN, COM7 และ PTT

ราคาน้ำมันยังปรับตัวขึ้นต่อ หลังตัวเศรษฐกิจจีนดี เปิดเมืองในหลายประเทศ PTT, PTTEP เด่น

         ราคาน้ำมันดิบโลกยังปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงต่อ (ราคาน้ำมัน Brent เพิ่มขึ้น 4.4% และ Dubai 2.5%) ปัจจัยหนุนสำคัญมาจากฝั่ง Demand 1.)หลายประเทศเริ่มทยอยกลับมาดำเนินธุรกิจมากขึ้น (Reopen) หนุนความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.เศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณฟื้นตัว สะท้อนจากปลายสัปดาห์ผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. 2563 พลิกกลับมาขยายตัว 3.9%yoy พลิกกลับมาเป็นบวกครั้งแรงในรอบ 2 เดือน หลังจากที่หดตัวแรงในเดือ ก.พ.-มี.ค. 3.แหล่งข่าวจาก Bloomberg รายงานว่าการนำเข้าน้ำมันดิบของจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เดือน เม.ย. คือ 11.81 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค. 10.63 ล้านบาร์เรลต่อวัน   เช่นเดียวกับฝั่ง Supply น้ำมันในสหรัฐ สัปดาห์ล่าสุด ปรับลดลงราว 36 แท่นลงมาอยู่ที่ 258 แท่น ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยรวม ASPS เชื่อว่าราคาน้ำมันดิบโลกมีโอกาสปรับขึ้นต่อจากปัจจัยหนุนดังกล่าวบวกต่อหุ้นพลังงาน โดยแนะนำลงทุน PTTEP (FV@B>100) และ PTT (FV@B>42)

           ส่วนกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมี ASPS คาด Spread โตรเคมีน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในเดือน เม.ย. โดยคาด 1Q63 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดของปี 2563 จากนี้ไปน่าจะพลิกกลับมาเป็นกำไรได้ในทิศทางขาขึ้นช่วงที่เหลือของปี ยังคงเลือก IVL (FV@B>37)

เช้านี้รอดูตัวเลข GDP งวด 1Q63 ว่าจะหดตัวแรงพอที่จะทำให้ กนง. ปรับลดดอกเบี้ยหรือไม่

         เช้านี้เวลา 9.30 น. ให้น้ำหนัก ภาพัฒน์ฯรายงาน GDP งวด 1Q63 Consensus คาดเฉลี่ย -4.5%QoQ -3.8%yoy ASPS คาด -5.5%QoQ และ -7%yoy (และหากมองไปงวด 2Q63 คาดจะเป็นงวดที่ GDP จะติดลบมากที่สุด และน่าจะเป็น Bottom ของปีและเศรษฐกิจจะค่อยๆดีขึ้นในงวดไตรมาส 3 เป็นต้นไป เนื่องจากภาคธุรกิจเริ่มกลับมาเปิด หนุนการจ้างงานฟื้นตัว และรัฐคาดจะเร่งโครงการลงทุนขนาดใหญ่

         อย่างไรก็ตามประมาณ GDP ปี 2563 ปัจจุบัน คาด -1.4% yoy ยังมีความเสี่ยงที่จะถูกปรับลง หากพิจารณาดัชนีชี้นำเศรษฐกิจทุกดัชนีทั้ง C I G พบว่า หดตัวแรง yoy โดยสมมติฐาน (ดังตาราง) ที่ ASPS คาดมี Downside จะถูกปรับลง   คือ การบริโภครัวเรือน การลงทุนภาครัฐ และ การเบิกจ่ายภาครัฐ โดยรอการประกาศจากสภาพัฒน์ฯ ในวันนี้    

ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ Leading indicator ไทย

สมมติฐานคาดการณ์ GDP

ที่มา : ASPS

         เศรษฐกิจไทยที่ยังอยู่ในทิศทางชะลอตัวทำให้การประชุม กนง. วันที่ 20 พ.ค. ผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ใน Bloomberg ราว 70% คาดจะปรับลงในรอบนี้อีก 0.25% มาอยู่ที่ 0.5% (ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์) อีก 30% คาดยังคงอัตราดอกเบี้ยที่เดิม สอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทย อายุ 1 ปี (Bond yield1 ปี) ไทยล่าสุด ลงมาอยู่ที่ 0.567% ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบัน 0.75% บ่งชี้ได้ว่าตลาดมองว่าจะมีการปรับลงดอกเบี้ย   แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยฯที่ลดลง ถือเป็น Sentiment เชิงลบต่อหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ แนะนำหลีกเลี่ยงลงทุน แต่จะถือเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นในกลุ่มเช่าซื้อ, อสังหาริมทรัพย์, หุ้นปันผล ฯลฯ

THAI ยังแนะนำหลีกเลี่ยงลงทุน

         กรณีวันนี้ที่นายกรัฐมนตรี จะประชุมด่วนกับคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เพื่อแก้ปัญหาและหาแนวทางฟื้นฟูกิจการ THAI ก่อนนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ครม. อย่างเร็ว 19 พ.ค. 63 ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินว่าแนวทางการแก้ไขน่าจะมีอยู่ 3 แนวทาง คือ

1)ฟื้นฟูกิจการ โดยไม่นำเข้าสู่กระบวนการทางศาล

2)ฟื้นฟูกิจการ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายต่อศาลล้มละลายกลาง และ

3)ปล่อยกิจการล้มละลาย ซึ่งหลังจากนั้น จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เข้าสู่กระบวนการขายทรัพย์สินทอดตลาด และนำมาคืนเจ้าหนี้

           ทั้งนี้ เนื่องจากภายใต้เม็ดเงินหนี้สินของ THAI จำนวนกว่า 2.44 แสนล้านบาท แบ่งเป็นหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย 1.44 แสนล้านบาท หากเทียบ สภาวะอุตสาหกรรมและธุรกิจปัจจุบันที่กระทบหนักจาก COVID-19 คาดหมายว่ากระบวนการแก้ไขปัญหาของ THAI น่าจะอยู่ในกรอบทางเลือกที่ 2 โดยหลังจากเข้าสู่กระบวนการหลังจากยื่นฟื้นฟูต่อศาลล้มละลายกลาง ศาลจะมีคำสั่งนัดไต่สวน และหากศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ จะเกิดสภาะพักชำระหนี้ คือ เจ้าหนี้ต่างๆ จะต้องถูกบังคับโดยกฎหมายให้งดบังคับสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายแพ่ง เพื่อให้ลูกหนี้มีช่วงระยะเวลาในการดำเนินการปรับโครงสร้างและหาวิธีการชำระหนี้ของตนเอง ซึ่งเมื่อศาลสั่งฟื้นฟูกิจการและสั่งตั้งผู้ทำแผน หลังจากนั้นจะเป็นการบริหารแผนไปจนกว่าจะกิจการจะพ้นจากแผนฟื้นฟู

           หากเป็นไปตามกระบวนการดังกล่าว คาดว่าผู้ถือหุ้นปัจจุบันมีความเสี่ยงเผชิญความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก ระหว่างการทำแผนฟื้นฟู ซึ่งอาจนำมากระบวนการหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทุน, ลดทุน รวมถึงการแปลงเป็นหนี้เป็นทุน ซึ่งเชื่อว่าส่งผลให้สิทธิ์ความเป็นเจ้าของลดลงจากเดิมอย่างมีนัยฯ และหากพิจารณาราคาหุ้น THAI ที่ปรับตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดราว 75.9% เชื่อว่าจะตอบรับความคาดหวังเชิงบวกจากโอกาสที่ธุรกิจที่ดีขึ้นดังกล่าว แต่หลังจากนี้ไป จะต้องรับผลกระทบในช่วงการฟื้นฟู ภาพรวมจึงยังแนะนำหลีกเลี่ยงลงทุน ขณะที่นักลงทุนที่ถือครองหุ้นอยู่ ควรจะหาจังหวะขายหุ้น เพื่อหลบออกมาติดตามพัฒนาการอีกครั้ง

กลยุทธ์ลงทุนเน้นหุ้นได้ Sentiment เปิดเมือง ชอบ CPN, COM7 และ PTT

           ล่าสุดบริษัทจดทะเบียนรายงานงบการเงินงวด 1Q63 ไปแล้วทั้งสิ้น 543 บริษัท (คิดเป็น 94.6% ของมูลค่าตลาดรวม) มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 1.11 แสนล้านบาท (ลดลง 49%QoQ และ 58%YoY) กำไรงวด 1Q63 ที่ลดลงแรงถือเป็น Downside ต่อประมาณการกำไรทั้งปี 2563 และกดดัน Upside ของตลาด

         แต่ปัจจัยแวดล้อมที่หนุนตลาด และช่วยกำหนดกลยุทธ์ในยามที่ Valuation ตลาดเริ่มตึงๆ มีดังนี้

1.มีโอกาสสูงที่กนง. จะปรับลดดอกเบี้ยลง ในวันที่ 20 พ.ค. 63 สะท้อนตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังมีทิศทางชะลอตัว บวกกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 1ปี ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องล่าสุดอยู่ที่ 0.56% (ต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบาย) ซึ่งตามกลไกปกติถือเป็น Sentiment ที่ดีต่อตลาดหุ้น โดยเฉพาะหุ้นที่มีปันผลสูง แนะนำ DIF, DCC

2.การกลับมาดำเนินธุรกิจที่หยุดไปชั่วคราว ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เช่น ห้างสรรพสินค้า, ร้านค้าปลีก และร้านอาหาร เป็นต้น แนะนำ CPN, COM7

3.ราคาน้ำมันดิบโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง เช่น WTI ฟื้นขึ้นมาถึง 12 เหรียญ/บาร์เรล หรือ 63%(mtd) ขณะที่ราคาหุ้นน้ำมันในไทยยัง Laggard อยู่มาก ชอบ PTT, BCP

เชื่อว่าหุ้นที่ได้รับปัจจัยหนุนจาก 3 ประเด็นดังกล่าวน่าจะเป็นเป้าหมายของ Fund Flow ในสัปดาห์นี้Toppicks เลือก CPN, COM7 และ PTT

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132

ภราดร เตียรณปราโมทย์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365

ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506

ภวัต ภัทราพงศ์

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

SET vs Sector Return 2019 SET vs Sector Return 2020ytd

ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASPS ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASPS

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!